ข้ามไปเนื้อหา

มาเลเซียเชื้อสายจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาเลเซียเชื้อสายจีน
กลุ่มชนเชื้อสายจีนในชุดชานกู้ กับร่ม ป. ค.ศ. 1945
ประชากรทั้งหมด
6,712,200[1]
22.4% ชองประชากรมาเลเซียทั้งหมด (2021)[2]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 มาเลเซีย
รัฐปีนัง, รัฐเกอดะฮ์, รัฐปะลิส, กัวลาลัมเปอร์, รัฐยะโฮร์, รัฐเปรัก, รัฐเซอลาโงร์, รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน, รัฐปะหัง, รัฐมะละกา, รัฐกลันตัน, รัฐตรังกานู, รัฐซาราวัก, รัฐซาบะฮ์
กลุ่มคนพลัดถิ่นที่สำคัญพบใน:
 ออสเตรเลีย
 เกาะคริสต์มาส[3]
 สิงคโปร์ (338,500 คนใน ค.ศ. 2010)[4]
 นิวซีแลนด์[หมายเหตุ 1]
 สหรัฐ
 แคนาดา
 สหราชอาณาจักร
 ไต้หวัน
 ฮ่องกง[6]
 จีน

ภาษา
จีนกลาง (ภาษากลาง), มลายูและอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารในโรงเรียนและรัฐบาล
ภาษาแม่: ฮกเกี้ยน, กวางตุ้ง, ฮากกา, แต้จิ๋ว, ฝูโจว, ไห่หนาน, ไถชาน และHenghua; Manglish (ครีโอล)
ศาสนา
ส่วนใหญ่
พุทธนิกายมหายานและลัทธิเต๋า (ศาสนาชาวบ้านจีน) • คริสต์ (โรมันคาทอลิก, โปรเตสแตนต์) • ไม่นับถือศาสนา
ส่วนน้อย
อิสลามฮินดู
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
Bruneian Chinese · Singaporean Chinese · Indonesian Chinese · ชาวไทยเชื้อสายจีน · เปอรานากัน · ชาวจีนโพ้นทะเล
มาเลเซียเชื้อสายจีน
อักษรจีนตัวเต็ม馬來西亞華人
อักษรจีนตัวย่อ马来西亚华人
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม馬來西亞華僑
อักษรจีนตัวย่อ马来西亚华侨
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2)
อักษรจีนตัวเต็ม馬來西亞唐人
อักษรจีนตัวย่อ马来西亚唐人

ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน (จีนตัวย่อ: 马来西亚华人; จีนตัวเต็ม: 馬來西亞華人; มลายู: Orang Cina Malaysia) เป็นชาวจีนเชื้อสายฮั่นซึ่งอาศัยหรือเกิดในประเทศมาเลเซีย คนกลุ่มนี้เป็นลูกหลานเชื้อสายจีนซึ่งอพยพเข้ามาในมาเลเซียเมื่อช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[7][8] ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจมาเลเซียเป็นอย่างมาก[9][10]

ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศไทย และรองจากกลุ่มชาวมาเลย์ในประเทศมาเลเซีย ส่วนมากพูดภาษาจีนสำเนียงต่างๆ เช่น ภาษาจีนหมิ่น ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาจีนแคะ และภาษาจีนแต้จิ๋ว

ปัจจุบันจำนวนประชากรที่เป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนลดลงมากหลังจากการประกาศเอกราชมาลายา โดยลดลงจาก 37.6% ในปี ค.ศ. 1957 จนเหลือเพียง 24.6% ในปี ค.ศ. 2010 และเหลือเพียง 21.4% ในปี ค.ศ. 2015[11]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ประชากรศาสตร์

[แก้]

ทั่วประเทศ

[แก้]

