ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางรถไฟสายพระพุทธบาท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{Infobox rail line
{{Infobox rail line
| box_width = 280px
| box_width = 280px
| type = [[รถไฟระหว่างเมือง]], [[รถราง]]
| type = [[รถไฟระหว่างเมือง|รถไฟ]]/[[รถราง]]
| image = Prabat Tramway 1997.jpg
| image = Prabat Tramway 1997.jpg
| image_size = 3000
| image_size = 300
| image_caption =
| image_caption =
| status = ยกเลิก
| status = ยกเลิก
| locale = [[อำเภอท่าเรือ]]<br>[[อำเภอพระพุทธบาท]]
| locale = [[อำเภอท่าเรือ]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] และ[[อำเภอพระพุทธบาท]] [[จังหวัดสระบุรี]]
| start = [[สถานีรถไฟท่าเรือ]]
| start = [[สถานีรถไฟท่าเรือ|ท่าเรือ]]
| end = [[สถานีรถไฟพระพุทธบาท]]
| end = พระพุทธบาท
| stations = 7
| stations = 7
| open = [[พ.ศ. 2445]]
| open = พ.ศ. 2445
| close = 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485<ref name="จุฬาลงกรณ์">{{cite web |url= http://www.tri.chula.ac.th/triresearch/prapud/prapud.html |title= ทางรถไฟสายท่าเรือ–พระพุทธบาท |author= สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง |date= |work= สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |publisher=|accessdate= 3 พฤศจิกายน 2561 }}</ref>
| close = [[กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2485]]
| owner = บริษัท รถรางพระพุทธบาททุน จำกัด <small>(2444–2472)</small><ref name="อำนาจ">{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume= 18 |issue= 26 |pages= 410 |title= พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทรถรางพระพุทธบาททุน จำกัด |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/026/410.PDF |date= 29 กันยายน 2444 |language=ไทย}}</ref><ref name="อำนาจ1">{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume= 46 |issue= 0 ก |pages= 367 |title= ประกาศ ถอนพระบรมราชานุญาตซึ่งได้พระราชทานแก่บริษัทรถรางพระพุทธบาททุนจำกัด |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2472/A/367.PDF |date= 2 มีนาคม 2472 |language=ไทย}}</ref><br>บริษัท รถไฟท่าเรือ จำกัด <small>(2474–2485)<ref name="ท่าเรือ">{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume= 48 |issue= 0 ง |pages= 679 |title= แจ้งความกรมรถไฟหลวง เรื่องสร้างและเดิรรถไฟราษฎร์ |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/679.PDF |date= 31 พฤษภาคม 2474 |language=ไทย}}</ref></small>
| owner = [[บริษัทท่าเรือจำกัด]]
| linelength = {{km to mi|20|abbr=yes|precision=2|wiki=yes}}
| linelength = {{km to mi|20|abbr=yes|precision=2|wiki=yes}}<ref name="จุฬาลงกรณ์"/>
| gauge = รางแคบขนาดเล็ก 75 เซนติเมตร (ตามซากที่ยังหลงเหลือ) หรือ 60 เซนติเมตร
| gauge = 60 หรือ 75 เซนติเมตร<ref name="จุฬาลงกรณ์"/>
}}
}}


'''ทางรถไฟสายพระพุทธบาท''' หรือ '''รถรางสายพระพุทธบาท''' บ้างเรียก '''รถไฟกรมพระนรา''' เป็นทางรถไฟราษฎร์หรือทางรถไฟเอกชนสายหนึ่ง ดำเนินกิจการโดยบริษัท รถรางพระพุทธบาท ทุนจำกัด และบริษัท รถไฟท่าเรือ จำกัดของ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์]]
'''ทางรถไฟสายพระพุทธบาท''' เป็น[[ทางรถไฟ]]เอกชนที่เดินรถระหว่าง[[สถานีรถไฟท่าเรือ]] [[อำเภอท่าเรือ]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] กับ[[อำเภอพระพุทธบาท]] [[จังหวัดสระบุรี]] เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2445]] ถึง [[พ.ศ. 2485]] ชาวบ้านท้องถิ่นมักเรียกรถไฟสายนี้ว่า '''รถไฟกรมพระนรา''' หรือ '''รถไฟกรมพระดารา'''


รถไฟสายนี้เป็นรถไฟหรือรถรางขนาดเล็กเดินรถระหว่าง[[อำเภอท่าเรือ]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] กับ[[อำเภอพระพุทธบาท]] [[จังหวัดสระบุรี]] เป็นระยะทางราว 20 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางสำหรับผู้ไปนมัสการ[[พระพุทธบาท]] ณ [[วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร]] [[จังหวัดสระบุรี]] ถือเป็นเส้นทางรถไฟสำหรับท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้านาย และมิได้เกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ<ref name="จุฬาลงกรณ์"/>
รถไฟเล็กสายพระพุทธบาทนี้ ได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ เมื่อปี [[พ.ศ. 2445]] และได้รับการจัดชั้นเป็น [[รถราง]] โดยเปิดให้บริการปี [[พ.ศ. 2449]]

ทางรถไฟสายพระพุทธบาทดำเนินการโดย '''บริษัทท่าเรือจำกัด''' ซึ่งมีผู้ถือหุ้นหลักคือ '''บริษัทนาบุญจำกัดสินใช้''' [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์]] ได้รับสัมปทานตั้งแต่ [[พ.ศ. 2445]]


== รายละเอียดการเดินรถ ==
== รายละเอียดการเดินรถ ==
บรรทัด 142: บรรทัด 140:


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
* [http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=18 ประวัติทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท (รถไฟกรมพระนรา)]
* [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/679.PDF แจ้งความกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม แผนกรถไฟหลวง เรื่อง สร้างและเดินรถไฟราษฎร์]


{{สถานีรถไฟในอดีต}}
{{สถานีรถไฟในอดีต}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:24, 3 พฤศจิกายน 2561

ทางรถไฟสายพระพุทธบาท
ข้อมูลทั่วไป
สถานะยกเลิก
เจ้าของบริษัท รถรางพระพุทธบาททุน จำกัด (2444–2472)[1][2]
บริษัท รถไฟท่าเรือ จำกัด (2474–2485)[3]
ที่ตั้งอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ปลายทาง
จำนวนสถานี7
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟ/รถราง
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2445
ปิดเมื่อ11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485[4]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง20 กม. (12.43 ไมล์)[4]
รางกว้าง60 หรือ 75 เซนติเมตร[4]

ทางรถไฟสายพระพุทธบาท หรือ รถรางสายพระพุทธบาท บ้างเรียก รถไฟกรมพระนรา เป็นทางรถไฟราษฎร์หรือทางรถไฟเอกชนสายหนึ่ง ดำเนินกิจการโดยบริษัท รถรางพระพุทธบาท ทุนจำกัด และบริษัท รถไฟท่าเรือ จำกัดของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

รถไฟสายนี้เป็นรถไฟหรือรถรางขนาดเล็กเดินรถระหว่างอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นระยะทางราว 20 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางสำหรับผู้ไปนมัสการพระพุทธบาทวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี ถือเป็นเส้นทางรถไฟสำหรับท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้านาย และมิได้เกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ[4]

รายละเอียดการเดินรถ

รถไฟกรมพระนราใช้รางกว้างขนาด 60 ซม. (แต่ 75 ซม. ตาม หลักฐานจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติและซากทางที่โรงน้ำตาลวังกระพี้ซึ่งยกมาจาก สายพระพุทธยาท) หัวรถจักรไอน้ำใช้ความเร็ว 20 กม.ต่อชั่วโมง หัวรถจักรดีเซล ใช้ความเร็ว 30 กม.ต่อชั่วโมง

แต่ละขบวนที่มีพนักงาน 4 คน คือ พขร. 1 คน ช่างไฟ 1 คน (มีหน้าที่เติมน้ำ และฟืน) พนักงานขายตั๋วและตรวจตั๋ว 2 คน (ตั๋วอ่อนแบบฉีก) การซื้อขายตั๋วจะมี การขายตั๋วเฉพาะสถานีท่าเรือกับสถานีพระพุทธบาทเท่านั้น หากขึ้นลงระหว่าง กลางทางก็ต้องซื้อตั๋วกันบนขบวนรถ

ส่วนสถานีระหว่างทางนั้น เป็นเพียงแค่จุดรับ-ส่งผู้โดยสารเท่านั้น ไม่มี นายสถานีและพนักงานประจำอยู่ ส่วนอัตราค่าโดยสารคิดเป็นช่วงๆ

ค่าโดยสาร

ระยะแรก เก็บตามรายสถานีละ 5 สตางค์ เช่น

ต้นทาง ปลายทาง ราคา
ท่าเรือ บางโขมด 5 สตางค์
ท่าเรือ บ่อโศก (สร่างโศก) 10 สตางค์
ท่าเรือ หนองคณฑี 15 สตางค์
ท่าเรือ เขาเลี้ยว 20 สตางค์
ท่าเรือ เจ้าพ่อเขาตก 25 สตางค์
ท่าเรือ พระพุทธบาท 30 สตางค์

แล้วราคาก็ขึ้นเรื่อยๆตามค่าครองชีพ และก่อนเลิกกิจการก็ช่วงสถานีละ 25 สตางค์

ผู้จัดการ

ลำดับที่ พระนาม / ชื่อ ปีที่ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2474
2 หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2485
3 นายโชติ ยุวสูตร พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2485 ทำงานคู่กับ หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ

สถานี

ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ ชื่อภาษาอังกฤษ หมายเหตุ
ท่าเรือ Tha Rua อยู่ตรงข้ามกับธนาคารออมสินสาขาท่าเรือหลังเก่า
บางโขมด Bang Khamot เข้าเขตจังหวัดสระบุรี
บ่อโศก (สร่างโศก) Bor Soke (Srang Soke) ปัจจุบันยังมีร่องรอยของตัวสถานีให้เห็นอยู่
หนองคณฑี Nhong Khontee
เขาเลี้ยว Khao Liao
เจ้าพ่อเขาตก Chao Por Khao Tok
พระพุทธบาท Phra Phutthabat ปัจจุบันคือโรงเจฮกเอี๊ยง

ความล้มเหลวของกิจการ

แผนที่เส้นทางรถไฟ

อย่างไรก็ตามแม้พยายามปรับปรุงสักเพียงใดแต่บริการยังไม่น่าพอใจเพราะ มีการพลิกคว่ำ หรือไม่ก็รถขัดข้องกลางทางบ่อยๆ แม้แต่การเดินทางเที่ยวแรกปี 2449 ที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเปิดเส้นทางก็เกิดการหยุดกลางทาง 2-3 ครั้ง ที่สุด ก็ต้องหยุดให้บริการชั่วคราวปี 2472 และมาทำสัญญาใหม่กะกรมรถไฟหลวงปี 2474

อันที่จริง รถไฟสายนี้เคยถูกยกเลิกการเดินรถไปครั้งหนึ่งเมื่อราวๆ ปี 2471 - 2472 ฐานเดินรถไม่ได้มาตรฐาน แถมยังเกิดการขาดทุนอยู่หลายปี ติดๆ กัน จนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ต้องแก้ปัญหาโดยการให้ หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ โอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทำ สัญญาสัมปทานใหม่ กับกรมรถไฟหลวง เมื่อปี 2474

การเลิกกิจการ

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ากิจการยังทรงๆ พอ ถนนพหลโยธินไปถึงเมื่องลพบุรี โดยผ่าน อำเภอพระพุทธบาท เมื่อปี 2483 ก็ยิ่งขาดทุนหนัก จนอยู่ไม่ได้ ต้องขายกิจการ ให้บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย (โรงงงานน้ำตาลวังกะพี้ โรงงานน้ำตาล เกาะ คา โรงงานน้ำตาล กุมภวาปี) เมื่อ 16 กรกฎาคม 2485 แต่มาจ่ายเงิน 5 แสนบาทกันเมื่อปี 2490 เพราะตอนนั้น ทางรถไฟดังกล่าวโดนนำไปใช้ในการสร้างพุทธบุรีมณฑลตามคำสั่งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

กิจการรถไฟกรมพระนรา หรือรถไฟเล็ก ก็ได้เลิกกิจการทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2490 (จริงๆ ได้ทำเรื่องขอเลิกการเดินรถโดยอนุมัติ โดยกระทรวงคมนาคม มาแต่ 16 กรกฎาคม 2485 แต่กว่า บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเป็นเจ้าของ โรงงานน้ำตาลวังกระพี้ และ โรงงานน้ำตาลกุมภวาปีจะชำระเงินค่ารางและหัวรถจักร ก็ต่อเมือสิ้นสงครามไปแล้ว) โดยหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ได้ขายหัวรถจักรทั้งหมด ให้โรงงานน้ำตาลวังกระพี้ จ.อุตรดิตถ์ และโรงงานน้ำตาลที่อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี และ ขายเส้นทางให้กับกรมทางหลวงในราคา 5 แสนบาท

ปัจจุบัน

เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3022 สายท่าเรือ-พระพุทธบาท

อ้างอิง

  1. "พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทรถรางพระพุทธบาททุน จำกัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (26): 410. 29 กันยายน 2444.
  2. "ประกาศ ถอนพระบรมราชานุญาตซึ่งได้พระราชทานแก่บริษัทรถรางพระพุทธบาททุนจำกัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 367. 2 มีนาคม 2472.
  3. "แจ้งความกรมรถไฟหลวง เรื่องสร้างและเดิรรถไฟราษฎร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ง): 679. 31 พฤษภาคม 2474.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง. "ทางรถไฟสายท่าเรือ–พระพุทธบาท". สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)