ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คู่กรรม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kunluangjed (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 208: บรรทัด 208:
| ยายศร ||หม่อมชั้น พวงวัน || [[สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต]] || มาลี เวชประเสริฐ || สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต || colspan = "2" align = "center"| [[บรรเจิดศรี ยมาภัย]]|| [[วิไลวรรณ วัฒนพานิช]] || [[พิศมัย วิไลศักดิ์]] ||[[โฉมฉาย ฉัตรวิไล]] || [[จำเนียร เจริญทรัพย์]]
| ยายศร ||หม่อมชั้น พวงวัน || [[สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต]] || มาลี เวชประเสริฐ || สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต || colspan = "2" align = "center"| [[บรรเจิดศรี ยมาภัย]]|| [[วิไลวรรณ วัฒนพานิช]] || [[พิศมัย วิไลศักดิ์]] ||[[โฉมฉาย ฉัตรวิไล]] || [[จำเนียร เจริญทรัพย์]]
|-
|-
| กำนันนุ่ม ||- ||- || - ||- || - || [[สมควร กระจ่างศาสตร์]] || || || ||
| กำนันนุ่ม ||- ||- || - ||- || - || [[สมควร กระจ่างศาสตร์]] || || [[มานพ อัศวเทพ]]
| [[สรพงศ์ ชาตรี]]
|
|-
|-
| หมอทาเคดะ ||- ||- || มร. แอสจี้||- || [[เกรียงไกร อุณหะนันทน์]] || [[ปัญญา นิรันดร์กุล]] || [[มาซากิ นิชิกายา]] || rowspan="2" align="center" | [[กรรชัย กำเนิดพลอย]] || [[ภูริ หิรัญพฤกษ์]] || [[แปะร้อน ยาซึ]]
| หมอทาเคดะ ||- ||- || มร. แอสจี้||- || [[เกรียงไกร อุณหะนันทน์]] || [[ปัญญา นิรันดร์กุล]] || [[มาซากิ นิชิกายา]] || rowspan="2" align="center" | [[กรรชัย กำเนิดพลอย]] || [[ภูริ หิรัญพฤกษ์]] || [[แปะร้อน ยาซึ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:41, 22 เมษายน 2561

คู่กรรม  
ไฟล์:Khu kam.jpg
ผู้ประพันธ์ทมยันตี (วิมล เจียมเจริญ)
ประเทศไทย ประเทศไทย
ภาษาไทย ภาษาไทย
ประเภทโศกนาฏกรรมและวีรคติ
สำนักพิมพ์นิตยสารศรีสยาม
พิมพ์ในภาษาไทย
พ.ศ. 2512
หน้า701 (สองเล่ม)
ISBN9786117052040
เรื่องถัดไปคู่กรรม 2 
คู่กรรม
ไฟล์:ใบปิดคู่กรรม.jpg
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับกิตติกร เลียวศิริกุล
เขียนบทบทประพันธ์ :
ทมยันตี
บทภาพยนตร์ :
กิตติกร เลียวศิริกุล
ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
อำนวยการสร้างวิชา พูลวรลักษณ์
นักแสดงนำณเดชน์ คูกิมิยะ
อรเณศ ดีคาบาเลส
นิธิศ วารายานนท์
กำกับภาพสราวุธ บูรณ์กุศล
ตัดต่อนิธิพจน์ โกสิตงามดีวงศ์
ดนตรีประกอบไจแอ็นท เวฟ
ผู้จัดจำหน่ายเอ็ม เทอร์ตี้ไนน์
วันฉาย4 เมษายน พ.ศ. 2556
ความยาว130 นาที
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย / ญี่ปุ่น
ทุนสร้าง70 ล้านบาท [1]
ทำเงิน55 ล้านบาท [2] [3]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

คู่กรรม เป็นนวนิยายแนวโศกนาฏกรรมและวีรคติ ประพันธ์โดย ทมยันตี ดำเนินเรื่องที่มีฉากหลังในประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยผู้ประพันธ์ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อราวปี พ.ศ. 2508 จากการเดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรี และเข้าเยือนสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรักที่ทอดร่างของเหล่าทหารสัมพันธมิตร โดยสะดุดใจเมื่อเห็นคำจารึกถึงบนหลุมศพทหารสัญชาติเนเธอร์แลนด์คนหนึ่ง เมื่อสอบถามดู ได้ความว่าเป็นลูกชายเพียงคนเดียวของครอบครัวที่มาเสียชีวิตลงที่ประเทศไทย โดยที่ผู้เป็นพ่อแม่มิอาจมาร่วมฝังศพของลูกชายได้[4]

คู่กรรม เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2508 ตีพิมพ์เป็นตอนในนิตยสารศรีสยาม (ในเครือนิตยสารขวัญเรือน)[5] และรวมเล่มเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 แล้วตีพิมพ์มาหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน มีภาคต่อคือ คู่กรรม 2 ถือว่าเป็นบทประพันธ์ที่ชื่อเสียงมากที่สุดเรื่องหนึ่งของทมยันตีเลยทีเดียว

คู่กรรม ได้รับการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์แล้วหลายครั้ง เริ่มจาก ช่อง 4 บางขุนพรหม เป็นละครถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2513, พ.ศ. 2515 และต่อมาทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ในปี พ.ศ. 2521

ครั้งสำคัญเป็นละครทางช่อง 7 สี ในปี พ.ศ. 2533 เป็นละครที่สร้างประวัติศาสตร์เรตติ้งสูงสุดอันดับ 1 ของเมืองไทยตลอดกาล เรตติ้ง 40 [6][7] เรื่องนี้ได้รับรางวัลทั้งเมขลาและโทรทัศน์ทองคำในปีเดียวกัน หลังจากนั้นได้นำมาสร้างใหม่เป็นละครทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2547 (มีภาคต่อคือ คู่กรรม 2) ล่าสุดเป็นละครทางช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2556

คู่กรรม นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 4 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2556 ซึ่งทั้ง 2 ครั้ง (ปี 2531 และ 2538) ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลตุ๊กตาทองไปทั้งคู่ และเคยดัดแปลงเป็นละครเวที โดยค่ายดรีมบอกซ์ กลางปี พ.ศ. 2547 แสดงที่โรงละครกรุงเทพ และกลางปี พ.ศ. 2550 แสดงที่ โรงละครกรุงเทพเมโทรโพลิส

นอกจากนี้แล้ว คู่กรรม ยังเป็นที่รู้จักกันดีถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย จนถึงกับมีการแต่งเป็นนวนิยายเนื้อหาคล้ายคลึงกันของนักประพันธ์ชาวญี่ปุ่น โดยในฉบับของญี่ปุ่นนี้ ตัวละครเอกได้เปลี่ยนชื่อเป็น โอโมริ กับ กันยา[8]

ละครโทรทัศน์

ไฟล์:คู่กรรม2513.jpg
คู่กรรม ครั้งแรกเป็นละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2513 ออกอากาศทาง ช่อง 4 บางขุนพรหม
ไฟล์:Sunset at chaophraya vol.1990.jpg
ละครคู่กรรม ในปี 2533 สร้างประวัติศาสตร์ละครที่เรตติ้งสูงสุดของประเทศไทย [9]

คู่กรรม ได้รับการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) รวม 6 ครั้ง ได้แก่

ปี โกโบริ อังศุมาลิน สถานีโทรทัศน์
พ.ศ. 2513 มีชัย วีระไวทยะ บุศรา นฤมิตร ช่อง 4
พ.ศ. 2515 ชนะ ศรีอุบล ผาณิต กันตามระ ช่อง 4
พ.ศ. 2521 นิรุตต์ ศิริจรรยา ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ ช่อง 9
พ.ศ. 2533 ธงไชย แมคอินไตย์ กมลชนก โกมลฐิติ ช่อง 7
พ.ศ. 2547 ศรราม เทพพิทักษ์ พรชิตา ณ สงขลา ช่อง 3
พ.ศ. 2556 สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว หนึ่งธิดา โสภณ ช่อง 5

ภาพยนตร์

คู่กรรม ได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 4 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2556 ได้แก่

ปี โกโบริ อังศุมาลิน วนัส วันที่เข้าฉาย
พ.ศ. 2516 นาท ภูวนัย ดวงนภา อรรถพรพิศาล
มร. หลิงลีจู
สายัณห์ จันทรวิบูลย์ 31 สิงหาคม
พ.ศ. 2531 วรุฒ วรธรรม จินตหรา สุขพัฒน์ นัย สุขสกุล 12 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2538 ธงไชย แมคอินไตย์ อาภาศิริ นิติพน ธีรภัทร์ สัจจกุล 11 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2556 ณเดชน์ คูกิมิยะ อรเณศ ดีคาบาเลส นิธิศ วารายานนท์ 4 เมษายน

ภาพยนตร์ คู่กรรม (2516)

ไฟล์:คู่กรรม2516.jpg
คู่กรรม สร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2516

ในปี พ.ศ. 2516 สร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรก สร้างโดย จิรบันเทิงฟิล์ม ของ จิรวรรณ กัมปนาทแสนยากร ผู้อำนวยการสร้าง ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านละครวิทยุ กำกับโดย สมวงศ์ ทิมบุยธรรม, พร ไพโรจน์ ประดับ และ มิสเตอร์ ติง ออกฉายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ที่โรงหนังโคลีเชี่ยม [14] มีนักแสดงนำดังนี้

ร่วมด้วย พันคำ, เชาว์ แคล่วคล่อง, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย, ล้อต๊อก, ชูศรี มีสมมนต์, จำรูญ หนวดจิ๋ม, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ราชันย์ กาญจนมาศ, มร. แอสจี้

ภาพยนตร์คู่กรรมฉบับแรกนี้มีผู้รับบทอังศุมาลิน ถึง 2 คน ถ่ายทำพร้อมกัน 2 ฉบับ คือแบบนักแสดงไทยและนักแสดงฮ่องกง

ภาพยนตร์ คู่กรรม (2531)

ภาพยนตร์คู่กรรม ในปี พ.ศ. 2531

ในปี พ.ศ. 2531 สร้างโดย ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น กำกับการแสดงโดย รุจน์ รณภพ เพลงประกอบภาพยนตร์ขับร้องโดย อังศนา ช้างเศวต [15][16] ออกฉายเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ได้รับการตอบรับอย่างดี มีนักแสดงนำดังนี้

ร่วมด้วย เกรียงไกร อุณหะนันทน์, พิราวรรณ ประสพศาสตร์, ไกรลาศ เกรียงไกร, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, อดุลย์ ดุลยรัตน์, บัณฑิต ฤทธิ์ถกล, อุดม โรจน์อนันต์เลี่ยว, บรรเจิดศรี ยมาภัย

เดิมได้วางตัวอธิป ทองจินดาในบทโกโบริ แต่เมื่ออธิปเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ก่อนถ่ายทำจึงต้องเปลี่ยนตัวมาเป็น วรุฒ วรธรรม แทน

ภาพยนตร์คู่กรรมฉบับนี้ ได้รับการตอบรับอย่างดี ส่งผลให้ จินตหรา สุขพัฒน์ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสดีครั้งแรก สาขานักแสดงนำหญิง โดย จินตหรา สุขพัฒน์ เข้าชิงสาขาดารานำหญิงยอดเยี่ยมจากเรื่อง ตลาดพรหมจารี อีกด้วย

ภาพยนตร์ คู่กรรม (2538)

ไฟล์:Sunset at chaophraya vol.1995.jpg
หน้าปกวีซีดีภาพยนตร์คู่กรรม ในปี พ.ศ. 2538

ในปี พ.ศ. 2538 มีชื่ออังกฤษชื่อว่า Sunset at Chaophraya สร้างโดย แกรมมี่ภาพยนตร์ (แกรมมี่ฟิล์ม) ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กำกับการแสดงโดย ยุทธนา มุกดาสนิท ร่วมด้วย พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ และ นิพนธ์ ผิวเณร ซึ่งทั้ง 2 ครั้งได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลตุ๊กตาทองไปทั้งคู่ ออกฉายเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 มีนักแสดงนำดังนี้

ร่วมด้วย คาซูยูกิ นากาจิมา, มาซากิ นิชิกายา, จิตรกร สุนทรปักษิน, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, สุทิศา พัฒนุช, เด๋อ ดอกสะเดา, ดี๋ ดอกมะดัน

โดยกระแสความแรงได้สร้างสถิติภาพยนตร์ที่มีผู้เข้าชมสูงสุดใน 3 วันแรกของการเปิดตัว โดยภาพยตร์เรื่องนี้ส่งผลให้เบิร์ดได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (รางวัลตุ๊กตาทอง) ปี 2538 นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

ภาพยนตร์ คู่กรรม (2556)

ไฟล์:ใบปิดคู่กรรม.jpg
ภาพยนตร์ คู่กรรม (2556)

ในปี พ.ศ. 2556 สร้างโดย เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ กำกับการแสดงโดย กิตติกร เลียวศิริกุล บทภาพยนตร์โดย กิตติกร เลียวศิริกุล และ ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ ออกฉายเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556 มีนักแสดงนำดังนี้

ร่วมด้วย กุลพงศ์ บุนนาค, เมรีนา มุ่งศิริ, สุรชัย จันทิมาธร, มงคล อุทก, แปะร้อน ยาซึ, จำเนียร เจริญทรัพย์, ทัตสึโนบุ ทานิกาว่า, โนริโอะ ซึซึกิ, โตชิยูกิ โกโต, ดาเรน ฟ๊อกส์, อัวริช คลูก, อัวริช ก็อดลีบ, นิพนธ์ จิตเกิด

เพลงประกอบภาพยนตร์ มีดังนี้

ละครเวที

ดูบทความหลักที่ คู่กรรม เดอะมิวสิคัล

คู่กรรมได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นละครเวที ในรูปแบบ ละครเพลง (sung-through musical) กลางปี พ.ศ. 2547 โดยค่ายดรีมบอกซ์ กำกับการแสดงโดย สุวรรณดี จักราวรวุธ แสดงที่โรงละครกรุงเทพ

จากนั้นได้กลับมาแสดงอีกครั้ง กลางปี พ.ศ. 2550 โดยทีมงานชุดเดิมทั้งหมด แสดงที่ โรงละครกรุงเทพเมโทรโพลิส

รายชื่อนักแสดงและการสร้าง

ปี พ.ศ. 2513 พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2556
รูปแบบ ละคร ช่อง 4 ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 9 ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 7 ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 3 ละคร ช่อง 5 ภาพยนตร์ 35 มม.
ผู้สร้าง คณะศรีไทยการละคร ช่อง 4 จิรบันเทิงฟิล์ม ศรีไทยการละคร ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ดาราวิดีโอ แกรมมี่ฟิล์ม เรด ดราม่า เอ็กแซ็กท์-ซีเนริโอ M39
บทการแสดง ทมยันตี - วิทวัส - วดีวงศ์ - ภรณ์รวี ศัลยา วาณิช จรุงกิจอนันต์
ยุทธนา มุกดาสนิท
พิง ลำพระเพลิง ปราณประมูล กิตติกร เลียวศิริกุล
ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
ผู้กำกับ เทิ่ง สติเฟื่อง - สมวงศ์ ทิมบุยธรรม
พร ไพโรจน์
มิสเตอร์ ติง
เทิ่ง สติเฟื่อง รุจน์ รณภพ ไพรัช สังวริบุตร ยุทธนา มุกดาสนิท
พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์
นิพนธ์ ผิวเณร
นพดล มงคลพันธ์ สันต์ ศรีแก้วหล่อ กิตติกร เลียวศิริกุล
บทบาท นักแสดงหลัก
โกโบริ มีชัย วีระไวทยะ ชนะ ศรีอุบล นาท ภูวนัย นิรุตต์ ศิริจรรยา วรุฒ วรธรรม ธงไชย แมคอินไตย์ ศรราม เทพพิทักษ์ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ณเดชน์ คูกิมิยะ
อังศุมาลิน ชลาสินธุ์ บุศรา นฤมิต ผาณิต กันตามระ ดวงนภา อรรถพรพิศาล
มร. หลิงลีจู
ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ จินตหรา สุขพัฒน์ กมลชนก โกมลฐิติ อาภาศิริ นิติพน พรชิตา ณ สงขลา หนึ่งธิดา โสภณ อรเณศ ดีคาบาเลส
วนัส - - สายัณห์ จันทรวิบูลย์ - นัย สุขสกุล ศตวรรษ ดุลยวิจิตร ธีรภัทร์ สัจจกุล กรุณพล เทียนสุวรรณ นภัทร อินทร์ใจเอื้อ นิธิศ วารายานนท์
หลวงชลาสินธุราช (มาโนช ชลาสินธุ์) เชาวน์ แคล่วคล่อง - พันคำ ทัต เอกทัต อดุลย์ ดุลยรัตน์ มานพ อัศวเทพ จิตรกร สุนทรปักษิน มนตรี เจนอักษร จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี กุลพงศ์ บุนนาค
แม่อร ชลาสินธุ์ สมจิตร ทรัพย์สำรวย - สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย จุฑารัตน์ จินรัตน์ พิราวรรณ ประสพศาสตร์ ดวงดาว จารุจินดา สุทิศา พัฒนุช จินตหรา สุขพัฒน์ ปวีณา ชารีฟสกุล เมรีนา มุ่งศิริ
ยายศร หม่อมชั้น พวงวัน สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต มาลี เวชประเสริฐ สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต บรรเจิดศรี ยมาภัย วิไลวรรณ วัฒนพานิช พิศมัย วิไลศักดิ์ โฉมฉาย ฉัตรวิไล จำเนียร เจริญทรัพย์
กำนันนุ่ม - - - - - สมควร กระจ่างศาสตร์ มานพ อัศวเทพ สรพงศ์ ชาตรี
หมอทาเคดะ - - มร. แอสจี้ - เกรียงไกร อุณหะนันทน์ ปัญญา นิรันดร์กุล มาซากิ นิชิกายา กรรชัย กำเนิดพลอย ภูริ หิรัญพฤกษ์ แปะร้อน ยาซึ
หมอโยชิ - - ล้อต๊อก - บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ทาคาชิ วาชานุกิ คาซูยูกิ นากาจิมา นาท ภูวนัย ทัตสึโนบุ ทานิกาว่า
ตาผล - - จำรูญ หนวดจิ๋ - สมศักดิ์ ชัยสงคราม พูนสวัสดิ์ ธีมากร ดี๋ ดอกมะดัน ถั่วแระ เชิญยิ้ม กลศ อัทธเสรี สุรชัย จันทิมาธร
ตาบัว - - สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม - ไกรลาศ เกรียงไกร ชลิต เฟื่องอารมย์ เด๋อ ดอกสะเดา ค่อม ชวนชื่น เกรียงไกร อุณหะนันทน์ มงคล อุทก
ยายเมียน - - - - - ชโลธร เกิดกำธร
ฮิตาชิ - - - - - สันติภาพ บุนนาค
นามาชิตะ - - - - - ดอน พฤกษ์พยูง
ไมเคิล วอลเด็น - - - - - มร.เดวิด แวนสัน
เยอรมัน - - - - - คาน เจอรี ภูธเนศ หงษ์มานพ
บทบาท นักแสดงกิตติมศักดิ์
- - - - - ชาติเชื้อ กรรณสูต
ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลยสงคราม - - - - - อาภัสรา จิราธิวัตณน์ สินจัย เปล่งพานิช
- - - - - อ.อุทัยพันธ์ บุณยประสิทธิ์
- - - - - พลากร สมสุวรรณ
- - - - - วิทวัส สุนทรวิเนตร
- - - - - พรพิชิต พัฒนถาบุตร
บทบาท นักแสดงรับเชิญ
- - - - - อดุลย์ ดุลยรัตน์
- - - - - บุศรา นฤมิตร
- - - - - น.อ.เพิ่ม หงสกุล
- - - - - อนุสรา จันทรังษี
- - - - - ชาลี ยมาภัย
- - - - - มรกต ศิริสว่าง

รางวัลที่ได้รับ

  • ภาพยนตร์ พ.ศ. 2516
รางวัล สาขารางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน หมายเหตุ
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 1
รางวัลบทประพันธ์ยอดเยี่ยม ทมยันตี [17][18]
ออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม
  • ภาพยนตร์ พ.ศ. 2531
รางวัล สาขารางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน หมายเหตุ
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ปี 2531 คู่กรรม ชนะ [19]
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ ชนะ
รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม วีรพงษ์ ธาราศิลป์ ชนะ
รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม มะลิวัลย์ ด่านอุดม ชนะ
พากย์ชายยอดเยี่ยม รอง เค้ามูลคดี ชนะ
รางวัลพิเศษ “ตุ๊กตาเงิน” ดาวรุ่งฝ่ายชาย วรุฒ วรธรรม ชนะ
  • ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2533
รางวัล สาขารางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน
รางวัลเมขลา
ละครชีวิตดีเด่น คู่กรรม ชนะ
ผู้แสดงนำชายดีเด่น ธงไชย แมคอินไตย์ ชนะ
ผู้แสดงนำหญิงดีเด่น กมลชนก โกมลฐิติ ชนะ
ผู้แสดงประกอบหญิงดีเด่น ดวงดาว จารุจินดา ชนะ
ผู้กำกับรายการดีเด่น ไพรัช สังวริบุตร ชนะ
ผู้กำกับการแสดงดีเด่น ชนะ
บทละครดีเด่น ศัลยา ชนะ
รางวัลออกแบบฉากดีเด่น ธีระศักดิ์, เสนาะ, มนัส, วารินทร์ ชนะ
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ
ละครชีวิตดีเด่น คู่กรรม ชนะ
ผู้แสดงนำชายดีเด่น ธงไชย แมคอินไตย์ ชนะ
ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น ดวงดาว จารุจินดา ชนะ
ผู้กำกับการแสดงดีเด่น ไพรัช สังวริบุตร ชนะ
บทละครดีเด่น ศัลยา ชนะ
รางวัลออกแบบฉากดีเด่น ธีระศักดิ์, เสนาะ, มนัส, วารินทร์ ชนะ
  • ภาพยนตร์ พ.ศ. 2538
  1. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ปี 2538 [20]
  2. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม (ธงไชย แมคอินไตย์) ปี 2538
  3. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (ยุทธนา มุกดาสนิท, พันธ์ธัมม์ ทองสังข์, นิพนธ์ ผิวเณร) ปี 2538
  4. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (รัตนพล ธรรมชาติ) ปี 2538
  5. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (สีฟ้า และอนุวัฒน์ สืบสุวรรณ ในเพลง เธอคนเดียว) ปี 2538
  6. รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (วิไลวรรณ วัฒนพานิช) ปี 2538 [21]
  7. รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (นิวัฒน์ สำเนียงเสนาะ) ปี 2538
  8. รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ประสรรค์ เพชรพงษ์, สายชล ทัศนจร) ปี 2538
  9. รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (รัตนพล ธรรมชาติ) ปี 2538
  10. รางวัล Vote Award 1995 นักแสดงชายยอดนิยม (ธงไชย แมคอินไตย์) ปี 2538
  • ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556
  1. รางวัลสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2013 ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม (สันต์ ศรีแก้วหล่อ) ปี 2556
  • ภาพยนตร์ พ.ศ. 2556
  1. รางวัลสตาร์พิกส์ ไทยฟิล์ม อวอร์ด นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ณเดชน์ คูกิมิยะ) ปี 2556 [22]
  2. รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ณเดชน์ คูกิมิยะ) ปี 2556 [23]
  3. รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ นักแสดงนำชายยอดนิยม (ณเดชน์ คูกิมิยะ) ปี 2556
  4. รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (วรธน กฤษณะกลิน) ปี 2556
  5. รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม (ณเดชน์ คูกิมิยะ) ปี 2556
  6. รางวัล MThai Top Talk-about 2014 ภาพยนตร์ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ปี 2557
  7. รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ภาพยนตร์ไทยยอดนิยม ปี 2557 [24]
  8. รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ณเดชน์ คูกิมิยะ) ปี 2557

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. คู่กรรม ณเดชน์ - ริชซี่ อมราวดีtlcthai.com
  2. สรุปยอดรายได้ 10 อันดับภาพยนตร์แห่งปี 2556
  3. 2013 Thailand Yearly Box Office Results
  4. สัมภาษณ์ทมยันตี คู่กรรม(2538) จากรายการเกาะกล่องหนังไทย ทางไทยพีบีเอส
  5. พนิดา ชอบวณิชชา, ชุติมา ศรีทอง. The 40-Years-Old-Magazine, The Legend of ขวัญเรือน. กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2552. 256 หน้า. ISBN 978-611-7079-03-0
  6. ข่าวเจาะประเด็น ช่อง 7, 17 เม.ย. 2555, ช่วงภาพเก่าเล่าใหม่ "ตอนอวสานโกโบริ",สร้างประวัติศาสตร์เรตติ้งสูงสุดของละครไทย เรตติ้ง 40
  7. ข่าวเช้าวันนี้ที่หมอชิต ช่อง 7, 20 สิงหาคม 2555, "ตอนปิดตำนานอังศุมาลิน",ละครที่เรตติ้งสูงสุดของประวัติศาสตร์ละครไทย
  8. คู่กรรม, "แฟนพันธุ์แท้ 2013". เกมโชว์ทางช่อง 5: ศุกร์ที่ 12 เมษายน 2556
  9. ข่าวศิลปบันเทิง ช่องไทยพีบีเอส, 13 กุมภาพันธ์ 2556, ตำนาน "คู่กรรม" วรรณกรรมอมตะ
  10. “คู่กรรม” วรรณกรรมอมตะ ที่ถ่ายทอดเป็นละคร และภาพยนตร์ครั้งแล้วครั้งเล่า
  11. ละครโทรทัศน์คู่กรรม พ.ศ. 2547
  12. ละครโทรทัศน์คู่กรรม พ.ศ. 2556
  13. http://www.manager.co.th/drama/ViewNews.aspx?NewsID=9560000002382
  14. ...เปิดตำนานคู่กรรม.. โดย มนัส กิ่งจันทร์
  15. always on my mind...: คู่กรรม (1988)
  16. http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=3989&page=1&keyword=
  17. หนึ่งเดียว, พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย, สำนักพิมพ์ Popcorn, 2549,http://www.popcornmag.com - ISBN 974-94228-8-0
  18. http://www.thaifilm.com/awardsDetail.asp?id=56
  19. http://www.thaifilm.com/awardsDetail.asp?id=50
  20. http://www.thaifilm.com/awardsDetail.asp?id=68
  21. http://www.thaifilm.com/awardsDetail.asp?id=88
  22. “ณเดชน์“ สุดปลื้มรับมอบ “รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม”newsplus.co.th
  23. 'ณเดชน์-พัชชา'คว้านักแสดงนำชายหญิงสุพรรณหงส์innnews.co.th
  24. ผลรางวัล 'คม ชัด ลึก อวอร์ด' ครั้งที่ 11

แหล่งข้อมูลอื่น