การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549

← พ.ศ. 2548 2 เมษายน พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 →

ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน44,778,628
ผู้ใช้สิทธิ64.77% (ลดลง 7.79 จุด)
  First party Second party
 
Thaksin DOD 20050915.jpg
ผู้นำ ทักษิณ ชินวัตร
พรรค ไทยรักไทย

ไม่ประสงค์ลงคะแนน
ผู้นำตั้งแต่ 14 กรกฎาคม 2541
เลือกตั้งล่าสุด 377 ที่นั่ง, 60.48% 1.14%
ที่นั่งที่ชนะ 461 ว่าง 39
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 83
คะแนนเสียง 16,420,755 9,051,706
% 59.91 33.03
%เปลี่ยน ลดลง 0.54 จุด เพิ่มขึ้น 31.89 จุด

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ทักษิณ ชินวัตร
ไทยรักไทย

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

โมฆะ
รัฐบาลถูกรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 แต่งตั้ง สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 22 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549[1] โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549

ก่อนการเลือกตั้ง[แก้]

สัตยาบันเพื่อปฏิรูปการเมือง[แก้]

ภายหลังการการยุบสภาผู้แทนราษฎร พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมซึ่งประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ได้ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพื่อขอให้ลงนามในสัตยาบันร่วมกันว่า หลังการเลือกตั้งจะจัดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 313 โดยกำหนดให้มีคณะบุคคลที่เป็นกลางเป็นผู้ดำเนินการในการยกร่างรัฐธรรมนูญ [2]

พรรคไทยรักไทยแสดงจุดยืนว่า ไม่ต้องการลงสัตยาบันแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน [3] และดำเนินการเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคมาหารือร่วมกัน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่อาคารวุฒิสภา และเสนอให้ทุกพรรคทำสัญญาประชาคมแก้ไขรัฐธรรมนูญในระหว่างการเลือกตั้ง จากนั้นค่อยมาตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางชุดหนึ่งขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ [4] พรรคฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรคเห็นว่าท่าทีของพรรคไทยรักไทย มีเจตนาที่จะถ่วงเวลา จึงประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัคร [5]

นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ[แก้]

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ผู้สมัครในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 93 ของพรรคไทยรักไทยได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคพรรคไทยรักไทย อย่างกะทันหัน และเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดพิกุลทอง จากนั้นได้เดินทางไปจำวัดที่วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีพระพยอม กัลยาโณ เป็นเจ้าอาวาส

การลาออกของนายแพทย์เปรมศักดิ์ ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ เหลือเพียง 99 คน (คาดการณ์ว่า จะไม่มีพรรคใดได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ถึง 5% ทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้ง 100 คน จะมาจากพรรคไทยรักไทยทั้งหมด) เมื่อรวมกับ ส.ส.ระบบเขตอีก 400 คน เป็น 499 คน ไม่ครบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 98 ของรัฐธรรมนูญว่า สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคนโดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 99 จำนวนหนึ่งร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 102 จำนวนสี่ร้อยคน และส่งผลให้จำนวน ส.ส.ไม่ครบที่จะเป็นองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ไม่สามารถประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร [6] และไม่สามารถประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อคัดเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีได้

การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549[แก้]

เหตุการณ์ในช่วงการเลือกตั้ง[แก้]

ปัญหาในการเลือกตั้ง[แก้]

  • ผู้สมัครจำนวนหลายสิบเขต ได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนไม่เลือกใคร แต่ได้รับเลือกด้วยเกณฑ์ร้อยละยี่สิบ และเกณฑ์กรณีมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน
  • คูหาเลือกตั้งหันหลังออก ทำให้เกรงว่าอาจจะทำให้สามารถมองเห็นการลงคะแนนได้โดยง่าย
  • มีการร้องเรียนว่า ที่หน่วยเลือกตั้งไม่มีปากกาเพียงพอ และบางหน่วยเตรียมไว้ให้เพียงตรายางสำหรับประทับ
    • เดิม กกต. ให้ใช้เฉพาะตรายาง ต่อมาได้มีการร้องเรียนไปยังศาลปกครองเป็นกรณีเร่งด่วน และศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวให้สามารถใช้ได้ทั้งปากกา และตรายางประทับ คำสั่งศาลปกครอง เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • มีการนำรายชื่อผู้สมัครไปติดไว้ในคูหาเลือกตั้ง
  • มีบัตรเสียจำนวนเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะบัตรเสียในบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต

ข้อวิจารณ์การทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง[แก้]

  • การประชุมกำหนดการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 น่าจะไม่ชอบ เกี่ยวกับองค์ประชุม ที่กำหนดในพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง 2540 มาตรา 8 ระบุเรื่องการประชุมให้มีไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของเท่าที่มีอยู่ แต่ในวันที่ประกาศ พรฎ นั้น กรรมการ กกต. มีจำนวนเพียง 3 คน จากที่มีอยู่ 4 คน (กกต. จะต้องมี 5 คนตามรัฐธรรมนูญ แต่ มีกรรมการ 1 คนเสียชีวิตเมื่อ พย.2548 ยังไม่มีการสรรหาเพิ่ม, และขณะนั้น 1 คนเดินทางไปต่างประเทศ)
  • กำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ใน 40 เขตในวันที่ 23 เมษายน 2549 โดยเปิดรับผู้สมัครใหม่เมื่อวันที่ 8-9 เมษายน แต่ให้ผู้ที่เคยสมัครในการเลือกตั้งรอบแรก ใช้หมายเลขเดิม
  • เปิดโอกาสให้ผู้สมัครเวียนเทียนสมัคร โดยผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในเขตการเลือกตั้งหนึ่ง และแพ้การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน และทาง กกต.ยังไม่ได้รับรองการเลือกตั้ง สามารถย้ายไปลงสมัครที่เขตอื่น จังหวัดอื่นได้ ทั้งนี้ผู้อำนวยการเขตเลือกตั้งได้ตัดสิทธิ์ของผู้สมัครเหล่านี้ แต่กลับมีหนังสือเวียนโดยนายวาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. แจ้งให้รับสมัครได้
  • เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งก่อนหน้า ลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายน ได้ โดยอ้างว่าได้รับสิทธิ์คืนมา เนื่องจากไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน แล้ว
  • เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ครบ 90 วัน นับถึงวันรับสมัครรอบแรก ลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายนได้ เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองครบ 90 วัน ในวันรับสมัครรอบที่สอง วันที่ 8-9 เมษายน แล้ว

การเลือกตั้งวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549[แก้]

คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 จำนวน 40 เขตเลือกตั้ง ใน 17 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดกระบี่

เหตุการณ์ในช่วงการเลือกตั้ง[แก้]

  • ผู้อำนวยการ กกต.เขต จังหวัดสงขลา ประกาศลาออกจากตำแหน่งทั้ง 7 เขต เนื่องจากไม่พอใจการทำงานของ กกต. กลาง
  • กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7 หน่วยเลือกตั้ง ประท้วงการเลือกตั้ง โดยบางหน่วยไม่ไปรับบัตรเลือกตั้งที่ กกต.จังหวัด และบางหน่วยไปรับบัตรเลือกตั้ง แต่ไม่เปิดทำการ
  • มีผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อประท้วงการเลือกตั้ง ในจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • มีผู้ประท้วงการเลือกตั้ง โดยลงชื่อและรับบัตรเลือกตั้ง แล้วส่งบัตรเลือกตั้งคืนให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยไม่มีการกาเครื่องหมายใดๆ ที่จังหวัดพัทลุง

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

e • d  ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549
พรรค แบ่งเขต บัญชีรายชื่อ ที่นั่งรวม +/-
คะแนนเสียง % ที่นั่ง คะแนนเสียง % ที่นั่ง
ไทยรักไทย 361 16,420,755 56.45% 100 461
คนขอปลดหนี้ 4
พลังประชาชน 3 305,015
ประชากรไทย 2 292,895
พลังธรรม 1
เกษตรกรไทย 675,662
ธัมมาธิปไตย 255,853
ไทยช่วยไทย 146,680
พัฒนาชาติไทย 134,534
แผ่นดินไทย 125,008
คะแนนสมบูรณ์ 15,608,509 100% 400 18,356,402 100% 100 500
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 9,610,874 คน 33.14% 9,051,706 31.12%
คะแนนเสีย 3,778,981 13.03% 1,680,101 5.78%
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 28,998,364 64.76% 29,088,209 64.77%
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 44,778,628 44,909,562
ที่มา:

ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง มีดังต่อไปนี้ [7][8][9]

กรุงเทพ[แก้]

จังหวัด เขต รายนาม พรรค สมาชิกภาพ หมายเหตุ
กรุงเทพมหานคร 1 กฤษฎา สัจจกุล พรรคไทยรักไทย
2 ลลิตา ฤกษ์สำราญ พรรคไทยรักไทย
3 ร้อยเอกรชฏ พิสิษฐบรรณกร พรรคไทยรักไทย
4 ยุวลักษณ์ อภิธนาคุณ พรรคไทยรักไทย
5 จักรภพ เพ็ญแข พรรคไทยรักไทย
6 ดนุพร ปุณณกันต์ พรรคไทยรักไทย
7 พงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ พรรคไทยรักไทย
8 นาวาอากาศตรีศิธา ทิวารี พรรคไทยรักไทย
9 ณหทัย ทิวไผ่งาม พรรคไทยรักไทย
10 ยุรนันท์ ภมรมนตรี พรรคไทยรักไทย
11 เฉลิมชัย จีนะวิจารณะ พรรคไทยรักไทย
12 ศุภมาส อิศรภักดี พรรคไทยรักไทย
13 นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคไทยรักไทย
14 ปวีณา หงสกุล พรรคไทยรักไทย
15 อนุสรณ์ ปั้นทอง พรรคไทยรักไทย
16 วชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ พรรคไทยรักไทย
17 ภูวนิดา คุนผลิน พรรคไทยรักไทย
18 พิมล ศรีวิกรม์ พรรคไทยรักไทย
19 พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ พรรคไทยรักไทย
20 เอกพจน์ วงศ์อารยะ พรรคไทยรักไทย
21 ภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ พรรคไทยรักไทย
22 ศันสนีย์ นาคพงศ์ พรรคไทยรักไทย
23 วัฒนา เซ่งไพเราะ พรรคไทยรักไทย
24 มงคล กิมสูนจันทร์ พรรคไทยรักไทย
25 วิชาญ มีนชัยนันท์ พรรคไทยรักไทย
26 เอนก หุตังคบดี พรรคไทยรักไทย
27 ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ พรรคไทยรักไทย
28 ภิมุข สิมะโรจน์ พรรคไทยรักไทย
29 สมพรต สาระโกเศศ พรรคไทยรักไทย
30 ปิติพงศ์ เต็มเจริญ พรรคไทยรักไทย
31 มานะ คงวุฒิปัญญา พรรคไทยรักไทย
32 สุวัฒน์ ม่วงศิริ พรรคไทยรักไทย
33 สุวัฒน์ วรรณศิริกุล พรรคไทยรักไทย
34 สากล ม่วงศิริ พรรคไทยรักไทย
35 สุธา ชันแสง พรรคไทยรักไทย
36 แสวง ฤกษ์จรัล พรรคไทยรักไทย

ภาคกลาง[แก้]

จังหวัด เขต รายนาม พรรค สมาชิกภาพ หมายเหตุ
กำแพงเพชร 1 เรืองวิทย์ ลิกค์ พรรคไทยรักไทย
2 คนึง ไทยประสิทธิ์ พรรคไทยรักไทย
3 พันตำรวจโทไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ พรรคไทยรักไทย
4 สนั่น สบายเมือง พรรคไทยรักไทย
5 ถวิล ฤกษ์หร่าย พรรคไทยรักไทย
ชัยนาท 1
2 ชัยวัฒน์ ทรัพย์รวงทอง พรรคไทยรักไทย
นครนายก 1 สิทธิชัย กิตติธเนศวร พรรคไทยรักไทย
2 วุฒิชัย กิตติธเนศวร พรรคไทยรักไทย
นครปฐม 1 รัฐกร เจนกิจณรงค์ พรรคไทยรักไทย
2 ชาญชัย ปทุมารักษ์ พรรคไทยรักไทย
3 ก่อเกียรติ สิริยะเสถียร พรรคไทยรักไทย
4 ไชยา สะสมทรัพย์ พรรคไทยรักไทย
5 เผดิมชัย สะสมทรัพย์ พรรคไทยรักไทย
นครสวรรค์ 1 สมชัย เจริญชัยฤทธิ์ พรรคไทยรักไทย
2 เกษม ปานอุดมลักษณ์ พรรคไทยรักไทย
3 วีระกร คำประกอบ พรรคไทยรักไทย
4 สัญชัย วงษ์สุนทร พรรคไทยรักไทย
5 เมธี ฉัตรจินดารัตน์ พรรคไทยรักไทย
6 พันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์ พรรคไทยรักไทย
7 นิโรธ สุนทรเลขา พรรคไทยรักไทย
นนทบุรี 1 นิทัศน์ ศรีนนท์ พรรคไทยรักไทย
2 อุดมเดช รัตนเสถียร พรรคไทยรักไทย
3 พิมพา จันทร์ประสงค์ พรรคไทยรักไทย
เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
4 พันเอกอภิวันท์ วิริยะชัย พรรคไทยรักไทย
5 สุชาติ บรรดาศักดิ์ พรรคไทยรักไทย
6 ฉลอง เรี่ยวแรง พรรคไทยรักไทย
ปทุมธานี 1 สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล พรรคไทยรักไทย
2 ว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี พรรคไทยรักไทย
3 วรัญญู เทพหัสดิน ณ อยุธยา พรรคไทยรักไทย
4 ลิขิต หมู่ดี พรรคไทยรักไทย
5 ชูชาติ หาญสวัสดิ์ พรรคไทยรักไทย
พระนครศรีอยุธยา 1 ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร พรรคไทยรักไทย
2 พ้อง ชีวานันท์ พรรคไทยรักไทย
3 สุวิมล พันธ์เจริญวรกุล พรรคไทยรักไทย
4 วิทยา บุรณศิริ พรรคไทยรักไทย
5 บุญพันธ์ แขวัฒนะ พรรคไทยรักไทย
พิจิตร 1 เสริมสุข เหลาหชัยอรุณ พรรคไทยรักไทย
2 สุณีย์ เหลืองวิจิตร พรรคไทยรักไทย
3 นาวิน บุญเสรฐ พรรคไทยรักไทย
4 พันตำรวจโทอดุลย์ บุญเสรฐ พรรคไทยรักไทย
พิษณุโลก 1 พิทักษ์ สันติวงศ์เดชา พรรคไทยรักไทย
2 มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ พรรคไทยรักไทย
3 มยุรา มนะสิการ พรรคไทยรักไทย
4 นิยม ช่างพินิจ พรรคไทยรักไทย
5 หัสนัยน์ สอนสิทธิ์ พรรคไทยรักไทย
เพชรบูรณ์ 1 เรวัต แสงวิจิตร พรรคไทยรักไทย
2 ไพศาล จันทรภักดี พรรคไทยรักไทย
3 ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ พรรคไทยรักไทย
4 ณรงค์กร ชวาลสันตติ พรรคไทยรักไทย
5 พันจ่าอากาศโทกิตติคุณ นาคะบุตร พรรคไทยรักไทย
6 เอี่ยม ทองใจสด พรรคไทยรักไทย
ลพบุรี 1 ณัฐพล เกียรติวินัยสกุล พรรคไทยรักไทย
2 พงษ์ศักดิ์ วรปัญญา พรรคไทยรักไทย
3 สุชาติ ลายน้ำเงิน พรรคไทยรักไทย
4 อำนวย คลังผา พรรคไทยรักไทย
5 นิยม วรปัญญา พรรคไทยรักไทย
สมุทรปราการ 1
2 ประเสริฐ เด่นนภาลัย พรรคไทยรักไทย
3 ว่าที่เรือโทวัลลภ ยังตรง พรรคไทยรักไทย
4 จิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ พรรคไทยรักไทย
5 สลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ พรรคไทยรักไทย
6 เรวดี รัศมิทัศ พรรคไทยรักไทย
7 ประชา ประสพดี พรรคไทยรักไทย
สมุทรสงคราม 1 ไชยรัตน์ ไทยเจียมอารีย์ พรรคไทยรักไทย
สมุทรสาคร 1 อนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ พรรคไทยรักไทย
2 ศุภพรพงศ์ ชวนบุญ พรรคไทยรักไทย
3
สมนึก โพธิทะเล พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
สระบุรี 1 ร้อยตรีปรพล อดิเรกสาร พรรคไทยรักไทย
2 พศ อดิเรกสาร พรรคไทยรักไทย
3 ฉัตรชัย ศิลาพร พรรคไทยรักไทย
4 วีระพล อดิเรกสาร พรรคไทยรักไทย
สิงห์บุรี 1 พายัพ ปั้นเกตุ พรรคไทยรักไทย
สุโขทัย 1 อนงค์วรรณ เทพสุทิน พรรคไทยรักไทย
2 ประศาสตร์ ทองปากน้ำ พรรคไทยรักไทย
3 สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ พรรคไทยรักไทย
4 ประทวน เขียวฤทธิ์ พรรคไทยรักไทย
สุพรรณบุรี 1 สมคิด สัมฤทธิ์สุทธิ์ พรรคไทยรักไทย
2 ยุทธนา ลับบัวงาม พรรคไทยรักไทย
3 วิจิตร เกตุแก้ว พรรคไทยรักไทย
4 เทียนชัย ปิ่นวิเศษ พรรคไทยรักไทย
5 สหรัฐ กุลศรี พรรคไทยรักไทย
อ่างทอง 1 เพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ชัย พรรคไทยรักไทย
2 พลตํารวจตรีประจวบ เปาอินทร์ พรรคไทยรักไทย
อุทัยธานี 1 ประแสง มงคลศิริ พรรคไทยรักไทย
2 สุภาพ โต๋วสัจจา พรรคไทยรักไทย


