ดเวย์น จอห์นสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Dwayne Johnson)
ดเวย์น จอห์นสัน
เกิดดเวย์น ดักลาส จอห์นสัน
(1972-05-02) 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 (51 ปี)
เฮย์วาร์ด, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ
พลเมืองอเมริกัน, แคนาเดียน[1]
อาชีพนักแสดง, โปรดิวเซอร์, นักมวยปล้ำอาชีพ
ปีปฏิบัติงาน1990–1995 (กริดไอเอิร์นฟุตบอล)
1996–2004; 2011–2019 (มวยปล้ำอาชีพ)
1958–ปัจจุบัน (นักแสดง)
พรรคการเมืองอิสระ[2]
คู่สมรส
  • ดานี การ์เซีย (สมรส 1997; หย่า 2007)
  • ลอร์เรน ฮาร์เชียน (สมรส 2019)
บุตร3
บุพการี
ญาติปีเตอร์ มายเวีย
ลีอา มายเวีย
ไนอา แจ็กซ์
โรแมน เรนส์
ชื่อบนสังเวียนDwayne Johnson[3]
Flex Kavana[4]
Rocky Maivia[4]
The Rock[4]
ส่วนสูง6 ฟุต 2.5 นิ้ว (189 เซนติเมตร)[5]
น้ำหนัก260 ปอนด์ (118 กิโลกรัม)[5]
มาจากไมแอมี[5]
ฝึกหัดโดยแพต แพตเตอร์สัน[6]
รอกกี จอห์นสัน[4]
ทอม พริชาร์ด[7]
เปิดตัว1996[4]

ดเวย์น จอห์นสัน (Dwayne Johnson)[8][7] มีชื่อจริงว่า ดเวย์น ดักลาส จอห์นสัน (Dwayne Douglas Johnson)[9] เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1972[10] นักมวยปล้ำอาชีพและนักแสดงลูกครึ่งแคนาดา-อเมริกัน และมีเชื้อสายซามัว เป็นนักมวยปล้ำของWWE[11][12] ในชื่อที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เดอะร็อก (The Rock)[13] ซึ่งบางครั้งก็เรียกกันว่า ดเวย์น "เดอะร็อก" จอห์นสัน (Dwayne "The Rock" Johnson) หรือฉายาคือหินเดินได้[4]

ประวัติ[แก้]

ก่อนเข้าวงการมวยปล้ำและการศึกษา[แก้]

จอห์นสันเป็นนักฟุตบอลประจำวิทยาลัย และในปี 1991 เขาได้เป็นส่วนหนึ่งของแชมป์ทีมฟุตบอลของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในไมอามีทีมไมอามีเฮอร์ริเคน จอห์นสันจบคณะบริหารธุรกิจบัณฑิต หลังจากนั้นเขาก็เล่นในทีมแคลกะรี สแตมป์พีเดอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน แคนนาเดียน ฟุตบอล ลีก[14][15][16] แต่ก็เล่นได้เพียง 2 เดือนในฤดูกาลนั้น เขาก็ได้ถูกชักจูงให้มาเป็นนักมวยปล้ำเหมือนกับตาของเขา ปีเตอร์ มายเวีย และพ่อของเขา ร็อกกี จอห์นสัน

ในวงการมวยปล้ำและนักแสดง[แก้]

ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18

จอห์นสันได้รับกระแสตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดีและมีชื่อเสียงโด่งดังมากเมื่อเขาได้มาเป็นนักมวยปล้ำในWWE (หรือ WWF ในสมัยนั้น) ตั้งแต่ปี 1996-2004 และเขาเป็นคนแรกที่เป็นนักมวยปล้ำรุ่นที่ 3 ในประวัติศาสตร์วงการมวยปล้ำ เขาได้รับการผลักดันอย่างรวดเร็วใน WWE และเป็นเอ็นเตอร์เทนเนอร์ให้กับ WWE ในตอนแรกเขาใช้ชื่อในการปล้ำว่า "ร็อกกี มายเวีย" แล้วก็เปลี่ยนมาเป็น The jabroni beating, lalala pie eating, trail blazing, eye brow raising, the people's champ "เดอะร็อก" และเขาเคยได้เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มเนชั่นออฟโดมิเนชั่นอีกด้วย อีก 2 ปีต่อมาหลังจากที่เขาปล้ำใน WWE ร็อกก็สามารถคว้าแชมป์ WWEมาครองได้ ซึ่งทำให้เขากลายเป็นแชมป์โลกที่อายุน้อยที่สุดในขณะนั้นด้วยอายุเพียง 26 ปี ทำลายสถิติของบ็อบ แบ็กลันด์ (อายุ 27 ปี) โดยต่อมาถูกทำลายสถิติโดยบร็อก เลสเนอร์ (อายุ 25 ปี) และเขาได้กลายเป็นนักมวยปล้ำขวัญใจแฟนๆ

นอกจากการปล้ำของเขาแล้ว ร็อกมีคำพูดวลีติดปากมากมายที่รวมไปถึงคำด่าเด็ดๆที่เอกลักษณ์ประจำตัวจนกลายเป็นเทรนคำพูด ได้แก่ Finally...The Rock...has come back to (ชื่อเมืองในเวลานั้น), You will go one on one with The Great One!, Who in the blue hell are you?, It doesn't matter what you think, lay the smackdown on your candy ass,Who is this roody-poo?, know your role and shut your mouth, Just Bring It (พร้อมท่ากวักมือ) ปัจจุบันตั้งแต่ 2011 เทรนคำพูดของ เดอะ ร็อก คือ Boots To Asses และ ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือคำพูดปิดท้ายประจำตัวตลอดกาลอย่าง If you smell what The Rock is cooking! จนทำให้ เดอะ ร็อก ได้รับสมญานามว่า "The People's Champ" มีเอกลักษณ์คือการเลิกคิ้วข้างขวาข้างเดียว "The People's Eyebrow" และในปี 2001 จอห์นสันก็เริ่มไปแสดงภาพยนตร์และกลับมาปล้ำใน WWE เป็นครั้งคราวจนถึง แมตช์สุดท้ายใน Pay Per View ศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 ในปี 2004[17] หลังจากนั้นบทบาทในวงการมวยปล้ำก็หมดลงไป แต่ก็ยังมีเทปสัมภาษณ์โผล่มาเซอร์ไพร์แฟนๆเป็นครั้งคราวในรายการของ WWE ก่อนจะหันมาเอาดีด้านการเป็นนักแสดงในฮอลลีวูด

ในอาชีพมวยปล้ำเขาเคยเป็นแชมป์โลกถึง 10 สมัย ซึ่งเขาคว้าแชมป์โลกของ WWE มาได้ 8 สมัย (สมัยที่ 7 เป็นแชมป์โลกอันดิสพิวเด็ด) และแชมป์โลก WCW 2 สมัย รวมไปถึงแชมป์อื่นๆ ได้แก่ แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล 2 สมัย, แชมป์โลกแท็กทีมของ WWE 5 สมัย นอกจากนี้เขาได้เป็นแชมป์ทริปเปิลคราวน์ WWE คนที่ 6 และเป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิล ปี 2000 อีกด้วย

