ทฤษฎีจิต
ทฤษฎีจิต (อังกฤษ: Theory of mind, มักจะย่อว่า "ToM") เป็นความสามารถในการจัดเอาสภาพจิต เช่นความเชื่อ ความตั้งใจ ความต้องการ การเล่นบทบาท (role-playing) ความรู้ ว่าเป็นของตนหรือของผู้อื่น และในการเข้าใจว่า คนอื่น ๆ มีความเชื่อ ความต้องการ และความตั้งใจเป็นต้น ที่ต่างกับของตน[1] ความบกพร่องของสมรรถภาพนี้จะเกิดกับคนไข้โรคออทิซึม (autism spectrum disorder) โรคจิตเภท โรคสมาธิสั้น[2] และในบุคคลที่เกิดพิษต่อประสาท (neurotoxicity) จากการเสพสุรา[3] แม้จะมีแนวคิดทางปรัชญาที่สามารถอธิบายเรื่องนี้ได้ แต่ทฤษฎีจิตก็เป็นประเด็นการศึกษาต่างหากกับปรัชญาจิต (philosophy of mind)
นิยาม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ทฤษฎีจิตเรียกว่าเป็น "ทฤษฎี" เพราะว่า จิตไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง[1] การสมมุติว่าคนอื่นมีจิต เรียกว่า "ทฤษฎีจิต " ก็เพราะว่า แม้ว่าเราจะรู้โดยรู้เอง (intuition) ว่า ตัวเราเองมีจิต โดยผ่านกระบวนการพินิจภายใน (introspection) แต่ไม่มีใครที่สามารถเข้าถึงสภาพจิตใจของคนอื่นได้โดยตรง เราจึงต้องสมมุติว่าคนอื่นมีจิตเหมือนกับเรา โดยอาศัยเหตุต่าง ๆ คือ พฤติกรรมที่มีร่วมกันในสังคม[4] การใช้ภาษา[5] และความเข้าใจถึงอารมณ์และการกระทำของผู้อื่น[6] การมีทฤษฎีจิตทำให้เราสามารถยกความคิด ความต้องการ ความต้องใจ ว่าเป็นของผู้อื่น สามารถพยากรณ์และอธิบายการกระทำของผู้อื่น และสามารถเข้าใจถึงความตั้งใจของคนอื่นได้ นิยามดั้งเดิมก็คือ ทฤษฎีจิตทำให้เราสามารถเข้าใจว่า สภาพจิตอาจเป็นเหตุพฤติกรรมของผู้อื่น และดังนั้น จึงทำให้เราสามารถพยากรณ์และอธิบายพฤติกรรมของผู้อื่นได้[1] ความสามารถในการยกสภาพจิตว่าเป็นของผู้อื่น และในการเข้าใจว่าสภาพจิตนั้นเป็นเหตุของพฤติกรรม เป็นตัวชี้บ่งโดยส่วนหนึ่งว่า เราต้องเข้าใจว่าจิตเป็น "ตัวสร้างตัวแทนทางใจ" (generator of representations)[7][8][9] การมีทฤษฎีจิตที่ไม่สมบูรณ์ อาจจะเป็นอาการของความเสียหายทางประชาน หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงพัฒนาการ
ทฤษฎีจิตดูเหมือนจะเป็นความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่เป็นความสามารถที่ต้องอาศัยประสบการณ์ทางสังคมและประสบการณ์อื่น ๆ ที่ต้องพัฒนาเป็นช่วงเวลาหลายปีก่อนที่จะสมบูรณ์ แต่ละบุคคลอาจจะมีทฤษฎีจิตที่มีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน ส่วนแนวคิดเรื่องการเห็นใจผู้อื่น (Empathy) เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน เป็นการรู้จำและเข้าใจสภาพจิตของคนอื่น รวมทั้งความเชื่อ ความต้องการ และโดยเฉพาะอารมณ์ ซึ่งบางครั้งเรียกว่าเป็นความสามารถที่จะ "เอาใจเราไปใส่ใจเขา" งานทดลองทางพฤติกรรมวิทยาในสัตว์เมื่อปี ค.ศ. 2007 ดูเหมือนจะบอกว่า แม้แต่สัตว์ฟันแทะ (เช่นหนู) ก็อาจจะมีความเห็นใจผู้อื่นและความรู้สึกผิดชอบชั่วดี[10] ส่วนทฤษฎีทางประชานอย่างหนึ่งคือ "Neo-Piagetian theories of cognitive development" ซึ่งเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางประชานที่ต่อยอดแก้ไขทฤษฎีของฌ็อง ปียาแฌ กำหนดว่า ทฤษฎีจิตเป็นผลพลอยได้ของความสามารถทางประชาน ที่จะบันทึก ตรวจสอบ และแสดงการทำงานของตน[11]
การตรวจสอบโดยหลักฐาน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความบกพร่อง
[แก้]ความบกพร่องของ ToM หมายถึงความยากลำบากในการมองจากมุมมองของผู้อื่น ซึ่งบางครั้งเรียกว่า mind-blindness (การบอดจิต)[12] ผู้มีความบกพร่องอาจจะมีปัญหาในการเข้าใจความตั้งใจของคนอื่น ในการเข้าใจว่าพฤติกรรมของตนมีผลต่อผู้อื่นอย่างไร และในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น[13] ความบกพร่องของ ToM พบแล้วในคนไข้โรคออทิซึม (autism spectrum disorder) โรคจิตเภท โรคสมาธิสั้น[2] ในบุคคลที่เกิดพิษต่อประสาท (neurotoxicity) จากการเสพสุรา[3] ในบุคคลที่นอนไม่พอ และในบุคคลที่กำลังประสบความเจ็บปวดทางกายหรือทางใจ
ออทิซึม
[แก้]ในปี ค.ศ. 1985 มีงานวิจัยที่แสดงว่า เด็กที่มีโรคออทิซึมไม่ใช้ทฤษฎีจิต[4] ซึ่งแสดงว่า เด็กโรคออทิซึมมีปัญหาในการทำงานที่ต้องเข้าใจความเชื่อของคนอื่น ปัญหาเหล่านี้ก็ยังมีอยู่แม้เมื่อเทียบกับเด็กปกติที่มีความสามารถในการสื่อสารเท่า ๆ กัน[14] และตั้งแต่นั้น การไม่ใช้ทฤษฎีจิตก็ได้มาเป็นตัวกำหนดอย่างหนึ่งของโรคออทิซึม
คนไข้ที่วินิจฉัยว่ามีโรคออทิซึม มีปัญหาอย่างรุนแรงในการเข้าใจสภาพจิตใจของคนอื่น และดูเหมือนจะขาดสมรรถภาพต่าง ๆ ของทฤษฎีจิต[4] นักวิจัยในประเด็นนี้ได้พยายามศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีจิตและโรคออทิซึม พวกหนึ่งสมมุติว่า ทฤษฎีจิตมีบทบาทในการเข้าใจจิตของผู้อื่น และในการเล่นสมมุติของเด็ก ๆ[15] ตามนักวิชาการพวกนี้ ทฤษฎีจิตเป็นสมรรถภาพในการสร้างตัวแทนทางจิตเกี่ยวกับความคิด ความเชื่อ และความต้องการ ไม่ว่าจะในเรื่องจริงหรือเรื่องสมมุติ ซึ่งสามารถอธิบายว่า ทำไมเด็กโรคออทิซึมจึงมีความบกพร่องอย่างรุนแรงทั้งในทฤษฎีจิตและในการเล่นสมมุติ
แต่ว่า ก็มีนักวิชาการอีกท่านหนึ่งที่ใช้คำอธิบายโดยอารมณ์ความรู้สึกทางสังคม[16] คือเสนอว่า คนไข้โรคออทิซึมมีความบกพร่องของทฤษฎีจิตที่มีผลมาจากความบิดเบือนในการเข้าใจและการตอบสนองต่ออารมณ์ เขาเสนอว่า มนุษย์ที่มีพัฒนาการปกติจะไม่เหมือนกับคนไข้โรคออทิซึม คือจะเกิดมาพร้อมกับทักษะต่าง ๆ ทางสังคม ที่ทำให้สามารถเข้าใจและตอบสนองต่อความรู้สึกของผู้อื่นเมื่อถึงวัยที่สมควรได้ ส่วนนักวิชาการท่านอื่นเน้นว่า โรคออทิซึมเป็นความล่าช้าทางพัฒนาการเฉพาะอย่าง ดังนั้นเด็กที่มีปัญหาจะมีความบกพร่องต่าง ๆ กัน เพราะว่า มีปัญหาต่าง ๆ กันในช่วงพัฒนาการที่ต่าง ๆ กัน เช่น การมีปัญหาตั้งแต่ต้น ๆ สามารถทำพฤติกรรมแบบ joint-attention ให้เสียหาย ซึ่งอาจนำไปสู่ความล้มเหลวในการเกิดทฤษฎีจิตแบบสมบูรณ์[4]
