บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟ เป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ[1] บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่มนวนิยายประเภทจินตนิยาย (Speculative Fiction - กลายมาจาก SF ซึ่งเป็นอักษรย่อของ Science Fiction) ซึ่งประกอบด้วยสองผลลัพธ์หลัก ๆ ได้แก่ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ และ นิยายจินตนิมิต
ประเภท
[แก้]บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์สุดขั้ว
[แก้]บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์สุดขั้ว (Hard Science Fiction) เป็นแนวหลักดั้งเดิมของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จริง ๆ ผู้วางรากฐานของนิยายแนวนี้ได้แก่ เอช. จี. เวลส์,[2] โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์, อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก เป็นต้น บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โดยแท้นั้น เสนอมุมมองของสิ่งประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยีบางอย่าง ที่มีแนวโน้มว่าสามารถเป็นไปได้จริงในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือแสดงสภาพสังคมในอนาคตอันใกล้[3] ตามหลักของอนาคตศาสตร์ (Futurology) และสาขาวิชาที่ใช้ในการมองอนาคตชนิดอื่น ๆ ซึ่งมีประโยชน์มาก และสามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้จริง นักอนาคตศาสตร์และนักเขียนบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ในเมืองไทยได้แก่ ชัยวัฒน์ คุประตกุล และวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อน
[แก้]บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อน (Soft Science Fiction) มีรูปแบบหลากหลาย โดยมีความถูกต้องหรือความเป็นไปได้ของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ที่นำมาประกอบเรื่องอยู่ในระดับหนึ่ง อาจจะกล่าวถึงทฤษฎี หรือสิ่งประดิษฐ์ ต่าง ๆ ที่ผู้ประพันธ์จินตนาการขึ้นมาบ้าง แต่เป็นที่ยอมรับได้ของผู้อ่าน เสน่ห์ของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์แบบอ่อน คือความยืดหยุ่นของ ฉาก เนื้อเรื่อง และตัวละคร ซึ่งมีให้เล่นได้มากกว่าบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โดยแท้ ในกลุ่มของนิยายชนิดนี้ ฉากที่มักจะปรากฏคืออนาคตหรืออดีต “อันไกลโพ้น” ซึ่งเอื้อต่อการประดิษฐ์โครงเรื่องของผู้เขียน การเดินทางผ่านเวลาเป็นไปได้อย่างอิสระ การเดินทางผ่านไฮเปอร์สเปซ มีการเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง ตัวอย่างบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อนมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้น ชายในชุดแอสเบสโตส ไปจนถึง Stainless Steel Rat ซึ่งไม่ได้เน้นที่เทคโนโลยีมากนัก แต่เน้นที่ตัวเอกของเรื่องแทน (พระเอกเก่งจนเกินจริง แต่สนุกน่าติดตาม). นิยายชุดสถาบันสถาปนา ที่นักอ่านชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งนำเสนอถึงผลกระทบจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ต่อมนุษยชาติ อาจจัดอยู่ระหว่าง บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โดยแท้ กับ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์อย่างอ่อน
บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จินตนิมิต
[แก้]บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จินตนิมิต (Science Fantasy) เป็น “ตัวเชื่อม” ระหว่างพื้นที่ที่ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ มาบรรจบกับ นิยายจินตนิมิต นิยายกลุ่มนี้ ไม่เน้นเรื่องความถูกต้อง ข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปได้ ของหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาประกอบตัวเนื้อเรื่อง แต่จะเน้นเรื่องความกลมกลืนของตัวเรื่อง บุคลิกและความสัมพันธ์ของตัวละคร ความสนุกสนานและน่าติดตาม สตาร์วอร์ส จัดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของนวบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์จินตนิมิต ซึ่งมักจะอาศัยฉากอวกาศและเทคโนโลยี เข้ามาจับตัวเรื่อง แต่โครงของเรื่องนั้น มีพ่อมด เจ้าชาย เจ้าหญิง ฮีโร และตัวร้าย (ดาร์ค ลอร์ด) เช่นเดียวกับนิยายจินตนิมิตอื่น ๆ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ von Thorn, Alexander (August 2002). Aurora Award acceptance speech (Speech). Calgary, Alberta.
- ↑ James Blish, More Issues at Hand, Advent: Publishers, 1970. Pg. 99. Also in Jesse Sheidlower, "Dictionary citations for the term «hard science fiction»". Jessesword.com. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008. ISBN 9780911682106.
- ↑ Heinlein, Robert A.; Cyril Kornbluth; Alfred Bester; Robert Bloch (1959). "Science Fiction: Its Nature, Faults and Virtues". The Science Fiction Novel: Imagination and Social Criticism. University of Chicago: Advent Publishers. ISBN 9780911682021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]