ตามประวัติศาสตร์

[แก้]
Historical demographics of Chinese in Malaya/Malaysia
Year 1835[12] 1911[13] 1931[14] 1947[15] 1957[15] 1970[15] 1980[13] 1991 2000[16] 2010[17][18] 2016[19]
Population 29,000 1,285,000 1,871,000 2,398,000 3,274,000 4,623,900 5,691,900 6,400,000 6,650,000
Percentage 7.7% 29.6% 33.9% 38.4% 37.6% 35.8% 33.4% 28.1% 26.1% 24.6% 23.4%

ตามรัฐและดินแดน

[แก้]
State Population
2010[20] 2015[21]
Population Percentage Population Percentage
Johor (柔佛) 1,034,713 30.9% 1,075,100 30.2%
Kedah (吉打) 255,628 13.1% 263,200 12.7%
Kelantan (吉兰丹) 51,614 3.4% 54,400 3.2%
Malacca (马六甲) 207,401 25.3% 215,000 24.6%
Negeri Sembilan (森美兰) 223,271 21.9% 234,300 21.3%
Pahang (彭亨) 230,798 15.4% 241,600 14.9%
Perak (霹雳) 693,397 29.5% 713,000 28.8%
Penang (槟城) 670,400 42.9% 689,600 41.5%
Perlis (玻璃市) 17,985 7.8% 19,200 7.8%
Sabah (沙巴) 295,674 9.2% 311,500 8.8%
Sarawak (砂拉越) 577,646 23.4% 602,700 22.9%
Selangor (雪兰莪) 1,441,774 26.4% 1,499,400 25.5%
Terengganu (登嘉楼) 26,429 2.6% 27,700 2.4%
Kuala Lumpur (吉隆坡) 655,413 39.1% 684,100 38.7%
Labuan (纳闽) 10,014 11.5% 10,700 11.1%
Putrajaya (布城) 479 0.7% 500 0.6%
Malaysia total 6,392,636 22.6% 6,642,000 21.8%

หมายเหตุ: จำนวนประชากรที่คาดการณ์ในปี ค.ศ. 2015 ถูกปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็มร้อยที่มีค่าใกล้เคียงที่สุด

ระบบการศึกษาและการรู้ภาษา

[แก้]

ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนส่วนใหญ่มักพูดภาษาจีนได้อย่างน้อยหนึ่งสำเนียง รวมทั้งภาษาอังกฤษและภาษามาเลย์ โดยความถนัดทางภาษาของแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบและระดับของการศึกษาที่แต่ละคนได้รับ

รูปแบบการศึกษา

[แก้]

ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนได้รับการศึกษาแตกต่างกัน โดยมีรูปแบบอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 รูปแบบ คือรูปแบบการศึกษาที่ใช้แต่ละภาษาเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยภาษาอังกฤษ ภาษามาเลย์ และภาษาจีน

ระดับการศึกษา

[แก้]

วัฒนธรรม

[แก้]

การเรียกชื่อบุคคล

[แก้]

แบบไม่ใช่ภาษาจีนกลาง

[แก้]

ในช่วงก่อนที่ภาษาจีนกลางจะได้รับความนิยมในหมู่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนมักเขียนชื่อภาษาอังกฤษของตนเองตามการออกเสียงในภาษาจีนสำเนียงที่ตนพูด

แบบภาษาจีนกลาง

[แก้]

เมื่อภาษาจีนกลางได้รับความนิยมในหมู่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนมากขึ้นในยุคหลัง ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนส่วนมากมักเขียนชื่อภาษาอังกฤษของตนเองตามการออกเสียงในภาษาจีนกลาง โดยมักเขียนตามสัทอักษรพินอิน

แบบภาษาอังกฤษ

[แก้]

ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนบางคนมักเขียนชื่อที่มาจากภาษาอังกฤษ โดยมักเขียนนำหน้าชื่อภาษาจีน

แบบมุสลิม

[แก้]

ตามหลักศาสนาอิสลาม ผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามซึ่งหากต้องการแต่งงานกับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนบางคนที่ใช้ชื่อแบบมุสลิม หรือชื่อแบบภาษาอาหรับด้วย

