ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองพัทยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Earthpanot (คุย | ส่วนร่วม)
Upgradeboy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล เทศบาล
{{Infobox settlement
<!-- ข้อมูลจำเป็น -->
<!--See Template:Infobox Settlement for additional fields that may be available-->
| เทศบาล = เมืองพัทยา
<!--See the Table at Infobox Settlement for all fields and descriptions of usage-->
| image = Pattaya beach from view point.jpg
<!-- Basic info ---------------->
| seal = Pattaya-Logo.png
|name = เมืองพัทยา
| ชื่ออังกฤษ = Pattaya City
|official_name =
<!-- ข้อมูลเสริม -->
|other_name =
| คำขวัญ = เมืองท่องเที่ยวทันสมัย หลากหลายอารยธรรม ชื่นฉ่ำเสียงดนตรี ประเพณีวันไหล มากมายการกีฬา
|native_name =
| ชื่อนายกเทศมนตรี = [[อิทธิพล คุณปลื้ม]]
|nickname =
| รหัสiso = TH-S
|settlement_type = [[เขตปกครองพิเศษ]]
| พื้นที่ = 53.4
|total_type = <!-- to set a non-standard label for total area and population rows -->
| ประชากร = 122,103
|motto =
| ความหนาแน่น = 853.78
<!-- images and maps ----------->
<!-- ข้อมูลสำนักงาน (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
|image_skyline = Montage Pattaya.jpg
| สำนักงาน = [[ศาลาว่าการเมืองพัทยา]] [[ถนนพัทยาเหนือ]] เมืองพัทยา ตำบลนาเกลือ [[อ.บางละมุง]] [[จังหวัดชลบุรี]]
|imagesize = 260px
| โทรศัพท์ =
|image_caption =
| โทรสาร =
|image_flag =
| เว็บไซต์ = http://www.pattaya.go.th www.pattaya.go.th
|flag_size =
|image_seal = Pattaya_seal.png
|seal_size =
|image_shield =
|shield_size =
|image_blank_emblem =
|blank_emblem_type =
|blank_emblem_size =
|image_map =
|mapsize =
|map_caption =
|image_map1 =
|mapsize1 =
|map_caption1 =
|image_dot_map = Bay of Bangkok.svg
|dot_mapsize = 250px
|dot_map_caption = ที่ตั้งของเมืองพัทยาบนอ่าวไทย
|dot_x = 150 |dot_y = 87
|pushpin_map = Thailand<!-- the name of a location map as per http://en.wikipedia.org/wiki/Template:Location_map -->
|pushpin_label_position = <!-- the position of the pushpin label: left, right, top, bottom, none -->
|pushpin_map_caption =
|pushpin_mapsize =
<!-- Location ------------------>
|coordinates_display = inline,title
|coordinates_region = TH
|subdivision_type = ประเทศ
|subdivision_name = [[ประเทศไทย|ไทย]]
|subdivision_type1 = จังหวัด
|subdivision_name1 = [[จังหวัดชลบุรี|ชลบุรี]]
|subdivision_type2 = เมือง
|subdivision_name2 = เมืองพัทยา
<!-- Smaller parts (e.g. boroughs of a city) and seat of government -->
|seat_type =
|seat =
|parts_type =
|parts_style = <!-- =list (for list), coll (for collapsed list), para (for paragraph format)
Default is list if up to 5 items, coll if more than 5-->
|parts = <!-- parts text, or header for parts list -->
|p1 =
|p2 = <!-- etc. up to p50: for separate parts to be listed-->
<!-- Politics ----------------->
|government_footnotes =
|government_type = เทศบาลบริหารตัวเอง
|leader_title = นายกเทศมนตรี
|leader_name = [[อิทธิพล คุณปลื้ม]]
|leader_title1 = <!-- for places with, say, both a mayor and a city manager -->
|leader_name1 =
|established_title = <!-- Settled -->
|established_date =
<!-- Area --------------------->
|area_magnitude =
|unit_pref = <!--Enter: Imperial, to display imperial before metric-->
|area_footnotes =
|area_total_km2 = 22.2<!-- ALL fields with measurements are subject to automatic unit conversion-->
|area_land_km2 = <!--See table @ Template:Infobox Settlement for details on unit conversion-->
|area_water_km2 =
|area_total_sq_mi =
|area_land_sq_mi =
|area_water_sq_mi =
|area_water_percent =
<!-- Elevation -------------------------->
|elevation_footnotes = <!--for references: use<ref> </ref> tags-->
|elevation_m =
|elevation_ft =
|elevation_max_m =
|elevation_max_ft =
|elevation_min_m =
|elevation_min_ft =
<!-- Population ----------------------->
|population_as_of = 2007
|population_footnotes =<ref name="2007 population">{{cite web |url=http://www.pattaya.go.th/app/thai/webportal/index.php?option=com_content&task=view&id=117&Itemid=51|title=Pattaya population statistic according to residents registration 1997–2007 (Thai only) |accessdate=29 November 2007 |publisher=Pattaya City Registrar Office }}</ref>
|population_note = Registered residents only
|population_total = 104318
|population_density_km2 = auto<!--For automatic calculation, any density field may contain: auto -->
|population_density_sq_mi =
<!-- General information --------------->
|timezone = Thailand
|utc_offset = +7
|timezone_DST =
|utc_offset_DST =
|coor_type = <!-- can be used to specify what the coordinates refer to -->
|latd=12 |latm=55 |lats=39 |latNS=N
|longd=100 |longm=52 |longs=31 |longEW=E
<!-- Area/postal codes & others -------->
|postal_code_type = <!-- enter ZIP code, Postcode, Post code, Postal code... -->
|postal_code =
|area_code =
|blank_name = [[ISO 3166-2:TH|ISO 3166-2]]
|blank_info = TH-S
|website = [http://www.pattaya.go.th/ www.pattaya.go.th]
|footnotes =
}}
}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:58, 30 ธันวาคม 2557

เมืองพัทยา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Pattaya City
ตราอย่างเป็นทางการของเมืองพัทยา
ตรา
คำขวัญ: 
เมืองท่องเที่ยวทันสมัย หลากหลายอารยธรรม ชื่นฉ่ำเสียงดนตรี ประเพณีวันไหล มากมายการกีฬา
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีอิทธิพล คุณปลื้ม
พื้นที่
 • ทั้งหมด53.4 ตร.กม. (20.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด122,103 คน
 • ความหนาแน่น853.78 คน/ตร.กม. (2,211.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
ศาลาว่าการเมืองพัทยา ถนนพัทยาเหนือ เมืองพัทยา ตำบลนาเกลือ อ.บางละมุง จังหวัดชลบุรี
เว็บไซต์http://www.pattaya.go.th www.pattaya.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษแห่งหนึ่ง ในเขตจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีระดับเทียบเท่าเทศบาลนคร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521[1] เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีหาดทรายและชายทะเล ซึ่งมีชื่อเสียงระดับนานาชาติ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 140 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเล ทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย โดยแบ่งส่วนภายในของเมืองเป็น 4 ส่วนได้แก่ พัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ และหาดจอมเทียน มีรหัสมาตรฐานไอเอสโอ 3166-2 คือ TH-S

ปัจจุบัน มีแผนการเสนอชื่อเมืองพัทยาต่อยูเนสโก ให้เป็นเมืองภาพยนตร์ เนื่องด้วยมีการถ่ายทำภาพยนตร์ไม่น้อยกว่า 300 เรื่องต่อปี และรายได้ร้อยละ 90 มาจากการท่องเที่ยว[2]

ประวัติเมืองพัทยา

เริ่มรู้จักกันจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า 3 เดือน พระยาตาก (สิน) ขณะนั้นยังเป็นพระยากำแพงเพชร ลงความเห็นว่า หากกรุงศรีอยุธยายังต่อสู้กับพม่าอย่างอ่อนแอเช่นนี้ ต่อไปจะต้องสูญเสียกรุงให้พม่าอย่างแน่นอน พระยากำแพงเพชรจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกออกไปตั้งหลักใหม่ ให้มีกำลังทัพเข้มแข็งขึ้นค่อยกลับมากู้กรุงคืน พระยากำแพงเพชรได้เริ่มเคลื่อนทัพออกจากค่ายวัดพิชัยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สู้พลางร่นถอยหนีการตามล่า ของทหารพม่าไปพลาง จนกระทั่งเลยเข้าแขวงเมืองชลบุรี พระยากำแพงเพชรหยุดพักทัพที่บริเวณหน้าวัดใหญ่อินทารามในปัจจุบัน แล้วเดินทัพมุ่งตรงไปยังจันทบุรี ระหว่างทางได้พักที่บ้านหนองไผ่ ตำบลนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง ปัจจุบันอยู่ด้านหลังสถานีตำรวจภูธรพัทยา

ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเล่ม 2 กล่าวเอาไว้ว่า ขณะที่ นายกลม เป็นนายชุมนุมคุมไพร่ พลอยู่ที่นั่น ตั้งทัพคอยสกัดคิดจะต่อรองพระยากำแพงเพชรในตอนนั้นขึ้นช้างพลายถือปืนนกสับรางแดงพร้อม ด้วยพลทหารที่ร่วมเดินทางมาแห่ล้อมหน้าหลัง ตรงเข้าไปในระหว่างพวกพลนายกลมมาสกัดอยู่ ด้วยเดชะบารมีบันดาลให้นายกลมเกิดเกรงกลัวพระเดชานุภาพวางอาวุธสิ้น พาพรรคพวกพลเข้าร่วมกองทัพกับพระยากำแพง เพชร จากนั้นพระยากำแพงเพชรก็นำทัพไปหยุดประทับ ณ สถานที่ที่มีหนองน้ำครั้งรุ่งขึ้น หรือวันอังคารแรม 6 ค่ำ เดือนยี่

นายกลมจึงนำไพร่พลหมี่นหนึ่งนำทัพไปถึง ณ ตำบลหนึ่ง และหยุดพักเสียหนึ่งคืน วันต่อมาจึงเดินทัพมาถึง นาจอมเทียนและทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ โดยหยุดพักแรมแห่งละคืน ต่อมาชาวบ้านก็เรียกตำบลนี้ว่า ทัพพระยา และเปลี่ยนมาเรียกใหม่ พัทธยา เนื่องจากเห็นว่าตรงบริเวณที่พระยาตากมาตั้งทัพนั้นทำเลดี และมีลมทะเลชื่อ ลมพัทธยา ซึ่งก็คือลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝน จึงเรียกสถานที่ แห่งนี้ว่า หมู่บ้านพัทธยา ต่อมาปัจจุบันคำว่า พัทธยา ได้เขียนใหม่เป็น พัทยา[3]

อีกเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้พัทยาเป็นที่รู้จักไปทั่ว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2502 เมื่อมีรถบรรทุกขนาดใหญ่ของทหารอเมริกันประมาณ 4-5 คัน บรรทุกทหารเต็มคันรถ ประมาณคันละ 100 คน จากจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งที่นั่นมีฐานทัพของทหารอเมริกันอยู่ มุ่งมาสู่พัทยา และมาเช่าบ้านตากอากาศของพระยาสุนทร บริเวณตอนใต้ของหาด โดยผลัดกันมาพักผ่อนเป็นงวด งวดละสัปดาห์ จากพฤติกรรมของทหารอเมริกันเช่นนี้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นการท่องเที่ยวเมืองพัทยาตอนนี้เอง จากสภาพหมู่บ้านชายทะเลที่เงียบสงบ ก็พลันเปลี่ยนกลับกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศ

ในเวลาต่อมา หมู่บ้านพัทยาก็ถูกพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ในระดับนานาชาติ เป็นที่รู้จักไปทั่วทุกมุมโลก อย่างเช่นปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

ท้องที่เมืองพัทยาครอบคลุมพื้นที่ตำบลและหมู่บ้าน (ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่) ดังต่อไปนี้[4]

  • ตำบลหนองปรือ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 5, 6, 9-13
  • ตำบลห้วยใหญ่ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 4
  • ตำบลหนองปลาไหล เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 6-8
  • ตำบลนาเกลือ หมู่ที่ 1-7 (ทั้งตำบล; หมู่ที่ 7 ได้แก่เกาะล้าน)

โดยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 208.10 ตารางกิโลเมตร (130,062.50 ไร่)

  • พื้นดิน (รวมเกาะล้าน) 53.44 ตารางกิโลเมตร (33,400 ไร่)
  • พื้นน้ำ 154.66 ตารางกิโลเมตร (96,662.50 ไร่)
  • เกาะล้าน 4.07 ตารางกิโลเมตร (2,543.75 ไร่)

การปกครอง

ประชาชนสามารถทำการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

รายนามนายกเมืองพัทยา

การได้มาซึ่งนายกเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยา เป็น ผู้บริหารท้องถิ่น ที่มาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง จากประชาชน มีรายนามดังต่อไปนี้[5]

