ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม"

เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
พสิษฐ์ พรมดี (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 86: บรรทัด 86:
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย เมื่อปี[[ค.ศ. 2013]] ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงพบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นการส่วนพระองค์ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ [[โรงพยาบาลศิริราช]]
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย เมื่อปี[[ค.ศ. 2013]] ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงพบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นการส่วนพระองค์ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ [[โรงพยาบาลศิริราช]]


จาก[[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เมื่อวันที่ [[13 ตุลาคม]] [[ค.ศ. 2016]] สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ได้มีพระราชดำรัสแสดงความเสียพระราชหฤทัย สำนักพระราชวังของเบลเยียม ได้นำข้อความพระราชดำรัสเผยแพร่ผ่านทาง[[ทวิตเตอร์]]ของสำนักพระราชวัง ความว่า "รู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการเสด็จสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการสิ้นสุดรัชสมัยที่ยาวนาน ข้าพเจ้าขอส่งความระลึกไปถึงพระราชวงศ์ และพสกนิกรชาวไทย" ทั้งในงานเผาพระบรมศพ สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ [[สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ด้วย
จาก[[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เมื่อวันที่ [[13 ตุลาคม]] [[ค.ศ. 2016]] สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ได้มีพระราชดำรัสแสดงความเสียพระราชหฤทัย สำนักพระราชวังของเบลเยียม ได้นำข้อความพระราชดำรัสเผยแพร่ผ่านทาง[[ทวิตเตอร์]]ของสำนักพระราชวัง ความว่า "รู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการเสด็จสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการสิ้นสุดรัชสมัยที่ยาวนาน ข้าพเจ้าขอส่งความระลึกไปถึงพระราชวงศ์ และพสกนิกรชาวไทย" ทั้งในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ [[สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ด้วย


[[ไฟล์:Coat of Arms of the King of the Belgians.svg|thumb|right|150px|ตราประจำพระองค์ พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม]]
[[ไฟล์:Coat of Arms of the King of the Belgians.svg|thumb|right|150px|ตราประจำพระองค์ พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:30, 25 สิงหาคม 2562

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งชาวเบลเยียม
ครองราชย์21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 – ปัจจุบัน
(10 ปี 294 วัน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2
รัชทายาทเจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์
นายกรัฐมนตรีเอลีโย ดี รูโป
ชาร์ล มีแชล
พระราชสมภพ15 เมษายน พ.ศ. 2503 (64 ปี)
Belvédère Castle ลาเคิน บรัสเซลส์ เบลเยียม
คู่อภิเษกมาตีลด์ ดูว์เดอเกม ดาโก
(ค.ศ. 1999 – ปัจจุบัน)
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
ฝรั่งเศส: ฟีลิป เลโอโปลด์ หลุยส์ มารี
ดัตช์: ฟีลิป เลโอโปลด์ โลเดอไวก์ มารียา
เยอรมัน: ฟีลิพพ์ เลโอพ็อลท์ ลูทวิช มารียา
ราชวงศ์เบลเยียม (สาขาซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา)
พระราชบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีเปาลา
ศาสนาโรมันคาทอลิก

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม (การออกเสียงภาษาอื่น: อังกฤษ: His Majesty King Philippe of the Belgians; [Sa Majesté le Roi Philippe des Belges] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ); [Zijne Majesteit de Koning Filip der Belgen] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ); [Seine Majestät der König Philipp der Belgier] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ), เสด็จพระราชสมภพ 15 เมษายน ค.ศ. 1960) เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในอดีตสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 และสมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม ทรงสืบราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ภายหลังจากการสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชบิดาอันเนื่องมาจากปัญหาพระพลานามัย โดยหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ จึงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น ดัชเชสแห่งบราบันท์ รัชทายาทพระองค์ต่อไปของเบลเยียม

ช่วงทรงพระเยาว์

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1960 พระราชบิดาคือสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นคือ เจ้าชายแห่งลีแยช (พระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3 และพระอนุชาในสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง) และพระราชมารดาคือสมเด็จพระราชินีเปาลา ซึ่งขณะนั้นคือเจ้าหญิงแห่งลีแยช พระชายา (ธิดาในขุนนางชาวอิตาเลียน เจ้าชายฟุลโกที่ 8 รุฟโฟ่แห่งคาลาเบรีย, ดยุคแห่งกวาร์เดีย ลอมบาร์เดีย) โดยได้รับพระราชทานพระยศ เจ้าชายฟีลิป ซึ่งได้ประสูติในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระราชปิตุลา

ประสูติ ณ พระราชวังเบลเวแดร์ ในเมืองลาเคิน ทางตอนเหนือของกรุงบรัสเซลส์ โดยทรงเข้าพิธีจุ่มศีลล้างบาป อีก 1 เดือนต่อมา เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ณ วิหารแซงต์ ฌากแห่งโควเดนแบร์ก ในกรุงบรัสเซลส์ เจ้าชายฟีลิปได้รับพระราชทานพระนามตาม เจ้าชายฟิลิป เคานต์แห่งแฟลนเดอส์ ทั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3 ทรงรับเป็นพระบิดาอุปถัมภ์ โดยพระมารดาอุปถัมภ์คือ เจ้าหญิงหลุยซ่า รุฟโฟ่แห่งคาลาเบรีย พระอัยยิกา (พระมารดาในเจ้าหญิงเปาลา)

เจ้าชายฟีลิป ทรงเฉลิมพระนามเต็มแบบ 3 ภาษา ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของเบลเยียม ดังนี้

  • ฝรั่งเศส: ฟีลิป เลโอโปลด์ หลุยส์ มารี (Philippe Léopold Louis Marie)
  • ดัตช์: ฟีลิป เลโอโปลด์ โลเดอไวก์ มารียา (Filip Leopold Lodewijk Maria)
  • เยอรมัน: ฟีลิพพ์ เลโอพ็อลท์ ลูทวิช มารียา (Philipp Leopold Ludwig Maria)

เจ้าชายฟีลิป มีพระขนิษฐา 1 พระองค์ และพระอนุชา 1 พระองค์ ได้แก่

การศึกษา

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 ถึงปี ค.ศ. 1981 เจ้าชายฟีลิปทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยแห่งเบลเยียม (Belgian Royal Military Academy) ในรุ่นที่ 118 และต่อมาเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1980 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารยศร้อยตรี และได้เข้าสาบานพระองค์เป็นข้าราชการทหาร[1]

ต่อมา ได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยทรินิตี้ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา พระองค์ทรงจบการศึกษาในปีค.ศ. 1985 ในสาขาวิชารัฐศาสตร์

เจ้าชายฟีลิปยังทรงได้รับประกาศนียบัตรรับรองการขับเครื่องบินขับไล่ รวมทั้งกระโดดร่มและคอมมานโด ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 ได้ทรงศึกษาต่อหลักสูตรพิเศษที่สถาบันป้องกันราชอาณาจักรขั้นสูง (Royal Higher Defence Institute) และในปีเดียวกัน ทรงได้รับการเลื่อนพระยศทางทหารเป็นพันเอก และต่อมาในปี ค.ศ. 2001 เป็นพลตรีในกองทัพบก กองทัพอากาศ และพลเรือตรีในกองทัพเรือ

เจ้าชายฟีลิป ดยุกแห่งบราบันต์ กับ มาตีลด์ ดูว์เดเกม ดาโก

ดยุกแห่งบราบันต์

หลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 และไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดา ทำให้เจ้าชายอัลแบร์ เจ้าชายแห่งลีแยช ทรงสืบราชสมบัติต่อ เฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 6 แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม เจ้าชายฟีลิป จึงทรงดำรงพระราชอิสริยยศ ดยุกแห่งบราบันต์ มกุฎราชกุมารแห่งเบลเยียม