และเมื่อจอห์นสันได้มาแสดงภาพยนตร์เขาก็ได้รับบทบาทสำคัญในปี 2001 ในเรื่อง The Mummy Returns โดยรับบทเป็น ราชาแมงป่อง และในบทบาทเดียวกัน ในเรื่อง The Scorpion King ในปี 2002 ซึ่งเขาได้รับรายได้สูงสุดสำหรับนักแสดงที่ได้รับบทตัวเอกของเรื่องเป็นครั้งแรก เป็นเงิน 5.5 ล้านดอลลาร์ ต่อมา จอห์นสัน ก็มีผลงานแสดงอื่นๆในปีต่อๆไป ได้แก่ The Rundown, Doom, Be Cool, Walking Tall, Gridiron Gang, The Game Plan, Get Smart, Race to Witch Mountain, พากย์เสียงแอนิเมชัน Planet 51, Tooth Fairy, Why Did I Get Married Too?, The Other Guys, Faster, Fast Five, Journey 2: The Mysterious Island, G.I. Joe: Retaliation และ Fast & Furious 6,7,8.:Fast and Furious Presents Hobbs and Shaw

ดับเบิลยูดับเบิลยูอี[แก้]

ร็อกและจอห์น ซีนาได้จับมือกันและพร้อมเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28

ในรอว์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2011 เดอะ ร็อกได้กลับมาที่ WWE เพื่อเป็นพิธีกรรับเชิญในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 พร้อมกับเพลงเปิดตัวใหม่ แล้วได้บอกกับแฟนๆ ว่าทำไมเขาถึงกลับมายืนอยู่บนเวทีนี้ เขากลับมาไม่ได้มาเพราะว่าต้องการเงิน ไม่ได้มาเพื่อโปรโมตหนัง แต่กลับมาในสังเวียนนี้เพื่อแฟนๆ หลังจากที่วินซ์ แม็กแมนได้ประกาศว่าจะมีพิธีกรรับเชิญมาเปิดตัวในสัปดาห์ถัดไป (ตอนของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2011)[18][19] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 ร็อกได้มาก่อกวนการปล้ำของจอห์น ซีนา ในการชิงแชมป์ WWE กับเดอะมิซ โดยร็อกจับซีนาใส่ Rock Bottom จนเป็นฝ่ายแพ้ให้กับมิซ แต่ว่าหลังจากจบแมตช์ ร็อกได้เล่นงานมิซด้วย People's Elbow เป็นการปิดท้ายรายการอีกด้วย[20] ในรอว์ 8 เมษายน คืนถัดมาหลังจบ เรสเซิลเมเนีย ซีนาเรียกร็อกออกมาที่เวที และท้าเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 ร็อกรับข้อเสนอของซีนา โดยที่ขวัญใจทั้ง 2 ยุคมาเจอกัน ทั้งคู่ก็จับมือรับข้อเสนอไปด้วยดี[21] ในรอว์ 24 ตุลาคม ในตอนแรกซีนาต้องจับคู่กับแซค ไรเดอร์เจอกับเดอะมิซและอาร์-ทรูธ ระหว่างสัมภาษณ์แซคก็ถูกมิซและทรูธลอบทำร้าย ทำให้เป็น 2 รุม 1 ผลปรากฏว่าซีนาชนะฟาล์ว หลังแมตช์มิซและทรูธได้รุมทำร้ายต่อจนผู้จัดการทั่วไปชั่วคราว จอห์น โลรีนายติสได้ออกมาห้าม และสั่งให้ซีนาเลือกนักมวยปล้ำ 1 คน เพื่อจะจับคู่เจอกับมิซและทรูธ โดยซีนาได้เลือกร็อกมาเป็นคู่แท็กทีมในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2011) เป็นการกลับมาปล้ำที่ WWE ในรอบ 7 ปี โดยคู่กับซีนาเอาชนะมิซและทรูธไปได้ แต่ว่าหลังจากจบแมตช์ ร็อกได้จับซีนาใส่ Rock Bottom เป็นการปิดท้ายรายการอีกด้วย[22]

ในแมตช์กับจอห์น ซีนาที่เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28

ในรอว์ 20 กุมภาพันธ์ 2012 ซีนาออกมาพูดถึงร็อกว่าเขาไม่ได้อยู่ที่นี่ในวันนี้ แต่สัปดาห์หน้าเขาจะมา เพื่อมาคุยกับชั้น เมื่อก่อนชั้นก็เคยชอบเค้านะ แต่ตอนนี้น่ะเอียนแล้ว ก็ยินดีกับมันด้วยละกันกับการที่แสดงหนังอันดับหนึ่งของบ๊อกซ์ออฟฟิซ สัปดาห์หน้ามันก็คงมารอว์ ทำท่ายักคิ้วให้คนดูดีใจ จากนั้นก็กลับไปฮอลลีวู้ดเหมือนเดิม สิ่งที่ชั้นภาคภูมิใจก็คือ ชั้นอยู่กับ WWE มาตลอด 7 ปีที่ผ่านมา และไม่เคยจากไปไหน แล้วที่ร็อกมันกลับมาคราวก่อนน่ะนะ มันก็แค่มาโปรโมต Fast Five กับทวิตเตอร์ของมันเท่านั้น ชั้นคนนี้คือคนที่อยู่กับ WWE ตลอด ชั้นขึ้นปล้ำในเรสเซิลเมเนีย อย่างภาคภูมิใจในฐานะนักมวยปล้ำ พาดหัวข่าวหลังจากคืนนั้นจะต้องเป็น จอห์น ซีนา เอาชนะ เดอะ ร็อก ในบ้านเกิดของเขา ไมอามี ฟลอริดา เอาไว้เจอกันในเรสเซิลเมเนีย ก็แล้วกัน ต่อมาในรอว์ 27 กุมภาพันธ์ ร็อกออกมาทักทายแฟนๆ ในสนาม และพูดถึงซีนาว่าชั้นไม่คิดว่านายเป็นคนเลวหรอกนะ แต่นายแค่เป็นคนกระจอกๆ เท่านั้นเอง ซีนา สัปดาห์ก่อนนายพูดจาพาดพิงถึงชั้น นายบอกว่านายจะต่อสู้ในฐานะตัวแทนนักมวยปล้ำทุกคน แต่ชั้นจะสู้เพื่อแฟนๆ ทุกคน แฟนๆ ที่เบื่อหน่ายแกที่ทำอะไรซ้ำๆ ซากๆ ทุกค่ำคืน ซีนาออกมาตอบโต้ และบอกว่าเขาไม่ชอบ ดเวย์น จอห์นสัน จะจัดการกับมันในเรสเซิลเมเนีย ก่อนจะเดินจากไป เดอะ ร็อก ก็บอกว่าถึงแกจะปากเสียแล้วรีบเดินหนีไป แต่ว่าความจริงแล้ว เดอะ ร็อก กับ ดเวย์น จอห์นสัน มันก็คนเดียวกัน และมันก็ไม่สำคัญหรอก เพราะว่าในเรสเซิลเมเนีย ชั้นจะเตะก้นแก If You Smell What the Rock is Cooking?[23] ต่อมาในรอว์ 12 มีนาคม ซีนาออกมาในมาดของ Dr.Thugonomic ใส่หมวกกลับหัว, โซ่ห้อยคอ, เสื้อบาสเก็ตบอล และใช้เพลงเปิดตัวแบบเก่าของตัวเองด้วย ซีนาเริ่มพูดด้วยสำเนียงเด็กแร็ปด่าใส่ร็อกว่าเป็นพวกทรยศเหมือนกับ ลีบอร์น เจมส์ (นักบาสเก็ตบอลที่ย้ายหนีไปจากคลีฟแลนด์) สัปดาห์ก่อน เดอะร็อก หรือไอ้ ดเวย์น จอห์นสัน มันโกรธว่ะ มันบอกให้ชั้นหุบปาก แต่หลังจากวันที่ 1 เมษายน มันจะต้องไปศัลยกรรมใบหน้าเหมือนกับที่มันเคยทำศัลยกรรมนมมาแล้ว Team Bring It เหรอ พวกมันไม่น่ากลัวหรอก เพราะร็อกมันเป็น Tooth Fairy ชั้นจะกระทืบแกในเรสเซิลเมเนีย และเอาถั่วยัดใส่หน้าแก คืนเดียวกัน ร็อกออกมาพร้อมกับกีตาร์โปร่งเพื่อจัด Rock Concert ทักทายแฟนๆ ชาวคลีฟแลนด์ แล้วร็อกก็เริ่มเล่นกีตาร์และร้องเพลงที่แต่งเอง เป็นเพลงด่าซีนา หลังร้องเสร็จแล้ว ร็อกก็ประกาศจะกระทืบซีนาในเรสเซิลเมเนีย ต่อด้วยเปิดเพลง We Will Rock You ฉบับดัดแปลงด่าซีนามาร้องกับแฟนๆในสนามเป็นการปิดรายการ[24] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 ร็อก เอาชนะซีนาไปได้ในแมตช์ที่ขวัญใจทั้ง 2 ยุคมาเจอกัน[25] ในรอว์ 2 เมษายน คืนหลังจบเรสเซิลเมเนีย ร็อกได้มาพูดถึงชัยชนะของเขา และยังขอบคุณแฟนๆ ทุกคนที่เชียร์เขา หลังจากนั้นก็บอกว่าเขาอยากจะเป็นแชมป์ WWE ซักวันหนึ่ง[26]

ฉลองชัยชนะในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28

ในรอว์ ตอนที่ 1000 (23 กรกฎาคม 2012) ร็อกได้ออกมาแจก Rock Bottom ใส่แดเนียล ไบรอัน และยังประกาศด้วยว่าเขาจะท้าชิงแชมป์ WWE ในรอยัลรัมเบิล (2013) คืนเดียวกันซีเอ็ม พังก์มีคิวป้องกันแชมป์ WWE กับจอห์น ซีนา ผลปรากฏว่าบิ๊กโชว์มาก่อกวน ทำให้กรรมการปรับซีนาชนะฟาวล์ หลังแมตช์บิ๊กโชว์กระทืบซีนาไม่ยั้ง แต่พังก์ก็ยืนดูเฉยๆ ไม่ยอมช่วย ร็อกออกมาช่วยซีนาและจะใช้ People's Elbow ใส่บิ๊กโชว์ แต่พังก์ขึ้นมาโคลทส์ไลน์ใส่ร็อกและจับใส่ GTS แล้วก็เดินจากไปท่ามกลางเสียงโห่ของคนดู[27] หลังจบรอว์ก็มีเหตุการณ์แถมท้าย บิ๊กโชว์ลุกขึ้นมาอัดซีนาอีกรอบ และร็อกก็ Rock Bottom ใส่บิ๊กโชว์ ก่อนที่ซีนาจะซ้ำด้วย Attitude Adjustment หลังจากนั้นซีนาก็ถอดปลอกแขนมาให้ร็อก แต่ร็อกบอกว่านายคงจะเอาที่คาดหัวมาใส่เป็นปลอกแขนแน่นอน เพราะคงไม่มีใครแขนใหญ่ขนาดนี้ ซีนาและคนดูก็หัวเราะกันสนุกสนาน จากนั้นร็อกก็ใช้ People's Elbow ใส่บิ๊กโชว์ แล้วร็อกกับซีนาได้จับมือกันก่อนที่ซีนาเดินกลับไป

คว้าแชมป์ WWEสมัยที่8

ในรอว์ 7 มกราคม 2013 ซีเอ็ม พังก์ออกมาโม้ ก่อนที่ร็อกจะตามออกมาขัดจังหวะ ร็อกบอกว่าแกเป็นแชมป์มา 414 วันเหรอ เอาเวลาไปจำตัวเลขอื่นดีกว่าคือ 20 คือในอีก 20 วันเวลาของแกก็จะหมดลงแล้วในรอยัลรัมเบิล แกทำเป็นมาสัญญากับแฟนๆ อย่างงั้นอย่างงี้แต่ไม่เคยทำได้สักอย่าง รวมทั้งไอศครีมบาร์ด้วย มีแต่ไอศครีมในรูตูดแกน่ะสิ แกอ้างว่าเป็น Voice of the Voiceless แต่ความเป็นจริงคือแฟนๆ ทุกคนมีเสียงที่จะตะโกนได้ทุกอย่างที่ต้องการอยู่แล้ว แต่พวกเขาจะไม่ตะโกนคำว่า Respect หรือ Best in the World แต่ต่อไปนี้พวกเขาจะตะโกนคำว่า Cookie Puss ใส่แกแทน ร็อกยังล้อเลียนพังก์ว่าเป็น Straight Edge ของปลอม เพราะหน้าตาเหมือนคนจรจัดขี้ยามากกว่า ร็อกบอกว่าแกเป็นแชมป์ WWE แต่ก็กลายเป็นคนงี่เง่าที่สุดของโลกด้วยเช่นกัน และแกไม่มีทางที่จะหยุดเดอะร็อกจากการเป็นแชมป์ได้ ร็อกบอกว่าคราวก่อนแกมา GTS ใส่ร็อก และร็อกจะเอาคืนในอีก 20 วันข้างหน้าในรอยัลรัมเบิล ร็อกบอกว่าจะเพิ่มรอยสักรูปเท้าให้แก จะได้เป็นเครื่องเตือนใจว่าแกโดนเท้าประทับเข้าไปหนักขนาดไหน ว่าแล้วก็จับใส่ Rock Bottom ปิดท้ายรายการ[28] ในสแมคดาวน์ 11 มกราคม ร็อกได้กลับมาที่สแมคดาวน์ครั้งแรกในรอบ 10 ปี แต่แดเมียน แซนดาวและโคดี โรดส์ออกมาก่อกวน ร็อกก็จัดการ Rock Bottom ใส่แซนดาว และ People's Elbow ใส่โคดี[29] ในรอว์ 14 มกราคม ร็อกออกมาจัดคอนเสิร์ตด่าวิกกี เกร์เรโร พังก์ออกมาหาเรื่อง และจะวิ่งมาอัดร็อก ก็เลยตีกันมั่วไปหมด กรรมการต้องออกมาช่วยห้ามหลายคน[30]