นายกเมืองพัทยา
รายนามนายกเมืองพัทยา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พลเรือเอกสถาปน์ เกยานนท์ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523
2. นายอนุศักดิ์ รอดบุญมี 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528
3. นายโสภณ เพ็ชรตระกูล 26 มีนาคม พ.ศ. 2528 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2536
4. นายสุชัย รวยริน 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2534
5. นายอนุพงษ์ อุดมรัตน์กูลชัย 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
6. นายไพรัช สุทธิธำรงสวัสดิ์ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
7. นายนิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร 27 มีนาคม พ.ศ. 2547 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551
8. นายอิทธิพล คุณปลื้ม 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน

ชุมชนในเขตเมืองพัทยา

ชุมชนในเขตเมืองพัทยา
ชุมชน ประธานชุมชน
1. ชุมชนกระทิงลาย นายจีรศักดิ์ กิตติศักดิ์บ้านบึง
2. ชุมชนเกาะล้าน นายบุญเชิด บุญยิ่ง
3. ชุมชนเขาตาโล นายสมเกียรติ เดชไพบูลย์
4. ชุมชนเขาน้อย นายเฉลย เถื่อนชู
5. ชุมชนซอยกอไผ่ นายวิรัตน์ จ้อยจินดา
6. ชุมชนหนองอ้อ นายพนม เหรียญปรีชา
7. ชุมชนซอยไปรษณีย์ นางพิกุล สมนวล
8. ชุมชนซอย 5 ธันวา นายสุรินทร์ ยิ้มใย
9. ชุมชนซอย 6 ยศศักดิ์ นายไกรภพ อุ้นวุ้น
10. ชุมชนตลาดเก่านาเกลือ นายวิโรจน์ จั่นเพ็ชร
11. ชุมชนเทพประสิทธิ์ นายฉ่อง ยิ้มสวน
12. ชุมชนทัพพระยา นายปรีชา ค้าขาย
13. ชุมชนบ้านหัวทุ่ง นายบุญธรรม โพธิ์สุวรรณ
14. ชุมชนพัทยากลาง นายสอาด โต๊ะมุดบำรุง
15. ชุมชนโพธิสัมพันธ์ นายอนุวรรตน์ ศรีประพันธ์
16. ชุมชนรุ่งเรือง นายชุมศักดิ์ อ้นสุวรรณ
17. ชุมชนร้อยหลัง นายสวงค์ หินแก้ว
18. ชุมชนลานโพธิ์ นายสันติ คลองน้อย
19. ชุมชนวัดชัยมงคล นางละเมียด อรุณแสง
20. ชุมชนวัดช่องลม นายคนึง นักสกิด
21. ชุมชนวัดธรรมสามัคคี นางศรีไพร ใจดี
22. ชุมชนวัดบุณย์กัญจนาราม นายสุจินต์ หนองใหญ่
23. ชุมชนต้นกระบก นายชาลี เอี่ยมอร่าม
24. ชุมชนบ้านโรงไม้ขีด นายบุญมา ฝังรัก
25. ชุมชนหนองตะแบก นายเสนาะ เขียวเพ็ชร
26. ชุมชนหนองพังแค นายจำเนียร ภิรมย์อ้น
27. ชุมชนวอล์คกิ้งสตรีท นายเมธากฤษฎิ์ สุนทรส
28. ชุมชนเจริญสุขพัฒนา นายสมทรง ตาสี
29. ชุมชนบ้านเนินทางรถไฟ นายมนูญ วงษ์เสนา
30. ชุมชนบ้านกระบก 33 นายวิรัตน์ วงษ์เจริญ
31. ชุมชนชุมสาย นายจิรวัฒน์ ปลุกใจ
32. ชุมชนพัทยาใต้พัฒนา นายอัศนัย ตันเฮง
33. ชุมชนชัยพรวิถี นายธนัท ศุภพลทองโชติ
34. ชุมชนหนองใหญ่บ้านบน นางปั้นหยี ทองนาค
35. ชุมชนหนองใหญ่บ้านล่าง นายณรงค์ ธวัชศักดิ์
36. ชุมชนพัทยาเหนือ นายเจริญ อ่วมจันทร์
37. ชุมชนอรุโณทัย นางอรวรรณ สุขอนันต์วงศ์
38. ชุมชนชัยพฤกษ์ นางสำรวย ช่างไม้
39. ชุมชนมาบประดู่ นางสุภาพร สันป่าแก้ว
40. ชุมชนแหลมราชเวช (Laemrachvate Community) นายทศพล สิริวัฒนไพโรจน์
41. ชุมชนบงกช นางสตกร สัณหธนัง

