มานุษยรูปนิยม

มานุษยรูปนิยม[1] (อังกฤษ: Anthropomorphism) หรือ บุคคลวัต[2] หรือ บุคลาธิษฐาน (อังกฤษ: personification) คือ การเอาลักษณะของมนุษย์ไปใช้กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น สัตว์ สิ่งไม่มีชีวิต ปรากฏการณ์ องค์การ รวมถึงวิญญาณและเทวดา คำภาษาอังกฤษบัญญัติขึ้นช่วง ค.ศ. 1700-1709[3][4] ตัวอย่างของมานุษยรูปนิยม เช่น การวาดภาพสัตว์ พืช พลังธรรมชาติ เช่น ลม ฝน ดวงอาทิตย์ ให้มีอารมณ์ แรงจูงใจ คิดเป็นเหตุผล หรือสนทนากันได้อย่างมนุษย์ คำว่า Anthropomorphism เป็นคำสมาสในภาษากรีก ἄνθρωπος (ánthrōpos) แปลว่า "มนุษย์" และ μορφή (morphē) แปลว่า "รูป"
ตามหลักเทคนิคทางวรรณกรรม แนวคิดมานุษยรูปนิยมมักปรากฏในงานศิลป์และตำนานต่าง ๆ ในหลาย ๆ วัฒนธรรมมักมีนิทานที่กล่าวถึงสัตว์ที่มีพฤติกรรมอย่างมนุษย์ เช่น ยืนได้ แต่ศาสตร์ตะวันตกแบบสัญนิยมไม่มีแนวคิดเช่นนี้ แต่เน้นทัศนะแบบมานุษยประมาณนิยมที่ถือเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง เพราะถือว่าไม่ว่าสัตว์ พืช สิ่งของ ก็ไม่มีสิ่งเสมอเหมือนมนุษย์ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่มีจิตวิญญาณ ไม่มีวิญญาณอมตะ และความตระหนักในตน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 7
- ↑ ศัพท์วรรณกรรม. ราชบัณฑิตยสถาน
- ↑ Harper, Douglas. "Online Etymology Dictionary". Douglas Harper.
- ↑ "Merriam-Webster". Merriam-Webster.