โอแคนาดา
O Canada | |
สกอร์ดนตรีเพลงชาติแคนาดา ทั้งภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเอสกิโม (Inuktitut) | |
ชื่ออื่น | ฝรั่งเศส: Ô Canada |
---|---|
เนื้อร้อง | อดอล์ฟ บาซีล รูทิเอร์ (ฝรั่งเศส, ค.ศ. 1880) รอเบิร์ต สแตนเลย์ เวียร์ (อังกฤษ, ค.ศ. 1908) |
ทำนอง | กาลิซา ลาวาลเล, 1880 |
รับไปใช้ | ค.ศ. 1980 |
ตัวอย่างเสียง | |
โอแคนดา (บรรเลง) |
โอแคนาดา (อังกฤษ: O Canada) หรือ โอกานาดา (ฝรั่งเศส: Ô Canada) เป็นเพลงชาติของประเทศแคนาดา ประพันธ์ทำนองโดย กาลิซา ลาวาลเล (Calixa Lavallée) เมื่อ ค.ศ. 1880 เพื่อใช้เป็นเพลงปลุกใจสำหรับการเฉลิมฉลองวันแซงต์-ฌ็อง-บาปตีสต์ในปีนั้น (Saint-Jean-Baptiste Day) เนื้อร้องเดิมแต่งเป็นภาษาฝรั่งเศสโดย เซอร์อดอล์ฟ บาซีล รูทิเอร์ (Sir Adolphe Basile Routhier) เมื่อ ค.ศ. 1880 เนื่องในโอกาสเดียวกัน ส่วนเนื้อเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อ ค.ศ. 1906
เนื้อเพลงภาษาอังกฤษที่ใช้ในปัจจุบันเป็นผลงานของโรเบิร์ต สแตนเลย์ เวียร์ (Robert Stanley Weir) ซึ่งประพันธ์ไว้เมื่อ ค.ศ. 1908 และได้รับการดัดแปลงเป็นเนื้อร้องแบบปัจจุบันในปี ค.ศ. 1968 ส่วนเนื้อเพลงภาษาฝรั่งเศสยังคงไว้เช่นเดิม
เพลงโอแคนาดา ได้ใช้เป็นเพลงชาติแคนาดาเมื่อ ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523)
ประวัติ
[แก้]บทกวี "โอแคนาดา" เขียนขึ้นครั้งแรกเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยอดอล์ฟ บาซีล รูทิเอร์ ซึ่งเป็นชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นบทเพลงปลุกใจสมาคมแซงต์ชอง-แบบตีสต์ของชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส และ ได้นำออกเผยแพร่ครั้งแรกที่เมืองควิเบก ในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1880 อันเป็นวันแซงต์ชอง-แบบตีสต์ในปีนั้น แต่รัฐบาลแคนาดาได้รับรองเนื้อเพลงดังกล่าวเป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 โดยรัฐบาลได้ซื้อลิขสิทธิ์ในทำนองและบทร้องของเพลงนี้ด้วยมูลค่า 1 ดอลลาร์แคนาดา [1]
นับตั้งแต่ ค.ศ. 1867 เป็นต้นมา เพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" และ "เดอะเมเปิลลีฟฟอร์เอเวอร์" ("The Maple Leaf Forever") เป็นบทเพลงที่มีการแข่งกันใช้เป็นเพลงชาติแคนาดาอย่างไม่เป็นทางการ เพลง "โอแคนาดา" ได้เริ่มกลายเป็นอีกเพลงหนึ่งที่ใช้ในลักษณะเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก เมื่อได้มีการให้เด็กนักเรียนขับร้องเพลงดังกล่าวเพื่อรับเสด็จดยุคและดัชเชสแห่งคอร์นวอล (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร และ สมเด็จพระราชินีแมรี แห่งเท็ค) ในการเสด็จเยือนแคนาดาในปี ค.ศ. 1901 ห้าปีต่อมา โรงพิมพ์วาเลย์และรอยซ์ (Whaley and Royce) ในเมืองโตรอนโตได้ตีพิทพ์บทเพลงนี้พร้อมเนื้อร้องภาษาฝรั่งเศสและบทแปลภาษาอังกฤษสำนวนแรกสุด ซึ่งแปลโดย ดร.โทมัส เบ็ดฟอร์ด ริชาร์ดสัน (Dr. Thomas Bedford Richardson) หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1908 นิตยสาร Collier's Weekly ได้จัดให้มีการประกวดบทร้องเพลง "โอแคนาดา" ขึ้น ผลปรากฏว่าบทร้องของเมอร์ซี อี. พาวเวลล์ แมคคุลลุช (Mercy E. Powell McCulloch) เป็นบทร้องชนะเลิศ ทว่าบทร้องดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมทั่วไป อนี่ง ในปี ค.ศ. 1917 อัลเบิร์ต วัตสันได้แต่งเพลงสดุดี (hymn) ชื่อ "ลอร์ดออฟเดอะแลนด์ส" ("Lord of the Lands") โดยใช้ทำนองเพลงของเพลงโอแคนาดา[2]
บทร้องฉบับภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุด ได้ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1908 โดย รอเบิร์ต สแตนเลย์ เวียร์ ทนายความและอาลักษณ์ประจำเมืองมอนทรีออลในขณะนั้น ต่อมาได้มีการแก้ไขบทร้องของเวียร์เล็กน้อยเพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการเนื่องในโอกาสครบ 60 ปีแห่งการรวมตัวเป็นสหพันธรัฐของแคนาดา (the Diamond Jubilee of Confederation) ในปี ค.ศ. 1927 และค่อยๆ ได้รับการยอมรับจากมหาชน กระทั่งได้รับความนิยมเหนือกว่าเพลงอื่นๆ ทั้งหมดในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 โดยเพลง "ก็อดเซฟเดอะควีน" ยังคงมีการใช้ในฐานะเพลงสรรเสริญพระบารมี ส่วนเพลง "เดอะเมเปิลลีฟฟอร์เอเวอร์" ก็กลายเป็นเพลงที่ถูกลืมเลือนโดยสิ้นเชิง[3]