สภาพอากาศ

  • ฤดูหนาว (เดือน พฤศจิกายน ถึง เดือน กุมภาพันธ์) - มีฝนตกปรอยๆ เป็นช่วงสั้นๆ ( เรียกว่า ฝนชะช่อมะม่วง) อากาศชื้นราว50% อุณหภูมิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่อากาศดี เหมาะแก่การท่องเที่ยว และแนะนำผู้มาเยือนให้มา ในช่วงฤดูกาลนี้
  • ฤดูร้อน (เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เดือน พฤษภาคม) - มีฝนตกเป็นบางโอกาส อากาศชื้นประมาณ 75% อุณหภูมิประมาณ 30-40 องศาเซลเซียส ระวังพายุ ฟ้าคะนอง
  • ฤดูฝน (เดือน มิถุนายน ถึง เดือน ตุลาคม) - เป็นฤดูที่มีฝนติดต่อกันยาวนาน ประมาณ 90 % อุณหภูมิประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส
ข้อมูลภูมิอากาศของเมืองพัทยา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.4
(86.7)
30.6
(87.1)
31.5
(88.7)
32.7
(90.9)
32.1
(89.8)
31.3
(88.3)
31.1
(88)
31.0
(87.8)
30.9
(87.6)
30.7
(87.3)
30.4
(86.7)
29.7
(85.5)
31.0
(87.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.6
(72.7)
24.5
(76.1)
25.4
(77.7)
26.4
(79.5)
26.4
(79.5)
26.5
(79.7)
26.0
(78.8)
26.1
(79)
25.1
(77.2)
24.3
(75.7)
23.4
(74.1)
21.6
(70.9)
24.9
(76.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 19.1
(0.752)
13.5
(0.531)
52.3
(2.059)
67.3
(2.65)
176.6
(6.953)
79.4
(3.126)
76.8
(3.024)
90.5
(3.563)
201.8
(7.945)
249.4
(9.819)
133.6
(5.26)
4.1
(0.161)
1,164.4
(45.843)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 1 3 4 6 12 11 11 12 17 18 10 1 106
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department

สถานที่ท่องเที่ยว

หาดพัทยา
ถนนพัทยาสายสอง (ย่านพัทยาเหนือ)
ละครใบ้บนถนน วอล์คกิ้ง สตรีท

เมืองพัทยา เป็นพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน[6]

พัทยาเหนือ

บริเวณพัทยาเหนือในอดีตเคยเป็นแหล่งชุมชนและอุตสาหกรรมมาก่อน อาชีพหลักของผู้คนแถบนี้คือ การทำนาเกลือและการประมง จึงทำให้มีบรรยากาศของความเก่าแก่หลงเหลืออยู่ บ้านเรือนโบราณ การเป็นอยู่แบบเรียบง่ายตลอดถนนสายนาเกลือ-พัทยา จนถึงบริเวณวงเวียนปลาโลมาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนเลียบชายหาดซึ่งยาวไปจนถึงพัทยาใต้ ในส่วนของพัทยาเหนือนี้แตกต่างจากบริเวณนาเกลือ โรงแรม บ้านพัก สถานบันเทิง ร้านอาหาร ถูกสร้างขึ้นมากมายริมถนนเลียบชายหาด อีกทั้งสามารถเดินเล่นไปตามทางเท้าริมถนนเลียบชายหาดได้อีกด้วย

พัทยาเหนือมีสถานน่าสนใจมากมาย เช่น ทิฟฟานี่โชว์ อัลคาร์ซ่าคาบาเร่ต์ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการซื้ออาหารทะเลสดๆและแปลกๆสามารถมาหาซื้อได้ที่ตลาดนาเกลือ และนอกจากนี้ ย่านตลาดนาเกลือยังได้รับการจัดให้เป็นย่านชุมชนโบราณอีกด้วย

พัทยากลาง

พัทยากลางนั้นโรงแรมส่วนมากจะมีขนาดไม่ใหญ่มากแต่จะได้พบกับบาร์เบียร์ ร้านขายเสื้อผ้า และบาร์อะโกโก้มากมาย บริเวณถนนเลียบชายหาดมีสถานีตำตำรวจพัทยาและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รวมถึงห้างสรรพสินค้าอาทิ รอยัลการ์เด้น พลาซ่าห้างไมค์ชอปปิ้งมอลล์ และเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าริมหาดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน[ต้องการอ้างอิง]

