เอกนคร
เอกนคร หรือ เมืองโตเดี่ยว เป็นคำสร้างใหม่ที่ใช้เรียกเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ รัฐ หรือภูมิภาค โดยมักเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองอันดับสองหรือเมืองที่เล็กรองลงมาอย่างไม่สมส่วน[1] กฎเอกนคร ได้รับการเสนอเป็นครั้งแรกโดยนักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันนาม มาร์ก เจฟเฟอร์สัน ใน ค.ศ. 1939[2] เขาให้คำจำกัดความของเอกนครว่าเป็น "เมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองอันดับสองอย่างน้อยสองเท่า และมีความสำคัญมากกว่าสองเท่า"[3] นอกจากขนาดและอิทธิพลทางเศรษฐกิจแล้ว เอกนครยังมักมีลำดับความสำคัญมากกว่าในด้านอื่น ๆ ในสังคมของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเป็นศูนย์กลางทางการเมือง สื่อ วัฒนธรรม และการศึกษา รวมถึงการย้ายถิ่นเข้ามาจากเมืองอื่น ๆ ภายในประเทศ
ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีเอกนคร มีการถกเถียงกันว่าส่วนใหญ่แล้วเอกนครทำหน้าที่อย่างปรสิต (นำทรัพยากรมาจากที่อื่น ๆ) หรืออย่างเมืองก่อกำเนิด (ผลิตทรัพยากร)[4] การมีอยู่ของเอกนครแสดงให้เห็นถึงความไม่สมดุลในการพัฒนาซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วยแกนกลางที่เจริญก้าวหน้ากับพื้นที่รอบหน้าที่ล้าหลังซึ่งแกนกลางนั้นพึ่งพิงด้านแรงงานและทรัพยากรอื่น ๆ[5]
ตัวอย่าง
[แก้]เมืองระดับโลกส่วนมากแล้วจะเป็นเอกนครของประเทศและภูมิภาคนั้น[3][6] เมืองระดับโลกเหล่านั้นรวมถึงลอนดอนของสหราชอาณาจักร โทรอนโตของแคนาดา และนครนิวยอร์กในภาคตะวันออกของสหรัฐ (สหรัฐไม่มีเอกนครในระดับประเทศ[7]) บูดาเปสต์ จาการ์ตา ลิมา เม็กซิโกซิตี และโซลถือเป็นเอกนครในประเทศของตน[8]
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ถูกกล่าวว่าเคยเป็น "เมืองที่มีความเป็นเอกนครที่สุดในโลก" เพราะในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) กรุงเทพมหานครมีประชากรมากกว่านครราชสีมา ที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ถึง 40 เท่า[9] ปัจจุบันนี้ กรุงเทพมหานคร ใหญ่กว่าเมืองอันดับสองในตอนนี้อย่าง เมืองเชียงใหม่ถึงเก้าเท่า[10] (ตารางด้านล่างระบุว่าเชียงใหม่เป็นเมืองอันดับสอง) เมื่อดึงแนวคิดจากงานตรวจสอบค้นคว้าของตนระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และนำไปใช้กับบทบาทที่เอกนครมีหากเป็นเมืองหลวงแห่งชาติแล้ว แจ็ก ฟง นักวิจัยสังคมวิทยาเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อบรรดาเอกนครอย่างกรุงเทพมหานครทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงแห่งชาติด้วย เอกนครเหล่านั้นมักตกเป็นพื้นที่ก่อจลาจลจากทั้งทหารและผู้ประท้วง เขาอ้างถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเอกนครที่เป็นเมืองหลวงส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ต่าง ๆ ของประเทศ ดังนั้น ในด้านการจัดระบบการดำเนินการจึงถือว่าค่อนข้าง "มีประสิทธิภาพ" สำหรับการงัดข้อกับเป้าหมายระดับชาติ เนื่องจากเป้าหมายเหล่านั้นตั้งอยู่ในบริเวณแวดล้อมที่เป็นเมืองหลักเพียงแห่งเดียว[11]
รายชื่อ
[แก้]แอฟริกา
[แก้]บุรุนดี ไนจีเรีย และแทนซาเนียไม่มีเอกนครเนื่องจากเมืองหลวงไม่ใช่เมืองที่ใหญ่ที่สุด แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดมีประชากรมากกว่าเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองเป็นสองเท่า และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศ
เอเชีย
[แก้]พม่า ศรีลังกา ตุรกี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่มีเอกนครเนื่องจากเมืองหลวงไม่ใช่เมืองที่ใหญ่ที่สุด แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดมีประชากรมากกว่าสองเท่าของเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศของพวกเขา
ยุโรป
[แก้]อเมริกาเหนือ
[แก้]แม้ว่าเบลีซจะไม่มีเอกนคร แต่เบลีซซิตีก็มีขนาดใหญ่กว่าเมืองแซนอิกนาซีโอซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองถึงสองเท่า นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของเบลีซ
โอเชียเนีย
[แก้]ประเทศ | เมืองและเขตเมือง | ประชากร (เขตมหานคร) | เมืองใหญ่อันดับสอง | ประชากร |
---|---|---|---|---|
คิริบาส | เซาท์ตาราวา | 50,182 | อะไบอัง | 5,502 |
ซามัว | อาปีอา | 36,735 | อาเฟงา | 1,781 |
ตองงา | นูกูอาโลฟา | 24,571 | เนอิอาฟู | 6,000 |
ตูวาลู | ฟูนะฟูตี | 6,025 | อาเซา | 650 |
ปาปัวนิวกินี | พอร์ตมอร์สบี | 410,954 | ลาเอ | 76,255 |
ฟีจี | ซูวา | 175,399 | เลาโตกา | 52,220 |
วานูวาตู | พอร์ตวิลา | 44,040 | ลูแกนวิลล์ | 16,312 |
หมู่เกาะมาร์แชลล์ | มาจูโร | 27,797 | เกาะเอเบเย | 15,000 |
หมู่เกาะโซโลมอน | โฮนีอารา | 64,609 | เอากี | 7,785 |
นิวซีแลนด์ไม่มีเอกนคร แม้ว่าออกแลนด์จะมีขนาดใหญ่กว่าเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศถึงสองเท่า และเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์
อเมริกาใต้
[แก้]ประเทศ | เมืองและเขตเมือง | ประชากร (เขตมหานคร) | เมืองใหญ่อันดับสอง | ประชากร |
---|---|---|---|---|
กายอานา | จอร์จทาวน์ | 118,363 | ลินเดน | 29,298 |
โคลอมเบีย | โบโกตา | 10,700,000 | เมเดยิน | 3,591,963 |
ชิลี | ซานเตียโก[12] | 6,685,685 | บัลปาราอิโซ | 1,036,127 |
ซูรินาม | ปารามารีโบ | 240,924 | เลลีดอร์ป | 19,910 |
ปารากวัย | อาซุนซีออน[12] | 2,698,401 | ซิวดัดเดลเอสเต | 293,817 |
เปรู | ลิมา[17] | 9,752,000 | อาเรกิปา | 1,034,736 |
อาร์เจนตินา | บัวโนสไอเรส[16][17] | 12,741,364 | กอร์โดบา | 1,528,000 |
อุรุกวัย | มอนเตวิเดโอ[12][17] | 1,947,604 | ซัลโต | 104,028 |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ อิงจากประเทศนอร์ทมาซิโดเนีย#เมืองในประเทศ
- ↑ รวมอัสกัลดัส-อังกูร์ดัญ
- ↑ รวมถึงภูมิภาคเมืองหลวง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Goodall, B. (1987) The Penguin Dictionary of Human Geography. London: Penguin.
- ↑ The Law of the Primate City and the Rank-Size Rule, by Matt Rosenberg
- ↑ 3.0 3.1 Jefferson. "The Law of the Primate City", in Geographical Review 29 (April 1939)
- ↑ London, Bruce (October 1977). "Is the Primate City Parasitic? The Regional Implications of National Decision Making in Thailand". The Journal of Developing Areas. 12: 49–68 – โดยทาง JSTOR.
- ↑ Brunn, Stanley, et al. Cities of the World. Boulder: Rowman & Littlefield Publishers, Inc, 2003
- ↑ Taşan-Kok, Tuna (2004). Mexico, Istanbul and Warsaw: Institutional and spatial change. Eburon Uitgeverij. p. 41. ISBN 978-905972041-1. สืบค้นเมื่อ 2013-05-21.
- ↑ "The World According to GaWC 2012". Globalization and World Cities Research Network. Loughborough University. สืบค้นเมื่อ 11 January 2017.
- ↑ Pacione, Michael (2005). Urban Geography: A Global Perspective (2nd ed.). Abingdon: Routledge. pp. 83.
- ↑ Baker, Chris; Pasuk Phongpaichit (2009). A history of Thailand (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 199. ISBN 978-0-521-76768-2.
- ↑ "Chiang Mai, Thailand Metro Area Population 1950-2022". www.macrotrends.net.
- ↑ Fong, Jack (May 2012). "Political Vulnerabilities of a Primate City: The May 2010 Red Shirts Uprising in Bangkok, Thailand". Journal of Asian and African Studies. 48 (3): 332–347. doi:10.1177/0021909612453981.
- ↑ 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 12.11 12.12 12.13 12.14 12.15 12.16 12.17 12.18 12.19 12.20 World Urbanization Prospects: The 2003 Revision. United Nations Publications. 1 January 2004. pp. 97–102. ISBN 978-92-1-151396-7.
- ↑ 13.0 13.1 "World Gazetteer: World Gazetteer home". archive.is. 2013-02-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-09.
- ↑ 14.00 14.01 14.02 14.03 14.04 14.05 14.06 14.07 14.08 14.09 14.10 "2020-10-06". ssb.no (ภาษานอร์เวย์). สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Michael Pacione (2009). Urban Geography: A Global Perspective. Taylor & Francis. p. 79. ISBN 978-0-415-46201-3.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 Kelly Swanson (7 August 2012). Kaplan AP Human Geography 2013-2014. Kaplan Publishing. ISBN 978-1-60978-694-6.
- ↑ 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 17.11 17.12 Robert B. Kent (January 2006). Latin America: Regions and People. Guilford Press. pp. 144–. ISBN 978-1-57230-909-8.
- ↑ "Tätorter i Sverige". Statistiska Centralbyrån (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.