ประวัติศาสตร์บาห์เรน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขอบเขตของจักรวรรดิซัสซานิดที่รวมบาห์เรนใน พ.ศ. 1143 ก่อนที่ชาวอาหรับจะเข้ามาปกครอง

บาห์เรนเป็นรัฐที่มีความรุ่งเรืองมานาน โดยเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการค้าในอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเสียงทางด้านไข่มุก และการต่อเรือ บาห์เรนเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2404 ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2514

ยุคโบราณ[แก้]

คำว่าบาห์เรนมาจากภาษาอาหรับแปลว่าทะเลสองแห่ง เมื่อราว 2,457 ปีก่อนพุทธศักราช มีชื่อว่าดิลมุน เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ทำการค้ามาตั้งแต่สมัยชาวสุเมเรียจนถึงสมัยกรีกและโรมัน โปรตุเกสเข้ามายึดครองบาห์เรนในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จากนั้นก็ถูกเปอร์เซียยึดครอง ต่อมาใน พ.ศ. 2325 ชาวอาหรับสกุลอัลคอลีฟะห์จากซาอุดิอาระเบียเข้ามายึดครองและขับไล่ชาวเปอร์เซียออกไป จากนั้นดำรงตำแหน่งเป็นชีคปกครองบาห์เรน และได้ขยายอำนาจเข้าไปในบริเวณที่เป็นกาตาร์ในปัจจุบันด้วย สายสกุลนี้ได้ปกครองบาห์เรนในปัจจุบัน

ในอารักขาของอังกฤษ[แก้]

คณะกรรมการสหภาพแห่งชาติใน พ.ศ. 2497

ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 24 อังกฤษเข้ามาช่วยบาห์เรนต่อสู้กับซาอุดิอาระเบีย บาห์เรนจึงอยู่ใต้อิทธิพลของอังกฤษ ยินยอมทำสนธิสัญญาเพื่อเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ยกเลิกการค้าทาสและเป็นโจรสลัด บาห์เรนเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษระหว่าง พ.ศ. 2404 – 2514 รวมเป็นเวลา 110 ปี ซึ่งในระหว่างนี้ อังกฤษเป็นผู้ควบคุมนโยบายต่างประเทศของบาห์เรน

ในช่วง พ.ศ. 2483 – 2493 ชาวบาห์เรนได้เรียกร้องที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น แต่ก็มีการปรับปรุงการปกครองเพียงเล็กน้อยหลังการจลาจลใน พ.ศ. 2499 ต่อมาใน พ.ศ. 2513 ชีคอีซา คอลีฟะห์ได้ยอมมอบอำนาจบางประการให้กับสภาแห่งรัฐ ซึ่งปัจจุบันคือคณะรัฐมนตรี

รัฐเอกราช[แก้]

ดินแดนสหพันธรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่เคยเสนอเพื่อจัดตั้งแต่ไม่สำเร็จ

อังกฤษถอนตัวออกจากอ่าวเปอร์เซียใน พ.ศ. 2514 บาห์เรนจึงได้เอกราชในปีนั้น และเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับและสหประชาชาติ เคยมีความพยายามจะจัดตั้งสหพันธรัฐอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งประกอบด้วยกาตาร์ บาห์เรน โอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แต่ไม่สำเร็จ

บาห์เรนปัจจุบัน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • สาคร ช่วยประสิทธิ์. รัฐบาห์เรน ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 335 - 337

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]