ภาคเหนือ[แก้]

จังหวัด เขต รายนาม พรรค สมาชิกภาพ หมายเหตุ
เชียงราย 1 สามารถ แก้วมีชัย พรรคไทยรักไทย
2 สฤษฏ์ อึ้งอภินันท์ พรรคไทยรักไทย
3 สุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ พรรคไทยรักไทย
4 วิสาร เตชะธีราวัฒน์ พรรคไทยรักไทย
5 สมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ พรรคไทยรักไทย
6 ละออง ติยะไพรัช พรรคไทยรักไทย
7 อิทธิเดช แก้วหลวง พรรคไทยรักไทย
8 บัวสอน ประชามอญ พรรคไทยรักไทย
เชียงใหม่ 1 ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ พรรคไทยรักไทย
2 พายัพ ชินวัตร พรรคไทยรักไทย
3 บุญทรง เตริยาภิรมย์ พรรคไทยรักไทย
4 วิทยา ทรงคำ พรรคไทยรักไทย
5 พรชัย อรรถปรียางกูร พรรคไทยรักไทย
6 นพคุณ รัฐผไท พรรคไทยรักไทย
7 สุรพล เกียรติไชยากร พรรคไทยรักไทย
8 ผณินทรา ภัคเกษม พรรคไทยรักไทย
9 จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคไทยรักไทย
10 สันติ ตันสุหัช พรรคไทยรักไทย
น่าน 1 สิรินทร รามสูต พรรคไทยรักไทย
2 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว พรรคไทยรักไทย
3 วัลลภ สุปริยศิลป์ พรรคไทยรักไทย
พะเยา 1 อรุณี ชำนาญยา พรรคไทยรักไทย
2 วิสุทธิ์ ไชยณรุณ พรรคไทยรักไทย
3 ไพโรจน์ ตันบรรจง พรรคไทยรักไทย
แพร่ 1 นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ พรรคไทยรักไทย
2 อนุวัธ วงศ์วรรณ พรรคไทยรักไทย
3 วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล พรรคไทยรักไทย
แม่ฮ่องสอน 1 ปัญญา จีนาคำ พรรคไทยรักไทย
2 สมบูรณ์ ไพรวัลย์ พรรคไทยรักไทย
ลำปาง 1 ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร พรรคไทยรักไทย
2 กิตติกร โล่ห์สุนทร พรรคไทยรักไทย
3 วาสิต พยัคฆบุตร พรรคไทยรักไทย
4 พินิจ จันทรสุรินทร์ พรรคไทยรักไทย
5 อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ พรรคไทยรักไทย
ลำพูน 1 อาภาภรณ์ พุทธปวน พรรคไทยรักไทย
2 สงวน พงษ์มณี พรรคไทยรักไทย
3 สถาพร มณีรัตน์ พรรคไทยรักไทย
อุตรดิตถ์ 1 กฤษณา สีหลักษณ์ พรรคไทยรักไทย
2 ศรัณย์ ศรัณย์เกตุ พรรคไทยรักไทย
3 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย พรรคไทยรักไทย

ภาคอีสาน[แก้]

