สาลี่ (ผลไม้)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาลี่
Nashi pear.jpg
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Rosaceae
สกุล: Pyrus
สปีชีส์: P.  pyrifolia
ชื่อทวินาม
Pyrus pyrifolia
(Burm.) Nak.
บทความนี้เกี่ยวกับสาลี่ที่เป็นผลไม้ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ สาลี่
Pyrus pyrifolia.jpg
ดอกบานเต็มที่

สาลี่ หรือสาลี่จีน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrus pyriforia; จีน: 沙梨; พินอิน: shālí อ่าน ซาหลี; อังกฤษ: Chinese pear ) มีชื่ออื่น ๆ อีกเช่น nashi pear[1]ในญี่ปุ่นเรียก nashi ภาษาเกาหลีเรียก shingo เป็นไม้ต้นชนิดหนึ่งในสกุลสาลี่ วงศ์ Rosaceae เป็นพืชเมืองหนาว ถิ่นกำเนิดในภาคตะวันตกของจีน พบขึ้นตามธรรมชาติในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ต้นชะลูด ทรงพีระมิด ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ ผลมีหลายสี ตั้งแต่เหลือง แดงอมส้ม น้ำตาล เขียว เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ บางพันธุ์เนื้อเป็นทราย รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย กลิ่นหอม เมล็ดขนาดเล็ก แบนรี สีดำหรือสีน้ำตาลเกือบดำ

การใช้ประโยชน์[แก้]

สาลี่นอกจากกินสดเป็นผลไม้แล้ว ยังนำไปแปรรูป เช่น ฟรุตสลัด ไอศกรีม น้ำสาลี่ บรรจุกระป๋อง สาลี่อบแห้ง สาลี่ในน้ำเชื่อม สาลี่แช่อิ่ม [2] หรือใช้ทำลูกกวาด สาลี่ไม่นิยมนำไปทำพายหรือแยมแบบเดียวกับแพร์เพราะมีน้ำในเนื้อมากกว่า กรอบกว่า ต่างจากแพร์ที่เนื้อนุ่มกว่า สาลี่มีฤทธิ์ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไอ ละลายเสมหะ แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการท้องเดิน[2] เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์

อ้างอิง[แก้]

  1. "NSW Primary Industries 2002. Nashi asian pear varieties. Agfact H4.1.14". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-01-26.
  2. 2.0 2.1 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. สาลี่ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 247 - 248
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 385

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]