ชิมแปนซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิมแปนซี
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 4–0Ma
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์ใหญ่: Hominoidea
วงศ์: Hominidae
สกุล: Pan
สปีชีส์: P.  troglodytes
ชื่อทวินาม
Pan troglodytes
(Blumenbach, 1775)
ชนิดย่อย[1]
  • P. t. verus
    *P. t. vellerosus *P. t. troglodytes *P. t. schweinfurthii
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของชิมแปนซีชนิดย่อยต่าง ๆ (1. Pan troglodytes verus 2. P. t. vellerosus 3. P. t. troglodytes 4. P. t. schweinfurthii)
ชื่อพ้อง
  • Simia troglodytes Blumenbach, 1776 *Troglodytes troglodytes (Blumenbach, 1776) *Troglodytes niger E. Geoffroy, 1812 *Pan niger (E. Geoffroy, 1812)
ลิงชิมแพนซีที่สวนสัตว์นครราชสีมา
Mothers and infants in Exhibit at Zoo

ชิมแปนซี (อังกฤษ: chimpanzee; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pan troglodytes) เป็นลิงไม่มีหางที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด

ลักษณะ[แก้]

มีแขนและขามีความยาวพอ ๆ กัน มีขนโดยเฉพาะที่หู มือ และเท้าสีเนื้อ ลูกที่เกิดใหม่จะมีใบหน้าสีชมพู ตัวผู้สูงราว 5 ฟุต น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียสูงราว 4 ฟุต ทำรังอยู่บนพื้นดินด้วยการโน้มกิ่งไม้ขัดทำเป็นที่นอน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 7-9 ปี เป็นสัดทุก ๆ 33-38 วัน ระยะเวลาสำหรับการผสมพันธุ์นาน 3 วัน ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ตั้งท้องนานประมาณ 230 วัน ลูกจะอยู่กับแม่นาน 1-2 ปี สูงสุดถึง 7 ปี และมีอายุยืนประมาณ 40 ปี ตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์จะผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว จึงยากที่จะบ่งบอกได้ว่า ลูกที่เกิดมานั้นมาจากลิงตัวผู้ตัวไหน[2]

การกระจายพันธุ์และพฤติกรรม[แก้]

ชิมแปนซีกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ทางแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก อาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัว มีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ โดยมีจ่าฝูงเป็นตัวผู้เพียงตัวเดียว หากินบนพื้นดินมากกว่าต้นไม้ โดยหากินในเวลากลางวัน ซึ่งอาหารได้แก่ ผลไม้และใบไม้ต่าง ๆ รวมถึงสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ เช่น แมลง เป็นต้น ซึ่งชิมแปนซีมีพฤติกรรมที่จะประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ ในการหาอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์[3] ชิมแปนซีมีเสียงร้องอย่างหลากหลาย จากการศึกษาพบว่าร้องได้ถึง 32 แบบ โดยถือเป็นภาษาสำหรับการสื่อสารระหว่างกัน[4] สามารถเดินตรงได้แต่นิ้วเท้าจะหันไปข้างนอก เวลาเดินตัวจะเอนไปข้างหน้า แขนตรง และวางข้อมือลงบนพื้น นานๆ ครั้งจะเดิน 2 เท้าแบบมนุษย์ ซึ่งในการเดินแบบนี้ ชิมแปนซีจะเอามือไว้ข้างหลังเพื่อช่วยในการทรงตัว หรือชูมือทั้ง 2 ข้างขึ้นสูง [5] ชิมแปนซีมีความจำดีมาก มีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ มีความฉลาดกว่าอุรังอุตังและกอริลล่า ซึ่งเป็นลิงไม่มีหางเช่นเดียวกัน[5] สถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่นระบุว่า ลูกชิมแปนซีมีความจำดีกว่ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก [6] ชิมแปนซีตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์แล้ว ในธรรมชาติจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว บางครั้งจะยกพวกเข้าตีกันและอาจถึงขั้นฆ่ากันตายได้ ซึ่งเคยมีกรณีที่เข้าโจมตีใส่มนุษย์ให้ถึงแก่บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตมาแล้ว รวมถึงมีการรวมตัวกันเพื่อล่าลิงโลกเก่าบางชนิด เช่น ลิงโคโลบัส กินเป็นอาหาร โดยจะแจกจ่ายให้ชิมแปนซีตัวผู้ได้กินก่อน ขณะที่ตัวเมียก็จะได้รับส่วนแบ่งด้วย ลูกชิมแปนซีในช่วง 3 ขวบปีแรก ที่ก้นจะมีกระจุกขนสีขาวเป็นเครื่องหมายบอกถึงวุฒิภาวะที่ยังไม่สมบูรณ์ หากทำอะไรผิด จะได้รับการละเว้นโทษ จนกระทั่งถึงอายุเลย 3 ขวบ จึงจะเริ่มเข้าสู่กฏเกณฑ์ในฝูง เช่นเดียวกับมนุษย์ ตามกฎหมายก็มีบทยกเว้นโทษให้แก่เด็กด้วย[2][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

สถานะ[แก้]

แบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) และมีชนิดที่ใกล้เคียงกัน คือ โบโนโบ หรือชิมแปนซีแคระ (P. paniscus) ซึ่งเดิมเคยเป็นชนิดย่อยกันมาก่อน ปัจจุบัน ชิมแปนซีในธรรมชาติ เหลือเพียง 3,000 ตัวเท่านั้นในป่าดิบของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จึงมีสถานะใกล้สูญพันธุ์แล้ว[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. 2.0 2.1 Mutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet". สารคดีทางอนิมอลพนาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556
  3. "โลกใบใหญ่ / โบราณชีววิทยา : ข้อถกเถียงเรื่องมนุษย์แคระยังไม่ยุติ จากสารคดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19.
  4. หน้า 176, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
  5. 5.0 5.1 "ชิมแปนซี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-09. สืบค้นเมื่อ 2007-12-05.
  6. "อึ้ง! ผลวิจัยชี้ลูกชิมแปนซีมีความจำดีกว่ามนุษย์ จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-14. สืบค้นเมื่อ 2007-12-05.
  7. รายการท่องโลกกว้าง ทางทีวีไทย : วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pan troglodytes ที่วิกิสปีชีส์