พัทยาใต้

พัทยาใต้โค้งมากจากถนนเลียบชายหาด แถบนี้ถูกเรียกว่า วอล์คกิ้ง สตรีท เขตเดินเท้าบริเวณนี้มีร้านค้าเล็กๆ มากมาย ซึ่งบริการ ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายเครื่องกีฬา ร้านขายเครื่องประดับ และร้านขายของที่ระลึก ที่นี่ยังมีบาร์มากกมาย และยังมีร้านอาหารทะเล ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างยื่นลงไปในทะเลเพื่อเพิ่มบรรยากาศในการรับประทานอาหาร พัทยาใต้นั้นดูวุ่นวายกว่าส่วนอื่นๆ ของเมืองพัทยา ถนนอัฐจินดา สัญลักษณ์ของเขตแดนเมืองพัทยาใต้ เมื่อเดินไปตามซอยเล็ก ๆ ซึ่งจะนำทางสู่ถนนพระตำหนักซึ่งเป็นด้านหลังของพัทยาและนำไปสู่ ถนนพัทยาสายสอง

หาดจอมเทียน

หาดจอมเทียน ความยาว 6 กิโลเมตรของหาดจอมเทียนถูกแบ่ง จากส่วนอื่นๆในเมืองพัทยาด้วยเนินเขาด้านหลังของพัทยาใต้ เมื่อขับรถผ่านเนินเขา และผ่านพระพุทธรูปใหญ่ก็จะลงมาสู่หาดที่ค่อนข้างเงียบ ชายหาดนี้เป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของกีฬาทางน้ำ เนื่องจากพื้นที่แถวนี้มีอากาศที่บริสุทธิ์ ซึ่งถูกพัดมาจากอ่าวไทย และทะเลที่หาดนี้ยังมีความ คับคั่งของเรือน้อยกว่าที่อ่าวพัทยานอกจากนี้หาดจอมเทียนยังเป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจโดยการอาบแดด นอกจากนี้หาดจอมเทียนยังมีทางเล็กๆ ซึ่งมีแหล่งช็อปปิ้ง บาร์เบียร์ และยังมีโรงแรมที่มีหาดส่วนตัว บังกะโลคอมเพล็กซ์ คอนโดมิเนียม และร้านอาหาร

สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

โรงละคร ไทย "อลังการ พัทยา ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิทสายหลัก จากพัทยาใต้ มุ่งสู่สัตหีบ อลังการอยู่ซ้ายมือก่อนถึงโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ จอมเทียน นำเสนอการแสดงความเป็นไทยรูปแบบใหม่ ที่เป็นการส่งเสริมคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แสดงในโรงละครขนาดความจุ 2,000 ที่นั่ง เปิดแสดงทุกวัน (ปิดวันพุธ) แสดงรอบปกติเวลา 18.00 น.

เกาะล้าน

เกาะล้าน อยู่ห่างชายฝั่งพัทยา 7 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร มีชายหาดที่สวยงามหลายแห่ง ส่วนใหญ่คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวที่มาเล่นน้ำ ดูปะการัง เล่นกีฬาทางน้ำ เช่น เรือลากร่มชูชีพ เรือสกี สกู๊ดเตอร์ โดยเฉพาะที่หาดตาแหวน หาดทองหลาง หาดนวล และหาดเทียน ส่วนหาดแสมบรรยากาศเงียบสงบกว่าหาดอื่น บริเวณเกาะล้าน และเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่รอบ ๆ เช่น เกาะครก และเกาะสากเป็นแหล่งตกปลาดำน้ำดูปะการัง ทั้งแบบน้ำลึกและน้ำตื้น และเป็นสถานที่ฝึกหัดเรียนดำน้ำ

เกาะครก

เกาะครกเป็นเกาะเล็กๆ ตั้งอยู่ในพื้นที่ทะเลของพัทยา อยู่ห่างจากฝั่งพัทยาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กม. เกาะครกมีที่พักเป็นรีสอร์ทของเอกชน สภาพโดยรอบเกาะเป็นโขดหิน มีหาดทรายอยู่เพียงหาดเดียว อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ คือ หาดเกาะครก ซึ่งมีความยาวของหาด 100 เมตรเศษ