จังหวัด เขต รายนาม พรรค สมาชิกภาพ หมายเหตุ
กาฬสินธุ์ 1
2 อรดี สุทธศรี พรรคไทยรักไทย
3 วิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง พรรคไทยรักไทย
4 พีระเพชร ศิริกุล พรรคไทยรักไทย
5 ภัทรา วรามิตร พรรคไทยรักไทย
6 ประเสริฐ บุญเรือง พรรคไทยรักไทย
ขอนแก่น 1 จักริน พัฒน์ดำรงจิตร พรรคไทยรักไทย
2 ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ พรรคไทยรักไทย
3 จตุพร เจริญเชื้อ พรรคไทยรักไทย
4 มุกดา พงษ์สมบัติ พรรคไทยรักไทย
5 ภูมิ สาระผล พรรคไทยรักไทย
6 สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ พรรคไทยรักไทย
7 สุชาย ศรีสุรพล พรรคไทยรักไทย
8 สมศักดิ์ คุณเงิน พรรคไทยรักไทย
9 อรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ พรรคไทยรักไทย
10 พงศกร อรรณนพพร พรรคไทยรักไทย
ชัยภูมิ 1 ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ พรรคไทยรักไทย
2 ชวลิต มหาจันทร์ พรรคไทยรักไทย
3 ปาริชาติ ชาลีเครือ พรรคไทยรักไทย
4 วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย พรรคไทยรักไทย
5 ศรคม ฦาชา พรรคไทยรักไทย
6 เจริญ จรรย์โกมล พรรคไทยรักไทย
7 นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ พรรคไทยรักไทย
นครพนม 1 ชวลิต วิชยสุทธิ์ พรรคไทยรักไทย
2 ไพจิต ศรีวรขาน พรรคไทยรักไทย
3 นายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์ พรรคไทยรักไทย
4 อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ พรรคไทยรักไทย
5 ศุภชัย โพธิ์สุ พรรคไทยรักไทย
นครราชสีมา 1 นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรคไทยรักไทย
2 วัชรพล โตมรศักดิ์ พรรคไทยรักไทย
3 ประเสริฐ บุญชัยสุข พรรคไทยรักไทย
4 อุทัย มิ่งขวัญ พรรคไทยรักไทย
5 ประทีป กรีฑาเวช พรรคไทยรักไทย
6 วัชรา ณ วังขนาย พรรคไทยรักไทย
7 พงษ์พิช รุ่งเป้า พรรคไทยรักไทย
8 ประชาธิปไตย คำสิงห์นอก พรรคไทยรักไทย
9 สมศักดิ์ โสมกลาง พรรคไทยรักไทย
10 สมศักดิ์ เบญจพลกุล พรรคไทยรักไทย
11 บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ พรรคไทยรักไทย
12 สุพร อัตถาวงศ์ พรรคไทยรักไทย
13 สมศักดิ์ พันธ์เกษม พรรคไทยรักไทย
14 พันตำรวจโทสมชาย เพศประเสริฐ พรรคไทยรักไทย
15 ประเสริฐ จันทรรวงทอง พรรคไทยรักไทย
16 วิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ พรรคไทยรักไทย
บุรีรัมย์ 1 ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล พรรคไทยรักไทย
2 กรุณา ชิดชอบ พรรคไทยรักไทย
3 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ พรรคไทยรักไทย
4 สุรศักดิ์ นาคดี พรรคไทยรักไทย
5 พีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ พรรคไทยรักไทย
6 โสภณ ซารัมย์ พรรคไทยรักไทย
7 ประกิจ พลเดช พรรคไทยรักไทย
8 โสภณ เพชรสว่าง พรรคไทยรักไทย
9 ขจรธน จุดโต พรรคไทยรักไทย
10 ทรงศักดิ์ ทองศรี พรรคไทยรักไทย
มหาสารคาม 1 ทองหล่อ พลโคตร พรรคไทยรักไทย
2 สุชาติ ศรีสังข์ พรรคไทยรักไทย
3 สุชาติ โชคชัยวัฒนากร พรรคไทยรักไทย
4 ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง พรรคไทยรักไทย
5 กุสุมาลวตี ศิริโกมุท พรรคไทยรักไทย
6 สุทิน คลังแสง พรรคไทยรักไทย
มุกดาหาร 1 ประมวลศิลป์ โภคสวัสดิ์ พรรคไทยรักไทย
2 ทวีศักดิ์ ประทุมลี พรรคไทยรักไทย
ยโสธร 1 สุทธิชัย จันทร์อารักษ์ พรรคไทยรักไทย
2 รณฤทธิชัย คานเขต พรรคไทยรักไทย
3 วิฑูรย์ วงษ์ไกร พรรคไทยรักไทย
4 วิสันต์ เดชเสน พรรคไทยรักไทย
ร้อยเอ็ด 1 สถาพร ว่องสัธนพงษ์ พรรคไทยรักไทย
2 ฉลาด ขามช่วง พรรคไทยรักไทย
3 เอกภาพ พลซื่อ พรรคไทยรักไทย
4 นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ พรรคไทยรักไทย
5 นิสิต สินธุไพร พรรคไทยรักไทย
6 กิตติ สมทรัพย์ พรรคไทยรักไทย
7 ศักดา คงเพชร พรรคไทยรักไทย
8 อนิวรรตน์ วรเชษฐ์ พรรคไทยรักไทย
เลย 1 ทศพล สังขทรัพย์ พรรคไทยรักไทย
2 นันทนา ทิมสุวรรณ พรรคไทยรักไทย
3 ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข พรรคไทยรักไทย
4 จันทร์เพ็ญ แสงเจริญรัตน์ พรรคไทยรักไทย
ศรีสะเกษ 1 ธเนศ เครือรัตน์ พรรคไทยรักไทย
2 พิทยา บุญเฉลียว พรรคไทยรักไทย
3 วิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ พรรคไทยรักไทย
4 จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ พรรคไทยรักไทย
5 อมรเทพ สมหมาย พรรคไทยรักไทย
6 พันตํารวจเอกทิน วงศ์ปลั่ง พรรคไทยรักไทย
7 มาลินี อินฉัตร พรรคไทยรักไทย
8 พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ พรรคไทยรักไทย
9 ปวีณ แซ่จึง พรรคไทยรักไทย
สกลนคร 1 อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย พรรคไทยรักไทย
2 เฉลิมชัย อุฬารกุล พรรคไทยรักไทย
3 เฉลิมชาติ การุญ พรรคไทยรักไทย
4 สาคร พรหมภักดี พรรคไทยรักไทย
5 พงษ์ศักดิ์ บุญศล พรรคไทยรักไทย
6 เสรี สาระนันท์ พรรคไทยรักไทย
7 เกษม อุประ พรรคไทยรักไทย
สุรินทร์ 1 ชูชัย มุ่งเจริญพร พรรคไทยรักไทย
2 เกษม รุ่งธนเกียรติ พรรคไทยรักไทย
3 ฟาริดา สุไลมาน พรรคไทยรักไทย
4 ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา พรรคไทยรักไทย
5 ประดุจ มั่นหมาย พรรคไทยรักไทย
6 ศุภรักษ์ ควรหา พรรคไทยรักไทย
7 มานิตย์ สังข์พุ่ม พรรคไทยรักไทย
8 ศิริศักดิ์ ร่วมพัฒนา พรรคไทยรักไทย
9 ตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล พรรคไทยรักไทย
หนองคาย 1 ว่าที่ร้อยตรีพงศ์พันธ์ สุนทรชัย พรรคไทยรักไทย
2 ประสิทธิ์ จันทาทอง พรรคไทยรักไทย
3 เอกธนัช อินทร์รอด พรรคไทยรักไทย
4 เทวฤทธิ์ นิกรเทศ พรรคไทยรักไทย
5 สงกรานต์ คำพิไสย์ พรรคไทยรักไทย
6 นิพนธ์ คนขยัน พรรคไทยรักไทย
หนองบัวลำภู 1 พิษณุ หัตถสงเคราะห์ พรรคไทยรักไทย
2 ไชยา พรหมา พรรคไทยรักไทย
3 วิชัย สามิตร พรรคไทยรักไทย
อุดรธานี 1 ศราวุธ เพชรพนมพร พรรคไทยรักไทย
2 ธิรดา สนิทวงศ์ชัย พรรคไทยรักไทย
3 วิชัย ชัยจิตวณิชกุล พรรคไทยรักไทย
4 ธีระยุทธ วานิชชัง พรรคไทยรักไทย
5 รสพิมล จิรเมธากร พรรคไทยรักไทย
6
7 ธีระชัย แสนแก้ว พรรคไทยรักไทย
8 ต่อพงษ์ ไชยสาส์น พรรคไทยรักไทย
9 ธราพงษ์ สีลาวงษ์ พรรคไทยรักไทย
10 สุรชาติ ชำนาญศิลป์ พรรคไทยรักไทย
อุบลราชธานี 1 เกรียง กัลป์ตินันท์ พรรคไทยรักไทย
2 สมบัติ รัตโน พรรคไทยรักไทย
3 โกวิทย์ ธรรมานุชิต พรรคไทยรักไทย
4 สุพล ฟองงาม พรรคไทยรักไทย
5 ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ พรรคไทยรักไทย
6 อุดร ทองประเสริฐ พรรคไทยรักไทย
7 อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ พรรคไทยรักไทย
8 พูลสวัสดิ์ โหตระไวศยะ พรรคไทยรักไทย
9 สุชาติ ตันติวณิชชานนท์ พรรคไทยรักไทย
10 กิตติพงษ์ เทียมสุวรรณ พรรคไทยรักไทย
11 ชาตรี พิริยะกิจไพบูลย์ พรรคไทยรักไทย
อำนาจเจริญ 1 ธีระชัย ศิริขันธ์ พรรคไทยรักไทย
2 ชัยศรี กีฬา พรรคไทยรักไทย

