นายกรัฐมนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นายกรัฐมนตรี (อังกฤษ: prime minister) เป็นหัวหน้าของคณะรัฐมนตรีและเป็นผู้นำของรัฐมนตรีในแผนกฝ่ายการบริหารของรัฐบาล ซึ่งมักจะอยู่ในระบบรัฐสภาหรือกึ่งประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีนั้นจะไม่ใช่ประมุขแห่งรัฐของประเทศรัฐต่าง ๆ หรือไม่ก็พระมหากษัตริย์ พวกเขาจะทำหน้าที่แทนเป็นหัวหน้ารัฐบาล การทำหน้าที่โดยทั่วไปจะอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ในรูปแบบผสมของรัฐบาลขุนนางและประชาธิปไตยหรือประธานาธิบดีในรูปแบบสาธารณรัฐของรัฐบาล

ในระบบรัฐสภานั้นจะทำตามแบบอย่างของระบบเวสต์มินสเตอร์ นายกรัฐมนตรีนั้นจะทำหน้าที่เป็นประธานและหัวหน้าที่แท้จริงของรัฐบาลและหัวหน้าของแผนกฝ่ายการบริหารต่าง ๆ ในระบบดังกล่าว ประมุขแห่งรัฐหรือตัวแทนอย่างเป็นทางการของพวกเขา (เช่น พระมหากษัตริย์, ประธานาธิบดี, ผู้สำเร็จราชการ) มักจะดำรงตำแหน่งจากการประกอบพิธีอย่างเป็นทางการเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีฐานะแค่เป็นอำนาจสำรอง(reserve powers)

ในหลายระบบ นายกรัฐมนตรีจะคัดเลือกและอาจจะต้องทำการปลดออกต่อสมาชิกคนอื่น ๆ ของคณะรัฐมนตรี และจัดสรรตำแหน่งหน้าที่ให้กับสมาชิกภายในรัฐบาล ในระบบส่วนใหญ่ นายกรัฐมนตรีจะเป็นหัวหน้าของสมาชิกและประธานของคณะรัฐมนตรี ในระบบของชนกลุ่มน้อย ที่มีโดดเด่นในรัฐบาลของระบบกึ่งประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อให้จัดการราชการพลเรือนและปฏิบัติตามคำสั่งของประมุขแห่งรัฐ

นายกรัฐมนตรีมักจะเป็น(แต่ไม่เสมอไป) สมาชิกของสภานิติบัญญัติหรือสภาผู้แทนราษฎร์และคาดว่าจะมีรัฐมนตรีคนอื่น ๆ เพื่อให้การรับรองว่ากระบวนการร่างกฎหมายจะผ่านทางสภานิติบัญญัติ ในระบอบราชาธิปไตยบางแห่ง พระมหากษัตริย์อาจจะใช้อำนาจในการบริหาร(ที่เป็นที่รู้จักกันคือ พระราชอภิสิทธิ์) ที่จะมอบตำแหน่งให้อย่างเป็นความลับในพิธีราชาภิเษก และอาจจะใช้อภิสิทธิ์โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

เช่นเดียวกับการเป็นหัวหน้ารัฐบาล การเป็นนายกรัฐมนตรีอาจจำเป็นจะต้องมีหน้าที่บทบาทหรือตำแหน่งอื่น ๆ - นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร จากการยกตัวอย่าง ยังเป็นลอร์ดเอกแห่งการคลังและรัฐมนตรีสำหรับข้าราชการพลเรือน ในบางกรณี นายกรัฐมนตรีอาจจะเลือกที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพิ่มเติม (เช่น เมื่อตำแหน่งรัฐมนตรีนั้นมีความสำคัญต่อคำสั่งของรัฐบาลในช่วงเวลาสมัยนั้น): ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง วินสตัน เชอร์ชิล ยังดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม(แม้ว่าในช่วงเวลาสมัยนั้น จะไม่มีกระทรวงกลาโหมก็ตาม) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ รัฐบาลอิสราเอลชุดที่สามสิบสี่ (ค.ศ. 2015-2019) เมื่อเบนจามิน เนทันยาฮู ซึ่งทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงความร่วมมือระดับภูมิภาค กระทรวงเศรษฐกิจ กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย

รายชื่อนายกรัฐมนตรี[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]