เกาะสาก

เกาะสากเป็นเกาะขนาดเล็ก ห่างจากเกาะล้านไปทางทิศเหนือประมาณ 600 เมตร รูปร่างโค้งเป็นรูปเกือกม้าหงาย มีหาดทราย 2 หาดทางทิศเหนือและใต้ของเกาะ และมีแนวปะการัง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว[7]

หมู่เกาะไผ่

หมู่เกาะไผ่จะประกอบด้วย เกาะเหลื่อม เกาะหูช้าง เกาะกลึงบาดาล เกาะมารวิชัย โดยเกาะเหล่าจะตั้งตัวเรียงกันเป็นหมู่เกาะของทะเลพัทยา โดยมีเกาะไผ่ใหญ่ที่สุด เกาะไผ่อยู่ห่างจากชายฝั่งของเมืองพัทยา ประมาณ 23 กิโลเมตร และมีระยะทางที่ห่างจากเกาะล้านประมาณ 9.5 กิโลเมตร หมู่เกาะไผ่ในปัจจุบันทางกองทัพเรือเป็นผู้ดูแลและพัฒนา และอนุญาตให้บุคคลหรือนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวพักผ่อนได้ โดยจะต้องรักษากฎระเบียบอย่างเครงครัด

การเดินทาง

  • โดยรถยนต์ จาก อำเภอเมืองชลบุรี ตรงมาตาม ถ.สุขุมวิท ผ่าน อำเภอศรีราชาและ อำเภอบางละมุง ถนนเข้าสู่เมืองพัทยามีสามเส้นหลักๆ คือ ถ.พัทยาเหนือ อยู่ตรงหลัก กม.144 ถ.พัทยากลาง อยู่ประมาณหลัก กม.145-146 และ ถ.พัทยาใต้ หลัก กม.147 ทั้งสามเส้นจะไปพบกับถนเลียบชายหาดพัทยา *แผนที่พัทยา
  • โดยรถประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางออกจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ และสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพทั้งสามแห่งที่ ถนนบรมราชชนนี เอกมัย และ จตุจักร ไปพัทยา โทร. 02-390-1230
  • โดยรถไฟ จากกรุงเทพฯ มีบริการเพียงวันละหนึ่งเที่ยว ออกจากสถานีกรุงเทพฯ เวลา 06.55 น. ถึงสถานีพัทยาเวลา 10.45 น. เวลาเดินทาง 3 ชม. 40 นาที, โทร. 02233-7010,02-223-7020
  • โดยเครื่องบิน มีสนามบินอู่ตะเภาที่สัตหีบ และเที่ยวบินที่มีปัจจุบันเปิดบริการโดย สายการบินบางกอกแอร์เวย์ เส้นทางอู่ตะเภา-เกาะสมุย

งานและเทศกาล

เทศกาลดนตรีพัทยา หรือ พัทยา มิวสิก เฟสติวัล (Pattaya Music Festival) เป็นเทศกาลดนตรีประจำปีที่จัดขึ้นที่พัทยา โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ลักษณะตัวงานจะจัดในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี มีการแสดงของกลุ่มนักร้อง นักดนตรี ทั้งไทยและต่างประเทศ

งานประเพณีวันไหลพัทยา หรือ วันไหลพัทยา เป็นเทศกาลที่ได้รับความนิยมของชาวเมืองพัทยา ถือว่าเป็นเป็นประเพณีเชื่อมโยงและเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีสงกรานต์ เทศกาลวันไหลพัทยานั้นจะนิยมจัดขึ้นในช่วง วันที่ 19 เมษายน ของทุกปี จะเริ่มเล่นสาดน้ำกันประมาณวันที่ 16 หรือ 17-18-19 เมษายน

ทิวทัศน์ของเมืองพัทยา

สถานที่พัก


เมืองพี่น้อง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พุทธศักราช 2521, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 95, ตอน 120 ก ฉบับพิเศษ, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2521, หน้า 1.
  2. ดันพัทยาขึ้นบัญชีเมืองหนัง. เดลินิวส์. ฉบับที่ 22,797. วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555. ISSN 16860004. หน้า 22
  3. พัทยา คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
  4. เมืองพัทยา. เกี่ยวกับพัทยา.
  5. ทำเนียบนายกเมืองพัทยา ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเมืองพัทยา (สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2553)
  6. ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง
  7. เอกสารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย