วิฑูรย์ วงษ์ไกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิฑูรย์ วงษ์ไกร
ไฟล์:วิฑูรย์ วงษ์ไกร.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
พรรคการเมืองพรรคเพื่อไทย
บุพการี
  • ฮอง วงษ์ไกร (บิดา)
  • สนิท วงษ์ไกร (มารดา)

นายวิฑูรย์ วงษ์ไกร (เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2494) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร 5 สมัย

ประวัติ[แก้]

นายวิฑูรย์ วงษ์ไกร เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายฮอง และ นางสนิท วงษ์ไกร[1] สำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต และ ได้รับศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน[แก้]

วิฑูรย์ เคยดำรงตำแหน่งนักจัดรายการวิทยุ และ หัวหน้าสถานีวิทยุ จ.ส. 4 จังหวัดยโสธร โดยรายการที่วิฑูรย์จัด คือ รายการเพลงลูกทุ่ง[2]

งานการเมือง[แก้]

วิฑูรย์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2548 รวม 5 สมัย[3]

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย ซึ่งต่อมา ใน พ.ศ. 2550 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี

ในปี พ.ศ. 2555 เขาพร้อมกับสมาชิกบ้านเลขที่ 111 อีกจำนวนมาก ได้สมัครเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

วิฑูรย์ วงษ์ไกร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคกิจสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดยโสธร. รองศาสตราจารย์ ดร. พิชญ์ สมพอง สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2551
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. "สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ยื่นใบสมัครเข้าพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2013-10-03.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