ประทวน เขียวฤทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประทวน เขียวฤทธิ์
ไฟล์:ประทวน เขียวฤทธิ์.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (85 ปี)
อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
พรรคการเมืองพรรคเพื่อไทย

นายประทวน เขียวฤทธิ์ (เกิด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย 6 สมัย

ประวัติ[แก้]

นายประทวน เขียวฤทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 เป็นบุตรของนายฉาย และ นางประทุม เขียวฤทธิ์[1] สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษา จาก โรงเรียนเมืองเชลียง

งานการเมือง[แก้]

ประทวนเคยดำรงตำแหน่งเป็นปลัดอำเภอ ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2531 สังกัดพรรครวมไทย (ต่อมาย้ายไปสังกัด พรรคเอกภาพ) และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2548 รวม 6 สมัย[2]

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย ซึ่งต่อมา ใน พ.ศ. 2550 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี

ในปี พ.ศ. 2555 เขาพร้อมกับสมาชิกบ้านเลขที่ 111 อีกจำนวนมาก ได้สมัครเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[3]

พ.ศ. 2556 ประทวนได้รับตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี) [4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ประทวน เขียวฤทธิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรครวมไทยพรรคเอกภาพ
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2007-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมการปกครอง
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. "สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ยื่นใบสมัครเข้าพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  4. ครม.ตั้ง “ธีรัตถ์”นั่งโทรโข่งรัฐบาล เด้ง “หมอพรทิพย์” เป็นที่ปรึกษากปต.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