ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอเชียงดาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเชียงดาว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chiang Dao
นาข้าวกับดอยเชียงดาว
นาข้าวกับดอยเชียงดาว
คำขวัญ: 
เชียงดาวชายแดน ถ้ำสวยดอยสูง
พระสถูปเมืองงาย กำเนิดสายแม่ปิง
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอเชียงดาว
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอเชียงดาว
พิกัด: 19°21′58″N 98°57′51″E / 19.36611°N 98.96417°E / 19.36611; 98.96417
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,882.1 ตร.กม. (726.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด101,481 คน
 • ความหนาแน่น53.92 คน/ตร.กม. (139.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50170
รหัสภูมิศาสตร์5004
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเชียงดาว 399 หมู่ 6 ถนนโชตนา ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เชียงดาว (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำปิงซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสองของแม่น้ำที่บรรจบมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา และอำเภอเชียงดาวมีอายุในการจัดตั้งเป็นอำเภอครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2551 (ตั้งเป็นอำเภออย่างเป็นทางการในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2451)[1] และในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 ยูเนสโกได้ประกาศตั้งพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก คือ พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว นับเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลลำดับที่ 5 ของประเทศไทย

นกในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว แต่ทว่าความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตของที่นี่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง โดยจะมีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก และพืชพรรณที่หายากหลายชนิด อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของกวางผา สัตว์กีบคู่ประเภทเดียวกับเลียงผา ที่พบเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นในประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอเชียงดาวมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

วัดถ้ำเชียงดาว หรือ วัดบ้านถ้ำ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2310 ตั้งอยู่ในบริเวณเขาหลวงเชียงดาว หน้าถ้ำมีธารน้ำไหล มีน้ำไหลออกมาจากถ้ำตลอดปี
วัดถ้ำผาปล่องตั้งอยู่บนยอดเขาสูงทางขึ้นโดยใช้บันได 510 ขั้นขึ้นไปจนถึงสำนักสงฆ์ เป็นสถานปฏิบัติธรรมอันเงียบสงบ
ถ้ำเชียงดาว ภายในมีหินงอกหินย้อยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่สวยงาม บางแห่งเป็นซอกหลืบ เมื่อฉายไฟ จะมีประกายระยิบระยับ สามารถจินตนาการเป็นรูปต่าง ๆ ได้มากมาย
ยอดดอยหลวงเชียงดาว เป็นภูเขาหินปูนที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูง 2,275 เมตร
ดอยเชียงดาว

ประวัติ

[แก้]

เดิมเมื่อครั้งนครเชียงใหม่ยังเป็นราชธานี ในเขตท้องที่อำเภอเชียงดาว เคยเป็นที่ตั้งของหัวเมืองน้อยใหญ่ ตามแนวชายแดนซึ่งขึ้นกับนครเชียงใหม่ คือ เมืองงาย เมืองแหง เมืองคอง และเมืองนะ จะมีประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน คือ ชาวไทยส่วนใหญ่ ส่วนชาวพื้นเมืองจะอาศัยอยู่บริเวณเมืองคองและทางตอนใต้ของเมืองงายลงมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 หัวเมืองเหล่านี้ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเชียงดาว มีเจ้าราชบุตร ณ เชียงใหม่ ดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอเชียงดาว

อำเภอเชียงดาวเป็นอำเภอที่มีเมืองเก่าตั้งอยู่ในท้องที่หลายเมือง เท่าที่ทราบในปัจจุบันได้แก่ 1.เมืองเชียงดาว 2.เมืองงาย 3.เมืองนะ 4.เมืองคอง เมื่อ พ.ศ. 2525 เมืองเก่าทั้งสี่เมืองนี้ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนว่าสร้างขึ้นในยุคสมัยใด แม้จะมีการกล่าวถึงในพงศาวดารบ้างก็เพียงแต่อ้างถึงเท่านั้น อ้างเพื่อประกอบเหตุการณ์จังหวัดเชียงใหม่บ้างประกอบเหตุการณ์สงครามระหว่างไทยกับพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาบ้างเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดใด ๆ กล่าวถึงเมืองทั้งสี่นี้เลย การศึกษาเกี่ยวกับเมืองทั้งสี่เมืองนี้จึงต้องอาศัยค้าบอกกล่าวของผู้สูงอายุในรุ่นหลังประกอบกับเหตุการณ์ของเมืองเชียงใหม่ เหตุการณ์สงครามระหว่างไทย–พม่า จากซากเมืองเก่า ซากเจดีย์ร้าง แล้วประมาณเอา ความน่าจะเป็นว่าสร้างอยู่ในยุคใดสมัยใด

