ข้ามไปเนื้อหา

กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)

พิกัด: 13°45′01″N 100°29′51″E / 13.750385°N 100.49749°E / 13.750385; 100.49749
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ministry of Interior (Thailand))
กระทรวงมหาดไทย
Ministry of Interior
ตราพระราชสีห์

ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย
ภาพรวมกระทรวง
ก่อตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2435; 132 ปีก่อน (2435-04-01)
ประเภทกระทรวง
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 93 ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
คำขวัญบำบัดทุกข์ บำรุงสุข
บุคลากร113,602 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี294,412,702,400 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
รัฐมนตรี
รัฐมนตรีช่วย
ฝ่ายบริหารกระทรวง
ต้นสังกัดกระทรวงรัฐบาลไทย
ลูกสังกัดกระทรวง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกระทรวง
ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย

กระทรวงมหาดไทย (อังกฤษ: Ministry of Interior) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การอาสารักษาดินแดน การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย

หน่วยงานในสังกัด

หัวหน้ากระทรวงนั้น จะดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดย พระมหากษัตริย์ จะทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผ่านคำแนะนำของ นายกรัฐมนตรี โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าข้าราชการของกระทรวง

โดยในปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 1 สำนักงาน 7 กรม และมีหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล 6 รัฐวิสาหกิจ ดังนี้:[3]

ส่วนราชการระดับกรม

รัฐวิสาหกิจ

หน่วยงานในอดีต

ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทยและรูปปั้นของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


รูปปั้นของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้ากระทรวงมหาดไทย

หน้าที่

ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย หลัก ๆ มีดังนี้ [4]

  • ด้านการเมืองการปกครอง - รับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปกครอง และการบริหาร หน่วยราชการส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และการรักษาความมั่นคงของชาติ
  • ด้านเศรษฐกิจ - รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจะต้องประสานกับส่วนราชการต่าง ๆ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
  • ด้านสังคม - รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม
  • ด้านการพัฒนาทางกายภาพ - รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน การให้บริการขั้นพื้นฐานในชนบท การจัดผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง

ประวัติกระทรวง

ราชการมหาดไทยก่อนปฏิรูป

ราชการมหาดไทย เริ่มปรากฏครั้งแรกตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัย เป็นราชธานี โดยเป็นในรูปแบบ จตุสดมภ์ โดยให้กรมเมือง มีหน้าที่ในการปกครองท้องที่ รักษาสันติสุข บังคับบัญชาบรรดาพลเรือน ตราบจนถึงรัชสมัยของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราวในปี พ.ศ. 2006 ได้กำหนดให้มีกรมมหาดไทย ดูแลบริหารราชการฝ่ายพลเรือนสืบทอดมาจึนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น[5]

มหาดไทย สัณนิษฐานว่าคำว่า "มหาด" เป็นคำภาษาสันสกฤติ มาจากคำว่า มหามาศ ที่แปลว่า ควาญช้าง เนื่องจากสมัยโบราณพระมหากษัตริย์ทำสงครามด้วยยุทธหัตถี ควาญช้างมีความสำคัญมาก ถ้าได้ควาญช้างดีก็สามารถควบคุมช้างจนนำไปสู้ชัยชนะได้ มหามาศจึงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง นั่นคือ อำมาตของพระราชา เนื่องจากควาญช้างเป็นผู้ใกล้ชิดของพระราชา เป็นผู้ที่พระราชาไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงควบคุมช้างเพื่อออกรบที่คอช้าง ควาญช้างจะเป็นผู้ให้สัญญาณแทนพระมหากษัตริย์ ภายหลังจากคำว่า มหามาศ ก็กลายเป็นคำว่า มหาด เช่น คำว่า มหาดเล็ก ก็เป็นทหารในวังที่ใกล้ชิดพระราชา เป็นต้น อย่างหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ก็เปรียบได้กับเหล่าจตุรังคบาทที่ใกล้ชิดปกป้องพระมหากษัตริย์

ก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย

จนมาถึง รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการตั้งกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 และได้ทรงมอบหมายให้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[6] งานของกระทรวงมหาดไทยในระยะเริ่มต้น จัดแบ่งเป็น 3 กรม คือ กรมมหาดไทยกลาง มีหน้าที่ทั่วไป กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย และงานด้านอัยการ กรมพลัมภัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่

ต่อมาในปีเดียวกันนี้เอง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงจัดระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคขึ้นใหม่ เรียกว่า เทศาภิบาล โดยแบ่งการปกครองเป็น มณฑล, เมือง และ อำเภอ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 แบ่งโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยจึงมีโครงสร้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476[7]โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด (ข้าหลวง) และนายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ในส่วนท้องถิ่นซึ่งได้กำหนดให้มีการปกครองตนเองในรูปต่าง ๆ นั้น ก็อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยด้วย โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้บริหารกระทรวง โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าข้าราชการของกระทรวง

อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยนับตั้งแต่ก่อตั้ง

อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2435 มีดังนี้:[8]

  • พ.ศ. 2435 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่หลัก ดังนี้:
    • การปกครองหัวเมือง
    • งานรักษาความสงบเรียบร้อย (งานตำรวจ, รักษาความสะอาด)
    • งานอัยการ
    • งานพยาบาลและสาธารณสุข
    • งานป่าไม้
    • งานสำรวจเหมืองแร่
    • การเก็บภาษีอากร
  • พ.ศ. 2458 โอนย้าย: งานเก็บภาษีอากร (อยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงการคลัง)
  • ไม่ทราบปี โอนย้าย: งานสำรวจเหมืองแร่ (อยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงการคลัง)
  • พ.ศ. 2476 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่หลักตาม พ.ร.บ. จัดตั้งกระทรวงและกรม พ.ศ. 2476 ดังนี้:
    • การปกครองหัวเมือง
    • งานรักษาความสงบเรียบร้อย (งานตำรวจ, รักษาความสะอาด)
    • งานอัยการและราชทัณฑ์
    • งานพยาบาลและสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2476 รับหน้าที่: งานราชทัณฑ์ (จาก กระทรวงยุติธรรม)
  • พ.ศ. 2484 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่หลักตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงและกรม พ.ศ. 2484 ดังนี้:
    • การปกครองหัวเมือง
    • งานรักษาความสงบเรียบร้อย (งานตำรวจ, รักษาความสะอาด)
    • งานอัยการและราชทัณฑ์
    • งานพยาบาล สาธารณสุข และประชาสงเคราะห์
    • งานที่ดิน
  • พ.ศ. 2485 โอนย้าย: งานประชาสงเคราะห์และสาธารณสุข (ตั้งเป็น กระทรวงสาธารณสุข)
  • พ.ศ. 2487 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่หลักตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงและกรม พ.ศ. 2487 ดังนี้:
    • การปกครองส่วนท้องถิ่น
    • งานรักษาความสงบเรียบร้อย (งานตำรวจและสาธารณูปการ)
    • งานอัยการและราชทัณฑ์
    • งานประชาสงเคราะห์
    • งานที่ดิน
    • การป้องกันภัยทางอากาศ
  • พ.ศ. 2487 รับหน้าที่: งานประชาสงเคราะห์ (จาก กระทรวงสาธารณสุข)
  • พ.ศ. 2487 โอนย้าย: งานโยธาเทศบาล (อยู่ในความรับผิดชอบของ สำนักนายกรัฐมนตรี)
  • พ.ศ. 2487 รับหน้าที่: งานป้องกันภัยทางอากาศ
  • พ.ศ. 2496 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่หลักตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงและกรม พ.ศ. 2496 ดังนี้:
    • การปกครองส่วนท้องถิ่น
    • งานรักษาความสงบเรียบร้อย (งานตำรวจ, ป้องกันสาธารณภัย)
    • งานอัยการและราชทัณฑ์
    • งานประชาสงเคราะห์
    • งานที่ดิน
  • พ.ศ. 2506 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่หลักตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงและกรม พ.ศ. 2506 ดังนี้:
    • การปกครองส่วนท้องถิ่น
    • งานที่ดินและผังเมือง
    • งานรักษาความสงบเรียบร้อย (งานตำรวจ, ป้องกันสาธารณภัย)
    • งานอัยการและราชทัณฑ์
    • งานประชาสงเคราะห์
    • งานพัฒนาชุมชน
  • พ.ศ. 2508 รับหน้าที่: งานพัฒนาแรงงาน
  • พ.ศ. 2516 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่หลักตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงและกรม พ.ศ. 2516 ดังนี้:
    • การปกครองส่วนท้องถิ่น
    • งานโยธาธิการและผังเมือง
    • งานรักษาความสงบเรียบร้อย (งานตำรวจ, ป้องกันสาธารณภัย)
    • งานอัยการและราชทัณฑ์
    • งานประชาสงเคราะห์
    • งานพัฒนาชนบท
    • งานแรงงาน
  • พ.ศ. 2534 โอนย้าย: งานอัยการ (ตั้งเป็น สำนักงานอัยการสูงสุด)
  • พ.ศ. 2534 รับหน้าที่: งานประกันสังคม
  • พ.ศ. 2534 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่หลักตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงและกรม พ.ศ. 2534 ดังนี้:
    • การปกครองส่วนท้องถิ่น
    • การส่งเสริมและพัฒนาการเมือง
    • งานรักษาความสงบเรียบร้อย (งานตำรวจ, ป้องกันสาธารณภัย, ราชทัณฑ์ และ ประชาสงเคราะห์)
    • งานโยธาธิการและผังเมือง
    • งานพัฒนาชนบท
    • งานแรงงานและประกันสังคม
  • พ.ศ. 2536 โอนย้าย: งานแรงงาน ประกันสังคม และ ประชาสงเคราะห์ (ตั้งเป็น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม)
  • พ.ศ. 2541 โอนย้าย: งานตำรวจ (ตั้งเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
  • พ.ศ. 2545 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่หลักตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงและกรม พ.ศ. 2545 ดังนี้:
    • การปกครองส่วนท้องถิ่น
    • งานทะเบียนราษฏร์
    • การส่งเสริมและพัฒนาการเมือง
    • งานป้องกันสาธารณภัยและโยธาธิการ
  • พ.ศ. 2545 โอนย้าย: งานราชทัณฑ์ (อยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงยุติธรรม)

อ้างอิง

  1. กระทรวงมหาดไทย, รายงานผลการดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทยในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566, สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. อำนาจหน้าที่และการแบ่งส่วนราชการเก็บถาวร 2017-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. อำนาจหน้าที่และการแบ่งส่วนราชการเก็บถาวร 2017-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "ประวัติศาสตร์กระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
  6. ตำแหน่งข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย
  7. "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
  8. "ตารางเปรียบเทียบอำนาจหน้าที่และการแบ่งส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทยในยุคต่าง ๆ". กระทรวงมหาดไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 2560-04-24. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′01″N 100°29′51″E / 13.750385°N 100.49749°E / 13.750385; 100.49749