อภิเษกสมรส

เจ้าชายฟีลิป ดยุกแห่งบราบันต์ มกุฎราชกุมารแห่งเบลเยียม ทรงอภิเษกสมรสกับ มาตีลด์ มารี คริสเตียนน์ กิสเลน ดูว์เดอเกม ดาโก ธิดาของเคานท์ พาทริค ดูว์เดอเกม ดาโก จากตระกูลเก่าแก่ในเขตวัลลูน ทางตอนใต้ของเบลเยียม[2][3] กับเคานท์เตส อันนา มาเรีย โคโมรอฟสกา ชาวโปแลนด์[4] เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1999 มีการประกอบพิธีแบบเป็นทางการ ณ ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ และพระราชพิธีทางศาสนา ณ มหาวิหารแซงต์มิเชลและแซงต์กูดูลา ในกรุงบรัสเซลส์ มาตีลด์ได้รับพระราชทานพระราชอิสริยยศ ดัชเชสแห่งบราบันต์ เจ้าชายฟีลิปและเจ้าหญิงมาตีลด์ มีพระโอรสและพระธิดารวม 4 พระองค์

เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ทรงประกาศสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการ โดยทรงพระราชปรารภเรื่องเกี่ยวกับปัญหาทางพระพลานมัย โดยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ซึ่งเป็นวันชาติเบลเยียม ทรงลงพระปรมาภิไธยสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการให้แก่เจ้าชายฟีลิป ดยุกแห่งบราบันต์ และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งชาวเบลเยียม และสาบานพระองค์หน้าพระราชบัลลังก์ต่อหน้าคณะองคมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา ณ รัฐสภาในกรุงบรัสเซลส์

หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีแล้ว สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีพระองค์ใหม่ ได้เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระราชวังหลวง กรุงบรัสเซลส์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้พสกนิกรชาวเบลเยียม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ชื่นชมพระบารมีและถวายพระพร โดยเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว เจ้าหญิงมาตีลด์ ดัชเชสแห่งบราบันท์ พระชายา ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งชาวเบลเยียม และเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ได้ขึ้นเป็นดัชเชสแห่งบราบันท์ มกุฎราชกุมารีแห่งเบลเยียม พระรัชทายาทพระองค์ต่อไป ซึ่งหากเป็นดังที่คาดการณ์กันไว้ เจ้าหญิงเอลิซาเบธจะทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกของเบลเยียม

พระราชกรณียกิจ

ตั้งแต่เมื่อครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ ดยุกแห่งบราบันต์ มกุฎราชกุมารแห่งเบลเยียม สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ทรงให้ความสำคัญด้านการแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าขายระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1993 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเบลเยียม (Belgian Foreign Trade Board: BFTB) โดยสืบตำแหน่งต่อจากสมเด็จพระราชบิดา ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานกิตติมศักดิ์ตั้งแต่ปีค.ศ. 1962 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ทรงรับการถวายตำแหน่งองค์ประธานกิตติมศักดิ์ขององค์การการค้าระหว่างประเทศ[5] โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายและเสด็จพระราชดำเนินเยือนนานาประเทศเพื่อการแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ[6][7] และเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เจ้าหญิงอัสตริด พระกนิษฐภคินี ทรงรับช่วงต่อการปฏิบัติพระกรณียกิจนี้

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป และสมเด็จพระราชินีมาตีลด์ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยหลายครั้ง เมื่อครั้นตั้งแต่ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ ดยุคและดัชเชสแห่งบราบันท์ โดยทรงเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้งการหาแนวทางในการทำการค้าและการลงทุนร่วมกันในสาขาที่ประเทศไทยให้ความสำคัญลำดับต้นในการพัฒนาประเทศ และที่เบลเยียมมีเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน สุขภาพและเวชภัณฑ์ เกษตรอาหาร เป็นต้น เป็นความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนในสาขาที่มีศักยภาพร่วมกันและสอดคล้องกับแผนการพัฒนาประเทศของไทย รวมทั้งเป็นการสร้างความรู้และความเข้าใจระดับประชาชนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสองประเทศที่มีรากฐานมากกว่า 140 ปี[8]

นอกจากมีความสัมพันธ์ทางการค้าขายแล้ว ยังทรงกระชับความสัมพันธ์ของพระราชวงศ์ทั้ง 2 ประเทศ โดยเมื่อปีค.ศ. 2006 ดยุคและดัชเชสแห่งบราบันท์ (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงร่วมกับสมาชิกพระราชวงศ์ต่างประเทศในการพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกรุงเทพมหานคร

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย เมื่อปีค.ศ. 2013 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงพบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นการส่วนพระองค์ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช

จากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2016 สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ได้มีพระราชดำรัสแสดงความเสียพระราชหฤทัย สำนักพระราชวังของเบลเยียม ได้นำข้อความพระราชดำรัสเผยแพร่ผ่านทางทวิตเตอร์ของสำนักพระราชวัง ความว่า "รู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการเสด็จสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการสิ้นสุดรัชสมัยที่ยาวนาน ข้าพเจ้าขอส่งความระลึกไปถึงพระราชวงศ์ และพสกนิกรชาวไทย" ทั้งในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ด้วย

ตราประจำพระองค์ พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม
ธงประจำพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งชาวเบลเยียม

พระราชบุตร

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป และสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม มีพระราชธิดา 2 พระองค์ และพระราชโอรส 2 พระองค์ รวมทั้งสิ้น 4 พระองค์ ดังนี้

พระอิสริยยศ

  • 15 เมษายน ค.ศ. 1960 – 9 สิงหาคม ค.ศ. 1993: เจ้าชายฟีลิปแห่งเบลเยียม
    (His Royal Highness Prince Philippe of Belgium)
  • 9 สิงหาคม ค.ศ. 1993 – 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013: เจ้าชายฟีลิป ดยุกแห่งบราบันต์
    (His Royal Highness The Duke of Brabant)
  • 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 – ปัจจุบัน : สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเบลเยียม
    (His Majesty The King of the Belgians)

ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งเบลเยียม พระมหากษัตริย์เบลเยียมจะทรงเฉลิมพระปรมาภิไธย และพระราชอิสริยยศอย่างเป็นทางการที่ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งชาวเบลเยียม (อังกฤษ: His Majesty The King of the Belgians) โดยจะไม่ทรงฉลองพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเบลเยียม ซึ่งใช้สำหรับอดีตพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ พระราชอิสริยยศอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์แห่งเบลเยียม เขียนแบบ 3 ภาษา ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของเบลเยียม ดังนี้

  • [Sa Majesté le Roi des Belges] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (ซา เมเชสเต้ เลอ คัว เด เบลช์)
  • [Zijne Majesteit de Koning der Belgen] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (เซย์เนอ มาเยสเตท เดอ โคนิง แดร์ เบลเคิน)
  • [Seine Majestät der König der Belgier] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (ไซเนอ มาเยสเตท แดร์ เคอนิก แดร์ เบลเกียร์)

พระเกียรติยศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เบลเยียม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

รายการเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
1993  เนเธอร์แลนด์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งออเรนจ์-นัสเซา (Grand Cross of the Order of Orange-Nassau) [9][10]
2013 เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ (Recipient of the King Willem-Alexander Inauguration Medal)
2016 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชสีห์แห่งเนเธอร์แลนด์ (Knight Grand Cross of the Order of the Netherlands Lion)
1994  อาร์เจนตินา เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย (Grand Cross of the Order of the Liberator General San Martín) [11]
 ญี่ปุ่น เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ (Knight Grand Cordon with Collar of the Order of the Chrysanthemum) [12]
1995  นครรัฐวาติกัน เครื่องอิสริยาภรณ์อันศักดิ์สิทธิ์แห่งเยรูซาเล็ม (Knight Grand Cross of the Order of the Holy Sepulchre|Equestrian Order of the Holy Sepulchre of Jerusalem) [13]
1996  โบลิเวีย เครื่องอิสริยาภรณ์นกคอนดอร์แห่งแอนดีส (Grand Cross of the Order of the Condor of the Andes) [11]
1996  สวีเดน เหรียญที่ระลึกในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 50 พรรษา สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน (Recipient of the 50th Birthday Badge Medal of King Carl XVI Gustaf) [14][15]
2001 เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาเทวาแห่งสวีเดน (Knight of the Royal Order of the Seraphim) [16]
2010 เหรียญที่ระลึกในโอกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรส เจ้าหญิงวิคตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน (Recipient of the Royal Wedding of Crown Princess Victoria of Sweden) [17]
2016 เหรียญที่ระลึกในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 70 พรรษา สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน (Recipient of the 70th Birthday Badge Medal of King Carl XVI Gustaf)
1997  โปรตุเกส เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์อาวิส (Grand Cordon of the Order of Aviz) [18]
2005 เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์แห่งพระคริสต์ (Grand Cross of the Order of Christ)
1998  เยอรมนี เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Grand Cross of the Order of Merit of the Federal Republic of Germany) [19]
1998  มอลตา เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์คณะทหารองค์อธิปัตย์แห่งมอลตา (Knight Grand Cross of Honour and Dévotion of the Sovereign Military Order of Malta) [11]
1999  ลักเซมเบิร์ก เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตทองแห่งราชวงศ์นัสเซา (Knight Grand Cross of the Order of the Gold Lion of the House of Nassau) [20]
2000  สเปน เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งคาทอลิกอิสซาเบลล่า (Knight Grand Cross of the Order of Isabella the Catholic) [21][22]
2002  เดนมาร์ก เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยราแห่งเดนมาร์ก (Knight Grand Cross of the Order of the Elephant) [23]
2003  นอร์เวย์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งเซนต์โอลาฟ (Knight Grand Cross with Collar of the Order of St. Olav) [24][25]
2004  ฟินแลนด์ เครื่องอิสริยาภรณ์กุหลาบขาวแห่งฟินแลนด์ (Grand Cross with Collar of the Order of the White Rose) [26]
 โปแลนด์ เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีย์ขาวแห่งโปแลนด์ (Grand Cross Order of the White Eagle)
 โปแลนด์ เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ (Grand Cross of the Order of Merit of the Republic of Poland) [27]
2005  กรีซ เครื่องอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งแห่งกรีซ (Grand Cross of the Order of Honour) [11]
2008  ฮังการี เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐฮังการี (Grand Cross with Chain of the Order of Merit of the Republic of Hungary) [28][29]
2015  ตุรกี เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์แห่งสาธารณรัฐตุรกี (Member of the Decoration of the State of Republic of Turkey) [30]
2016  จอร์แดน เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งอัล-ฮุสเซน บิน อาลี (Knight Grand Cordon with Collar of the Order of al-Hussein bin Ali) [31]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของอดีตพระราชวงศ์ต่างประเทศ
2010 จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนแกะทองคำ สายออสเตรีย (Knight of the Order of the Golden Fleece of the House of Habsburg) [11]
องค์กรอื่นๆ
2010 สภาการกีฬาทหารนานาชาติ เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสภากีฬาทหารนานาชาติ (Grand Cross of the International Military Sports Council Order of Merit) [32]

พระยศทางการทหาร

Royal Military Acad.[38] Pilot Wings[38] Parachutist badge[37] Commando badge[38][39]
123rd TAW (1978-1981) 9 กรกฎาคม 1982 28 ตุลาคม 1982 17 ธันวาคม 1982
1980 1983 1989 2001 2010 2013