ภาคใต้[แก้]

จังหวัด เขต รายนาม พรรค สมาชิกภาพ หมายเหตุ
กระบี่ 1
ณัฐพร ฉายประเสริฐ พรรคพลังประชาชน เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
2
โสภณ เสือพันธ์ พรรคพลังธรรม เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
3
ทศพร รัญวาศรี พรรคพลังประชาชน เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
ชุมพร 1 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20[10]
2
3 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
ตรัง 1 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
2
มะลิวัลย์ รักเมือง พรรคพลังประชาชน เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
3 ทัศนีย์ สุนทรนนท์ พรรคไทยรักไทย
4
วิรัช ยิมเทียง พรรคประชากรไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
นครศรีธรรมราช 1
กณพ เกตุชาติ พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
2
3
ณัฏฐ์ประชา เกื้อสกุล พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
4 ปิติ เทพภักดี พรรคไทยรักไทย
5 วิรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล พรรคไทยรักไทย
6
อารี ไกรนรา พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
7
8 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
9 มาโนช เสนาชู พรรคคนขอปลดหนี้
10 เร็วจริง รัตนวิชา พรรคไทยรักไทย
นราธิวาส 1
อับดุลคอเต เจ๊ะอูเซ็ง พรรคคนขอปลดหนี้ เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
2
สุทธิพันธ์ ศรีกานนท์ พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
3 นัจมุดดีน อูมา พรรคไทยรักไทย
4
เดาฟิก สะมะแอ พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
5 สมรรถ วาหลง พรรคไทยรักไทย
ปัตตานี 1 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
2 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
3 สมมารถ เจ๊ะนา พรรคไทยรักไทย
4 มุข สุไลมาน พรรคไทยรักไทย
พังงา 1 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
2 กฤษ ศรีฟ้า พรรคไทยรักไทย
พัทลุง 1 วาทิต ไพศาลศิลป์ พรรคไทยรักไทย
2 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
3
เปลื้อง บัวสรี พรรคคนขอปลดหนี้ เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
ภูเก็ต 1
ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
2 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
ยะลา 1
นิยะปาร์ ระเด่นอาหมัด พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
2 ซูการ์โน มะทา พรรคไทยรักไทย
3
บูราฮานูดิน อุเซ็ง พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
ระนอง 1
สงขลา 1
วันชัย ปริญญาศิริ พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
2 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
3
ทวีศักดิ์ ทวีรัตน์ พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
4
กิตติพัฒน์ แก้วมณี พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
5
6
ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
7
อรัญ พรหมรัตน์ พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
สตูล 1
จิรายุส เนาวเกตุ พรรคไทยรักไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
2 ชัยรัตน์ ลําโป พรรคไทยรักไทย
สุราษฎร์ธานี 1
2
3 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
4 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
5
6 ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20


ภาคตะวันออก[แก้]

จังหวัด เขต รายนาม พรรค สมาชิกภาพ หมายเหตุ
จันทบุรี 1 กล้าณรงค์ พงษ์เจริญ พรรคไทยรักไทย
2 พลตำรวจตรีพยุง ตรงสวัสดิ์ พรรคไทยรักไทย
3 พงศ์เวช เวชชาชีวะ พรรคไทยรักไทย
ฉะเชิงเทรา 1 ฐิติมา ฉายแสง พรรคไทยรักไทย
2 สมชัย อัศวชัยโสภณ พรรคไทยรักไทย
3 สุชาติ ตันเจริญ พรรคไทยรักไทย
4 วุฒิพงศ์ ฉายแสง พรรคไทยรักไทย
ชลบุรี 1 สง่า ธนสงวนวงศ์ พรรคไทยรักไทย
2 อัมรินทร์ ตั้งประกอบ พรรคไทยรักไทย
3 วิทยา คุณปลื้ม พรรคไทยรักไทย
4 สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ พรรคไทยรักไทย
5 อิทธิพล คุณปลื้ม พรรคไทยรักไทย
6 อุทัย มณีรัตน์โรจน์ พรรคไทยรักไทย
7 ชาญยุทธ เฮงตระกูล พรรคไทยรักไทย
8 ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ พรรคไทยรักไทย
ตราด 1 สิงหา สง่าศิลป์ พรรคไทยรักไทย
ปราจีนบุรี 1 กนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม พรรคไทยรักไทย
2
3 ชยุต ภุมมะกาญจนะ พรรคไทยรักไทย
ระยอง 1 ยงยศ อรุณเวสสะเศรษฐ พรรคไทยรักไทย
2 ร้อยตรีกฤษฎา การุญ พรรคไทยรักไทย
3 ธารา ปิตุเตชะ พรรคไทยรักไทย
4 ปราโมทย์ วีระพันธ์ พรรคไทยรักไทย
สระแก้ว 1 สุรศักดิ์ เกตุสุภะ พรรคไทยรักไทย
2 ปัญญา ชาติปัญญาวุฒิ พรรคไทยรักไทย

ภาคตะวันตก[แก้]

จังหวัด เขต รายนาม พรรค สมาชิกภาพ หมายเหตุ
กาญจนบุรี 1 พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ พรรคไทยรักไทย
2 สันทัด จีนาภักดิ์ พรรคไทยรักไทย
3 เรวัต สิรินุกุล พรรคไทยรักไทย
4 ไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร พรรคไทยรักไทย
5 พลโทมะ โพธิ์งาม พรรคไทยรักไทย
ตาก 1 ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ พรรคไทยรักไทย
2 ชํานาญ สันติพนารักษ์ พรรคไทยรักไทย
3 สุกัลยา โชคบํารุง พรรคไทยรักไทย
ประจวบคีรีขันธ์ 1 พีระ สุกิจปาณีนิจ พรรคไทยรักไทย
2 พรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ พรรคไทยรักไทย
3
ทศเนตร เทียมเทศ พรรคประชากรไทย เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549
เพชรบุรี 1 พรจนัฐ ศรีรัตนานนท์ พรรคคนขอปลดหนี้
2 ธานี ยี่สาร พรรคไทยรักไทย
3 ปิยะ อังกินันทน์ พรรคไทยรักไทย
ราชบุรี 1 กอบกุล นพอมรบดี พรรคไทยรักไทย
2 วิวัฒน์ นิติกาญจนา พรรคไทยรักไทย
3 ปารีณา ไกรคุปต์ พรรคไทยรักไทย
4 วัฒนา มังคลรังษี พรรคไทยรักไทย
5 บุญลือ ประเสริฐโสภา พรรคไทยรักไทย

