ข้ามไปเนื้อหา

เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์
คำแปล: ธงอันแพรวพราวด้วยดารา
สกอร์ดนตรี "เดอะสตาร์สแปงเกิลด์" ที่ถูกตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1814

เพลงชาติของสหรัฐ
เนื้อร้องฟรานซิส สก็อตต์ คีย์, 2357 (ค.ศ. 1814)
ทำนองจอห์น สแตฟฟอร์ด สมิธ, 2316 (ค.ศ. 1773)
รับไปใช้4 มีนาคม 1931; 93 ปีก่อน (1931-03-04)[1]
ตัวอย่างเสียง
เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์ (ขับร้อง)

"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์" (อังกฤษ: The Star-Spangled Banner แปลว่า ธงอันแพรวพราวด้วยดารา) เป็นเพลงชาติประจำสหรัฐ โดยเนื้อเพลงมาจากกวีนิพนธ์ชื่อว่า "การต่อสู้พิทักษ์ป้อมแม็กเฮ็นรี่ (Defence of Fort M'Henry)"[2] ซึ่งประพันธ์ขึ้นในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2357 โดยทนายและกวีสมัครเล่น "ฟรานซิส สก็อตต์ คีย์" หลังจากเห็นการยิงถล่มป้อมแม็กเฮ็นรี่โดยราชนาวีอังกฤษ ณ อ่าวบอลทิมอร์ในยุทธการบอลทิมอร์ระหว่างสงคราม ค.ศ. 1812 (พ.ศ. 2355) นายคีย์ได้แรงบันดาลใจจากธงชาติสหรัฐ ที่เขาตั้งชื่อว่า ธงอันแพรวพราวด้วยดารา (Star-Spangled Banner) ที่พลิ้วสะพัดเหนือป้อมเมื่อฝ่ายอเมริกันได้ชัยชนะ ต่อมา บทกวีนี้ได้ประกอบให้เข้ากับเพลงสมัยนิยมแต่งโดยนักดนตรีชาวอังกฤษ จอห์น สแตฟฟอร์ด สมิธ เพื่อสโมสรชาย Anacreontic Society ในนครลอนดอน ซึ่งเป็นเพลงนิยมเดิม (To Anacreon in Heaven) อยู่แล้วในสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ประกอบเข้ากับกวีนิพนธ์ของคีย์แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "The Star-Spangled Banner" จึงกลายเป็นเพลงรักชาติที่รู้จักกันดีเพลงหนึ่ง แต่ด้วยทำนองที่มีพิสัยกว้างถึง 1 1/5 อ็อกเทฟ จึงเป็นเพลงที่ร้องยาก แม้บทกวีจะมีถึง 4 บท แต่ปัจจุบันนิยมร้องเพียงแค่บทเดียว กองทัพเรือสหรัฐได้ใช้เป็นเพลงทางการเริ่มในปี พ.ศ. 2432 ส่วนประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน เริ่มให้ใช้เป็นเพลงทางการเมื่อปี 2459 (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) และรัฐสภาสหรัฐได้กำหนดเป็นเพลงชาติทางการตามกฎหมายเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2474 ซึ่งประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์เป็นผู้เซ็นอนุมัติ แต่ว่าก่อนปี 2474 ก็ยังมีเพลงอื่น ๆ ที่ใช้เป็นทางการด้วย เช่น เพลง "Hail, Columbia" ได้ใช้เป็นเพลงชาติในกิจของรัฐบาลในคริสต์ทศวรรษที่ 19 โดยมาก แม้แต่เพลง "My Country, 'Tis of Thee" ซึ่งมีทำนองเพลงเหมือนกับ "ก็อดเซฟเดอะควีน" ซึ่งเป็นเพลงชาติอังกฤษ[3] ก็ใช้เป็นเพลงชาติอีกเพลงหนึ่ง[4] หลังจากสงคราม ค.ศ. 1812 และต่อ ๆ มา ก็มีเพลงอื่น ๆ ที่ออกแข่งความนิยมในงานสาธารณชนต่าง ๆ รวมทั้ง "The Star-Spangled Banner" และ "อเมริกาเดอะบิวติฟูล"

ประวัติยุคต้น

[แก้]

เนื้อเพลง

[แก้]
กวีนิพนธ์ "Defence of Fort M'Henry (การต่อสู้พิทักษ์ป้อมแม็กเฮ็นรี่)" ต้นฉบับดั้งเดิมของ ฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ ซึ่งปัจจุบันเปิดให้ชมที่ Maryland Historical Society

ในวันที่ 3 กันยายน 2357 หลังจากการเผานครวอชิงตัน ดี.ซี. และการโจมตีเมืองอะเล็กซานเดรีย รัฐเวอร์จิเนีย นายฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ และนายจอห์น สจวร์ต สกินเนอร์ ออกเรือ HMS Minden จากเมืองบอลทิมอร์ โดยยกธงขาวในภารกิจพิเศษที่ประธานาธิบดีเจมส์ แมดิสัน ได้อนุมัติแล้ว และมีจุดมุ่งหมายเพื่อแลกเปลี่ยนเชลยศึก รวมทั้ง นพ. วิลเลียม บีนส์ ซึ่งเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นเพื่อนของนายคีย์ที่ถูกฝ่ายอังกฤษจับไป ในข้อหาช่วยจับทหารอังกฤษ

หลังจากที่ขึ้นเรือธง HMS Tonnant ของอังกฤษเมื่อวันที่ 7 กันยายนเพื่อเจรจากับพลตรีรอเบิร์ต รอส และพลเรือโทอะเล็กซานเดอร์ คอเครน ซึ่งเป็นเวลาที่นายทหารทั้งสองปรึกษาแผนการยุทธ์ในระหว่างอาหารเย็น ตอนแรก นายทหารทั้งสองจะไม่ยอมปล่อยหมอ แต่ก็ยินยอมหลังจากที่คีย์และสกินเนอร์แสดงจดหมายเขียนโดยเชลยศึกชาวอังกฤษที่สรรเสริญหมอและคนอเมริกันอื่น ๆ เนื่องจากได้รับการปฏิบัติที่ประกอบด้วยเมตตากรุณา แต่เพราะว่า คีย์และสกินเนอร์ได้ยินแผนการโจมตีเมืองบอลทิมอร์ ก็เลยถูกจับเอาไว้จนกระทั่งสุดการโจมตี ตอนแรกบนเรือ HMS Surprise และต่อมา บนเรือ HMS Minden อีก หลังจากการระดมยิง มีเรือปืนอังกฤษที่พยายามรอดผ่านป้อมแม็กเฮ็นรี่แล้วยกทหารขึ้นบกที่อ่าวเล็ก ๆ ทางตะวันตก แต่ก็ถูกส่งกลับด้วยการยิงสนับสนุนจากป้อมโควิงตันใกล้ ๆ ที่เป็นด่านป้องกันสุดท้ายของเมือง

จิตรกรรมแสดงการโจมตีป้อมแม็กเฮ็นรี่
ธงอันแพรวพราวไปด้วยดารา 15 ดวงและริ้ว 15 ริ้วที่เป็นแรงดลใจของบทกวี (ถ่ายปี 2416) ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่สถาบันสมิธโซเนียน

ในช่วงกลางคืนที่มึดครึ้มไปด้วยฝน คีย์ได้เห็นธงแบบ "storm flag" ที่เล็กกว่ายังคงพริ้วสะพัดเหนือป้อม แต่หลังจากที่ราชนาวีอังกฤษหยุดโจมตีป้อมด้วยปืนใหญ่และจรวด[5] เขาก็มองไม่เห็นว่าการสู้รบเป็นอย่างไรจนอรุณรุ่ง ในรุ่งเช้าของวันที่ 14 ป้อมก็ได้ลดธงเก่าลงและชักธงที่ใหญ่กว่าขึ้น ในช่วงการโจมตี HMS Terror และ HMS Meteor เป็นเรือที่ยิง "ระเบิดที่ปะทุกระจายกลางนภากาศ" คีย์ได้รับแรงดลใจของชัยชนะฝ่ายอเมริกันและการเห็นธงชัยใหญ่ที่โบกสะพัดเหนือป้อม

ธงผืนนี้ต่อมาจึงได้ชื่อเป็น Star-Spangled Banner (ธงอันแพรวพราวไปด้วยดารา) และปัจจุบันเปิดให้ชมในพิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์อเมริกันแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนของสถาบันสมิธโซเนียน โดยมีการบูรณะธงผืนนี้ในปี 2457 และปี 2541 เพื่อรักษาธงไว้

ในขณะที่ยังอยู่บนเรือ คีย์ได้ประพันธ์กวีนิพนธ์บนหลังกระดาษจดหมายที่เขาเก็บไว้ในกระเป๋า ต่อมาเวลาเย็นวันที่ 16 กันยายน เขาและสกินเนอร์จึงได้อนุญาตให้กลับไปที่บอลทิมอร์ เขาจึงเขียนบทกวีให้เสร็จในโรงแรมที่เขาอยู่ แล้วตั้งชื่อว่า "Defence of Fort M'Henry (การต่อสู้พิทักษ์ป้อมแม็กเฮ็นรี่)" ไอเดียโดยมากในบทกวี รวมทั้งจินตภาพของธงและคำบางคำ มาจากเพลง ("When the Warrior Returns") ที่คีย์ได้เขียนประกอบกับเพลง "The Anacreontic Song" เช่นกันมาก่อน[6]

เพราะคีย์ไม่ได้อธิบายบทกวีของเขาก่อนเสียชีวิตในปี 2386 จึงมีคนที่ได้เดาถึงความหมายของวลีในบทต่าง ๆ ตามนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่ง คำว่า "the hireling and slave" (พวกรับจ้างและทาส) หมายถึงทาสเก่าเป็นพัน ๆ ในหมู่ทหารคนอังกฤษที่จัดเป็นกองนาวิกโยธินชาวอาณานิคม (Corps of Colonial Marines) ที่ได้รับการปลดปล่อยจากทหารอังกฤษและเรียกร้องให้ส่งไปกองหน้า "ที่ตนอาจจะเจอเจ้านายเก่า"[7] (แม้ว่า ประเทศอังกฤษเองในขณะนั้นก็ยังมีทาสอยู่) นี่เป็นกลยุทธ์ที่ภายหลังประธานาธิบดีลินคอล์นก็ได้ใช้เมื่อปล่อยทาสที่อยู่ในการดูแลของฝ่ายรัฐกบฏแต่ไม่ใช่ในรัฐของพวกตน

ส่วนศาสตราจารย์ชาวอเมริกันคนหนึ่งอ้างว่า คำทั้งสองใช้เพื่อดูถูกศัตรูอังกฤษในสงครามปี ค.ศ. 1812 ไม่ใช่เพื่อยกย่องการมีทาส[8] โดยอ้างว่า คำที่ใช้หมายถึง ทหารอาชีพชาวอังกฤษ (พวกรับจ้าง) และกองนาวิกโยธินชาวอาณานิคม (ทาส) ที่คีย์มองว่าเป็น คนพาลและเป็นคนทรยศผู้ก่อกบฏ ซึ่งทำให้สหรัฐไม่ร้องเพลงส่วนนี้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเพราะอังกฤษเป็นพันธมิตร

มีคนอื่นอีกที่อ้างว่า[9] วลีนี้หมายถึงความจงรักภักดีที่ไม่สม่ำเสมอ[10] คือ พวกรับจ้าง หมายถึงทหารรับจ้างที่สนใจเรื่องเงินทองไม่ใช่รักประเทศชาติ และหมายถึงคนอเมริกันที่ประเทศอังกฤษโอ้อวดว่า "สมัครเป็นทหาร" แต่ความจริง "ตกเป็นทาส" ด้วยกระบวนการเกณฑ์ทหารโดยบังคับของอังกฤษ[11][12]

หลังจากที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษเซ็นสนธิสัญญาสันติภาพเมื่อสิ้นปี 2357 รัฐบาลสหรัฐก็เรียกร้องให้อังกฤษคืนทรัพย์สินคนอเมริกัน ซึ่งเมื่อตอนนั้น หมายถึงทาส 6,000 คน ที่ได้อิสรภาพ แต่อังกฤษปฏิเสธ ต่อมาคน 6,000 คนโดยมากในที่สุดก็ตั้งถิ่นฐานในแคนาดา โดยมีบางส่วนที่ไปยังเกาะตรินิแดด[13]

ฉบับเสียงประกอบกับแผ่นโน้ตดนตรี Play
อนุสรณ์ของนายจอห์น สแตฟฟอร์ด สมิธ ในมหาวิหารกลอสเตอร์ ประเทศอังกฤษ

เพลงที่เขียนโดยจอห์น สแตฟฟอร์ด สมิธ

[แก้]

เพลงชาติ

[แก้]
ป้ายอนุสรณ์ในนครวอชิงตัน ดี. ซี. แสดงที่ที่เพลง "The Star-Spangled Banner" ร้องต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (601 Pennsylvania Avenue)

เพลงเพิ่มความนิยมเรื่อย ๆ ตลอดทั้งคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยวงศ์ดุริยางค์มักจะเล่นเพลงนี้ในงานต่าง ๆ เช่นวันชาติ (Independence Day) ส่วนป้ายอนุสรณ์ที่ Fort Meade รัฐเซาท์ดาโคตา อ้างว่า ไอเดียเพื่อใช้เพลงเป็นเพลงชาติเริ่มที่สนามเดินขบวนของค่ายทหารเริ่มในปี 2435 โดยมีพันเอกคาเล็บ คาร์ลตัน ผู้บัญชาการของค่าย เป็นผู้ตั้งประเพณีให้เล่นเพลงนี้เมื่อ "ลดธงและเมื่อจบการเดินสวนสนามหรือคอนเสิร์ต" เมื่อเขาอธิบายให้กับผู้ว่าราชการรัฐคือนายเช็ลดอน ผู้ว่าการก็ "สัญญาว่าเขาจะพยายามตั้งเป็นประเพณีแก่กองกำลังอาสาสมัครของรัฐ" และเมื่อธิบายให้กับเลขาธิการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ คือ นายแดเนียล อี. ลาม็อนต์ เขาก็ได้ออกคำสั่งให้ "เล่นเพลงทุกเย็นเมื่อลดธงในค่ายทหารทุกค่าย"[14]

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2432 เลขาธิการของกองทัพเรือสหรัฐเบ็นจามิน เอ็ฟ. เทรซีย์ เซ็นคำสั่งให้ใช้เพลงเป็นเพลงทางการเมื่อยกธงชาติ ต่อมาในปี 2459 ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันจึงออกคำสั่งให้เล่นเพลงในงานทหารและงานที่เหมาะสมอื่น ๆ การเล่นเพลงอีกสองปีต่อมาในช่วงพักเกมเบสบอล (seventh-inning stretch) ของ 1918 World Series และต่อจากนั้นระหว่างเกม บ่อยครั้งอ้างว่าเป็นเหตุการณ์แรกที่ให้เล่นเพลงชาติในเกมเบสบอล[15] แม้ว่าจะมีหลักฐานที่แสดงว่า การเล่นเพลงอาจเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2440 ของงานเปิดเกมวันแรกในเมืองฟิลาเดลเฟีย และเล่นเป็นประจำในสนามกีฬา Polo Grounds ในนครนิวยอร์กเริ่มตั้งแต่ปี 2441 อย่างไรก็ดี ประเพณีของการเล่นเพลงชาติก่อนเกมเบสบอลทุกเกมเริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[16]

ในวันที่ 10 เมษายน 2461 สมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งได้เสนอกฎหมายยอมรับให้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ[17] แต่ว่ากฎหมายไม่ผ่านรัฐสภา[17] แม้จนกระทั่งถึงวันที่ 15 เมษายน 2472 สมาชิกรัฐสภาคนเดิมก็ได้เสนอกฎหมายเป็นครั้งที่ 6[17] จนกระทั่งวันที่ 3 พฤศจิกายน 2472 คอลัมนิสต์การ์ตูน (Robert Ripley) ได้เขียนการ์ตูนกล่าวว่า "จะเชื่อหรือไม่ อเมริกาไม่มีเพลงชาติ"[18]

ในปี 2473 กลุ่มทหารผ่านศึก (Veterans of Foreign Wars) จึงได้ยื่นฎีการ้องให้สหรัฐอเมริกายอมรับให้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ[19] โดยมีคน 5 ล้านคนเซ็นคำร้องร่วม[19] ซึ่งต่อมายกขึ้นสู่คณะกรรมการฝ่ายตุลาการของรัฐสภาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2473[20] ในวันเดียวกัน หญิงสองคน (Elsie Jorss-Reilley และ Grace Evelyn Boudlin) ได้ร้องเพลงนี้ให้คณะกรรมการฟังเพื่อพิสูจน์ว่า เพลงไม่ได้มีเสียงสูงเกินไปสำหรับคนทั่วไปจะร้อง[21] คณะกรรมการจึงออกเสียงให้ส่งเสนอกฎหมายเพื่อลงคะแนนต่อไปในรัฐสภา[22] ซึ่งต่อมาผ่านกฎหมายในปีเดียวกัน[23] โดยวุฒิสภาก็ผ่านกฎหมายในวันที่ 3 มีนาคม 2474[23]

ในวันที่ 4 มีนาคม 2474 ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ จึงได้เซ็นผ่านกฎหมายยอมรับ "The Star-Spangled Banner" เป็นเพลงชาติทางการของสหรัฐอเมริกา[1]

เนื้อร้อง

[แก้]
ภาษาอังกฤษ คำแปลภาษาไทย
บทที่ 1

O say can you see, by the dawn's early light,
What so proudly we hailed at the twilight's last gleaming,
Whose broad stripes and bright stars through the perilous fight,
O'er the ramparts we watched, were so gallantly streaming?

And the rockets' red glare, the bombs bursting in air,
Gave proof through the night that our flag was still there;
O say does that star-spangled banner yet wave
O'er the land of the free and the home of the brave

โอ ดูสิ เธอเห็นไหม ในแสงสว่างยามใกล้รุ่ง
สิ่งที่เราเรียกร้องอย่างภาคภูมิ เมื่อแสงสุดท้ายของยามเย็น
ริ้วพาดยาวและดาวพร่างพรายของใครหรือ ที่ผ่านการต่อสู้แสนอันตราย
เหนือปราการที่เราเฝ้าดู ที่โบกสะบัดอยู่อย่างสง่างาม

ไฟสว่างวาบสีแดงของพลุ ระเบิดที่ปะทุในอากาศ
เป็นการพิสูจน์ว่าเมื่อผ่านพ้นคืนนี้ไป ธงของเราจะยังอยู่ตรงนั้น
โอ ผืนธงดาวพร่างพรายยังคงสะบัดไหว
เหนือแผ่นดินแห่งเสรีชน และมาตุภูมิแห่งผู้กล้าหรือเปล่า

บทที่ 2

On the shore dimly seen through the mists of the deep,
Where the foe's haughty host in dread silence reposes,
What is that which the breeze, o'er the towering steep,
As it fitfully blows, half conceals, half discloses?

Now it catches the gleam of the morning's first beam,
In full glory reflected now shines in the stream:
'Tis the star-spangled banner, O long may it wave
O'er the land of the free and the home of the brave.

บนชายฝั่งที่มองเห็นสลัว ๆ ผ่านหมอกหนา
ที่ซึ่งผู้ให้อาศัยศัตรูที่หยิ่งผยองพักผ่อนอยู่ในความเงียบอันน่าสะพรึงกลัว
สายลมนั้น บนความสูงตระหง่านชัน
เมื่อมันพัดเป็นช่วง ๆ กึ่งบดบัง กึ่งเปิดเผย อะไรอยู่

ตอนนี้มันถูกลำแสงแรกของเช้าวันใหม่ส่องปะทะ
สะท้อนรัศมีส่องออกมาเต็มที่บนสายน้ำ
นั่นคือธงอันแพรวพราวด้วยดารา โอ มันจะโบกสะบัดไปอีกนาน
เหนือแผ่นดินแห่งเสรีชน และมาตุภูมิแห่งผู้กล้า

บทที่ 3

And where is that band who so vauntingly swore
That the havoc of war and the battle's confusion,
A home and a country, should leave us no more?
Their blood has washed out their foul footsteps' pollution.

No refuge could save the hireling and slave
From the terror of flight, or the gloom of the grave:
And the star-spangled banner in triumph doth wave,
O'er the land of the free and the home of the brave.

คนพวกนั้นอยู่ไหน ที่สาบานไว้อย่างใหญ่โต
ว่าหายนะของสงคราม และความสับสนในสนามรบ
จะทำให้เราไม่เหลือบ้านและประเทศไว้อีกต่อไป
เลือดของพวกเขาได้ชะล้างมลพิษจากฝีเท้าที่เปรอะเปื้อนของพวกเขาแล้ว

ไม่มีที่หลับภัยใดจะช่วยเหลือพวกทหารรับจ้างกับทาสได้
จากความกลัวของการหนี หรือความมืดมัวของหลุมศพ
และผืนธงดาวพร่างพรายจะสะบัดไหวอย่างมีชัย
เหนือแผ่นดินแห่งเสรีชน และมาตุภูมิแห่งผู้กล้า

บทที่ 4

O thus be it ever, when freemen shall stand
Between their loved homes and the war's desolation.
Blest with vict'ry and peace, may the Heav'n rescued land
Praise the Power that hath made and preserved us a nation!

Then conquer we must, when our cause it is just,
And this be our motto: 'In God is our trust.'
And the star-spangled banner in triumph shall wave
O'er the land of the free and the home of the brave![24]

โอ้ ขอให้เป็นเช่นนี้ตลอดไป เสรีชนจะยืนหยัดคราใด
ระหว่างบ้านเมืองอันเป็นที่รักกับสงครามอันแสนโหดร้าย
ขออวยพรด้วยชัยชนะและสันติสุข ขอแผ่นดินสวรรค์ทรงกอบกู้แผ่นดิน
สรรเสิญอำนาจที่ทรงสร้างและทรงปกปักรักษาไว้ซึ่งชาติ!

ดังนั้นเราต้องพิชิตในเมื่อเหตุของเราคือความเที่ยงธรรม
และนี่คือคติประจำของเรา: 'เราเชื่อมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้า'
และธงอันแพรวพราวด้วยดาราแห่งชัยชนะสะบัดไหว
เหนือแผ่นดินแห่งเสรีชน และมาตุภูมิแห่งผู้กล้า

เนื้อเพลงเสริมในช่วงสงครามกลางเมือง

[แก้]
หน้าปกสกอร์ของเพลงชาติสหรัฐ "The Star-Spangled Banner" สำหรับบรรเลงด้วยเปียโน, พ.ศ. 2405

เพราะความเดือดดาลที่เกิดเพราะสงครามกลางเมืองอเมริกา จึงมีนักกวีที่เพิ่มเนื้อเพลง[25] เป็นบทที่ 5 ในปี 2404 ซึ่งปรากฏในหนังสือเพลงในยุคนั้น[26]

When our land is illumined with Liberty's smile,
If a foe from within strike a blow at her glory,
Down, down with the traitor that dares to defile
The flag of her stars and the page of her story!
By the millions unchained who our birthright have gained,
We will keep her bright blazon forever unstained!
And the Star-Spangled Banner in triumph shall wave
While the land of the free is the home of the brave.

เนื้อเพลงอื่น

[แก้]

ในกวีนิพนธ์ที่นายฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ เขียนด้วยมือในปี 2383 บรรทัดที่สามอ่านว่า "Whose bright stars and broad stripes, through the clouds of the fight (ที่มีริ้วอันกว้าง มีดาราอันกระจ่าง มองเห็นผ่านควันประจัญบาน)"[27]

ประวัติ

[แก้]

การร้อง

[แก้]
แฟนกีฬาร้องเพลงชาติก่อนเกมเบสบอลที่ Coors Field ในเมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด

เพลงร้องยากมากสำหรับคนไม่ใช่มืออาชีพเพราะมีเสียงสูงต่ำต่างกันมาก นักเขียนตลกคนหนึ่งได้กล่าวถึงความยากของเพลงในหนังสือของเขาว่า

เพื่อเข้ายึดเมืองบอลทิมอร์ พวกอังกฤษได้โจมตีป้อมแม็กเฮ็นรี่ ซึ่งพิทักษ์อ่าวเมืองอยู่ ระเบิดไม่นานก็ปะทุกระจายกลางนภากาศ จรวดก็ส่งแสงเจิดจ้า และทั่วไปแล้วมันก็เป็นจุดสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ ในระหว่างการยิงโจมตีป้อม ทนายหนุ่มคนหนึ่งชื่อว่า ฟรานซิส อ็อฟ์ฟ คีย์ (ฟราซิสทำนองแตก) [ตามต้นฉบับ] ประพันธ์ "The Star-Spangled Banner" และในแสงเรืองรุ่งอรุณ เมื่อทหารอังกฤษได้ยินเสียงร้อง พวกเขาก็รีบหนีไปอย่างสยองขวัญ

— Richard Armour

ทั้งนักร้องมืออาชีพมือสมัครเล่นล้วนแต่เคยลืมเนื้อเพลงมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่มักจะอัดเสียงเพลงก่อนแล้วมาตีหน้าร้องตามที่หลัง บางครั้ง ก็หลีกเลี่ยงปัญหาโดยให้เล่นเสียงดุริยางค์แทนการร้อง การอัดเพลงชาติล่วงหน้าก่อนจะแสร้งร้อง ต่อมาได้กลายเป็นประเพณีทั่วไปในเกมเบสบอล[28]

เพลงจะเล่นก่อนการแข่งกีฬาหรือก่อนคอนเสิร์ตออร์เคสตราในที่โล่งในสหรัฐอเมริกา ตลอดจนการประชุมของสาธารณชนอื่น ๆ ทั้ง National Hockey League และเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ บังคับให้การแข่งขันทั้งในสหรัฐอเมริกาเล่นเพลงชาติทั้งแคนาดาและสหรัฐอเมริกาที่ผู้แข่งขันมาจากทั้งสองประเทศ โดยจะเล่นเพลงประเทศของทีมเยือนก่อน[29]

นอกจากนั้นแล้ว เป็นเรื่องปกติที่จะเล่นเพลงชาติทั้งอเมริกันและแคนาดา (โดยทำแบบเดียวกับ NHL และ MLS) ก่อนการแข่งกีฬาของเมเจอร์ลีกเบสบอลและเอ็นบีเอที่มีทีม Toronto Blue Jays หรือโทรอนโตแร็ปเตอส์ตามลำดับร่วมด้วย ซึ่งเป็นทีมแคนาดาเดียวในลีกกีฬาหลักของสหรัฐ และใน All Star Games ของ MLB, NBA, และ NHL ส่วนทีม Buffalo Sabres ของ NHL ซึ่งอยู่ในเมืองชายแดนระหว่างสหรัฐอเมริกา-แคนาดา และมีแฟนเป็นคนแคนาดาเป็นจำนวนมาก จะเล่นเพลงชาติทั้งสองไม่ว่าทีมไหนจะมาแข่งด้วย[30]

มีการร้องเพลงชาติ 2 ครั้งที่ฉีกแนวมากหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 คือในวันที่ 12 กันยายน 2544 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงทำลายพระประเพณีของมหาราชวังแล้วทรงอนุญาตให้วงศ์ดุริยางค์ Band of the Coldstream Guards เล่นเพลงชาติสหรัฐ ณ พระราชวังบักกิงแฮมแห่งนครลอนดอนในพิธีเปลี่ยนเวรทหารรักษาพระองค์ เพื่อแสดงน้ำพระหฤทัยสนับสนุนพันธมิตรของอังกฤษ[31] ในวันต่อมาในพิธีอนุสรณ์ต่อผู้เสียชีวิตที่มหาวิหารเซนต์พอล พระองค์ก็ทรงร่วมร้องเพลงชาติสหรัฐ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน[32]

งานประจำชาติครบรอบ 200 ปี

[แก้]

การดัดแปลง

[แก้]
ป้ายโปสเตอร์ของกองทัพอากาศที่เป็นส่วนของกองทัพบกสหรัฐในปี 2488 (ช่วงใกล้สิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง)

การเล่นเป็นเพลงสมัยนิยมครั้งแรกต่อคนสาธารณชนในอเมริกาเริ่มโดยนักร้องและนักกีตาร์ชาวเปอร์โตริโกโฮเซ เฟลีเซียโน ซึ่งสร้างความโกลาหลทั่วประเทศเมื่อเขาดีดกีตาร์เสียงเพลงอย่างช้า ๆ ในรูปแบบดนตรีบลูส์[33] ที่สนามกีฬาไทเกอร์แห่งนครดีทรอยต์ก่อนเกมที่ 5 ของ 1968 World Series ระหว่าง Detroit Tigers กับ St. Louis Cardinals[34] เป็นตัวการเริ่มข้อถกเถียงเรื่อง "ธงอันแพรวพราวด้วยดารา" สมัยปัจจุบัน โดยได้รับการตอบสนองในเชิงลบจากคนอเมริกันโดยทั่วไปท่ามกลางบรรยากาศแห่งสงครามเวียดนาม ถึงอย่างไรก็ดี การเล่นเพลงของเฟลีเซียโนได้เปิดประตูให้ตีความเพลงในรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมากต่อ ๆ มา[35]

นักกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนเหรียญทองทอมมี่ สมิธ และนักกีฬาเหรียญทองแดงจอห์น คาร์ลอส ยกกำปั้น ในขณะที่ฟังเพลงชาติสหรัฐหลังจากชนะการแข่งวิ่ง 200 ม.

อาทิตย์หนึ่งหลังการเล่นของเฟลีเซียโน เพลงชาติก็สร้างข่าวอีกเมื่อนักกีฬาโอลิมปิกชาวอเมริกันทอมมี่ สมิธ และจอห์น คาร์ลอส ยกกำปั้นขึ้นเมื่อเล่นเพลง ต่อมา นักร้องมาร์วิน เกย์ได้ร้องเพลงผสมสไตล์โซลในการเปิดการแข่งกีฬา 1983 (ปี 2526) NBA All-Star Game และนักร้องวิตนีย์ ฮิวสตันร้องเพลงในสไตล์เดียวกันก่อนงานซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 25 ในปี 2534 และต่อมาออกแผ่นเป็นเพลงเดี่ยวที่ติดอันดับ 20 ในบิลบอร์ดฮอต 100 ในปี 2534 และอันดับที่ 6 ในปี 2544 ซึ่งร่วมกับโฮเซ เฟลีเซียโน เป็นช่วง ๆ เดียวที่เพลงชาติติดบิลบอร์ด

ต่อมาปี 2536 วงดนตรีคิสออกเพลงแบบร็อกเฉพาะเสียงดนตรีเป็นแถร็กสุดท้ายของอัลบัม Alive III การตีความเล่นเป็นเพลงดุริยางค์ที่รู้จักกันดีอีกรุ่นหนึ่งก็คือของนักกีตาร์จิมิ เฮนดริกซ์ ซึ่งเขาเล่นอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ฤดูใบไม้ตกปี 2511 จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี 2513 รวมทั้งการเล่นที่มีชื่อเสียงที่เทศกาลวูดสต็อกในปี 2512 โดยใช้เสียงพิเศษเพื่อเน้น "แสงเจิดจ้าแห่งจรวด" และ "ระเบิดที่ปะทุกระจายกลางนภากาศ" ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960

ต่อมานักตลกโรแซนน์ บาร์ร ร้องเพลงชาติที่ก่อปัญหาก่อนเกมเบสบอลของทีม San Diego Padres ที่สนามกีฬาแจ็คเมอร์ฟีย์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2533 โดยร้องเป็นเสียงดังแสบแก้วหู แล้วภายหลังพยายามทำท่าเหมือนกับนักกีฬาโดยถุยน้ำลายแล้วจับที่เป้ากางเกงของเธอเหมือนกับขยับอุปกรณ์ป้องกัน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้คนบางพวก รวมทั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในตอนนั้นคือนายจอรจ์ เอ็ช. ดับเบิลยู. บุช (บิดาของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช)[36]

นักร้องซูฟยาน สตีเวนส์เล่นเพลงชาติในการแสดงสดของเขา แต่จะเปลี่ยนบาทสุดท้ายที่มองโลกในแง่ดีในบทแรก ด้วยบาทที่แสดงสภาพแตกแยกของประเทศทุกวันนี้ นักร้องเดวิด ลี รอธ ทั้งอิงบางส่วนของเพลงชาติ และทั้งเล่นเพลงในสไตล์ฮาร์ดร็อกในเพลง "Yankee Rose" ในอัลบัมเดี่ยวปี 2529 ที่มีชื่อว่า Eat 'Em and Smile ส่วนนักร้องสตีเฟ่น ไทเลอร์สร้างความขัดแย้งในปี 2544 (ในการแข่งรถ Indianapolis 500 ซึ่งภายหลังเขาขอโทษ) และในปี 2555 (ที่การแข่งกอล์ฟ AFC Championship Game) โดยร้องเปลี่ยนเนื้อในสไตล์อะแคปเปลลา[37]

นักดนตรีโจ เพร์รี และแบร็ด วิตฟอร์ด แห่งวงแอโรสมิธ เล่นบางส่วนของเพลงท้ายเพลง "Train Kept A-Rollin'" ในอัลบัม Rockin' the Joint วงบอสตันเล่นเพลงแค่เสียงดนตรีในอัลบัม Greatest Hits และวง Crush 40 เล่นเพลงในแถร็กเริ่มต้นของอัลบัม Thrill of the Feel (2543)

ในเดือนมีนาคม 2548 โปรแกรมที่สนับสนุนโดยรัฐบาลคือโปรเจ็กต์เพลงชาติ (National Anthem Project) ก็เริ่มขึ้นหลังจากโพลแสดงว่า ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ทั้งเนื้อร้องหรือประวัติของเพลง[38]

ป้ายแสดงประเพณีให้ยืนเมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติในเมืองทาโคมา รัฐวอชิงตัน ทำเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2436 หน้าอาคาร Bostwick

ภาพยนตร์ ทีวี และวรรณกรรม

[แก้]

ประเพณี

[แก้]

กฎหมายสหรัฐอเมริกา ประมวลกฎหมายสหรัฐอเมริกา ลักษณะ 36 มาตรา 301 กำหนดว่า เมื่อกำลังเล่นเพลงชาติ และมีการแสดงธง ให้ทุกคนยกเว้นผู้อยู่ในเครื่องแบบยืนตัวตรงหันหน้าไปทางธงโดยวางมือขวาไว้ที่หัวใจ ส่วนทหารและอดีตทหารที่อยู่ที่นั่นและไม่ได้อยู่ในเครื่องแบบสามารถแสดงวันทยหัตถ์แบบทหาร ชายที่ไม่อยู่ในเครื่องแบบและมีหมวกพึงถอดหมวกด้วยมือขวา วางหมวกที่ไหล่ซ้าย โดยมีมือขวาวางที่หัวใจ ส่วนบุคคลที่อยู่ในเครื่องแบบพึงแสดงวันทยหัตถ์แบบทหารเมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติและให้ดำรงอยู่ในท่านั้นจนจบ และถ้าไม่มีธงแสดง ให้ทุกคนหันหน้าไปทางเสียงดนตรีและประพฤติเช่นเดียวกับเหมือนมีธง

กฎหมายทหารกำหนดให้รถทุกคันในค่ายหยุดเมื่อเล่นเพลง และทุกคนข้างนอกยืนตรงและหันหน้าไปทางเสียงดนตรี และแสดงวันทยหัตถ์ถ้าอยู่ในเครื่องแบบ หรือวางมือที่หัวใจถ้าไม่ได้อยู่ในเครื่องแบบ กฎหมายปี 2551 อนุญาตให้ทหารเก่าแสดงวันทยหัตถ์เมื่อไม่ได้อยู่ในเครื่องแบบด้วย[39][40]

แต่ว่า กฎหมายเหล่านี้ไม่มีบทลงโทษเมื่อไม่ทำตามที่แนะนำ โดยข้อแนะนำตกอยู่ภายใต้การตีความการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญข้อแรกแห่งสหรัฐอเมริกา (ซึ่งป้องกันเสรีภาพการนับถือศาสนา เสรีภาพการพูด เสรีภาพในการพิมพ์หนังสือ เสรีภาพในการประชุมอย่างสันติภาพ หรือเสรีภาพในการร้องทุกข์ต่อรัฐบาล) เช่นกับคำแสดงความจงรักภักดี (Pledge of Allegiance) ต่อธงชาติ และต่อการปกครองแบบสาธารณรัฐของชาติ[41] ยกตัวอย่างเช่น คนที่นับถือศาสนานิกายพยานพระยะโฮวาจะไม่ร้องเพลงชาติ แม้จะสอนว่าการยืนเป็นการตัดสินใจทางจริยธรรมที่ศาสนิกชนสามารถทำตามความรู้สึกผิดชอบของตัวเอง[42][43][44]

การประท้วง

[แก้]

คำแปล

[แก้]

เพราะการย้ายถิ่นเข้าประเทศของคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษชนชาติต่าง ๆ เนื้อเพลงได้แปลเป็นร้อยกรองเพื่อให้ร้องได้เป็นหลายภาษาแล้ว ในปี 2404 มีการแปลเป็นภาษาเยอรมัน[45] หอสมุดรัฐสภาสหรัฐยังมีการแปลเป็นภาษาสเปนในปี 2462[46] มีการแปลเป็นภาษาฮีบรู และภาษายิดดิชโดยผู้ย้ายถิ่นฐานชาวยิว[47] มีอีกรุ่นหนึ่งในภาษาสเปนละตินอเมริกันที่สร้างความนิยมในการประท้วงปี 2549[48] มีรุ่นหนึ่งที่แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสอะคาเดียที่ใช้ในรัฐลุยเซียนา[49] ภาษาซามัว[50] และภาษาไอริช[51] บทที่สามของเพลงยังได้แปลเป็นภาษาละตินแล้วอีกด้วย[52]

ภาษานาวาโจ ภาษาเชอโรกี ภาษาอาปาเช
Yá shoo danółʼį́į́ʼ
Hayoołkááł biyiʼdę́ę́ʼ
Baa dahwiiʼniihgo átʼé
Dah naatʼaʼí éí yéigo nihił nilíinii.
Noodǫ́ǫ́z dóó bizǫʼ disxǫs
Naabaahii yitaayá
Bitsʼą́ą́ honiyéeʼgo deiníłʼį́
Nihichʼįʼ ínidída ndi baa ííníidlį́.
Áh, hoolʼáágóó bineʼ neidą́
Báhádzid dahólǫ́ǫ ndi
Éí yeeʼ bee tʼáá sih hasin
Tʼóó nihá dah siłtzoos ndi.
Tʼóó shį́į́ éí sǫʼ bił sinilgo
Dah naatʼá, áh hoolʼáa doo
Nihikéyah bikʼihígíí
Kʼad hózhǫ́ náhásdlį́į́ʼ.

สื่อ

[แก้]
(1944)
(1940)

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ""Star-Spangled Banner" Is Now Official Anthem". The Washington Post. March 5, 1931. p. 3.
  2. "Library of Congress: Defence of Fort M'Henry".
  3. "My country 'tis of thee [Song Collection]". The Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2009-01-20.
  4. Snyder, Lois Leo (1990). Encyclopedia of Nationalism. Paragon House. p. 13. ISBN 1-55778-167-2.
  5. "British Rockets". US National Park Service, Fort McHenry National Monument and Historic Shrine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 3, 2014. สืบค้นเมื่อ February 28, 2008.
  6. "When the Warrior Returns".
  7. Blackburn, Robin (1988). The Overthrow of Colonial Slavery, 1776-1848. pp. 288–290.
  8. Clague, Mark. "'Star-Spangled Banner' critics miss the point". 'middle two verses of Key's lyric vilify the British enemy in the War of 1812', 'in no way glorifies or celebrates slavery.'
  9. Emery, David. "'The Star-Spangled Banner' and Slavery".
  10. "Progressives Put The Star Spangled Banner On Their Chopping Block".
  11. Becker, Kyle (August 31, 2016). "The National Anthem Does Not 'Celebrate Slavery': The Meaning of Lyric Used to Defend Kaepernick". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-03-13.
  12. "Is the National Anthem Racist? Beyond the Debate Over Colin Kaepernick". September 3, 2016 – โดยทาง The New York Times.
  13. "The National Anthem Is a Celebration of Slavery".
  14. Plaque, Fort Meade, erected 1976 by the Fort Meade V.A. Hospital and the South Dakota State Historical Society
  15. "Cubs vs Red Sox 1918 World Series: A Tradition is Born".
  16. "Musical traditions in sports". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2017-03-13.
  17. 17.0 17.1 17.2 "National Anthem Hearing Is Set For January 31". The Baltimore Sun. 1930-01-23. p. 4.
  18. "Believe It or Not, America has no national anthem". Ripley's Newsroom.
  19. 19.0 19.1 "5,000,000 Sign for Anthem: Fifty-Mile Petition Supports "The Star-Spangled Banner" Bill". The New York Times. 1930-01-19. p. 31.
  20. "5,000,000 Plea For U.S. Anthem: Giant Petition to Be Given Judiciary Committee of Senate Today". The Washington Post. 1930-01-31. p. 2.
  21. "Committee Hears Star-Spangled Banner Sung: Studies Bill to Make It the National Anthem". The New York Times. February 1, 1930. p. 1.
  22. "'Star-Spangled Banner' Favored As Anthem in Report to House". The New York Times. February 5, 1930. p. 3.
  23. 23.0 23.1 "'Star Spangled Banner' Is Voted National Anthem by Congress". The New York Times. March 4, 1931. p. 1.
  24. Key, Francis Scott. "The Star Spangled Banner". MENC: The National Association for Music Education National Anthem Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26.
  25. Butterworth, Hezekiah; Brown, Theron (1906). "The Story of the Hymns and Tunes". George H. Doran Co.: 335. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  26. The soldier's companion: dedicated ... - Google Books. Books.google.com. 1865. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  27. "Library of Congress image". สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  28. "The Fenway Project - Part One". Red Sox Connection. May 2004.
  29. Allen, Kevin (March 23, 2003). "NHL Seeks to Stop Booing For a Song". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
  30. "Fanzone, A-Z Guide: National Anthems". Buffalo Sabres. สืบค้นเมื่อ 2014-11-20. If you are interested in singing the National Anthems at a sporting event at First Niagara Center, you must submit a DVD or CD of your performance of both the Canadian & American National Anthems...
  31. Graves, David (September 14, 2001). "Palace breaks with tradition in musical tribute". The Daily Telegraph.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  32. Steyn, Mark (September 17, 2001). "The Queen's Tears/And global resolve against terrorism". National Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-04-10.
  33. Gilliland, John (1969). "Show 52 - The Soul Reformation: Phase three, soul music at the summit. [Part 8]" (audio). Pop Chronicles. University of North Texas Libraries. Track 5.
  34. Paul White, USA TODAY Sports (October 14, 2012). "Jose Feliciano's once-controversial anthem kicks off NLCS". Usatoday.com. สืบค้นเมื่อ 2013-11-09.
  35. Feliciano, Jose. "Personal account about the anthem performance". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-03-13.
  36. Letofsky, Irv (July 28, 1990). "Roseanne Is Sorry - but Not That Sorry". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2012-09-14.
  37. "AOL Radio - Listen to Free Online Radio - Free Internet Radio Stations and Music Playlists". Spinner.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-11-09.
  38. "Harris Interactive poll on "The Star-Spangled Banner"". Tnap.org. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  39. Streufert, Duane. "A website dedicated to the Flag of the United States of America - United States Code". USFlag.org. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  40. "U.S. Code". Uscode.house.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2012. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  41. The Circle School v. Phillips, 270 F. Supp. 2d 616, 622 (E.D. Pa. 2003).
  42. "Highlights of the Beliefs of Jehovah's Witnesses". Towerwatch.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 18, 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  43. Botting, Gary Norman Arthur (1993). Fundamental freedoms and Jehovah's Witnesses. University of Calgary Press. p. 27. ISBN 978-1-895176-06-3. สืบค้นเมื่อ 2009-12-13.
  44. Chryssides, George D. (2008). Historical Dictionary of Jehovah's Witnesses. Scarecrow Press. p. 34. ISBN 978-0-8108-6074-2. สืบค้นเมื่อ 2014-01-24.
  45. "Das Star-Spangled Banner". หอสมุดรัฐสภาสหรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2007-09-14.
  46. "La Bandera de las Estrellas". หอสมุดรัฐสภาสหรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2005-05-31.
  47. Asen, Abraham. "The Star Spangled Banner in pool, 1745, Joe Fishstein Collection of Yiddish Poetry, McGill University Digital Collections Programme". สืบค้นเมื่อ 2007-09-14.
  48. Day to Day. "A Spanish Version of 'The Star-Spangled Banner'". NPR. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  49. Marcantel, David Émile. "La Bannière Étoilée on Musique Acadienne". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2013. สืบค้นเมื่อ 2007-09-14.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  50. Zimmer, Benjamin (April 29, 2006). "The ''Samoa News'' reporting of a Samoan version". Itre.cis.upenn.edu. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  51. "''An Bhratach Gheal-Réaltach'' - Irish version". Daltai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-06-14.
  52. Brunelle, Christopher M (1999). "Third Verse in Latin".{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

เสียงดนตรีประวัติศาสตร์

[แก้]