ข้ามไปเนื้อหา

ความโกรธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Facial expression of a person having emotions of anger
การแสดงออกทางสีหน้าของผู้ชายที่กำลังมีอารมณ์โกรธ

ความโกรธ หรือ โทสะ เป็นสภาวะทางอารมณ์รุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองด้วยความไม่สบายใจและความไม่เห็นด้วยอย่างแรงกล้าต่อการยั่วยุ ความเจ็บปวด และการคุกคามที่ได้รับ[1][2]

บุคคลที่ประสบกับอารมณ์โกรธมักจะประสบกับผลกระทบทางกายภาพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น และระดับอะดรีนาลีนและนอร์อะดรีนาลีนสูงขึ้น[3] บางคนมองว่าความโกรธเป็นอารมณ์ที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองโดยสู้หรือหนี[4] ความโกรธกลายเป็นความรู้สึกที่โดดเด่นทั้งในด้านพฤติกรรม การรับรู้ และสรีรวิทยา เมื่อบุคคลตัดสินเลือกอย่างมีสติที่จะดำเนินการเพื่อหยุดพฤติกรรมคุกคามของแรงกดดันอื่นภายนอกทันที[5]

ความโกรธสามารถส่งผลกระทบอย่างมากทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การแสดงความโกรธภายนอกสามารถพบได้จากการแสดงออกทางสีหน้า ภาษากาย การตอบสนองทางสรีรวิทยา และบางครั้งเป็นการแสดงความก้าวร้าวในที่สาธารณะ การแสดงออกทางสีหน้าอาจมีตั้งแต่การขมวดคิ้วด้านในไปจนถึงการขมวดคิ้วเต็มที่[6] คนส่วนใหญ่ที่ประสบกับความโกรธอธิบายว่าการตื่นตัวของความโกรธนั้นเป็นผลมาจาก "สิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง" ส่วนนักจิตวิทยาบ่งชี้ว่าบุคคลที่โกรธสามารถเข้าใจผิดได้ง่าย ๆ เพราะความโกรธทำให้สูญเสียความสามารถในการการติดตามประเมินตัวเองและความสามารถในการสังเกตเชิงปรวิสัย[7]

นักจิตวิทยาสมัยใหม่มองว่าความโกรธเป็นอารมณ์ปกติ เป็นธรรมชาติ และมีวุฒิภาวะที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบในบางเวลา และเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการเอาชีวิตรอด ความโกรธที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลหรือทางสังคม [7][8] และส่งผลเสียต่อคนรอบข้างด้วย นักปรัชญาและนักเขียนหลายคนเตือนเรื่องความโกรธที่เกิดขึ้นเองและควบคุมไม่ได้ แต่ก็ยังมีความไม่เห็นพ้องกันในเร่ื่องคุณค่าที่แท้จริงของความโกรธ[9] ประเด็นเรื่องการจัดการความโกรธมีการเขียนไว้ตั้งแต่สมัยของนักปรัชญายุคแรก ๆ แต่นักจิตวิทยาสมัยใหม่มีความเห็นตรงกันข้ามกับนักเขียนในยุคแรก ๆ โดยชี้ให้เห็นถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นของการอดกลั้นความโกรธ[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Videbeck, Sheila L. (2006). Psychiatric Mental Health Nursing (3rd ed.). Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 9780781760331.
  2. Alia-Klein, Nelly; Gan, Gabriela; Gilam, Gadi; Bezek, Jessica; Bruno, Antonio; Denson, Thomas F.; Hendler, Talma; Lowe, Leroy; Mariotti, Veronica; Muscatello, Maria R.; Palumbo, Sara; Pellegrini, Silvia; Pietrini, Pietro; Rizzo, Amelia; Verona, Edelyn (January 2020). "The feeling of anger: From brain networks to linguistic expressions". Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 108: 480–497. doi:10.1016/j.neubiorev.2019.12.002. hdl:11568/1022610. PMID 31809773.
  3. "Anger definition". Medicine.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-23. สืบค้นเมื่อ 2008-04-05.
  4. Harris, W., Schoenfeld, C.D., Gwynne, P.W., Weissler, A.M.,Circulatory and humoral responses to fear and anger, The Physiologist, 1964, 7, 155.
  5. Raymond DiGiuseppe, Raymond Chip Tafrate, Understanding Anger Disorders, Oxford University Press, 2006, pp. 133–159.
  6. Michael Kent, Anger, The Oxford Dictionary of Sports Science & Medicine, Oxford University Press, ISBN 0-19-262845-3
  7. 7.0 7.1 Raymond W. Novaco, Anger, Encyclopedia of Psychology, Oxford University Press, 2000
  8. John W. Fiero, Anger, Ethics, Revised Edition, Vol 1
  9. 9.0 9.1 Simon Kemp, K.T. Strongman, Anger theory and management: A historical analysis, The American Journal of Psychology, Vol. 108, No. 3. (Autumn, 1995), pp. 397–417

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

หนังสือ

[แก้]

บทความ

[แก้]