การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532
การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ขบวนการประชาธิปไตยจีนในปี 1989, การปฏิวัติ ค.ศ. 1989 และสงครามเย็น | |||
วันที่ | 15 เมษายน – 4 มิถุนายน 2532 | ||
สถานที่ | กรุงปักกิ่งและอีก 400 นครทั่วประเทศ จัตุรัสเทียนอันเหมิน 39°54′12″N 116°23′30″E / 39.90333°N 116.39167°E | ||
สาเหตุ |
| ||
เป้าหมาย | ยุติการฉ้อราษฎร์บังหลวงในพรรคคอมมิวนิสต์ การปฏิรูปประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการสมาคม | ||
วิธีการ | การประท้วงอดอาหาร ปักหลักชุมนุม การยึดพื้นที่จัตุรัสสาธารณะ | ||
ผล |
| ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
| |||
ความเสียหาย | |||
เสียชีวิต | ไม่มีตัวเลขแน่นอน มีประมาณตั้งแต่หลักร้อยถึงแสนคน[1] |
การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (อังกฤษ: Tiananmen Square protests) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในจีนแผ่นดินใหญ่ว่า เหตุการณ์ 4 มิถุนายน (อังกฤษ: June Fourth Incident; จีน: 六四事件; พินอิน: liùsì shìjiàn) เป็นการเดินขบวนที่มีนักศึกษาเป็นหัวหน้า จัดในจัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่งระหว่างปี 2532 ขบวนการประชาชนระดับชาติได้รับบันดาลใจจากผู้ประท้วงกรุงปักกิ่ง บ้างเรียก ขบวนการประชาธิปไตยปี 89 (จีน: 八九民运; พินอิน: bājiǔ mínyùn) หรือหากเรียกว่า การสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (อังกฤษ: Tiananmen Square Massacre; จีน: 天安门大屠杀; พินอิน: Tiān'ānmén dà túshā) จะหมายถึงเหตุที่ทหารจีนที่ใช้ปืนเล็กยาวและรถถังยิงผู้ประท้วงและผู้พยายามกีดขวางการยาตราเข้าพื้นที่จัตุรัส การประท้วงเริ่มต้นในวันที่ 15 เมษายนและถูกปราบปรามด้วยกำลังในวันที่ 4 มิถุนายนเมื่อรัฐบาลประกาศกฎอัยการศึกและส่งกองทัพเข้ายึดครองส่วนกลางของกรุงปักกิ่ง มีเหตุการณ์ที่ทหารถือปืนเล็กยาวจู่โจมและรถถังยิงใส่ผู้ประท้วงและผู้พยายามขัดขวางการรุกของกองทัพเข้าสู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งเรียก การสังหารหมู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน มีประมาณยอดผู้เสียชีวิตตั้งแต่หลายร้อยถึงหลายพันคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันคน[2][3][4][5][6][7]
การประท้วงดัวกล่าวเกิดจากผู้นำคอมมิวนิสต์สายปฏิรูป หู ย่าวปัง เสียชีวิตในเดือนเมษายน 2532 ท่ามกลางฉากหลังที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วในประเทศจีนหลังยุคเหมา ผู้ประท้วงสะท้อนความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของประเทศในความสำนึกของประชาชนและในหมู่อภิชนทางการเมือง การปฏิรูปในคริสต์ทศวรรษ 1980 นำไปสู่เศรษฐกิจแบบตลาดเพิ่งเริ่มใหม่ที่เอื้อประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม แต่ทำให้คนที่เหลือเอาใจออกห่างอย่างรุนแรง และระบบพรรคการเมืองเดียวยังเผชิญกับการท้าทายความชอบธรรม ความเดือดร้อนทั่วไปในเวลานั้นได้แก่เงินเฟ้อ การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเตรียมพร้อมบัณฑิตสำหรับเศรษฐกิจใหม่ที่มีจำกัด[8] และการจำกัดการมีส่วนร่วมทางการเมือง นักศึกษายังเรียกร้องให้รัฐบาลมีภาระความรับผิดเพิ่มขึ้น กระบวนการทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ และเสรีภาพในการพูด แม้นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีการจัดตั้งและมีเป้าหมายหลากหลาย ในช่วงที่การประท้วงสูงสุด มีประชาชนประมาณ 1 ล้านคนชุมนุมในจัตุรัส[9]
ขณะที่การประท้วงพัฒนา ทางการตอบโต้ทั้งด้วยยุทธวิธีประนอมและสายแข็ง ซึ่งเปิดเผยความแตกแยกร้าวลึกในหมู่หัวหน้าพรรค[10] เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม การประท้วงอดอาหารที่นักศึกษานำทำให้เกิดการสนับสนุนการเดินขบวนท่วประเทศ และการประท้วงแพร่ไปยังนคร 400 แห่ง[11] สุดท้ายผู้นำสูงสุดของจีน เติ้ง เสี่ยวผิง และผู้อาวุโสในพรรคคอมมิวนิสต์คนอื่นเชื่อว่าการประท้วงเป็นภัยคุกคามทางการเมืองและตัดสินใจใช้กำลัง[12][13] สภารัฐประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 20 พฤษภาคมและระดมทหารประมาณ 300,000 นายมายังกรุงปักกิ่ง[11] ทหารบุกเข้าสู่ส่วนกลางของกรุงปักกิ่งผ่านถนนสำคัญของนครในเช้ามืดวันที่ 4 มิถุนายน และฆ่าผู้เดินขบวนและคนมุงไปพร้อมกัน
