อำเภอปะเหลียน
อำเภอปะเหลียน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Palian |
คำขวัญ: ชาวปะเหลียน รักศักดิ์ศรี มีวินัย น้ำตกใส ทะเลกว้าง สร้างความดี | |
แผนที่จังหวัดตรัง เน้นอำเภอปะเหลียน | |
พิกัด: 7°10′18″N 99°41′12″E / 7.17167°N 99.68667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตรัง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 973.13 ตร.กม. (375.73 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 66,824 คน |
• ความหนาแน่น | 68.67 คน/ตร.กม. (177.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 92120, 92140 (เฉพาะตำบลบางด้วน บ้านนา และท่าพญา), 92180 (เฉพาะตำบลทุ่งยาว ลิพัง ปะเหลียน แหลมสอม และสุโสะหมู่ที่ 5) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9204 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอปะเหลียน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง 92120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ปะเหลียน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง ชื่อปะเหลียน สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า ปะลันดา หรือปาดังด้า
ประวัติ
[แก้]ในสมัยก่อนท้องที่อำเภอปะเหลียนมีการปกครองขึ้นกับเมืองพัทลุง เมื่อเจ้าพระยานคร (น้อย) ได้ส่งบุตรมาปกครองเมืองตรังและขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช พื้นที่แถบนี้มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานกันแล้ว เจ้าเมืองพัทลุงจึงส่งกรมการเมืองมาปกครองเพื่อเป็นการสกัดกั้นอำนาจของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชไว้ ขณะนั้นท้องที่อำเภอปะเหลียน มีประชากรน้อยมาก ไม่เหมาะสมที่จะยกฐานะเป็นเมืองดี ดังนั้น ตำแหน่งผู้ปกครองจึงเป็นเพียง "จอม" คำว่าจอมใช้กันเฉพาะที่มีชายไทยมุสลิมอยู่ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่
ในสมัยต่อมาเมื่อประชากรมากขึ้นจึงยกฐานะขึ้นเป็นเมือง เมื่อ พ.ศ. 2341 เรียกว่า เมืองปะเหลียน เจ้าเมืองปะเหลียนคนสุดท้ายคือพระปริยันต์เกษตรานุรักษ์ เท่าที่มีหลักฐานปรากฏตัวเมืองครั้งแรกตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลปะเหลียนในปัจจุบัน ต่อมาได้ย้ายไปตั้งบริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลท่าพญาในปัจจุบันเมื่อประมาณ พ.ศ. 2430
ในปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า เมืองปะเหลียนทรุดโทรมมาก จึงยุบให้เป็นแขวงขึ้นตรงกับเมืองตรัง และในปี พ.ศ. 2438 ได้จัดตั้งที่ว่าการอำเภอเป็นครั้งแรกที่ตำบลท่าพญา ใช้ชื่อว่า อำเภอท่าพญา ครั้นได้จัดรูปแบบอำเภอขึ้นตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ เมื่อ พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านหยงสตาร์ ตำบลท่าข้าม ใช้ชื่อว่า อำเภอปะเหลียน ในปี พ.ศ. 2460 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหยงสตา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอปะเหลียน ตามชื่อเดิมจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อรักษาประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมืองปะเหลียนไว้ ขณะนี้อำเภอปะเหลียนได้ก่อตั้งมาครบ108 ปี นับว่าเป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เป็น อำเภอหยงสตา[1]
- วันที่ 17 สิงหาคม 2467 ยุบตำบลส้มเฟือง ให้โอนพื้นที่หมู่ 1,2 (ในขณะนั้น) ของตำบลส้มเฟือง ไปขึ้นกับตำบลบางด้วน โอนพื้นที่หมู่ 3,4 (ในขณะนั้น) ของตำบลส้มเฟือง ไปขึ้นกับตำบลในควน กับโอนพื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางด้วน รวมกับหมู่ที่ 5 ตำบลท่าพญา[2]
- วันที่ 31 พฤษภาคม 2468 ยุบตำบลแหลมปอ รวมกับตำบลปะเหลียน[3]
- วันที่ 19 กันยายน 2481 แบ่งการปกครองหมู่ที่ 1,7,8 (ในขณะนั้น) ของตำบลสุโสะ และหมู่ที่ 11,12 (ในขณะนั้น) ของตำบลปะเหลียน ตั้งขึ้นเป็นตำบลทุ่งยาว[4]
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอหยงสตา จังหวัดตรัง เป็น อำเภอปะเหลียน[5] อีกครั้ง
- วันที่ 1 พฤษภาคม 2482 โอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลสุโสะ ไปขึ้นกับตำบลหยงสตา[6]
- วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลสุโสะ แยกออกจากตำบลท่าข้าม ตั้งตำบลบางด้วน แยกออกจากตำบลทุ่งพญา ตั้งตำบลบ้าหวี แยกออกจากตำบลบ้านนา[7]
- วันที่ 9 ธันวาคม 2490 แยกพื้นที่ตำบลย่านตาขาว ตำบลหนองบ่อ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอกันตัง ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอเมืองตรัง และตำบลในควน ตำบลโพรงจระเข้ อำเภอปะเหลียน มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอย่านตาขาว และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกันตัง[8]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าข้าม ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าข้าม[9]
- วันที่ 30 พฤศจิกายน 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลทุ่งยาว ในท้องที่บางส่วนของตำบลทุ่งยาว[10]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลแหลมสอม แยกออกจากตำบลปะเหลียน[11]
- วันที่ 24 ตุลาคม 2534 กำหนดเขตท้องที่ตำบลลิพัง[12] อำเภอปะเหลียน ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 5 หมู่บ้าน
- วันที่ 26 พฤษภาคม 2537 แยกพื้นที่ตำบลหาดสำราญ ตำบลบ้าหวี และตำบลตะเสะ อำเภอปะเหลียน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหาดสำราญ[13] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปะเหลียน
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าข้าม และสุขาภิบาลทุ่งยาว เป็นเทศบาลตำบลท่าข้าม และเทศบาลตำบลทุ่งยาว ตามลำดับ[14] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหาดสำราญ อำเภอปะเหลียน เป็นอำเภอหาดสำราญ[15]
ที่มาของชื่ออำเภอ
[แก้]มีผู้พยายามค้นหาความหมายและความเป็นมาของคำว่า "ปะเหลียน" จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะเมืองปะเหลียนมีประวัติยาวนานหลายชั่วอายุคน ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ไม่สามารถค้นหาได้จึงเป็นเพียงแต่คำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาและเป็นข้อสันนิษฐานที่พอจะรับฟังได้ คือ
- "ปะเหลียน" เป็นสถานที่ที่มีทรัพยากรมาก มาจากคำว่า "ปะ" แปลว่า พบหรือเจอ และ "เหลียน" แปลว่า สิ่งที่มีค่า เพี้ยนมาจากคำว่า เหรียญ คือของมีค่า
- "ปะเหลียน" เพี้ยนมาจากคำในภาษามลายูจากเดิมว่า "ปราเลียน" แปลว่า ทอง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะยังไม่มีผู้ใดทราบถึงความหมายอันแท้จริงของคำว่าปะเหลียน แต่ปะเหลียนก็เป็นชื่อตำบลหนึ่งของอำเภอที่ติดต่อกับทิวเขาบรรทัดซึ่งกั้นแดนระหว่างจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง ในสมัยก่อนชาวพัทลุงได้อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ตำบลปะเหลียนเป็นจำนวนมาก สำหรับที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่บ้านท่าข้าม หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม ซึ่งสมัยก่อนเป็นท่าเรือสำคัญที่ใช้ติดต่อคมนาคมกับจังหวัดชายฝั่งช่องแคบมะละกาและมลายูหรือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอปะเหลียนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอย่านตาขาว
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด และอำเภอป่าบอน (จังหวัดพัทลุง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทุ่งหว้า (จังหวัดสตูล) และช่องแคบมะละกา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหาดสำราญและอำเภอกันตัง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอปะเหลียนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 85 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[16] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | ท่าข้าม | Tha Kham | 9
|
7,985
|
|
2. | ทุ่งยาว | Thung Yao | 7
|
7,494
| |
3. | ปะเหลียน | Palian | 15
|
12,424
| |
4. | บางด้วน | Bang Duan | 6
|
3,875
| |
7. | บ้านนา | Ban Na | 12
|
9,836
| |
9. | สุโสะ | Suso | 11
|
6,692
| |
10. | ลิพัง | Liphang | 7
|
6,494
| |
11. | เกาะสุกร | Ko Sukon | 4
|
2,548
| |
12. | ท่าพญา | Tha Phaya | 4
|
3,204
| |
13. | แหลมสอม | Laem Som | 11
|
5,94
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือตำบลในอำเภอหาดสำราญ
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอปะเหลียนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าข้าม
- เทศบาลตำบลทุ่งยาว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งยาว
- เทศบาลตำบลท่าพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าพญาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้าม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งยาว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว)
- องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะเหลียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางด้วนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสุโสะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสุโสะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลิพัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลิพังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะสุกรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมสอมทั้งตำบล
ภาพ
[แก้]-
เกาะเหลาเหลียงใต้
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]7°13′54″N 99°47′20″E / 7.23175°N 99.78882°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อำเภอปะเหลียน
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่อำเภอหยงสตา จังหวัดตรัง สำหรับตำบลส้มเฟือง ซึ่งยุบไปรวมกับตำบลบางด้วนและตำบลในควน กับหมู่บ้านที่ ๒ ของตำบลซึ่งยุบไปรวมกับตำบลท่าพญา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 60–61. August 17, 1924.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลแหลมปอ อำเภอหยงสตา จังหวัดตรัง ซึ่งยุบไปรวมกับตำบลปะเหลียน ท้องที่อำเภอเดียวกัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 40–41. May 31, 1925.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอหยงสตา จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2094–2095. September 19, 1938.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). Royal Gazette. 56 (0 ก): 354–364. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 292–293. May 1, 1939.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. September 30, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (60 ง): 3188–3193. December 9, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 17-18. November 28, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (103 ง): 2950–2951. November 30, 1965.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (133 ง): 2834–2837. August 16, 1983.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (186 ง): 10650–10653. October 24, 1991.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหาดสำราญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (42 ง): 29. May 26, 1994.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.