อาหาร

[แก้]
ฉ่าก๋วยเตี๋ยว

อาหารของชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนมีความคล้ายคลึงกับอาหารจีนในจีน ไต้หวัน และฮ่องกงเป็นอย่างมาก โดยได้รับอิทธิพลจากอาหารมาเลย์และอินเดีย ซึ่งมักมีรสเผ็ด

ศาสนา

[แก้]
ศาสนาของชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน[22]
ศาสนา ร้อยละ
พุทธ
  
83.6%
คริสต์
  
11.0%
ศาสนาพื้นบ้านจีน
  
3.4%
ไม่มีศาสนา
  
0.8%
อิสลาม
  
0.7%
ฮินดู
  
0.2%
ไม่ทราบแน่ชัด
  
0.17%
ศาสนาอื่นๆ
  
0.13%

ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนส่วนมากนับถือศาสนาพุทธและศาสนาพื้นบ้านจีนอื่นๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากจีนและนับถือกันมาเรื่อยๆ จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในยุคปัจจุบัน รองลงมาคือศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาอื่นๆ

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Of the 8,820 Malaysian-born people resident in New Zealand in 1991, only 1,383 were Malay; most of the rest were Chinese Malaysians. In the 2013 New Zealand census, 16,350 people were born in Malaysia. Of these, more than five-eighths gave their ethnicity as Chinese or Malaysian Chinese. The next most numerous were Malays, with smaller groups of Indians and other Asian peoples.[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Department of Statistics Malaysia 2020.
  2. Department of Statistics Malaysia 2021.
  3. Department of Infrastructure and Regional Development Australia 2016, p. 2.
  4. Department of Statistics Singapore 2010, p. 31.
  5. Walrond 2015.
  6. About 15,000 Malaysians now live in Hong Kong, according to the Consulate-General. Though the Consulate does not record what state they come from, Penangites are widely thought to be the largest group in the city.
  7. "AsiaExplorers - Visit, Discover & Enjoy Asia!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2014.
  8. "History of Malaysia - Lonely Planet Travel Information". Lonelyplanet.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
  9. "Malaysia country profile". BBC. 10 May 2018.
  10. Terence Gomez (22 February 1999). Chinese Business in Malaysia: Accumulation, Accommodation and Ascendance. Routledge. ISBN 978-0700710935.
  11. Ho Wah Foon (28 February 2016). "Chinese may fall to third spot soon".
  12. In-Won Hwang (2003-10-13). Personalized Politics: The Malaysian State Under Mahathir. Institute of Southeast Asian Studies. pp. 21–22. ISBN 9789812301864.
  13. 13.0 13.1 Saw Swee Hock (30 January 2007). The Population of Peninsular Malaysia. ISEAS Publishing. p. 65. ISBN 978-9812304278.
  14. Dorothy Z. Fernandez, Amos H. Hawley, Silvia Predaza. The Population of Malaysia (PDF). CICRED series.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 15.2 Charles Hirschman (March 1980). "Demographic Trends in Peninsular Malaysia 1937-1970" (PDF). Population and Development Review. 6 (1): 103–125. doi:10.2307/1972660. JSTOR 1972660.
  16. Prof. Dato' Dr Asmah Haji Omar, edt: "Encyclopedia of Malaysia - Languages and Literature เก็บถาวร 12 มกราคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", pp 52-53, Kuala Lumpur: Editions Didier Millet, 2004, ISBN 981-3018-52-6
  17. Slightly more men than women in Malaysian population. Thestar.com.my. Retrieved on 23 April 2012.
  18. Population Distribution and Basic Demographic Characteristic Report 2010 (Updated: 05/08/2011 - Corrigendum) เก็บถาวร 24 สิงหาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Statistics.gov.my. Retrieved on 23 April 2012.
  19. "Current Population Estimates, Malaysia, 2014 – 2016". Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2016.
  20. "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. pp. 16–61. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 February 2013.
  21. "Population by States and Ethnic Group". Department of Information, Ministry of Communications and Multimedia, Malaysia. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  22. "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF) (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Department of Statistics, Malaysia. p. 82. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012.