ในรอว์ 21 มกราคม ร็อกได้ออกมาไล่พอล เฮย์แมนให้ลงไปจากเวทีและท้าทายพังก์ ให้มาพบเขาแบบตัวต่อตัวอย่างลูกผู้ชาย แต่ว่าพังก์ไม่ไปตามคำท้า เขากลับนั่งดูร็อกอยู่ห่างๆ บนที่นั่งชั้นเฟิร์สทคาสส์ ไม่ทันที่ร็อกกำลังจะกลับ ไฟในสนานก็ดับสนิท เมื่อไฟกลับมาแล้ว แต่ก็โดนเดอะชีลด์ (ดีน แอมโบรส, เซท โรลลินส์ และ โรแมน เรนส์) รุมกระทืบและก็โดน Triple Powerbomb ทำให้ร็อกถึงกับปากแตก แล้วพังก์ก็บอกว่าการเป็นแชมป์มหาชนนั้นไม่เพียงพอที่จะเอาชนะนักมวยปล้ำที่ดีที่สุดในโลกได้ จากนั้นวินซ์ แม็กแมนได้มาบอกกับพังก์ว่าถ้าเดอะชีลด์มาก่อกวนร็อกในการชิงแชมป์ WWE เขาจะปลดแชมป์จากพังก์ทันที[31] ในรอยัลรัมเบิล แมตช์ชิงแชมป์ WWE ช่วงท้ายแมตช์ ร็อกกำลังได้เปรียบอยู่ดีๆ ไฟในสนามก็ดับ และกลุ่มเดอะชีลด์ก็ออกมาโจมตีร็อก แล้วจับพาวเวอร์บอมบ์ใส่โต๊ะผู้บรรยาย ไฟกลับมาสว่างอีกครั้ง พังก์ลากร็อกขึ้นเวทีมากดนับ 3 ชนะ พังก์กำลังฉลองอยู่ วินซ์ก็ออกมาและบอกว่าเคยบอกเอาไว้แล้วว่าถ้าเดอะชีลด์มาก่อกวนจะสั่งปลดแชมป์ทันที วินซ์กำลังจะสั่งปลดแชมป์ แต่ร็อกห้ามเอาไว้ และบอกว่าขอให้เริ่มปล้ำกันใหม่อีกครั้งดีกว่า คราวนี้ร็อกเป็นฝ่ายใช้ท่า People's Elbow และกดนับ 3 คว้าแชมป์ WWE สมัยที่ 8 ไปครอง เป็นการคว้าแชมป์โลกครั้งแรกในรอบ 10 ปีได้สำเร็จ ซึ่งในคืนเดียวกันซีนาก็ได้เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิล[32] ในรอว์ 28 มกราคม ร็อกออกมาประกาศว่าต่อไปนี้จะไม่มีไอ้คนจรจัดรอยสักเต็มตัว พังก์ออกมาโม้เกี่ยวกับการเป็นแชมป์อีกต่อไปแล้ว แล้วก็ไม่ต้องมาทนรำคาญกับผู้จัดการหัวล้านของมันด้วย พังก์ออกมาประกาศใช้สิทธิ์รีแมตช์ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2013) ในรอว์ 11 กุมภาพันธ์ ร็อกออกมาพูดกับแฟนๆ แต่โดนพังก์ขัดจังหวะ พังก์ขึ้นเวทีไปแลกหมัดกับร็อก และเป็นร็อกที่จับ Spinebuster ได้ ร็อกจะปิดฉากด้วย People's Elbow แต่โดนเฮย์แมนดึงขาจนหน้าทิ่มพื้นซะก่อน พังก์จัดการ GTS ใส่ร็อก และพังก์ก็เอาเข็มขัดแชมป์ของร็อก เดินกลับบ้านไปเลย บอกว่าเขาสมควรเป็นแชมป์มากกว่า ในสแมคดาวน์ 15 กุมภาพันธ์ ร็อกออกมาพูดถึงการที่พังก์ขโมยเข็มขัดแชมป์ของเขาไป และในแชมเบอร์ เขาจะกระทืบพังก์จนไม่กล้าแตะต้องเข็มขัดนั้นอีกตลอดกาล พังก์โผล่มาทางจอยักษ์พร้อมกับเข็มขัดแชมป์เพื่อล้อเลียนร็อก และบอกให้ร็อกโกรธมากๆเลย จะได้ถูกจับแพ้ฟาวล์ในแมตช์ชิงแชมป์ ซึ่งถ้าร็อกถูกจับแพ้ฟาวล์ จะเสียแชมป์ทันที ในแชมเบอร์ ร็อกก็สามารถเอาชนะพังก์ได้เป็นครั้งที่ 2 ป้องกันแชมป์เอาไว้ได้สำเร็จ[33]

ร็อกกับแชมป์ WWEในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29

ในรอว์ 18 กุมภาพันธ์ ร็อกออกมาพูดถึงเข็มขัดแชมป์ WWE เส้นปัจจุบัน บอกว่าแชมป์ WWE มันไม่ควรจะดูเหมือนของเล่นแบบนี้ และที่สำคัญมันไม่ควรจะหมุนได้ด้วย ร็อกสั่งให้เด็กยกของเอาเข็มขัดเส้นนี้ไปเก็บเข้ากรุ จากนั้นก็เปิดตัวเข็มขัดเส้นใหม่ ซีนาออกมายืนจ้องหน้าร็อกท่ามกลางเสียงโห่ของคนดู จากนั้นพังก์เอาเข็มขัดเส้นเก่ามาฟาดใส่กลางหลังซีนาจนล้มกลิ้ง จากนั้นก็โยนเข็มขัดเก่าทิ้งไว้ข้างๆตัวซีนา ก่อนจะยืนชี้หน้าร็อกแล้วเดินกลับไป[34] ในรอว์ 25 กุมภาพันธ์ ได้มีแมตช์ระหว่างซีนากับพังก์ เพื่อหาผู้ท้าชิงอันดับ 1 ชิงแชมป์ WWE กับร็อกในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 สุดท้ายซีนาก็เป็นฝ่ายชนะได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ชิงแชมป์ WWE ในรอว์ 25 มีนาคม มีการจัดดีเบตระหว่างร็อกกับซีนา แต่ซีนาเถียงสู้ร็อกไม่ได้เลยทำเป็นฮัดฮัดถอดเสื้อแล้วเดินเข้าไปหาร็อก ซีนาทำท่า You Can't See Me ใส่ร็อก เลยโดนร็อกผลักซะ ซีนาจับร็อกแบกจะใช้ Attitude Adjustment แต่ร็อกดิ้นหลุดแล้วจับ Rock Bottom ในรอว์ 1 เมษายน ร็อกออกมาประกาศว่าซีนาคิดจะแก้มือจากปีที่แล้ว คิดจะเอาเข็มขัดเส้นนี้ แต่จะบอกให้ว่าเวลานั้นของแกน่ะมันไม่มีวันมาถึงหรอก If you smell..... what the rock is cooking!? ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 ร็อกแพ้ให้กับซีนาเสียแชมป์ WWE หลังแมตช์ร็อกก็จับมือแสดงความยินดีกับซีนา[35] โดยในระหว่างการปล้ำนั้นร็อกได้มีอาการไส้เลื่อนจนต้องเข้ารับการผ่าตัด และการผ่าตัดของร็อกก็เป็นไปด้วยดี โดยร็อกเผยว่าแพทย์ได้ผ่าตัดซ่อมแซมให้เขาเรียบร้อยแล้ว[36] ร็อกได้โพสต์ทวิตเตอร์ว่าแมตช์กับซีนาในเรสเซิลเมเนีย 29 อาจจะเป็นแมตช์สุดท้ายของเขาแล้ว[37]

ร็อก, ฮัลค์ โฮแกน และสตีฟ ออสติน ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30

ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30 ร็อกได้ปรากฏตัวและบอกว่าในที่สุดเขาก็ได้กลับมาเยือนนิวออร์ลีนส์อีกครั้ง และก็กลับมาที่ซูเปอร์โดมด้วย ร็อกบอกว่า สโตน โคลด์ กับฮัลค์ โฮแกน เป็นสองตำนานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน WWE และเขาก็เคยเจอกับทั้งคู่มาแล้วในเรสเซิลเมเนีย ตอนนี้เรามารวมกันเกือบครบแล้ว ขาดแต่พระเอกยุคปัจจุบันซึ่งมันคงไม่กล้าออกมาหรอกนอกจากโฮแกนจะเชิญมันออกมา จากนั้นทั้ง 3 พระเอกก็พูดประโยคฮิตของตัวเอง โดยร็อกบอกว่า If you smell what the rock is cooking!?, สโตน โคลด์ บอก and that's the bottom line cause Stone Cold said so! และโฮแกน ปิดท้ายว่า Watcha gonna do brothers when Hulk Hogan, Stone Cold Steve Austin, The Rock, and Superdome run wild on you!? สโตน โคลด์เอาเบียร์มาเลี้ยงทุกคนและก็แยกย้ายกันกลับ[38]

ในรอว์ 6 ตุลาคม 2014 รูเซฟกับลานาออกมาที่เวทีแล้วก็ด่าอเมริกาด่าบิ๊กโชว์ ก่อนที่รูเซฟจะท้าให้บิ๊กโชว์ออกมาเจอกันเดี๋ยวนี้เลย บิ๊กโชว์ไม่ออกมาแต่เป็นร็อกที่ออกมาแทน ร็อกมาด่ารูเซฟฉอดๆๆว่าที่คนเขาโห่พวกแกน่ะไม่ใช่เพราะพวกแกชอบรัสเซีย แต่เขาโห่เพราะพวกแกมันเป็นคนงี่เง่าระดับอินเตอร์เนชั่นแนล ร็อกต่อยรูเซฟรัวจนตกเวทีไป และรูเซฟกับลานาก็ต้องถอยกลับหลังฉากไปก่อน ในสแมคดาวน์ 10 ตุลาคม ร็อกมาทักทายทริปเปิลเอชและสเตฟานี แม็กแมน ตอนแรกก็คุยกันดีๆ แต่แป๊บเดียวก็ทะเลาะกันเพราะร็อกบอกว่าถ้าเจอกันอีกครั้งในเรสเซิลเมเนียล่ะก็แกโดนเตะก้นแน่ ทริปเปิลเอชก็บอกว่าเคยเจอกันมาแล้วนี่ในเรสเซิลเมเนียและแกก็แพ้ด้วย ทริปเปิลเอชบอกให้เลือกเลยว่าอยากเจอกันเมื่อไหร่ เรสเซิลเมเนียไหน สนามไหน แต่สเตฟานีก็มาห้ามไว้แล้วก็ชวนทั้งสองคนไปหาอะไรกินกันดีกว่า

ร็อกกับรอนดา ราวซีย์ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31

ในรอยัลรัมเบิล (2015) ร็อกได้วิ่งออกมาช่วยโรแมน เรนส์ไล่อัดบิ๊กโชว์กับเคน เรนส์ลุกมา Superman Punch ใส่โชว์แต่คนดูโห่ ร็อกจัดการ Rock Bottom ใส่โชว์ หลังแมตช์ร็อกขึ้นไปชูมือให้เรนส์ แต่คนดูโห่กระจาย จากนั้นทริปเปิลเอชกับสเตฟานีก็ออกมาทำหน้าไม่พอใจที่เรนส์ชนะร็อกชูมือเรนส์อีกครั้ง คนดูก็โห่เหมือนเดิม ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31 ทริปเปิลเอชกับสเตฟานี แม็กแมน ออกมาที่เวทีเพื่อแหย่คนดูเล่น แต่ร็อกออกมาขัดจังหวะ ทำให้สเตฟานีจัดการตบหน้าร็อก และก็ท้าให้ร็อกต่อยผู้หญิงเลย ถ้าไม่กล้าก็เดินกลับไปซะ ร็อกไปพา Ronda Rousey ที่นั่งดูอยู่ข้างเวทีขึ้นไปหาสเตฟานี และก็จัดการต่อยทริปเปิลเอชร่วงไป แถม รอนดายังจับทริปเปิลเอชทุ่มอีก สเตฟานีเข้าไปเอาเรื่อง รอนดาเลยโดนจับบิดแขนร้องลั่น ก่อนจะหนีลงเวทีไป

ร็อกกับเดอะไวแอ็ตต์แฟมิลี ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32

ในรอว์ (25 มกราคม 2016) ร็อกได้ออกมาที่เวทีเพื่อทักทายแฟนๆ ชาวไมอามี่ แต่พวกเดอะนิวเดย์ออกมาหาเรื่อง ดิอูโซส์เลยออกมาช่วยและก็จับบิ๊กอีไปให้ใส่ Rock Bottom โคฟีก็โดนอูโซส์จับ Samoan Drop ไป และสุดท้ายเซเวียร์พยายามขอโทษและจะวิ่งหนี แต่โดนอูโซส์ถีบหน้าเข้าไป แล้วร็อกก็ซ้ำด้วย People's Elbow

ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32 ร็อกออกมาทักทายแฟนๆ ในสนามและพูดเรื่องสถิติผู้ชมเรสเซิลเมเนียปีนี้ที่ทำสถิติใหม่มีคนดูกว่า 101,000 คน เดอะไวแอ็ตต์แฟมิลีออกมาก่อกวน และเบรย์ ไวแอ็ตต์ก็พูดจาไม่รู้เรื่อง ทำให้โดนร็อกด่าเช็ดเรียงตัว แล้วก็ท้าให้ใครก็ได้คนนึงมาเจอกันตัวต่อตัวเดี๋ยวนี้เลย เบรย์ให้อีริก โรแวนมาเจอกับร็อก แมตช์เริ่มปุ๊บ ร็อกก็จัดการ Rock Bottom ทันที ทำให้ชนะไปด้วยสถิติใหม่ของเรสเซิลเมเนีย คือ 6 วินาที หลังแมตช์พวกไวแอ็ตต์จะรุมร็อกแต่ซีนาออกมาช่วย ทั้งสองคนก็ช่วยกันปราบกลุ่มไวแอ็ตต์ ก่อนที่จะกอดกันเล็กน้อย

