ข้ามไปเนื้อหา

พงศาวดาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระราชพงศาวดาร)

พงศาวดาร คือบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น ๆ[1]

พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานชั้นต้น เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียด ประกอบกับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ บ้างใช้มหาศักราช บ้างใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

รายชื่อพระราชพงศาวดารไทย[แก้]

พงศาวดารเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์[แก้]

ชื่อ ปีที่เขียนหรือชำระ เนื้อหา
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหรือก่อนหน้า (สันนิษฐาน) เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 1982–1984 และ พ.ศ. 1986–1987
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต พ.ศ. 2183 เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2223 เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 1867–2147
พระราชพงศาวดารความเก่า รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สันนิษฐาน)[2] ปลายรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับจำลอง จ.ศ. 1145 บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2326[2] ส่วนที่หนึ่งกล่าวถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ส่วนที่สองกล่าวถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ภาษามคธ แล คำแปล (สังคีติยวงศ์ ปริเฉทที่ 7) พ.ศ. 2332 ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงการล่มสลาย
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2338 ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนสิ้นสุดรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน บานแผนกแรกระบุปี พ.ศ. 2350 บานแผนกที่สองระบุปี พ.ศ. 2338 ตั้งแต่แรกสร้างเมืองสวรรคโลกจนถึงปี พ.ศ. 2327
จุลยุทธการวงศ์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 1999
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2338 เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2333
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (สันนิษฐาน) ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2270
พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล หลังฉบับพันจันทนุมาศและพระราชพงศาวดารกรุงสยาม และก่อนฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ฉบับตัวเขียน (สันนิษฐาน)[2] เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2335
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับนายแก้ว สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (สันนิษฐาน)[2] ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2333
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 - 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) พ.ศ. 2412 เหตุการณ์รัชกาลที่ 1–4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พงศาวดารอื่นๆ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 800. ISBN 978-616-7073-80-4
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 อรรถพันธุ์, อุบลศรี (1981). การชำระพระราชพงศาวดารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (PDF) (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร. pp. 27–28, 41, 46–47. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-01-14. สืบค้นเมื่อ 2024-06-16.