มีการเสนอว่า ToM มีความเป็นไปเป็นลำดับ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การมีหรือไม่มีดังที่คิดกันมาตั้งแต่เดิม ๆ[15] แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่แสดงว่า คนไข้โรคออทิซึมบางพวกไม่สามารถเข้าใจเรื่องจิตใจของคนอื่น ๆ[4] แต่ก็ปรากฏหลักฐานเมื่อปี ค.ศ. 2006 ที่ชี้ว่า มีวิธีการบริหารบางอย่างที่ช่วยเตือนสติเพื่อให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม[17] นอกจากนั้นแล้ว มีงานวิจัยที่แสดงว่า เด็กที่มีโรคออทิซึมทำคะแนนในการทดสอบทฤษฎีจิต ได้ต่ำกว่าเด็กที่มีกลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์[18]
พิษสุรา
[แก้]ความมีความเสียหายในเรื่องทฤษฎีจิต และความบกพร่องของประชานทางสังคมประเภทอื่น ๆ เป็นเรื่องสามัญในบุคคลที่มีโรคพิษสุรา (alcoholism) เพราะความเป็นพิษต่อระบบประสาท (neurotoxicity) โดยเฉพาะในส่วนคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex)[3]
กลไกทางสมอง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สัตว์อื่นนอกจากมนุษย์
[แก้]คำถามที่ยังไม่มีคำตอบอย่างหนึ่งก็คือว่า มีสัตว์อื่นหรือไม่นอกจากมนุษย์ที่มีความสามารถตามกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมทางสังคม ที่ทำให้มีทฤษฎีจิตแบบเดียวกับเด็กมนุษย์[1] นี่เป็นเรื่องที่ยากที่จะหาข้อยุติเพราะเหตุปัญหาการอนุมานจากพฤติกรรมสัตว์ว่ามีความคิดบางอย่าง มีความคิดว่าตน (self concept) หรือมีความสำนึกตน (self-awareness) บ้างหรือไม่ ความยากลำบากเกี่ยวกับการศึกษา ToM ในสัตว์ก็คือไม่มีข้อมูลจากการสังเกตการณ์ตามธรรมชาติเพียงพอ ที่จะให้ความเข้าใจว่า ความกดดันทางวิวัฒนาการอะไรเป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาทฤษฎีจิตในสปีชีส์นั้น ๆ
แต่งานวิจัยในสัตว์ก็ยังมีความสำคัญต่อสาขาวิชานี้ เพราะว่า อาจจะช่วยแสดงว่าพฤติกรรมที่ไม่ใช้วาจาอะไรที่สามารถชี้องค์ประกอบของทฤษฎีจิต และช่วยชี้ขั้นตอนในกระบวนการวิวัฒนาการของทฤษฎีจิต ที่นักวิชาการเป็นจำนวนมากอ้างว่าเป็นประชานทางสังคมที่มีเฉพาะในมนุษย์ แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะศึกษาทฤษฎีจิตที่มีในมนุษย์ในสัตว์ และที่จะศึกษาสภาพจิตใจของสัตว์ที่เราไม่มีความเข้าใจเรื่องสภาพจิตที่ดี นักวิจัยก็ยังสามารถเล็งความสนใจไปที่องค์ประกอบง่าย ๆ ของความสามารถซับซ้อนที่มีในมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยหลายท่านได้ตรวจสอบความเข้าใจของสัตว์เกี่ยวกับความตั้งใจ การมอง มุมมอง หรือความรู้ (คือความเข้าใจว่าสัตว์อื่นได้เห็นอะไร)
มีงานวิจัยที่ตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับความตั้งใจในลิงอุรังอุตัง ลิงชิมแปนซี และเด็กมนุษย์ที่พบว่า สัตว์ทั้งสามสปีชีส์ล้วนแต่เข้าใจความแตกต่างกันระหว่างเหตุการณ์ที่ทำโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ แต่ความยากลำบากอย่างหนึ่งในงานวิจัยประเภทนี้ก็คือว่า ปรากฏการณ์ที่สังเกตได้สามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพียงการเรียนรู้แบบสิ่งเร้า-ปฏิกิริยา (stimulus-response learning) แบบง่าย ๆ ซึ่งเป็นความยากลำบากที่เหมือนกับสถานการณ์ตามธรรมชาติจริง ๆ ของสัตว์ที่มีทฤษฎีจิต (เช่นมนุษย์) ที่จะต้องอนุมานว่า สัตว์อื่น (เช่นคนอื่น) มีสภาพจิตอะไรบางอย่างภายในจริง ๆ หรือไม่ โดยเพียงอาศัยการสังเกตพฤติกรรมภายนอกเพียงเท่านั้น (คือไม่ใช่เป็นเพียงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้แบบสิ่งเร้า-ปฏิกิริยา) ในเร็ว ๆ นี้ งานวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีจิตในสัตว์มักจะเป็นไปในลิงและลิงใหญ่ เพราะว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาวิวัฒนาการของประชานทางสังคม (social cognition) ในมนุษย์ แต่ก็มีงานวิจัยอื่น ๆ ที่ใช้นกหัวโตวงศ์ย่อย Charadriinae[19] และสุนัข[20] เป็นสัตว์ทดลอง และได้แสดงหลักฐานเบื้องต้นของความเข้าใจการใส่ใจของสัตว์อื่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีจิตอย่างหนึ่ง
แต่ว่าก็มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับการตีความหลักฐานต่าง ๆ ว่า เป็นการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน ว่าสัตว์อื่นมีทฤษฎีจิต[21] มีตัวอย่างที่เห็นได้คือ ในปี ค.ศ. 1990 มีงานวิจัย[22] ที่แสดงผู้ทำการทดลองสองคนให้ลิงชิมแปนซีเห็นเพื่อที่จะขออาหาร คนหนึ่งจะเห็นว่าอาหารซ่อนอยู่ที่ไหน อีกคนหนึ่งจะไม่เห็นเพราะเหตุต่าง ๆ (เช่นมีถังหรือถุงครอบศีรษะ มีอะไรปิดตาอยู่ หรือว่าหันไปทางอื่น) ดังนั้นจะไม่รู้ว่าอาหารอยู่ที่ไหนและจะได้แต่เดาเท่านั้น นักวิจัยพบว่า ลิงไม่สามารถแยกแยะผู้ที่รู้ว่าอาหารอยู่ที่ไหนเพื่อที่จะขอให้ถูกคน แต่อีกงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 2001[23] พบว่า ลิงชิมแปนซีที่เป็นรองสามารถใช้ความรู้ของลิงชิมแปนซีคู่แข่งที่เป็นใหญ่ในการกำหนดว่า ที่เก็บอาหารไหนที่ลิงที่เป็นใหญ่ได้เข้าไปตรวจสอบ และก็มีนักวิจัยอื่น ๆ ที่ไม่สงสัยเลยว่า ลิงโบโนโบ (ลิงชิมแปนซีประเภทหนึ่ง) มี ToM โดยอ้างการสื่อสารกับลิงโบโนโบที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่งชื่อว่า Kanzi เป็นหลักฐาน[24]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Premack, D. G.; Woodruff, G. (1978). "Does the chimpanzee have a theory of mind?". Behavioral and Brain Sciences. 1 (4): 515–526. doi:10.1017/S0140525X00076512.
- ↑ 2.0 2.1 Korkmaz, Baris (2011). "Theory of Mind and Neurodevelopmental Disorders of Childhood:". Pediatric Research. 69 (5 Part 2): 101R–108R. doi:10.1203/PDR.0b013e318212c177. ISSN 0031-3998.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Uekermann, Jennifer; Daum, Irene (2008). "Social cognition in alcoholism: a link to prefrontal cortex dysfunction?". Addiction. 103 (5): 726–735. doi:10.1111/j.1360-0443.2008.02157.x. ISSN 0965-2140.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Baron-Cohen, S. (1991). Precursors to a theory of mind: Understanding attention in others. อ้างอิงใน Whiten, A, บ.ก. (1991). Natural theories of mind: Evolution, development, and simulation of everyday mindreading. Cambridge, MA: Basil Blackwell. pp. 233–251. ISBN 9780631171942.
- ↑ Bruner, JS (1981). Intention in the structure of action and interaction. อ้างอิงโดย
Lipsitt, LP; Rovee-Collier, CK (บ.ก.). Advances in infancy research Vol. 1. Norwood, NJ: Ablex Publishing Corporation. pp. 41–56.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์) - ↑ Gordon, RM (1996). 'Radical' simulationism. อ้างอิงโดย Carruthers, P; Smith, PK (บ.ก.). Theories of theories of mind. Cambridge: Cambridge University Press.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์) - ↑ ตัวแทนทางใจ (mental representation) เป็นสัญลักษณ์ทางประชานภายในจิตใจ ที่เป็นตัวแทนความจริงของโลกภายนอก หรือว่าเป็นกระบวนการทางจิตใจที่ใช้สัญลักษณ์เช่นนี้ หรือที่มีนิยามแบบรูปนัยว่า "ระบบที่เป็นรูปนัย ใช้สร้างความชัดแจ้งให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือประเภทของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พร้อมกับการกำหนดว่าระบบนี้ทำเช่นนั้นได้อย่างไร"
- ↑ Courtin, C. (2000). "The impact of sign language on the cognitive development of deaf children: The case of theories of mind". Cognition. 77: 25–31.
- ↑ Courtin, C.; Melot, A.-M. (2005). "Metacognitive development of deaf children: Lessons from the appearance-reality and false belief tasks". Journal of Deaf Studies and Deaf Education. 5 (3): 266–276. doi:10.1093/deafed/5.3.266. PMID 15454505.
- ↑ de Waal, Franz BM (2007-06-24). "Commiserating Mice". Scientific American.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - ↑ Demetriou, A; Mouyi, A; Spanoudis, G. (2010). "The development of mental processing". และ Nesselroade, J. R. (2010). "Methods in the study of life-span human development: Issues and answers" อ้างอิงโดย Overton, WF; Lerner, RM, บ.ก. (2010). the Handbook of life-span development (Volume 1) Cognition, Biology, and methods across the life-span. Hoboken, NJ: Wiley. pp. 36–55.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์) - ↑ Moore, S. (2002). Asperger Syndrome and the Elementary School Experience. Shawnee Mission, KS: Autism Asperger Publishing Company.
- ↑ Baker, J (2003). Social Skills Training: for children and adolescents with Asperger Syndrome and Social-Communication Problems. Shawnee Mission, KS: Autism Asperger Publishing Company.
- ↑ Happe, FG (1995). "The role of age and verbal ability in the theory of mind task performance of subjects with autism". Child Development. 66 (3): 843–55. doi:10.2307/1131954. PMID 7789204.
- ↑ 15.0 15.1 Leslie, A. M. (1991). Theory of mind impairment in autism. อ้างอิงโดย Whiten, A (บ.ก.). Natural theories of mind: Evolution, development, and simulation of everyday mindreading. Cambridge, MA: Basil Blackwell. pp. 233–251.
- ↑ Hobson, RP (1995). Autism and the development of mind. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates Ltd.
- ↑ Dapretto, M.; และคณะ (2006). "Understanding emotions in others: mirror neuron dysfunction in children with autism spectrum disorders". Nature Neuroscience. 9 (1): 28–30. doi:10.1038/nn1611. PMID 16327784.
- ↑ Tine, Michele; Lucariello, Joan (2012). "Unique Theory of Mind Differentiation in Children with Autism and Asperger Syndrome". Autism Research and Treatment. 2012 (Article ID 505393): 1. doi:10.1155/2012/505393.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Ristau, C. (1991). "Chapter 6: Aspects of the cognitive ethology of an injury-feigning bird, the piping plovers". ใน Ristau, C. A. (บ.ก.). Cognitive ethology: The minds of other animals. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum. pp. 91–126.
- ↑ Horowitz, A (2009). "Attention to attention in domestic dog (Canis familiaris) dyadic play". Animal Cognition. 12: 107–118.
- ↑ Povinelli, D.J.; Vonk, Jennifer. "Chimpanzee minds: suspiciously human?".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Povinelli, D.J.; Nelson, K.E.; Boysen, S.T. (1990). "Inferences about guessing and knowing by chimpanzees (Pan troglodytes)". Journal of Comparative Psychology. 104 (3): 203–210. doi:10.1037/0735-7036.104.3.203. PMID 2225758.
- ↑ Hare, B.; Call, J.; Tomasello, M. (2001). "Do chimpanzees know what conspecifics know and do not know?". Animal Behavior. 61: 139–151. doi:10.1006/anbe.2000.1518.
- ↑ Hamilton, Jon (2006-07-08). "A Voluble Visit with Two Talking Apes". NPR. สืบค้นเมื่อ 2012-03-21.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Excerpts taken from: Davis, E. (2007) Mental Verbs in Nicaraguan Sign Language and the Role of Language in Theory of Mind. Undergraduate senior thesis, Barnard College, Columbia University.
- เว็บไซต์