รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2490
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ลงนามในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร​)
วันลงนาม9 พฤศจิกายน 2490
ผู้ลงนามรับรองจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย)
วันลงนามรับรอง9 พฤศจิกายน 2490
วันประกาศ9 พฤศจิกายน 2490
วันเริ่มใช้9 พฤศจิกายน 2490
ท้องที่ใช้ไทย ราชอาณาจักรไทย
การร่าง
ชื่อร่างร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ผู้ยกร่างคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2490
การยกเลิก
ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 4 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 หรือหนึ่งวันหลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย หรือ ผู้บัญชาการทหารบกในปัจจุบัน เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

โดยมีเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นผู้ตรวจร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวใช้บังคับในขณะนั้น[1]

ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้และได้มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2490 อันตรงกับวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อปี 2492 ภายหลังการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ[2][แก้]

ประวัติความเป็นมา[แก้]

ก่อนทำการรัฐประหาร เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหารได้ทำการยกร่างรัฐธรรมนูญเตรียมไว้ คือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490” ซึ่งประกาศใช้ภายหลังเมื่อรัฐประหารสำเร็จ

หลังการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสร็จ หลวงกาจสงครามนำไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำ ด้วยเกรงว่าจะถูกค้นพบและถูกข้อหากบฏ ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เรียกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า “ฉบับใต้ตุ่ม” หรือ “ฉบับตุ่มแดง” คณะรัฐประหาร ได้ให้เหตุผลในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แทนรัฐธรรมนูญฉบับเดิมว่าจำต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เพราะ

รัฐธรรมนูญฉบับก่อน เหมาะสมกับประเทศไทยในสมัยก่อนเท่านั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะเป็นวิถีทางจรรโลงประเทศชาติให้วัฒนาถาวร จะเป็นทางบำบัดยุคเข็ญของประชาชนทั้งปวง

สาระสำคัญ[แก้]

รัฐสภา มีสองสภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทน

วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี แต่ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนด 3 ปี ให้มีการเปลี่ยนสมาชิกวุฒิสภาจำนวนกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก สภาผู้แทน ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของราษฎร มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ เชื้อชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างน้อย 15 คน อย่างมาก 25 คน ในการตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานคณะอภิรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ รัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ

การสิ้นสุด[แก้]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 ถูกยกเลิกเนื่องจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 รับธรรมนูญฉบับนี้มีระยะเวลาในการใช้บังคับ 1 ปี 4 เดือน 13 วัน

เกร็ดเล็ก ๆ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490[แก้]

ได้นำ "วุฒิสภา" มาใช้เป็นครั้งแรก แทน "พฤฒสภา"

อ้างอิง[แก้]

  1. ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  2. นริศรา เพชรธนาภรณ์,ใหม่ มูลโสม;อินโฟกราฟิก เรื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ปีที่แต่ง 7 มิถุนายน 2564 https://library.parliament.go.th/th/infographic/2019-06-07 สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2567