สามารถ แก้วมีชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สามารถ แก้วมีชัย
สามารถ ใน พ.ศ. 2555
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ถัดไปเจริญ จรรย์โกมล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 (73 ปี)
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2544–2549)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2563, 2564–2565)
ไทยสร้างไทย (2564)
ภูมิใจไทย (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสรัตนพร แก้วมีชัย

สามารถ แก้วมีชัย (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 -) เป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (ชุดที่ 23) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

สามารถ แก้วมีชัย เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 จบการศึกษาชั้นมัธยมต้นจากโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และปริญญาตรีรัฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมดี) สาขาวิชาการปกครอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นที่ 22) เมื่อปี พ.ศ. 2517

การทำงาน[แก้]

สามารถ แก้วมีชัย เคยทำงานที่การเคหะแห่งชาติ ก่อนจะลาออกไปเป็นนักธุรกิจก่อนจะเข้ามาทำงานการเมืองท้องถิ่น เป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเชียงราย และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ต่อมาจึงได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทยและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาก็ได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทยพร้อมกันกับสมาชิกจากพรรคพลังประชาชนเดิม

สามารถ แก้วมีชัย เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[1] กรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล โฆษกคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ประธานคณะกรรมการประสายงานพรรคร่วมรัฐบาล ต่อมาในปี 2551 จึงได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 แทนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์[2]

ใน การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นายสามารถยังได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย ส่วน การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ถูกประกาศให้เป็นโมฆะ แต่ใน การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายสามารถสูญเสียตำแหน่งให้กับนาย เอกภพ เพียรพิเศษ จาก พรรคอนาคตใหม่ ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นายสามารถได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย [3]

กระทั่งวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562 นายสามารถได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย [4] ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563 นายสามารถได้โพสต์ภาพหนังสือการลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยระบุว่าได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยจำนวน 3 ฉบับแก่นาย สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรค นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคและ พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองและให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไปโดยให้เหตุผลว่าต้องการเป็นอิสระและปลอดสังกัดพรรคการเมือง [5]

ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[6] แต่อีกหลายเดือนให้หลังก็ย้ายกลับเข้าพรรคเพื่อไทยในวันที่ 14 ธันวาคม[7] แต่ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 195ง
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  4. ทิ้ง'เพื่อไทย'!! 'สามารถ แก้วมีชัย'ยื่นหนังสือลาออกพ้น'กก.บห.-รองหัวหน้าพรรค'
  5. สามารถ ลาออกเพื่อไทย ให้เหตุผล ต้องการอิสระ
  6. ส่อง 4 ภาค ขุนพล 'ไทยสร้างไทย'
  7. ‘สามารถ แก้วมีชัย’ ทิ้งไทยสร้างไทย กลับ ‘เพื่อไทย’ ลั่นไม่หนีไปไหนอีก ขอผนึกกำลังต่อสู้เผด็จการ
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