ข้ามไปเนื้อหา

ยุคทองของอิสลาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักวิชาการในห้องสมุดสมัยอับบาซียะฮ์ จากมะกอมะฮ์ของอัลฮะรีรี โดยยะห์ยา อิบน์ มะห์มูด อัลวาซิฏี แบกแดด ค.ศ. 1237
การพัฒนาแอสโตรเลบเป็นหนึ่งในความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์จากยุคทอง

ยุคทองของอิสลาม (อาหรับ: العصر الذهبي للإسلام) เป็นยุครุ่งเรืองทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และวิทยาศาสตร์ในประวัติศาสตร์อิสลาม ตามธรรมเนียมถือว่าเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14[1][2][3] และเป็นที่เข้าใจกันว่าเริ่มขึ้นในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์ฮารูน อัรเราะชีด (ค.ศ. 786–809) แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ด้วยการเปิดบัยตุลฮิกมะฮ์ในแบกแดด เมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น ที่นั่น นักวิชาการอิสลามและผู้รู้รอบด้านจากทั่วสารทิศซึ่งมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้รับคำสั่งให้รวบรวมและแปลความรู้สมัยคลาสสิกของโลกเป็นภาษาซีรีแอกและภาษาอาหรับ[4]

ตามธรรมเนียมถือกันว่ายุคทองของอิสลามสิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลายของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์เนื่องจากการโจมตีของชาวมองโกลและการล้อมแบกแดดใน ค.ศ. 1258[5] นักวิชาการจำนวนหนึ่งกำหนดจุดสิ้นสุดของยุคทองไว้ในราว ค.ศ. 1350 โดยเชื่อมกับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของตีมูร์[6][7] ในขณะที่นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการสมัยใหม่จำนวนมากกำหนดจุดสิ้นสุดของยุคทองไว้ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 ต่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยเชื่อมกับสมัยดินปืนอิสลาม[1][2][3] (สมัยกลางของอิสลามอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวกับยุคทองของอิสลาม โดยแหล่งข้อมูลหนึ่งกำหนดระยะเวลาไว้ระหว่าง ค.ศ. 900–1300)[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 George Saliba (1994), A History of Arabic Astronomy: Planetary Theories During the Golden Age of Islam, pp. 245, 250, 256–57. New York University Press, ISBN 0-8147-8023-7.
  2. 2.0 2.1 King, David A. (1983). "The Astronomy of the Mamluks". Isis. 74 (4): 531–55. doi:10.1086/353360. S2CID 144315162.
  3. 3.0 3.1 Hassan, Ahmad Y (1996). "Factors Behind the Decline of Islamic Science After the Sixteenth Century". ใน Sharifah Shifa Al-Attas (บ.ก.). Islam and the Challenge of Modernity, Proceedings of the Inaugural Symposium on Islam and the Challenge of Modernity: Historical and Contemporary Contexts, Kuala Lumpur, August 1–5, 1994. International Institute of Islamic Thought and Civilization (ISTAC). pp. 351–99. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015.
  4. Gutas, Dimitri 1998. Greek Thought, Arabic Culture: The Graeco-Arabic Translation Movement in Baghdad and Early 'Abbāsid Society (2nd-4th/8th-10th Centuries). London: Routledge.
  5. Islamic Radicalism and Multicultural Politics. Taylor & Francis. 2011-03-01. p. 9. ISBN 978-1-136-95960-8. สืบค้นเมื่อ 26 August 2012.
  6. "Science and technology in Medieval Islam" (PDF). History of Science Museum. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.
  7. Ruggiero, Guido (15 April 2008). A Companion to the Worlds of the Renaissance, Guido Ruggiero. ISBN 9780470751619. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2016. สืบค้นเมื่อ 7 November 2016.
  8. Barlow, Glenna. "Arts of the Islamic World: the Medieval Period". Khan Academy. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]