ลลิตา ฤกษ์สำราญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รศ.ดร.ลลิตา ฤกษ์สำราญ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าบุญชง วีสมหมาย
ถัดไปอภิวันท์ วิริยะชัย
รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 3 เมษายน พ.ศ. 2564
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 (75 ปี)
พรรคการเมืองประชากรไทย (2529–2543)
ไทยรักไทย (2543–2549)
เพื่อชาติ (2561–2564)
สร้างอนาคตไทย (2564–2566)
พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน)

รองศาสตราจารย์ ดร. ลลิตา ฤกษ์สำราญ อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ[1] อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2[2] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครหลายสมัย

ประวัติ[แก้]

ลลิตา ฤกษ์สำราญ เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 เป็นบุตรีของนายเซี้ยง และนางสั้ง ฤกษ์สำราญ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) จาก วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยนเรศวร) ปริญญาโท สาขางานวิจัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาเอก จิตวิทยาการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน[แก้]

ลลิตา ฤกษ์สำราญ เป็น อดีตอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตำแหน่งสุดท้ายเป็น รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ลาออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตดุสิต ในสังกัดพรรคประชากรไทย และอยู่ในวงการเมืองมาโดยตลอด ล่าสุดเป็นหนึ่งใน 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ ตุลาการรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตัดสิทธิทางการเมืองจาก คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]

ในปี 2562 เธอลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี 2565 เธอได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย[5]

ประวัติทางการเมือง[แก้]

  • สมาชิกผู้แทนราษฏร 8 สมัย (ปี พ.ศ. 2529, 2531, 2535, เลือกตั้งซ่อม 2536, 2538, 2539, 2544 และ 2548)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
  • รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
  • เลขานุการรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย
  • กรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[6]
  • กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดิน
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กรรมาธิการวิสามัญพิจารณา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร

การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ[แก้]

  • เลขาธิการหน่วยสหภาพรัฐสภาประจำชาติไทย (IPU)

รางวัลเกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติ
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-01.
  3. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. 150ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อชาติ เด็กจตุพร-ยงยุทธเพียบ
  5. ‘สร้างอนาคตไทย’ เปิดตัวคนดังการเมือง 26 ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พร้อมทำงาน
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/091/4215.PDF
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