ข้ามไปเนื้อหา

เสียมราฐ (เมือง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสียมราฐ

សៀមរាប
บนลงล่าง ซ้ายไปขวา: พระวิหารวัดโบร์, ใจกลางเมือง, พระตำหนักพระบาทสมเด็จนโรดม สีหนุ, ย่านถนนคนเดินในเมืองเสียมราฐ, สะพานศาลาทรงเขมร สังกัดศาลากำเริง, วัดพระพรหมรัตน์ , วัดตำหนัก (เสียมราฐ)
สมญา: 
Temple Town [1]
เสียมราฐตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
เสียมราฐ
เสียมราฐ
ตำแหน่งของเมืองเสียมเรียบ
พิกัด: 13°21′44″N 103°51′35″E / 13.36222°N 103.85972°E / 13.36222; 103.85972
ประเทศ กัมพูชา
จังหวัดเสียมราฐ
เทศบาลเสียมราฐ
ก่อตั้ง802
อย่างเป็นอย่างการ1907
การปกครอง
 • หัวหน้าเขตและผู้ว่าราชการNuon Putheara
ความสูง18 เมตร (59 ฟุต)
ประชากร
 (2019)[2]
 • ทั้งหมด245,494 คน
 • อันดับที่ 2
เขตเวลาUTC+7 (เวลาอินโดจีน)

เสียมราฐ หรือชื่อท้องถิ่นว่า เซียมเรียบ (เขมร: សៀមរាប) เป็นเมืองในประเทศกัมพูชา มีฐานะเป็นเมืองเอกของจังหวัดเสียมราฐ (เทียบได้กับอำเภอเมืองของจังหวัดในประเทศไทย) มีประชากรประมาณ 171,800 คน[3] เมืองเสียมราฐเป็นที่รู้จักกันดีเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้นครวัด นครธม และปราสาทขอมอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองพระนคร แหล่งมรดกโลกของกัมพูชา

ประวัติ

[แก้]
ศรีโสภณ, พระตะบอง และอังกอร์ (เมืองพระนคร) คืนให้กับพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์, ค.ศ. 1907

ชื่อ "เสียมราฐ" มีความหมายตรงตัวว่า 'สยามแพ้' (เสียม ในภาษาเขมรคือ สยาม) และมักใช้เป็นอ้างอิงถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรสยามและอาณาจักรเขมรที่เกิดขึ้นเมื่อหลายศตวรรษก่อน แม้ว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องแต่งที่ไม่มีหลักฐานก็ตาม ตามเรื่องเล่าหนึ่งระบุว่า พระเจ้าพญาจันทน์ (1516–1566) ทรงให้พระนามเมืองนี้เป็น "เสียมเรียบ" หลังพระองค์ขับไล่กองทัพที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์ไทย ส่งไปรุกรานกัมพูชาใน ค.ศ. 1549[4] นักวิชาการอย่าง Michael Vickery จัดให้ที่มาของคำในเรื่องนี้เป็นนิรุกติศาสตร์พื้นบ้านสมัยใหม่ และยังคงยืนยันว่าชื่อเสียมเรียบและเจนละ ในภาษาจีนโบราณที่ใช้เรียกกัมพูชาอาจมีความเกี่ยวข้องกัน ที่มาแท้จริงของชื่อยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[5]

ถนนผับ เสียมราฐ

ในความเป็นจริง แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ยังหลงเหลืออยู่ทำให้แหล่งที่มานี้ดูไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ระบุถึงการเสื่อมถอยของนครวัดเกิดขึ้นหลายศตวรรษก่อนเหตุการณ์นี้ เมื่อกองทหารจากกรุงศรีอยุธยาเข้ายึดและปล้นนครวัด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาที่กัมพูชากลายเป็นรัฐประเทศราชอันยาวนาน[6] การยึดครองใน ค.ศ. 1431 เกิดขึ้นพร้อมกับช่วงที่นครวัดเสื่อมโทรมลง แม้ว่าเหตุผลเบื้องหลังการละทิ้งนครวัดจะไม่ชัดเจนก็ตาม โดยอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และความล้มเหลวด้านโครงสร้างพื้นฐานของเขมร[7]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 เกิดการต่อสู้ภายในระหว่างขุนนางเขมรนำไปสู่การแทรกแซงและครอบงำเป็นระยะ ๆ โดยเวียดนามและสยาม เพื่อนบ้านที่มีอำนาจมากกว่าของกัมพูชา เสียบราฐ พระตะบอง (บัตดอมบอง) และศรีโสภณ เมืองใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา อยู่ภายใต้เขตบริหารของสยามและมณฑลเหล่านี้มีชื่อเรียกเป็น กัมพูชาตอนใน (Inner Cambodia) ใน ค.ศ. 1795 จนกระทั่งถูกยกให้กับอินโดจีนของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1907 และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในสมัยอาณาจักรอยุธยา มณฑลนี้มีชื่อว่า นครสยาม[8]

การค้นพบนครวัดอีกครั้ง

[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

เมืองพระนคร

[แก้]

เมืองพระนคร (เขมร: ក្រុងអង្គរ) ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมร ซึ่งเริ่มก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะถูกทัพสยามรุกรานในคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนต้องมีการอพยพยกย้ายไปตั้งนครหลวงแห่งใหม่ กุญแจสำคัญในความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรแห่งนี้คือ การที่กษัตริย์เขมรสามารถวางระบบการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนจึงพากันมาอยู่อาศัยทำกิน ทำให้อำนาจและมีบารมีของกษัตริย์หลายรัชสมัยมีความมั่นคงและแผ่ขยายออกไป สิ่งที่ยืนยันความรุ่งเรืองของดินแดนเขมรและอำนาจอันไพศาลของกษัตริย์คือ หมู่เทวสถานที่สร้างขึ้นอย่างหนาแน่น ในปี ค.ศ. 1992 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกยกย่องให้เมืองแห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยในเขตเมืองพระนคร ประกอบด้วย โบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง

นครวัด

[แก้]
พระภิกษุสงฆ์อยู่บริเวณด้านหน้านครวัด

นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) เป็นศาสนสถาน เริ่มสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2[9] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดูซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ[10] นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา[11] โดยปรากฏในธงชาติกัมพูชาและเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในช่วงยุครุ่งเรืองของอาณาจักรขะแมร์โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก[12]

นครธม

[แก้]
หอใจกลางปราสาทบายนที่นครธม

นครธม (เขมร: អង្គរធំ) ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเสียมราฐ เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของนครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ

ภูมิอากาศ

[แก้]

เมืองเสียมราฐตั้งอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามเกณฑ์การแบ่งภูมิอากาศโลกของการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน เป็นเมืองที่ร้อนตลอดปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดไม่ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียสในทุกเดือน เสียมราฐมีฤดูฝนที่ยาวมากซึ่งเริ่มในเดือนเมษายนและสิ้นสุดในเดือนพฤศจิกายน ฤดูแล้งครอบคลุมสี่เดือนที่เหลือ เมืองมีฝนตกประมาณ 1406 มิลลิเมตรต่อปี

ข้อมูลภูมิอากาศของเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา (เฉลี่ย: ค.ศ. 1997–2010, สูงสุด: ค.ศ. 1906–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.0
(95)
36.7
(98.1)
38.9
(102)
41.2
(106.2)
41.2
(106.2)
38.9
(102)
35.7
(96.3)
35.2
(95.4)
34.7
(94.5)
33.9
(93)
34.4
(93.9)
34.4
(93.9)
41.2
(106.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.7
(89.1)
33.5
(92.3)
34.9
(94.8)
35.8
(96.4)
34.8
(94.6)
33.6
(92.5)
32.9
(91.2)
32.4
(90.3)
31.7
(89.1)
31.5
(88.7)
31.2
(88.2)
30.6
(87.1)
32.9
(91.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.0
(78.8)
27.8
(82)
29.5
(85.1)
30.5
(86.9)
29.9
(85.8)
29.2
(84.6)
28.9
(84)
28.8
(83.8)
28.1
(82.6)
28.0
(82.4)
26.9
(80.4)
25.6
(78.1)
28.3
(82.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 20.4
(68.7)
22.4
(72.3)
24.1
(75.4)
25.4
(77.7)
25.4
(77.7)
25.1
(77.2)
24.9
(76.8)
25.1
(77.2)
24.7
(76.5)
24.5
(76.1)
22.6
(72.7)
20.7
(69.3)
23.8
(74.8)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 9.4
(48.9)
12.8
(55)
15.0
(59)
17.8
(64)
18.9
(66)
17.8
(64)
18.9
(66)
18.9
(66)
20.0
(68)
17.2
(63)
12.2
(54)
10.0
(50)
9.4
(48.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 3.7
(0.146)
4.7
(0.185)
29.0
(1.142)
57.3
(2.256)
149.7
(5.894)
214.1
(8.429)
192.6
(7.583)
208.9
(8.224)
287.7
(11.327)
199.6
(7.858)
51.3
(2.02)
7.3
(0.287)
1,405.9
(55.35)
ความชื้นร้อยละ 59 59 58 59 66 70 71 73 75 75 68 64 66.4
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 1.5 0.7 3.2 7.6 17.0 18.0 17.6 17.6 17.4 15.4 6.4 2.0 124.4
แหล่งที่มา 1: Deutscher Wetterdienst[13]
แหล่งที่มา 2: The Yearbook of Indochina (1932–1933)[14]

การเดินทาง

[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ

เมืองนี้อยู่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ 7 กิโลเมตร และสามารถเดินทางไปได้ด้วยเที่ยวบินตรงจากเมืองในเอเชีย จากกรุงพนมเปญ หรือจากชายแดนไทย นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยเรือผ่านโตนเลสาป และรถบัสจากพนมเปญและพระตะบอง หรือเดินทางจากกรุงเทพฯไปเสียมราฐผ่านอำเภออรัญประเทศเข้าด่านปอยเปต แล้วเดินทางจากปอตเปตไปยังเสียมราฐ[15]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Glasser, Miranda (14 September 2012). "Temple Town, Cambodia's new ladyboy capital". Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 14 December 2015.
  2. "General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019 – Final Results" (PDF). National Institute of Statistics. Ministry of Planning. 26 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-26. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
  3. [1] เก็บถาวร 2007-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ประจำเมืองเสียมราฐ
  4. Joachim Schliesinger (2012). Elephants in Thailand Vol 3: White Elephants in Thailand and Neighboring Countries. White Lotus. p. 32. ISBN 978-9744801890.
  5. Zhou Daguan (2007). A Record of Cambodia. แปลโดย Peter Harris. University of Washington Press. ISBN 978-9749511244.
  6. John Stewart Bowman (13 August 2013). Columbia Chronologies of Asian History and Culture. Columbia University Press. pp. 511–. ISBN 978-0-231-50004-3.
  7. Stone, R. (2006). "The End of Angkor". Science. 311 (5766): 1364–1368. doi:10.1126/science.311.5766.1364. ISSN 0036-8075. PMID 16527940. S2CID 161796031.
  8. Gerald W. Fry; Gayla S. Nieminen; Harold E. Smith (8 August 2013). Historical Dictionary of Thailand. Scarecrow Press. pp. 362–. ISBN 978-0-8108-7525-8.
  9. Higham, C. (2014). Early Mainland Southeast Asia. Bangkok: River Books Co., Ltd. pp. 372, 378–379. ISBN 978-616-7339-44-3.
  10. Ashley M. Richter (8 September 2009). "Recycling Monuments: The Hinduism/Buddhism Switch at Angkor". CyArk. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
  11. "Government ::Cambodia". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 2018-04-17.
  12. "Cambodia's Angkor Wat Breaking Records for Visitors Again | News from Tourism Cambodia". Tourism of Cambodia.
  13. "Klimatafel von Siemreap-Angkor / Kambodscha" (PDF). Baseline climate means (1961–1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ 23 January 2016.
  14. The Yearbook of Indochina (1932–1933)
  15. "Cambodia eyes new airport for Siem Reap". สืบค้นเมื่อ 2010-09-22.
  16. "?". Myanmar.gov.mm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2007.
  17. "Local Government International Exchange: Sister city information Database". Council of Local Authorities for International Relations (CLAIR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2015. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]