  • วันที่ 30 มิถุนายน 2450 เปลี่ยนแปลงเขตแขวงปิงเหนือกับแขวงแม่แตง มณฑลพายัพ โดยโอนพื้นที่กิ่งแขวงเชียงดาว แขวงปิงเหนือ มาขึ้นกับแขวงแม่แตง[2] ตั้งเป็นกิ่งแขวงเชียงดาว อำเภอแม่แตง
  • วันที่ 12 กรกฎาคม 2451 รวมกิ่งแขวงเชียงดาวและกิ่งแขวงเมืองแหง แขวงแม่แตง เป็น อำเภอเชียงดาว[1]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลแม่นะ แยกออกจากตำบลเชียงดาว[3]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลเชียงดาว ในท้องที่หมู่ 4, 6 ตำบลเชียงดาว[4]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2516 จัดตั้งตำบลเชียงดาว (เฉพาะเขตสุขาภิบาลเชียงดาว) ตำบลเมืองนะ ตำบลเมืองงาย และตำบลแม่นะ เป็น สภาตำบลเชียงดาว สภาตำบลเมืองนะ สภาตำบลเมืองงาย และสภาตำบลแม่นะ[5]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม 2520 ตั้งตำบลเปียงหลวง แยกออกจากตำบลเมืองแหง[6]
  • วันที่ 16 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลปิงโค้ง แยกออกจากตำบลเมืองงาย[7]
  • วันที่ 5 พฤษภาคม 2524 แยกพื้นที่ตำบลเมืองแหง และตำบลเปียงหลวง อำเภอเชียงดาว มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเวียงแหง[8] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเชียงดาว
  • วันที่ 21 มิถุนายน 2526 ตั้งตำบลทุ่งข้าวพวง แยกออกจากตำบลเมืองงาย[9]
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว เป็น อำเภอเวียงแหง[10]
  • วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ตั้งตำบลแสนไห แยกออกจากตำบลเปียงหลวง[11]
  • วันที่ 7 ตุลาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองงาย ในท้องที่หมู่ 1–4, 9–10 ตำบลเมืองงาย[12]
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลเชียงดาว (เฉพาะเขตสุขาภิบาลเชียงดาว) สภาตำบลแม่นะ สภาตำบลปิงโค้ง สภาตำบลเมืองงาย (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเมืองงาย) สภาตำบลทุ่งข้าวพวง และสภาตำบลเมืองนะ เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นะ องค์การบริหารส่วนตำบลปิงโค้ง องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองงาย องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งข้าวพวง และองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลเมืองนะ[13]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลเมืองคอง เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคอง[14]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเชียงดาว และสุขาภิบาลเมืองงาย เป็น เทศบาลตำบลเชียงดาว และเทศบาลตำบลเมืองงาย ตามลำดับ[15] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองนะ เป็น เทศบาลตำบลเมืองนะ[16]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุปู่ก่ำ[17] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุปู่ก่ำ เป็น เทศบาลตำบลพระธาตุปู่ก่ำ[18] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลปิงโค้ง เป็น เทศบาลตำบลปิงโค้ง[19] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งข้าวพวง เป็น เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง[20]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแม่นะ เป็น เทศบาลตำบลแม่นะ[21]
ไบรโอไฟต์ที่ดอยหลวงเชียงดาว

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอเชียงดาวแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 83 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวน
หมู่บ้าน
ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2566)[22]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2566)[22]
1. เชียงดาว Chiang Dao 16 17,863 3,765 (ทต. เชียงดาว)
14,098 (อบต. เชียงดาว)
2. เมืองนะ Mueang Na 14 38,354 38,354 (ทต. เมืองนะ)
3. เมืองงาย Mueang Ngai 11 6,111 3,749 (ทต. เมืองงาย)
2,362 (ทต. พระธาตุปู่ก่ำ)
4. แม่นะ Mae Na 13 9,914 9,914 (ทต. แม่นะ)
5. เมืองคอง Mueang Khong 6 3,896 3,896 (อบต. เมืองคอง)
6. ปิงโค้ง Ping Khong 16 14,295 14,295 (ทต. ปิงโค้ง)
7. ทุ่งข้าวพวง Thung Khao Phuang 7 11,048 11,048 (ทต. ทุ่งข้าวพวง)
รวม 83 101,481 83,487 (เทศบาล)
17,994 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอเชียงดาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

พื้นที่สงวนชีวมณฑล

[แก้]

ดอยหลวงเชียงดาว ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลกจากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 ในการประชุมคณะกรรมการสภาประสานงานระหว่างชาติว่าด้วยโครงการด้านมนุษย์และชีวมณฑล (International Co-orinating Council on the Man and the Biosphere Programme: MAB-ICC) ครั้งที่ 33 ในระหว่างวันที่ 13-17 กันยายน พ.ศ. 2564 ณ เมืองอาบูจา ประเทศไนจีเรีย ซึ่งองค์การยูเนสโกมีกำหนดประกาศให้และพื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็น 1 ใน 20 พื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก

ดอยเชียงดาวมีคุณค่าสำคัญที่ควรค่าต่อการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล ได้แก่

  • มีสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ ที่เชื่อมโยงกับสังคมพืชในเทือกเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ของจีน
  • มีภูมิประเทศเขาหินปูนอันโดดเด่น
  • มีภูมิปัญญาเหมืองฝาย ตัวอย่างกลไกการจ่ายแทนคุณระบบนิเวศ ในพื้นที่บ้านปางมะโอ พื้นที่แกนกลางที่ได้รับการดูแลโดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มาเป็นเวลากว่า 40 ปี
  • มีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ โดยมีการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่เข้มข้น โดยเฉพาะเส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยหลวงเชียงดาว
  • มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาทิ วัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลีซอ ปกากะญอ และวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งแต่ละกลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

ดอยเชียงดาว ถือเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมเอื้อต่อการวิจัยในพื้นที่ เนื่องจากมีสถานีวิจัยในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีประสบการณ์โดดเด่นในการจัดการพื้นที่คุ้มครองเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะความสำเร็จในการอนุรักษ์กวางผาในถิ่นที่อยู่ นอกจากนี้ ในพื้นที่ดอยเชียงดาวยังมีสถานีวิจัยต้นน้ำ และสถานีวิจัยเกษตรพื้นที่สูง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (15): 447–448. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-08-08. วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2451
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (13): 301. วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2450
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 25-26. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2500
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (68 ง): 2995–2997. วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่อาย อำเภอดอยเต่า อำเภอจอมทอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (142 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-9. วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2522
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงแหง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (68 ง): 1282. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2019-08-08. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2524
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (101 ง): 1988–1991. วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2526
  10. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (179 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-08. วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (201 ง): (ฉบับพิเศษ) 45-47. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2536
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (177 ง): (ฉบับพิเศษ) 18-20. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-04-14. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-04-14. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  15. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-14 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  16. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล เมืองนะ เป็น เทศบาลตำบล". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  17. "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองงาย ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุปู่ก่ำ". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  18. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล พระธาตุปู่ก่ำ เป็น เทศบาลตำบลพระธาตุปู่ก่ำ". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  19. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ปิงโค้ง เป็น เทศบาลตำบล". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  20. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ทุ่งข้าวพวง เป็น เทศบาลตำบล". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  21. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นะ เป็น เทศบาลตำบลแม่นะ". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
  22. 22.0 22.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.