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. "The Belgian Monarchy". สืบค้นเมื่อ 22 July 2016.
  2. RTL Info - 'Le père de la princesse Mathilde est mourant' (ฝรั่งเศส)
  3. Vader prinses Mathilde ligt op sterven (ดัตช์)
  4. Father of Princess Mathildes passes away
  5. "The Belgian Monarchy". สืบค้นเมื่อ 22 July 2016.
  6. Agence pour le Commerce extérieur, Missions antérieures
  7. "Official Royal Website Archives". Monarchie.be. สืบค้นเมื่อ 22 July 2013.
  8. "Royal Thai Embassy to belgium and Luxembourg, Mission of Thailand to the European Union". สืบค้นเมื่อ 3 April 2013.
  9. PPE Agency, King Willem-Alexander's inthronization 2013, Photo
  10. Belga Pictures, State visit in Belgium of HM Queen Beatrix of Netherlands (20–22/06/2006), Philippe in this group photo
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Senate, biography of senators including Prince Philippe, senator by right
  12. Belga Pictures, State visit in Japan, 1996, Sovereign couples & Prince Philippe
  13. Order of the Holy Sepulchre, Belgian Lieutenancy's Official website, article evoking the decoration
  14. PPE Agency, King Willem-Alexander's inthronization 2013, Photo
  15. Belga Pictures, State visit in Belgium of HM Queen Beatrix of Netherlands (20–22/06/2006), Philippe in this group photo
  16. Belga Pictures, Princess Victoria of Sweden's wedding, 2010, Philippe & Mathilde
  17. Belga Pictures, Princess Victoria of Sweden's wedding, 2010, Philippe & Mathilde
  18. Belga Pictures, State visit in Belgium of HE Mr Jorge SAMPAIO, President of the Portuguese Republic & Mrs SAMPAIO (18–20/10/2005, Photo of Prnce Philippe
  19. Belga Pictures, State visit of President Herzog in Belgium (1998), Group Photo
  20. Belga Pictures, State visit in Belgium of TT.RR.AA Grand-Duke Henri & Grand-Duchess Maria-Teresa of Luxembourg. (20–22/03/2007), Philippe & Mathilde
  21. Belga Pictures, State visit in Belgium of TT.MM. King Juan Carlos & Queen Sofia of Spain (16–18/05/2000), Group photo
  22. Prince Felipe's wedding - Belga Pictures, Philippe wearing the order
  23. Zimbio, Frederik, Crown Prince of Denmark & Mary Donaldson's wedding, 14 May 2004, Photo of Philippe and Mathilde
  24. Belga Pictures, State visit in Belgium of TM King Harald V and Queen Sonja of Norway (20–22 May 2003), Philippe is behind in this group photo
  25. King Harald's 70th birthday party, 2007, Group photo of Heirs & their consort
  26. Belga Pictures, State visit of H.E. President Mrs Tarja Halonen of Finland & Dr Pentti Arajärvi (30/03-01/04/2004), Gala dinner, Philippe & Mathilde
  27. Official Belgian royal website, State visit in Belgium of H.E. Mr Aleksander Kwasniewski, President of the Republic of Poland & Mrs Jolanta Kwasniewska, Gala dinner, group photo
  28. Official Royal Website, State visit in Belgium of H.E. Mr Laszlo SÓLYOM, President of the Republic of Hungary. (15–17/04/2008, Group photo
  29. Belga Pictures, Philippe
  30. "King Philippe of Belgium presents Order of Leopold to President Erdogan". Presidency of the Republic of Turkey. 5 October 2015. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
  31. "Nuevo duelo de reinas: una Rania muy demodé no puede con una Matilde sublime. Noticias de Casas Reales". สืบค้นเมื่อ 22 July 2016.
  32. Prince Philippe receives an international sportive prize
  33. Official 3Para page (French) evoking Prince Philippe
  34. 34.0 34.1 Prince Philippe promoted, portrait
  35. Photo of Philippe as a Captain (3 stars) in the 3Para Battalion
  36. Prince Philippe gets married in his uniform of Colonel of the Belgian Air Force
  37. 37.0 37.1 Photo of Prince Philippe as a General-major showing his parachutist badge
  38. 38.0 38.1 38.2 21st July 2012, photo showing the commando badge, the blue wing of the parachutist badge under the ribbon of the Order of Leopold, the pilot wing, the omega sign of Royal Academy "Promotion toutes armes"
  39. Photo showing the commando badge

ดูเพิ่ม


ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม
(21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ


เจ้าชายโบดวง
(สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง)

ดยุกแห่งบราบันต์
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2536 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556)
เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต