ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน
華裔美國人 หรือ 美籍華人;
华裔美国人 หรือ 美籍华人
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
เวสท์โคสท์, นอร์ทอีสท์, ฮาวาย, เท็กซัส, อัปเปอร์มิดเวสท์, บัลติมอร์-วอชิงตัน เมโทรโพลิแตนแอเรีย
ภาษา
อังกฤษ, จีน:
จีนกลาง, กวางตุ้ง (กวางตุ้งมาตรฐาน), จีนอู๋ [1], หมิ่นหนาน และหมิ่นตง [2]
ศาสนา
พุทธ, คริสต์, ขงจื๊อ, เต๋า[3]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
จีนโพ้นทะเล

ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน (จีน: 華裔美國人 หรือ 美籍華人; จีน: 华裔美国人 หรือ 美籍华人) หมายถึงชาวอเมริกันที่มีเชื้อสายจีน ประกอบด้วยชาวจีนโพ้นทะเล กับบางส่วนที่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียตะวันออก รวมทั้งชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียกลุ่มย่อย ซึ่งภายในชุมชนนี้ มักไม่ได้กำหนดว่าจะย้ายถิ่นฐานมาจากจีนแผ่นดินใหญ่, ฮ่องกง, มาเก๊า, ไต้หวัน[6] กับลูกหลานของพวกเขาที่มิได้ย้ายถิ่นฐานในภายหลัง รวมทั้งชาวจีนโพ้นทะเลที่โยกย้ายมาจากสถานที่อันหลากหลาย ทั้งสิงค์โปร์, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, พม่า และฟิลิปปินส์

ชาวจีนกลุ่มแรกที่อพยพได้เดินทางถึงสหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1820 ตามที่บันทึกไว้ในสำมะโนทะเบียน ต่อมาในปี ค.ศ. 1848 ผู้ชายที่มีจำนวนน้อยกว่า 1,000 คน ต่างเดินทางมาเป็นแรงงานชุดสำคัญในช่วงยุคตื่นทองที่แคลิฟอร์เนีย เพื่อขุดทองและเป็นแรงงานดำเนินการเหมืองแร่[7][8][9]

ที่แห่งนั้นมีการอพยพผู้คนตามมาอีก 25,000 รายในปี ค.ศ. 1852 กับ 105,465 รายในปี ค.ศ. 1880 ส่วนมากอาศัยอยู่ฝั่งเวสท์โคสท์ของสหรัฐอเมริกา ผู้อพยพในช่วงต้นมักเป็นผู้ชายที่มีการศึกษาไม่สูงนักซึ่งมาจากมณฑลกวางตุ้งเป็นส่วนใหญ่ในสมัยนั้น[10]

เช่นเดียวกับชาวยุโรป ชาวจีนบางคนในช่วงต้นได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกา แต่ชาวจีนได้ห้ามการอพยพระหว่างค.ศ. 1885 กับ ค.ศ. 1943 เมื่อพระราชบัญญัติยกเว้นชาวจีนได้ส่งผล ตั้งแต่การยกเลิกพระราชบัญญัติ ค.ศ. 1943 การอพยพของชาวจีนถูกจำกัดอย่างหนักจนกระทั่ง ค.ศ. 1965 ในช่วงระหว่างยุค 1970 บุคคลเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ที่อพยพเข้าไปในสหรัฐอเมริกามักมาจากฮ่องกง ตามมาด้วยไต้หวัน ซึ่งอพยพโดยมีสาเหตุสืบเนื่องจากจีนแผ่นดินใหญ่ ระหว่างยุค 1980 ในส่วนครบกำหนดการเสรีด้านข้อจำกัดการอพยพเมื่อช่วงกลางยุค 1970 การอพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่มีรูปแบบที่เห็นได้ชัดมากกว่า หากเทียบจากสัดส่วนของบุคคลเชื้อสายจีนจากแหล่งอื่นที่อพยพสู่สหรัฐอเมริกา[11] ส่วนกลุ่มผู้ใช้ภาษากวางตุ้ง ตามประวัติศาสตร์ถือเป็นกลุ่มผู้อพยพมากที่สุดในการเดินทางเข้าสู่สหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นกลุ่มประชากรที่มิได้พูดภาษาอังกฤษที่มีจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับสามของสหรัฐอเมริกา[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=wuu
  2. http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=cdo
  3. Every Culture - Multicultural America: Chinese Americans
  4. "Country of Birth: China". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-27.
  5. "Selected Population Profile in the United States". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-12. สืบค้นเมื่อ 2008-09-29.
  6. Ng, Franklin (1998). The Taiwanese Americans. Greenwood Publishing Group. p. 2, 118, 126. ISBN 9780313297625.
  7. Ronald Takaki (1998). Strangers From a Different Shore. Little, Brown and Company. p. 28. ISBN 0316831093.
  8. Iris Chang (2003). The Chinese in America. Penguin Books. pp. 34–35. ISBN 0670031232.
  9. Peter Kwong and Dusanka Miscevic (2005). Chinese America. The New Press. p. 44. ISBN 1565849620.
  10. International World History Project. Asian Americans เก็บถาวร 2011-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed 2007-07-07.
  11. Yearbook of Immigration Statistics, Department of Homeland Security:2007 - Table 2 - Persons Obtaining Legal Permanent Resident Status by Region and Selected Country of Last Residence: Fiscal Years 1820 to 2007 - http://www.dhs.gov/ximgtn/statistics/publications/yearbook.shtm
  12. Lai, H. Mark (2004). Becoming Chinese American: A History of Communities and Institutions. AltaMira Press. ISBN 0759104581. need page number(s)

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]