ชุมชนนานาชาติ องค์การสิทธิมนุษยชนและนักวิเคราะห์การเมืองประณามรัฐบาลจีนจากการสังหารหมู่ ประเทศตะวันตกกำหนดการคว่ำบาตรอาวุธต่อประเทศจีน[14] รัฐบาลจีนจับกุมผู้ประท้วงและผู้สนับสนุนอย่างกว้างขวาง ปราบปรามการประท้วงอื่นทั่วประเทศ ควบคุมการรายงานเหตุการณ์ของสื่อในประเทศอย่างเข้มงวด เสริมกำลังตำรวจกำลังความมั่นคงภายใน และลดระดับหรือขับไล่เจ้าหน้าที่ที่ดูฝักใฝ่การประท้วง[15] กล่าวให้กว้างขึ้น การปราบปรามชะลอนโยบายการเปิดเสรีในคริสต์ทศรรษ 1980 การประท้วงดังกล่าวถือเป็นเหตุการณ์พลิกผัน และกำหนดข้อจำกัดการแสดงออกทางการเมืองในประทศจีนจวบจนปัจจุบัน[16] ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สัมพันธ์กับการตั้งคำถามถึงความชอบธรรมขอการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวาง และเป็นหัวข้อที่มีการตรวจพิจารณามากที่สุดในประเทศจีน[17][18]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เผยมีผู้เสียชีวิตในเหตุจัตุรัสเทียนอันเหมินอย่างน้อยหมื่นคน". BBC News ไทย. 27 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2021.
- ↑ How Many Died 1990.
- ↑ Sino-American relations 1991, p. 445.
- ↑ Brook 1998, p. 154.
- ↑ Kristof:Reassessing Casualties.
- ↑ RichelsonEvans 1999b.
- ↑ Calls for Justice 2004.
- ↑ Brook 1998, p. 216.
- ↑ D. Zhao 2001, p. 171.
- ↑ Saich 1990, p. 172.
- ↑ 11.0 11.1 Thomas 2006.
- ↑ Miles 2009.
- ↑ Declassified British cable.
- ↑ Dube 2014.
- ↑ Miles 1997, p. 28.
- ↑ "Prosperity, repression mark China 30 years after Tiananmen". AP. 3 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2019.
- ↑ Consequences.
- ↑ Goodman 1994, p. 112.
บรรณานุกรม
[แก้]- "How Many Really Died? Tiananmen Square Fatalities". Time. 4 มิถุนายน 1990. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.
- Sino-American relations: One year after the massacre at Tiananmen Square. U.S. G.P.O. 1991. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.
- Brook, Timothy (1998). Quelling the People: The Military Suppression of the Beijing Democracy Movement. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-3638-1.
- Kristof, Nicholas D. (21 มิถุนายน 1989). "A Reassessment of How Many Died in the Military Crackdown in Beijing". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017.
- Richelson, Jeffrey T.; Evans, Michael L., บ.ก. (1 มิถุนายน 1999). "Tiananmen Square, 1989: The Declassified History – Document 13: Secretary of State's Morning Summary for June 4, 1989, China: Troops Open Fire" (PDF). National Security Archive. George Washington University. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2008.
- "China: 15 years after Tiananmen, calls for justice continue and the arrests go on". Amnesty International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2009.
- Zhao, Dingxin (2001). The Power of Tiananmen: State-Society Relations and the 1989 Beijing Student Movement. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-98260-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.
- Saich, Tony (1990). The Chinese People's Movement: Perspectives on Spring 1989. M.E. Sharpe. ISBN 978-0-87332-745-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 สิงหาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.
- Thomas, Antony (2006). The Tank Man (วีดิทัศน์). PBS. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013.
- Miles, James (2 มิถุนายน 2009). "Tiananmen killings: Were the media right?". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2012.
- "Declassified British cable" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2017.
- Dube, Clayton (2014). "Talking Points, June 3–18". China.usc.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2018.
- Miles, James A. R. (1997). The Legacy of Tiananmen: China in Disarray. University of Michigan Press. ISBN 978-0-472-08451-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.
- Nathan, Andrew J. (3 มิถุนายน 2009). "The Consequences of Tiananmen". Reset Dialogues (Interview). สัมภาษณ์โดย Maria Elena Viggiano. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2018.
- Goodman, David S. G. (1994). Deng Xiaoping and the Chinese Revolution: A Political Biography. Psychology Press. ISBN 978-0-415-11253-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.