ข้ามไปเนื้อหา

ประวัติศาสตร์สิงคโปร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์รัฐสมัยใหม่ของสิงคโปร์เริ่มต้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 แต่มีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีสิงคโปร์เป็นแหล่งการค้าสำคัญในศตวรรษที่ 14 ผู้ปกครองคนสุดท้ายของอาณาจักรสิงคปุระ ปารเมศวรน่าจะถูกพวกมัชปาหิตหรือชาวสยามขับไล่ก่อนที่เขาจะก่อตั้งรัฐสุลต่านมะละกาซึ่งมีสิงคโปร์เป็นส่วนหนึ่ง ก่อนจะมีการเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐสุลต่านยะโฮร์ ในปี ค.ศ. 1819 รัฐบุรุษชาวอังกฤษ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ได้เจรจาสนธิสัญญาให้รัฐยะโฮร์จะอนุญาตให้อังกฤษตั้งท่าเรือการค้าบนเกาะสิงคโปร์ ซึ่งท้ายที่สุดนำไปสู่การก่อตั้งอาณานิคมของสิงคโปร์ในปี ค.ศ. 1867 สาเหตุสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์เป็นหมุดหมายสำคัญเนื่องจากอยู่ที่ปลายแหลมมลายูซึ่งขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย มีที่จอดเรือตามธรรมชาติ ตลอดจนมีสถานะเป็นท่าเรือเสรี[1]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิงคโปร์ถูกรุกรานและยึดครองโดยจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างปี ค.ศ. 1942 - 1945 เมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนในสงคราม สิงคโปร์ก็กลับสู่การควบคุมของอังกฤษ โดยได้รับมอบอำนาจการปกครองตนเองในระดับที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สิงคโปร์รวมเข้ากับสหพันธรัฐมาลายาเป็น ก่อตั้งประเทศมาเลเซียในปี ค.ศ. 1963 อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบในสังคม ความตึงเครียดทางเชื้อชาติ และความแตกต่างทางการเมืองระหว่างพรรคกิจประชาชน(PAP) ที่ปกครองของสิงคโปร์และพรรคพันธมิตรของมาเลเซียส่งผลให้สิงคโปร์ถูกขับออกจากมาเลเซีย สิงคโปร์กลายเป็นสาธารณรัฐเอกราชเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965

สิงคโปร์ต้องเผชิญกับการว่างงานอย่างรุนแรงและวิกฤตที่อยู่อาศัยซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากเหตุไฟไหม้บูกิต โฮ สวี สิงคโปร์เริ่มดำเนินโครงการปรับปรุงให้ทันสมัยโดยเริ่มในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ถึง 1970 โดยมุ่งเน้นที่การสร้างอุตสาหกรรมการผลิต การพัฒนาหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ และการลงทุนอย่างมากในด้านการศึกษาของรัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน

ในช่วงทศวรรษที่ 1990 ประเทศสิงคโปร์ได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในโลก ด้วยเศรษฐกิจตลาดเสรีที่พัฒนาอย่างสูงและการเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)ต่อหัวสูงสุดในเอเชีย[2] ซึ่งเป็นอันดับที่ 7 ของโลก และเป็นอันดับที่ 9 ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ

ช่วงต้น

[แก้]

ประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ก่อนศตวรรษที่ 14 มิได้ถูกบันทึกอย่างชัดเจนและแน่นอนนัก ในช่วงศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชปาหิตแห่งชวา ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 15 ก็อยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรสยาม จนถูกประมุขแห่งมะละกาเข้ามาแย่งชิงไป และเมื่อโปรตุเกสเข้ายึดครองมะละกา สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสในราวปี ค.ศ. 1498 และต่อมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอลันดาในช่วงศตวรรษที่ 17

สิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดแหลมมาลายู เป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกา

ยุคแห่งการล่าอาณานิคม

[แก้]

ดูบทความหลักที่: อาณานิคมช่องแคบ

ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 แต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านฮุสเซียน ชาห์ว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้และก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1819 โดยอังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี ค.ศ. 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (Straits Settlement) ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนังและมะละกาด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) อย่างสมบูรณ์จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นจึงได้ขับไล่อังกฤษออกจากสิงคโปร์และเข้าไปยึดครองแทน

อาณานิคมแบบเอกเทศ

[แก้]

ดูบทความหลักที่: อาณานิคมแบบเอกเทศ และ อาณานิคมสิงคโปร์

ค.ศ. 1946 จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crown colony) เมื่ออังกฤษกลับมาควบคุมสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1942-1946)

การรวมชาติเข้ากับมาเลเซีย

[แก้]

เมื่อสิงคโปร์เห็นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมลายูกลายเป็นสหภาพมลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก แต่ภายหลังสิงคโปร์กับมาเลเซียมีปัญหาเรื่องเชื้อชาติอย่างรุนเเรง จนทำให้สิงคโปร์ถูกขับออกจากสหภาพมลายา เเละสิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 ตั้งแต่บัดนั้นมาในชื่อ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อแยกตัวออกมาแล้วพรรคกิจประชาชนก็ครองประเทศมาตลอดจนถึงทุกวันนี้

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สิงคโปร์ถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นเอาชนะและยึดพื้นที่ตั้งแต่ ค.ศ. 1942 ถึง 1945 เมื่อสงครามสิ้นสุด สิงคโปร์ตกอยู่ในการควบคุมของชาวอังกฤษ โดยมีการยกระดับรัฐบาลปกครองตนเอง ส่งผลให้สิงคโปร์ผนวกเข้ากับสหพันธรัฐมาลายา ก่อตั้งเป็นประเทศมาเลเซียใน ค.ศ. 1963 อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบและข้อพิพาททางสังคมระหว่างพรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ และพรรคแนวร่วมแห่งชาติของมาเลเซีย ทำให้สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียได้ สิงคโปร์กลายเป็นสาธารณรัฐอิสระในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965

หลังจากประสบวิกฤติประชาชนว่างงานและขาดที่อยู่อาศัย ประเทศสิงคโปร์เริ่มโครงการทำให้ทันสมัยในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 มุ่งเน้นการสถาปนาอุตสาหกรรมการผลิต พัฒนาที่ดิน และลงทุนด้านการศึกษาอย่างเข้มข้น ตั้งแต่เป็นอิสระ เศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ประเทศกลายเป็นหนึ่งในชาติที่รุ่งเรืองที่สุด เนื่องจากมีเศรษฐกิจการค้าเสรีที่พัฒนาขึ้นอย่างมาก การค้าขายกับต่างประเทศที่แข็งแกร่ง และดัชนีมวลรวมสูงที่สุดในเอเชีย หากไม่นับประเทศญี่ปุ่น[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wong Lin, Ken. "Singapore: Its Growth as an Entrepot Port, 1819-1941". Retrieved 31 May 2022.
  2. "World Bank Open Data". World Bank Open Data.
  3. "World Economic Outlook Database, September 2006". International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-07. สืบค้นเมื่อ 2015-11-04.