ถั่วแระ เชิญยิ้ม ชื่อจริงคือ ศรสุทธา กลั่นมาลี (13 มกราคม พ.ศ. 2496 – ) เป็นนักแสดงตลกชาวไทย มีลักษณะเด่นคือไว้หนวดเครา และโพกผ้าคาดศีรษะ มุกตลกประจำตัวคือมุกปากเหม็น มีบทบาทเด่นในการนำเชียร์กีฬาให้กับทีมไทยในการแข่งขันกีฬาระดับชาติหรือระดับโลก ปัจจุบันมีกิจการร้านอาหาร "ครัวถั่วแระ"
ประวัติ[แก้]
ถั่วแระ เชิญยิ้ม เป็นคนกรุงเทพเป็นลูกคนสุดท้องในตระกูลจบชั้นประถมจากโรงเรียน ผะดุงศิษย์พิทยา ต่อมัธยมต้นชื่อโรงเรียนสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุและจบปวช.ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหกพอจบออกมาเขาก็ได้เล่นมายากลอยู่ในสวนอาหาร ต่อมาได้ไปเล่นตลกกับ เด่น บิ๊กโจ๊ก (ดอกประดู่) ชื่อในวงการคือ ปาน บิ๊กโจ๊ก แต่ลาออกมาอยู่กับ โน้ต เชิญยิ้ม และแยกตัวมาตั้งคณะของตัวเองจนถึงปัจจุบัน
ถั่วแระถือเป็นมาสคอทของการเชียร์กีฬาไทย โดยมักใส่ชุดนักรบไทยโบราณเวลาเชียร์ สร้างสีสันในกองเชียร์ได้อย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในสนาม ได้ไปเชียร์นักกีฬาทีมชาติไทยมาแล้วในรายการใหญ่ เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 28 และ 29 ที่ กรีซ และ สาธารณรัฐประชาชนจีน และ เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 และ 15 ที่ เกาหลีใต้ และ กาตาร์ โดยในบางครั้งจะมีเพื่อนร่วมเชียร์ที่ร่วมสร้างสีสันด้วย เช่น โดโด้ แขนควง
สมาชิกในคณะ ถั่วแระ เชิญยิ้ม[แก้]
- นุ้ย เชิญยิ้ม [ต่อมาถั่วแระมอบหมายให้เขาเป็นหัวหน้าคณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551] (พ.ศ. 2542 – 2550)
- ชูศรี เชิญยิ้ม [ในฐานะหัวหน้าคนสนิทในขณะนั้น] (พ.ศ. 2542 – 2544)
- หน่อย เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2542 – 2545 ปรากฏมาบ้างเป็นครั้งคราวก่อนจะกลับมาอยู่กับนุ้ยอีกครั้งใน 2550)
- โป๊งเหน่ง เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2543 – 2550)
- ต่าย เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2544 – 2550)
- จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2544 – 2550)
- เจมส์ เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2544 – 2547)
- หลุยส์ ชวนชื่น (พ.ศ. 2546 – 2550)
- ไจแอนท์ เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2546 – 2550)
- โจอี้ เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2548 – 2550)
- เฉิ่น เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2547 – 2549)
- สมส่วน เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2542 – 2550)
- เร้กเก้ เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2542 – 2550)
- กบ สามช่า (พ.ศ. 2544 – 2550)
- อุทิศ บ้านโป่ง (พ.ศ. 2547 – 2548)
- ช้าง ชวนชื่น (พ.ศ. 2546 – 2548)
- เจ้กิ๊ฟ โคกคูน (พ.ศ. 2542 – 2544)
- จ๊ะเอ๋ เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2542 – 2544)
- ชูแว๊บ สกอร์เปี้ยน (พ.ศ. 2546 – 2548)
- โอเลี้ยง เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2543 – 2544)
ผลงาน[แก้]
ละครโทรทัศน์[แก้]
ซิทคอม[แก้]
ภาพยนตร์[แก้]
รางวัล[แก้]
- รางวัลดาวเมขลา สาขาผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม (2559)[1]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
---|
| ประวัติศาสตร์ | |
---|
| ร่วมสมัย | |
---|
| ชาวเอเชีย | |
---|
|