รายชื่อตัวอย่างผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง[แก้]

  1. รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
  2. นายรัฐเอกราช ราษฎร์ภักดีรัช
  3. นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ (ศาลจังหวัดตรัง ตัดสินยกฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 คำวินิจฉัยระบุว่าเป็นการกระทำเพื่อแสดงออกถึงสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ)
  4. นพ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา (อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่)
  5. นายนิกร ยอดหนูขุน
  6. นางปราณี วีรวงศ์ (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
  7. น.ส.จินตนา จินเดหวา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
  8. นางสุมล ตุลา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
  9. นางสอาด จินเดหวา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
  10. น.ส.วลัย ยนประเสริฐ (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
  11. นายศฦงคาร ชูวงศ์วุฒิ (ประธานชมรมโรงกลึงยะลา และรองประธานมูลนิธิสง)
  12. นายนิคม ชูวัฒนะ (อดีตผู้ใหญ่บ้าน ม.ภ ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร)
  13. นายยงค์ ยังพลขันธุ์ (เจ้าของสวนปาล์มขนาดใหญ่ จ.ชุมพร)
  14. นายกฤช เทพบำรุง (นักธุรกิจ จ.ภูเก็ต)
  15. นายบุญชัย จรัสรัศมี
  16. นายสมมาตร หมั่นคิด
  17. นายวิกรม อิศรางกูร
  18. นายสนชัย ฤทธิชัย
  19. นายพรเทพ จันทร์ทองแก้ว
  20. นายแสวง กลิ่นคง
  21. น.ส.บุญนำ จันทรุพันธ์ (ข้าราชการบำนาญ)

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกา[แก้]

25 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยทรงแสดงความห่วงใยปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่มีผู้สมัครพรรคเดียว ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งซ่อมซึ่งการเลือกตั้งซ่อมครั้งแรกผ่านพ้นไปก็ปรากฏว่ายังไม่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบ 500 คน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

ทรงชี้แนะให้พิจารณาว่าการที่ต้องมีการเลือกตั้งภายใน 30 วัน หลังยุบสภานั้นถูกต้องหรือไม่ หรือจะให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะหรือไม่ รวมทั้งทรงแสดงความเห็นว่าการเลือกตั้งโดยมีผู้สมัครพรรคเดียวนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย นอกจากนี้มีพระราชดำรัสว่ามาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มิได้ให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจทำอะไรได้ทุกอย่าง และทรงแนะแนวทางให้ฝ่ายตุลาการ คือ ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ ร่วมกันหารือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

การเพิกถอนการเลือกตั้ง และการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่[แก้]

การเลือกตั้งในครั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 198 เก็บถาวร 2006-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรณีการดำเนินการของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ เพิกถอนการเลือกตั้ง เพื่อจะได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดย ศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดการพิจารณาวินิจฉัย ในวันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

ผลการพิจารณา กรณีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก จำนวน 8 ท่าน วินิจฉัยว่า การดำเนินการของ กกต. ดังกล่าว มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อย จำนวน 6 ท่าน วินิจฉัยว่า การดำเนินการของ กกต. ดังกล่าว ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ในส่วนของการพิจารณา เพิกถอนการเลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 9 ท่าน วินิจฉัยว่า ให้มีการเพิกถอนการเลือกตั้ง และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปใหม่[11]

กกต.ดำเนินการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ และคำพิพากษาจำคุก กกต.[แก้]

จากกรณีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กกต.ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ได้นำมาซึ่งคำพิพากษาให้ กกต.ต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม [12] จนมีการสรรหา กกต.ใหม่ และกำหนดการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549[13]

การรัฐประหาร พ.ศ. 2549[แก้]

แต่ก่อนจะถึงการเลือกตั้งใหม่ ก็เกิดการก่อรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลภายใต้การรักษาการนายกรัฐมนตรี ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และภายหลังการรัฐประหารนั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีคำสั่งแถลงการณ์ฉบับที่ 3[14] จึงทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถูกยกเลิก

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 (ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 เมษายน 2549)
  2. "บรรหาร"ทำหนังสือถึง"ทักษิณ" ทรท.ส่อปัดลงสัตยาบันแก้รธน.
  3. ""ทักษิณ"ปัดตอบลงสัตยาบันขอเป็นผู้พิทักษ์ทรท.ถกเช้านี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-01. สืบค้นเมื่อ 2007-08-08.
  4. 'ทักษิณ'จนมุมอ้อนพรรคเล็กลงสัตยาบัน[ลิงก์เสีย]
  5. พรรคร่วมฝ่ายค้านปัดประชาคม"แม้ว"-มติคว่ำบาตรเลือกตั้ง
  6. "'หมอเปรม'บวชผ่าทางตัน!ทรท.ระส่ำกลัวสภาไม่500". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่หนึ่ง)
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่สอง)
  9. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่สาม)
  10. ไทยรัฐ, สรุปรวม พรรคไม้ประดับ แย่งที่นั่ง ทรท.ได้ถึง 9 เขต เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. "การพิจารณา เพิกถอนการเลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 2006-05-08.
  12. "ข่าวคำพิพากษาจาก นสพ.มติชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
  13. พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2549 (วันที่ 15 ตุลาคม 2549)
  14. ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลง องคมนตรี ศาลทั้งหลายดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป)