สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

พิกัด: 14°1′54″N 99°31′32″E / 14.03167°N 99.52556°E / 14.03167; 99.52556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรักในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565
รายละเอียด
ก่อตั้งกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 (ในรูปแบบปัจจุบัน)
ที่ตั้ง
พิกัด14°1′54″N 99°31′32″E / 14.03167°N 99.52556°E / 14.03167; 99.52556
ชนิดสุสานทหาร
เจ้าของคณะกรรมาธิการสุสานสงครามแห่งเครือจักรภพ
จำนวนหลุมศพ6,982[1]
ฟายด์อะเกรฟสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก
รายละเอียด
แผนที่
ชื่ออื่นป่าช้าอังกฤษ
สุสานทหารสหประชาชาติ
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ประเภทสุสาน
สถาปัตยกรรมสุสานสนามหญ้า (lawn cemetery)
พิธีเปิด24 สิงหาคม พ.ศ. 2497
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่17 ไร่
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกคอลิน เซนต์แคลร์ โอคส์[2]
ป้ายหลุมฝังศพ

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก เป็นสุสานสงครามของทหารชาวต่างชาติ ตั้งอยู่บนถนนแสงชูโต อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี สุสานแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2497 โดยความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตร ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ คอลิน เซนต์แคลร์ โอคส์ (Colin St Clair Oakes) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบสุสานทหารสัมพันธมิตรช่องไก่อีกแห่งหนึ่งด้วย

สุสานแห่งนี้ใช้รูปแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมแบบสุสานสนามหญ้า (lawn cemetery) คือเน้นความเรียบง่ายของสนามหญ้าแบบตัดแต่ง และการใช้หลุมฝังศพในรูปแบบหมอนอิง (pillow marker) ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและรูปแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม ทำให้สุสานแห่งนี้ได้รับความนิยมเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองกาญจนบุรี

ที่มา[แก้]

"สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก" หรือ "สุสานทหารสหประชาชาติ" หรือที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีทั่วไปเรียกว่า "ป่าช้าอังกฤษ" เป็นสุสานขนาดใหญ่บนพื้นที่ 17 ไร่ บรรจุศพเชลยศึกที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะถึง 6,982 หลุม โดยเชลยศึก 300 คนเสียชีวิตด้วยอหิวาตกโรคและฝังไว้ที่ค่ายนิเกะ (ประมาณ 15 กิโลเมตร ก่อนถึงด่านเจดีย์สามองค์) ส่วนที่เหลือได้จากหลุมฝังศพเชลยศึกตามค่ายต่าง ๆ และยังมีสุสานช่องไก่ ซึ่งรัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เพื่อสร้างสุสานสองแห่งนี้ขึ้น บรรยากาศในสุสานเงียบสงบและร่มรื่น พื้นที่ภายในได้รับการตกแต่งไว้อย่างเป็นระเบียบสวยงาม เหนือหลุมฝังศพทุกหลุมมีแผ่นทองเหลืองจารึก ชื่อ อายุ และประเทศของผู้เสียชีวิต บรรทัดสุดท้ายเป็นคำไว้อาลัยที่โศกเศร้า ทุกปีจะมีวันที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตเฉพาะของคนชาติต่าง ๆ ได้แก่

  • วัน Anzac Day 25 เมษายน ของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
  • วัน Armistice Day 5 พฤษภาคม ของชาวเนเธอร์แลนด์
  • วัน Remembrance Day 11 พฤศจิกายน ของชาวอังกฤษ

ประวัติ[แก้]

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงเมื่อ พ.ศ. 2488 ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามได้ดำเนินการจัดสร้างอนุสรณ์สถานแด่ผู้เสียชีวิตขึ้นหลายแห่งในทวีปเอเชียซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญนั้นมีอนุสรณ์สถานตั้งอยู่ในหลายประเทศ คือ ในประเทศไทย 2 แห่ง พม่า 3 แห่ง อินเดีย 6 แห่ง บังกลาเทศ 5 แห่ง ปากีสถานและศรีลังกาอย่างละ 2 แห่ง นอกจากนี้ที่กาญจนบุรียังมีอนุสรณ์สถานที่สร้างโดยทหารญี่ปุ่นเพื่อคารวะแด่ดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตในระหว่างสงคราม คือ "อนุสาวรีย์ไทยานุสรณ์" ส่วนกรรมกรชาวเอเชียอีกจำนวนมากที่เสียชีวิตไปโดยไม่มีผู้ใดจดบันทึกไว้นั้น มีการสร้างอนุสาวรีย์กรรมกรและทหารนิรนามไว้ที่ป่าช้าวัดญวน และโครงกระดูกอีกส่วนหนึ่งของพวกเขาตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2

สมุดภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sriangura, Vanniya (23 February 2018). "Low-speed luxury". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
  2. ดอกรัก, วรนาถ. "สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก". เที่ยวกาญจนบุรี. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]