บทร้อง
[แก้]ฉบับราชการ
[แก้]เนื้อร้องภาษาอังกฤษ
|
เนื้อร้องภาษาฝรั่งเศส
|
เนื้อร้องสองภาษา
|
เนื้อร้องสามภาษา
|
คำแปลภาษาไทย
| |
O Canada! |
Terre de nos aïeux, |
O Canada! |
ᐆ ᑲᓇᑕ! ᓄᓇᕗᑦ ᑕᐃᒪᙵᑦ! |
O Canada! |
โอ้ แคนาดา |
ภาษาชนพื้นเมือง
[แก้]คำแปล
| |||
ᐆ ᑲᓇᑕ! |
Uu Kanata! |
เนื้อร้องต้นฉบับ
[แก้]ฉบับภาษาอังกฤษ
[แก้]บทร้องของเดิมที่โรเบิร์ต สแตนลีย์ เวียร์ ประพันธ์ไว้เมื่อ ค.ศ. 1908 มีอยู่ 3 บท[5][6][7] ภายหลังจึงได้มีการเพิ่มบทที่ 4 อีกบทหนึ่ง
สำนวนเดิม โรเบิร์ต สแตนลีย์ เวียร์
|
คำแปล
|
สำนวน อัลเบิร์ต ดี วัตสันน์[8]
|
คำแปล
|
บทที่ 1
| |||
O Canada! Where pines and maples grow. |
Lord of the lands, beneath Thy bending skies, |
||
ประสานเสียง
| |||
God keep our land glorious and free! |
Thy will alone let all enthrone! |
||
บทที่ 2
| |||
O Canada! Beneath thy shining skies |
Almighty Love, by Thy mysterious power, |
||
ประสานเสียง
| |||
บทที่ 3
| |||
Ruler supreme, who hearest humble prayer, |
Lord of the worlds, with strong eternal hand, |
||
ประสานเสียง
|
บทร้องฉบับอื่นๆ
[แก้]บทร้องฉบับบูชาน (Buchan), เป็นเนื้อร้องที่นิยมร้องในรัฐบริติชโคลัมเบีย.
ฉบับภาษาฝรั่งเศส[แก้]บทร้องฉบับภาษาฝรั่งเศสของเพลงโอแคนาดานี้เป็นผลงานการประพันธ์ของเซอร์อดอล์ฟ บาซีล รูทิเอร์ (Sir Adolphe Basile Routhier) เมื่อ ค.ศ. 1880
|
สื่อ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'O Canada'". The Canadian Encyclopedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-15. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
- ↑ "National Anthem of Canada". Marianopolis College. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
- ↑ "National Anthem: O Canada". Department of Canadian Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
- ↑ http://www.cic.gc.ca/english/celebrate/pdf/National_Anthem_e.pdf
- ↑ Office of the Lieutenant Governor of Alberta. "O Canada" (PDF). Queen's Printer for Alberta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-13. สืบค้นเมื่อ April 17, 2008.
- ↑ "Press Release". Senator Vivienne Poy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
- ↑ "English for new-Canadians". Internet Archive. สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อQHE
- ↑ Department of Canadian Heritage. "National anthem: O Canada". Queen's Printer for Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-15. สืบค้นเมื่อ Oct 30, 2010.
- ↑ Wikipedia. "Original French Version of National anthem: Ô Canada". สืบค้นเมื่อ February 19, 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Original French Poem
- Canadian Heritage (National Anthem: O Canada) เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Department of Justice - National Anthem Act เก็บถาวร 2011-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Story Behind the Song
- CBC Digital Archives: O Canada
- เพลงสดุดี (Hymn) Lord of the Lands ในทำนองเพลง "โอแคนาดา" เก็บถาวร 2012-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Canada's National Anthem in Unofficial Languages เก็บถาวร 2009-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน