เฮอร์คิวลีส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Hercules)
เฮอร์คิวลีส
เทพแห่งความแข็งแกร่งและวีรบุรุษ
ภาพ เฮราคลีสสู้กับสิงโตนีเมียน
โดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์
ที่ประทับโรม
สัญลักษณ์กระบอง, สิงโตนีเมียน, คันธนูและลูกศร
คู่ครองจูเวนตัส
บิดา-มารดาจูปิเตอร์กับอัลค์มีนี
เทียบเท่าในกรีกเฮราคลีส
เทียบเท่าใน Etruscanเฮอร์เคล
เฮอร์คิวลีสและสิงห์โตเนเมียน (รายละเอียด) , บนถาดเงินจากคริสต์ศตวรรษที่ 6
เฮอร์คิวลีสและหลานชายหนุ่ม (eromenos) ไอโอลอส (Iolaus)
งานโมเสกร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษจากอันซิโอ นิมฟเฟอุม, โรม
บรอนซ์โรมันพบใกล้โรงละครปอมเปย์ในปี ค.ศ. 1864 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกัน
“เฮอร์คิวลีสและไฮดราเลิร์นเนียน (Lernaean Hydra) ” โดย อันโตนิโอ พอลลาอูโล (Antonio Pollaiuolo)

เฮอร์คิวลีส (อังกฤษ: Hercules) เป็นชื่อโรมันของเทพเจ้ากรีก ชื่อ เฮราคลีส (Heracles) เฮอร์คิวลีส เป็นลูกของเทพซุส และ อัลค์เมนา (มนุษย์) เฮอร์คิวลีส มีภรรยาสองคน: เทพีเมการา (Megara) และ เทพีไดอะไนรา (Deianeira)

ที่มา[แก้]

ชื่อภาษาละตินของเฮอร์คิวลีสมิได้เป็นชื่อที่แปลงมาโดยตรงจากชื่อกรีก “เฮราคลีส” แต่แปลงมาจากตำนาน อีทรัสคัน “เฮอร์คลี” (Hercle) ซึ่งมาจากชื่อกรีก การตั้งสัตย์สาบานโดยกล่าวชื่อเฮอร์คิวลีส (“เฮอร์คลี!” หรือ “เมเฮอร์คลี!”) เป็นที่นิยมกันในภาษาละตินโบราณ (Classical Latin) [1]

ลักษณะ[แก้]

รูปเฮอร์คิวลีสในศิลปะของโรมันและเรอเนซองส์ และหลังเรอเนซองส์ที่ใช้รูปสัญลักษณ์ของโรมันจะมีสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สิงห์โตเนเมียน และ ตระบอง ในงานโมเสกเฮอร์คิวลีสจะเป็นผู้ที่มีผิวคล้ำแดดเป็นการแสดงว่าเป็นผู้สำบุกสำบันจากกิจการต่างที่ต้องทำกลางแจ้ง[2] เฮอร์คิวลีสเป็นแบบแผนที่ที่เป็นตัวอย่างของความเป็นบุรุษที่มีความแข็งแรง ความกล้าหาญ และมีกระหายที่รวมไปถึงความต้องการทางเพศทั้งกับสตรีและเด็กหนุ่ม (pederasty) แต่ลักษณะดังกล่าวก็มิได้ทำให้เฮอร์คิวลีสขาดความมีความขี้เล่น ผู้ที่มักจะเล่นเกมส์เพื่อผ่อนคลายจากงานหนักและมักชอบเล่นกับเด็ก[3] แม้ว่าเฮอร์คิวลีสจะเป็นนักรบผู้กล้าหาญแต่ก็ยังใช้วิธีขึ้โกงเพื่อให้คู่ต่อสู้เพลี่ยงพล้ำ แต่ในขณะเดียวกันก็มีชื่อว่าเป็นผู้ “ทำให้โลกเป็นที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์” โดยการสังหารสัตว์ร้ายที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ความเสียสละของเฮอร์คิวลีสทำให้ได้รับตำแหน่งในบรรดาเทพเจ้าโอลิมเปียนและเป็นที่ต้อนรับโดยเทพเจ้า

ลัทธินิยมโรมัน[แก้]

โรมันนำตำนานวีรบุรุษ “เฮอร์คลี” ของอีทรัสคันซึ่งมีอิทธิพลจากวัฒนธรรมกรีก “เฮอร์คลี” ปรากฏในงานศิลปะของอีทรัสคันที่งดงามเช่นภาพของเฮอร์คิวลีสดูดนมจากอกของ เทพีอูนิ/จูโน สลักบนด้านหลังของกระจกบรอนซ์ที่สร้างราว 400 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษที่พบที่โวลเทอรรา งานเขียนของกรีกเกี่ยวกับเฮอร์คิวลีสมาจากงานเขียนของโรมันเริ่มตั้งแต่ราว 200 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษซึ่งมิได้เปลื่ยนแปลงจากเดิมเท่าใด แต่โรมันมาต่อเติมรายละเอียดของตนเอง บางเรื่องที่ขยายความก็ทำให้เฮอร์คิวลีสมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก รายละเอียดของลัทธินิยมเฮอร์คิวลีสของกรีกก็นำมาแปลงเป็นของโรมันโดยการที่เฮอร์คิวลีสกลายเป็นผู้ก่อตั้งเฮอร์คิวเลเนียม (Herculaneum) และที่อื่น ๆ นอกจากนั้นลัทธินิยมเฮอร์คิวลีสก็เป็นที่นิยมของลัทธินิยมของผู้ปกครองโรม (Imperial cult) ที่เห็นได้จาก จิตรกรรมฝาผนังภายในสิ่งก่อสร้างที่เฮอร์คิวเลเนียม แท่นบูชาเฮอร์คิวลีสที่พบสร้างมาตั้งแต่ 600 ถึง 500 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษไม่ใกลจาก วัดเฮอร์คิวลีสเดอะวิคเตอร์ (Temple of Hercules Victor) เฮอร์คิวลีสเป็นที่นิยมของพ่อค้าผู้มักจะอุทิศทรัพย์บางส่วนจากกำไรที่ได้ให้

มาร์ค แอนโทนีเปรียบเทียบตนเองกับเฮอร์คิวลีสและยังขยายความว่าเฮอร์คิวลีสมีลูกชายชื่อแอนทอนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของแอนโทนี เพื่อเป็นการโต้ตอบอ็อกเทเวียนผู้เป็นศัตรูของมาร์ค แอนโทนีจึงเปรียบตนเองว่าเป็นเทพอพอลโล

จักรพรรดิโบราณมักจะพยายามเลียนแบบลักษณะของเฮอร์คิวลีสเช่นทราจัน ต่อมาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันโดยเฉพาะจักรพรรดิคอมโมดัส และจักรพรรดิแม็กซิเมียนที่นอกจากจะเปรียบเทียบตนเองกับเฮอร์คิวลีสแล้วก็ยังสนับสนุนลัทธินิยมด้วย ลัทธินิยมเฮอร์คิวลีสเผยแพร่ไปทั่วจักรวรรดิโรมัน ในโรมันอียิปต์เชื่อกันว่าซากวัดที่พบที่โอเอซิสบาฮาริยา (Bahariya Oasis) เป็นวัดที่สร้างสำหรับการบูชาเฮอร์คิวลีส

ตำนานเฮอร์คิวลีส[แก้]

ในตำนานเทพของโรมัน อัคคา ลาเร็นเทียผู้เป็นเมียน้อยของเฮอร์คิวลีสแต่งงานกับทารูเทียสพ่อค้าฐานะดีมาก่อน เมื่อทารูเทียสเสียชีวิตลาเร็นเทียก็บริจาคทรัพย์สมบัติให้เป็นทาน อีกตำนานหนึ่งลาเร็นเทียเป็นภรรยาของฟอทุลัส

เฮอร์คิวลีสสังหารเมการาผู้ภรรยาและลูก เพื่อจะแก้บาปที่ทำเฮอร์คิวลีสต้องทำภารกิจสิบสองอย่าง (The Twelve Labours of Hercules) ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากเกินกว่ามนุษย์ที่จะทำสำเร็จซึ่งเป็นผลที่ทำให้มีชื่อว่าเป็นเทพแห่งภูเขาโอลิมเปีย

อ้างอิง[แก้]

  1. W. M. Lindsay, "Mehercle and Herc (v) lvs. [Mehercle and Herc (u) lus]" The Classical Quarterly 12.2 (April 1918:58).
  2. The Classical and Hellenistic conventions of frescoes and mosaics is to show women as pale-skinned and men as tanned dark from their outdoor arena of action and exercising in the gymnasium. (See also[1] and [2]).
  3. Aelian, Varia Historia, 12.15

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เฮอร์คิวลีส