วันที่ 3 สิงหาคม 2019 ร็อกได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าเขาได้รีไทร์จากวงการมวยปล้ำแล้ว[39] ใน SmackDown ตอนแรกที่ฉายทางช่อง FOX (4 ตุลาคม 2019) ร็อกได้ปรากฏตัวในรอบเกือบ 4 ปีโดยร่วมมือกับเบกกี ลินช์จัดการกับคิง คอร์บินก่อนจะฉลองกันบนเวที[40][41]

วันที่ 15 กันยายน 2023 ใน SmackDown ร็อกได้เซอร์ไพรส์ปรากฎตัวโดยกระทืบออสติน เธียรีเป็นการปรากฎตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2019[42]

วันที่ 1 มกราคม 2024 ในศึกรอว์เดย์วัน เดอะร็อกได้เซอร์ไพรส์ปรากฎตัวอีกครั้งโดยออกมากระทืบอดีตแชมป์ WWE อย่าง จินเดอร์ มาฮาล เป็นการปรากฎตัวในรอว์ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016[43] ก่อนจะประกาศเปรยๆ ท้าญาติของเขาที่เป็นเจ้าของแชมป์อันดิสพิวเต็ดยูนิเวอร์แซล WWE อย่าง โรแมน เรนส์[44][45] วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2024 เดอะร็อกปรากฎตัวที่ SmackDown ซึ่งเขาเผชิญหน้ากับโรแมน เรนส์ วันต่อมาหน้า Twitter ของ WWE ประกาศว่าเดอะร็อกจะอยู่ที่งานแถลงข่าวเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 40 เพื่อเผชิญหน้ากับเรนส์อีกครั้ง[46] ในระหว่างงานสื่อเรสเซิลเมเนีย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ เดอะร็อกเข้าข้างเรนส์และตบหน้าผู้ชนะรอยัลรัมเบิล โคดี โรดส์ หลังจากที่โคดีประกาศว่าเขาเลือกเรนส์ จึงทำให้ร็อกกลายเป็นอธรรมเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2003 หลังเวทีขณะที่ทริปเปิลเอชกำลังถูกสัมภาษณ์เกี่ยวกับสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น ร็อกและเรนส์ก็ปรากฏตัวขึ้นและบอกให้เขาแก้ไขเรื่องนี้ ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะทำเอง[47] ในสแมคดาวน์ 16 กุมภาพันธ์ เดอะร็อกได้ออกมาในกิมมิคอธรรมอย่างฮอลลีวูดร็อกและประกาศเข้าร่วมกลุ่มเดอะบลัดไลน์อย่างเป็นทางการ[48] ในสแมคดาวน์ 1 มีนาคม เดอะร็อกและเรนส์ได้ประกาศท้าโคดีและเซธ รอลลินส์เจอกันแบบแท็กทีมในคู่เอกเรสเซิลเมเนีย 40 คืนแรกโดยสัปดาห์ถัดมาฝั่งโคดีได้รับคำท้า

แชมป์และความสำเร็จ[แก้]

1 The Rock's seventh reign was as WWE Undisputed Champion.

รางวัลอื่นๆ และเกียรตินิยม[แก้]

สถิติมวยปล้ำ[แก้]

เจอกับสตีฟ ออสตินในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 19

ผลงานการแสดง[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ปี เรื่อง บทบาท หมายเหตุ Ref.
1999 Beyond the Mat Himself Documentary [71]
2001 เดอะมัมมี่ รีเทิร์น ฟื้นชีพกองทัพมัมมี่ล้างโลก (The Mummy Returns) Mathayus of Akkad / The Scorpion King
Longshot Mugger Cameo
2002 เดอะ สกอร์เปี้ยน คิง ศึกราชันย์แผ่นดินเดือด (The Scorpion King) Mathayus of Akkad / The Scorpion King First lead role
2003 The Rundown Beck
2004 Walking Tall Christopher "Chris" Vaughn, Jr. [72]
2005 Be Cool Elliot Wilhelm [73]
Doom Sgt. Asher "Sarge" Mahonin
2006 Southland Tales Boxer Santaros / Jericho Cane [74]
Gridiron Gang Coach Sean Porter [75]
2007 Reno 911!: Miami Agent Rick Smith Cameo [76]
The Game Plan Joe Kingman
2008 Get Smart Agent 23
2009 Race to Witch Mountain Jack Bruno [77]
Planet 51 Cpt. Charles T. Baker Voice role [78]
2010 Tooth Fairy Derek Thompson / Tooth Fairy
Why Did I Get Married Too? Daniel Franklin Uncredited cameo[79]
The Other Guys Christopher Danson [80]
You Again Air Marshal Uncredited cameo[79]
Faster Jimmy Cullen / Driver
2011 เร็ว..แรงทะลุนรก 5 (Fast Five) DSS Agent Luke Hobbs [81]
2012 เจอร์นีย์ 2 พิชิตเกาะพิศวงอัศจรรย์สุดโลก (Journey 2: The Mysterious Island) Hank Parsons Also co-producer [82]
2013 Snitch John Matthews Also producer [83]
จีไอโจ สงครามระห่ำแค้นคอบร้าทมิฬ (G.I. Joe: Retaliation) Marvin F. Hinton / Roadblock
Pain & Gain Paul Doyle [84]
เร็ว..แรงทะลุนรก 6 (Fast & Furious 6) DSS Agent Luke Hobbs [85]
Empire State Det. James Ransome Direct-to-video film [80]
2014 Hercules Hercules [80]
2015 เร็ว..แรงทะลุนรก 7 (Furious 7) Luke Hobbs [86]
San Andreas Ray Gaines
2016 Central Intelligence Robbie Weirdicht / Bob Stone
Moana Maui Voice role
2017 The Fate of the Furious Luke Hobbs
Baywatch Lt. Mitch Buchannon Also executive producer
Rock and a Hard Place Himself
จูแมนจี้ เกมดูดโลกบุกป่ามหัศจรรย์ (Jumanji: Welcome to the Jungle) Spencer Gilpin (Dr. Xander "Smolder" Bravestone) [87][88]
2018 Rampage Davis Okoye [89]
Skyscraper Will Sawyer Also producer [90]
2019 Fighting with My Family Himself [91]
Shazam! Teth-Adam / Black Adam Executive producer
Hobbs & Shaw Luke Hobbs Also producer [92]
Jumanji: The Next Level Eddie and Spencer Gilpin (Dr. Xander "Smolder" Bravestone) [93]
2021 Jungle Cruise Frank Wolff
Free Guy Bank Robber #2 Voice cameo [94]
Red Notice FBI Agent John Hartley Also producer
2022 DC League of Super-Pets Krypto the Superdog Voice role; also producer
Black Adam Teth-Adam / Black Adam Post-production; also producer
2023 Red One TBA Pre-production [95][96]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gill, Meagan (June 13, 2017). "Proud of Canadian roots: Dwayne "The Rock" Johnson holds dual-citizenship". 604 now (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ July 12, 2019.
  2. Sirota, Caity Weaver, Peggy (May 10, 2017). "Dwayne Johnson for President!". GQ (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2019. สืบค้นเมื่อ May 12, 2017.
  3. "The Rock". Cagematch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2016. สืบค้นเมื่อ August 27, 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Milner, John. "The Rock". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18. สืบค้นเมื่อ April 13, 2008.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Dwayne "The Rock" Johnson". WWE. สืบค้นเมื่อ March 9, 2012.
  6. "The Rock " Wrestler-Datenbank " CAGEMATCH – The Internet Wrestling Database". Cagematch.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2016. สืบค้นเมื่อ August 13, 2014.
  7. 7.0 7.1 Dworkis, Michael. "Dr. Tom Prichard: The Doctor of Talent". MichaelDworkis.com. สืบค้นเมื่อ September 25, 2012.
  8. "The Rock Profile". Online World of Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-04. สืบค้นเมื่อ April 13, 2008.
  9. "Dwayne "The Rock" Johnson Biography". Notable Biographies. สืบค้นเมื่อ April 13, 2008.[ลิงก์เสีย]
  10. "Dwayne Johnson Biography (1972–)". Film Reference. สืบค้นเมื่อ April 13, 2008.
  11. Justin Bank. "The Rock returns to WWE's 'Monday Night Raw,' with an assist from social media". The Washington Post.
  12. "More on The Rock's Return to RAW Tonight". RingSideNews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. สืบค้นเมื่อ 2012-05-03.
  13. "The Rock Profile". Online World of Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-04. สืบค้นเมื่อ March 20, 2008.
  14. Baines, Tim. "Sticking to the Gameplan". The Calgary Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ September 27, 2007.
  15. Beamish, Mike. "CFL taken aback by Dwayne (The Rock) Johnson's takedown". Vancouver Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-23.
  16. Courtesy of University of Miami. "The Rock - 1993 - Rare Pics of Dwayne "The Rock" Johnson - Photos". Sports Illustrated. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-26. สืบค้นเมื่อ 2013-11-23.
  17. "WrestleMania XX official results". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-23. สืบค้นเมื่อ March 21, 2008.
  18. "John Cena's Fruity Pebbles, Cookie Puss and Other Unflattering WWE Nicknames".
  19. Bishop, Matt (February 15, 2011). "Raw: Finally, The Rock has returned to WWE". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ February 15, 2011.[ลิงก์เสีย]
  20. Bishop, Matt (April 3, 2011). "The Rock costs Cena retained the championship at WrestleMania XXVII". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ April 4, 2011.
  21. Caldwell, James (April 4, 2011). "Caldwell's WWE Raw results 4/4: Ongoing "virtual time" coverage of live Raw – The Rock & Austin live, fall-out from WrestleMania 27, Sin Cara debut". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ April 8, 2011.
  22. Martin, Adam. "WWE Survivor Series: The Rock and John Cena vs. The Miz and R-Truth". Wrestleview. สืบค้นเมื่อ 14 April 2012.
  23. Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw Results 2/27: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw - The Rock returns to Raw, WM28 hype". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 14 April 2012.
  24. Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw Results 3/12: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Rock Concert vs. Cena Rap, Taker returns". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 14 April 2012.
  25. Caldwell, James. "Caldwell's WWE WrestleMania 28 PPV Report 4/1: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Rock-Cena, Taker-Hunter, Punk-Jericho". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
  26. Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw Results 4/2: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw - WM28 fall-out, how will Cena respond to Rock loss?, two big title matches". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 14 April 2012.
  27. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/23: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #999 - WWE recognizes 1,000 episodes, WWE Title match, Lesnar, Rock, DX, wedding". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
  28. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 1/7: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - WWE Title match, The Rock returns, Cena vs. Ziggler (updated w/Box Score)". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 13 January 2013.
  29. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE SMACKDOWN RESULTS 1/11: Complete "virtual-time" coverage of The Rock's big return, new World Champ crowned (updated w/Box Score)". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 13 January 2013.
  30. "PARKS'S WWE RAW REPORT 1/14: Complete "virtual time" coverage of the 20th Anniversary of Raw, including Rock Concert, Divas Title Match".
  31. "WWE videos". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-25. สืบค้นเมื่อ 2014-07-13.
  32. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE ROYAL RUMBLE PPV RESULTS 1/27: Complete "virtual-time" coverage of Punk vs. Rock, 30-man Rumble". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  33. Caldwell, James. "WWE NEWS: Chamber PPV results & notes - WM29 main event set, World Title match set, Shield big win, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  34. "Rock unveiled the new WWE Title". สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  35. "CALDWELL'S WWE WRESTLEMANIA 29 PPV RESULTS: Complete "virtual-time" coverage of live PPV from MetLife Stadium - Rock-Cena II, Taker-Punk, Lesnar-Hunter, more".
  36. "WWE NEWS: New update on Rock's WrestleMania injury". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
  37. Landrum (Jr.), Jonathan. "The Rock says he's open to a return to wrestling". The Province. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
  38. http://www.wwe.com/shows/wrestlemania/30/hulk-hogan-stone-cold-steve-austin-the-rock-26221918
  39. Ellis, Philip (August 3, 2019). "The Rock Just Announced His Official Retirement From Wrestling". Men's Health. สืบค้นเมื่อ September 1, 2019.
  40. Pedersen, Erik; Pedersen, Erik (September 30, 2019). "Dwayne "The Rock" Johnson Rolls Back To WWE For Fox's 'SmackDown!' Debut". Deadline Hollywood (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 2, 2019.
  41. Powell, Jason. "10/04 WWE Friday Night Smackdown results: Powell's review of The Rock's return, Kofi Kingston vs. Brock Lesnar for the WWE Championship, Kevin Owens vs. Shane McMahon in a career vs. career ladder match, Becky Lynch and Charlotte Flair vs. Sasha Banks and Bayley". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ October 4, 2019.
  42. Mahjouri, Shakiel (September 16, 2023). "The Rock surprises with return to WWE SmackDown in segments with John Cena, Pat McAfee". CBSSports.com. สืบค้นเมื่อ September 16, 2023.
  43. Powell, Jason (January 1, 2024). "WWE Raw results (1/1): Powell's live review of Day 1 with Seth Rollins vs. Drew McIntyre for the World Heavyweight Championship, Rhea Ripley vs. Ivy Nile for the Women's World Championship, Becky Lynch vs. Nia Jax". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ January 1, 2024.
  44. Thompson, Andrew (January 1, 2024). "Dwayne 'The Rock' Johnson appears on Day 1 WWE Raw, asks crowd if he should sit at the 'head of the table'". POST Wrestling. สืบค้นเมื่อ February 5, 2024.
  45. Boone, Matt (2024-01-02). "Dwayne "The Rock" Johnson Makes Surprise Return At WWE Raw: Day 1". Wrestling Headlines (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
  46. Barrasso, Justin (2024-02-02). "The Rock Returning for WrestleMania". Sports Illustrated Wrestling News, Analysis and More (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-02-03.
  47. Powell, Jason (February 8, 2024). "WrestleMania XL Kickoff press conference live coverage: Cody Rhodes announces his decision, The Rock, Roman Reigns, Seth Rollins, Rhea Ripley, Bianca Belair, and Triple H appear". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ February 8, 2024.
  48. "FULL SEGMENT — Rock and Reigns lay the SmackDown on the WWE Universe: SmackDown, Feb. 16, 2024". WWE YouTube. February 16, 2024. สืบค้นเมื่อ February 16, 2024.
  49. 49.0 49.1 49.2 49.3 "PWI Awards". Pro Wrestling Illustrated. Kappa Publishing Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ December 4, 2016.
  50. 50.0 50.1 "Pro Wrestling Illustrated Award Winners – Match of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2008. สืบค้นเมื่อ May 12, 2008.
  51. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2000". Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ December 4, 2016.
  52. "USWA World Tag Team Title History". Solie's Title Histories. สืบค้นเมื่อ March 21, 2008.
  53. "History of WWE World Heavyweight Championship". WWE. November 15, 1998.
  54. "Rock's eight WWE Championship Reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-31. สืบค้นเมื่อ January 27, 2013.
  55. "Rock's first WCW Championship Reign". WWE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ August 19, 2001.
  56. "Rock's second WCW Championship Reign". WWE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ November 5, 2001.
  57. "WWE Intercontinental Championship official title history". WWE. สืบค้นเมื่อ March 21, 2008.
  58. "World Tag Team Championship official title history". WWE. สืบค้นเมื่อ March 21, 2008.
  59. 59.0 59.1 Meltzer, Dave (January 30, 2012). "Jan 30 Wrestling Observer Newsletter: Gigantic year-end awards issue, best and worst in all categories plus UFC on FX 1, death of Savannah Jack, ratings, tons and tons of news". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA. ISSN 1083-9593.
  60. 60.0 60.1 Meltzer, Dave (January 23, 2013). "The 2012 Wrestling Observer Newsletter Annual Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California. ISSN 1083-9593. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-25. สืบค้นเมื่อ 2017-01-22.
  61. "Dwayne Johnson". SI.com. สืบค้นเมื่อ October 3, 2014.
  62. Staff, Hollywood.com (26 October 2001). "2001 Teen Choice Awards". Hollywood.com. สืบค้นเมื่อ 22 January 2017.
  63. "DWAYNE JOHNSON TO RECEIVE "CINEMACON® ACTION STAR OF THE YEAR AWARD" | CinemaCon". cinemacon.com. สืบค้นเมื่อ 22 January 2017.
  64. "2013 Kids' Choice Awards: And the winners are..." EW.com. 23 March 2013. สืบค้นเมื่อ 22 January 2017.
  65. "People's Choice Awards 2016: Full List Of Winners". People's Choice. 7 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-07. สืบค้นเมื่อ 22 January 2017.
  66. "411MANIA | The Rock Receives Mr. Olympia ICON Award, Makes Announcement on Production Deal for 2017 Event". The Rock Receives Mr. Olympia ICON Award, Makes Announcement on Production Deal for 2017 Event. สืบค้นเมื่อ 22 January 2017.
  67. "Dwayne 'The Rock' Johnson Is This Year's Sexiest Man Alive!". PEOPLE.com. 15 November 2016. สืบค้นเมื่อ 22 January 2017.
  68. "Hollywood Walk of Fame". ABC News. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
  69. "People's Choice Awards 2017: Full List Of Winners". People's Choice. 19 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 19 January 2017.
  70. "The Rock, Chris Jericho, Big Show, Kane & Undertaker def. Stone Cold Steve Austin, Kurt Angle, Shane McMahon, Booker T & Rob Van Dam; Sole Survivor: The Rock". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-24. สืบค้นเมื่อ March 21, 2008.
  71. Birch, Nathan (November 8, 2016). "Cooking Up Beefs: The Raucous Real-Life Feuds Of Dwayne 'The Rock' Johnson". Uproxx. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2018. สืบค้นเมื่อ March 31, 2018.
  72. "To Be or Not To Be DTV: The films of WWE Studios". screenanarchy.com. September 8, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 18, 2017. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  73. Ebert, Roger. "Be Cool". www.rogerebert.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  74. Coleman, Jonny (February 13, 2018). "This Maligned 2006 Movie About Dystopian L.A. Is Too Real at This Point". Los Angeles Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 9, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  75. Stern, Macklin. "How Dwayne Johnson's Forgotten Football Career Prepared Him for Superstardom". bleacherreport.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  76. "Reno 911! Is Getting a Movie Sequel". movieweb.com. December 21, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  77. Fleming, Michael (August 28, 2007). "The Rock set for 'Witch Mountain'". Variety. สืบค้นเมื่อ February 26, 2020.
  78. "NASA Recruits 'Planet 51' Actor Dwayne Johnson to Spread Message". space.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  79. 79.0 79.1 Guerrasio, Jason (August 14, 2019). "All 40 Dwayne 'The Rock' Johnson movies, ranked from worst to best". Business Insider. สืบค้นเมื่อ February 26, 2020.
  80. 80.0 80.1 80.2 "Dwayne 'The Rock' Johnson's Movies, Ranked From Worst to Best (Photos)". thewrap.com. April 13, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  81. "Fast 9: Dwayne Johnson may not return". denofgeek.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  82. "Journey 2: The Mysterious Island". rogerebert.com. February 8, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2012. สืบค้นเมื่อ February 26, 2020.
  83. McNary, Dave (มีนาคม 22, 2011). "Dwayne Johnson to star in 'Snitch'". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 26, 2011. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 26, 2020.
  84. David Chen (April 26, 2013). "Four Differences Between 'Pain and Gain' and Real Life, and What They Say About Michael Bay". Slash Film. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  85. "'Fast Five' Will Transition Franchise From Street Racing To Future Full Of Heist Action". Deadline Hollywood. April 25, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2011. สืบค้นเมื่อ March 7, 2011.
  86. Dawn, Randee (March 25, 2015). "Dwayne Johnson on late 'Furious 7' co-star Paul Walker: 'I miss him, I love him'". TODAY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  87. "Jumanji: Welcome to the Jungle (2017)" (ภาษาอังกฤษ). Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
  88. "Dwayne Johnson on his sizzle power in 'Jumanji': 'God delivered, I signed for it'". usatoday.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  89. Fleming, Mike Jr. (June 23, 2015). "Dwayne Johnson And 'San Andreas' Team Tackle 'Rampage;' Action Film Based On 80s Midway Arcade Game". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2015. สืบค้นเมื่อ June 24, 2015.
  90. Carson, Rene (May 24, 2018). "Universal releases second trailer for Dwayne Johnson action thriller Skyscraper". Film Fetish. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2018. สืบค้นเมื่อ May 24, 2018.
  91. "Fighting with My Family (2019)". IMDb. สืบค้นเมื่อ March 28, 2020.
  92. Fiduccia, Christopher (May 18, 2019). "Dwayne Johnson Confirms Hobbs & Shaw Production Has Fully Wrapped". Screen Rant. สืบค้นเมื่อ June 30, 2019.
  93. Fleming, Mike Jr. (February 6, 2018). "Scott Rosenberg & Jeff Pinkner To Write 'Jumanji: Welcome To The Jungle' Sequel". Deadline Hollywood. Penske Business Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2018. สืบค้นเมื่อ February 6, 2018.
  94. Free Guy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน), สืบค้นเมื่อ 2021-06-26
  95. In, Just (2 June 2022). "OUTRAGEOUS: Disney Hires "The Rock" as the New Jack Sparrow". YouTube (ภาษาอังกฤษ).
  96. "Dwayne Johnson". IMDb (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]