สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ
ชุมทางบ้านไผ่นาบุญ | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีระดับที่ 3 | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | บ้านหนองกรุง หมู่ที่ 4 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี | ||||||||||||||||
พิกัด | 14°32′56″N 100°58′59″E / 14.54876°N 100.98317°E | ||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 | ||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 3122 (บญ.) | ||||||||||||||||
ประเภท | ระดับที่ 3 | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 3 กุมภาพันธ์ 2563 | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ (อังกฤษ: Ban Phai Na Bun Junction Railway Station) เป็นสถานีรถไฟลำดับที่446 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีขั้นเป็นสถานีรถไฟชั้น 3 เป็นสถานีรถไฟล่าสุดในสารบบของการรถไฟแห่งประเทศไทย สร้างขึ้นพร้อมกับ การสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ ช่วง ชุมทางคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย และสร้างทาง Chord line ช่วงสถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ-สถานีรถไฟชุมทางหนองบัว เพื่อความอำนวยสะดวกในการเดินทางของรถบรรทุกเชื้อเพลิงไปยังเส้นทางต่างๆได้รวดเร็วขึ้น[1][2]
ประวัติ
[แก้]สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟบุใหญ่ - สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย/สถานีรถไฟชุมทางหนองบัว บนหลักกม.ที่ 162 เป็นสถานีที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ จากโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางคลองสิบเก้า - ชุมทางแก่งคอย ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 เพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ซึ่งจากผลการออกแบบรายละเอียดและการศึกษาปริมาณความต้องการด้านการขนส่ง เส้นทางดังกล่าวเมื่อปี 2541 และผลการศึกษาทบทวนโครงการเมื่อปี 2544 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ ตอนฉะเชิงเทรา – ศรีราชา และต่อขยายเข้าสู่แหลมฉบังเป็นลำดับแรก
เพื่อให้การก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางสายชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงมีโครงการที่จะก่อสร้างทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย เพื่อขยายขีดความสามารถของเส้นทางขนส่งหลักที่มีความสำคัญในการเชื่อมโยงการขนส่งระบบราง จากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยังพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ อย่างบูรณาการ รวมทั้งแผนพัฒนาต่างๆ ที่สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบขนส่งระบบราง เพื่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากร พลังงานและลดมลพิษ[3]
จุดประสงค์ของการสร้างสถานี คือ ใช้เป็นสถานี chord line แยกเส้นทางขบวนรถสินค้าจากภาคตะวันออก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสถานีหนองบัว หรือขบวนรถสินค้าจากภาคเหนือ ให้เลี้ยวขวาจากสถานีหนองบัวเข้าสถานีไผ่นาบุญ โดยที่ขบวนรถไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปทำสับเปลี่ยนที่สถานีชุมทางแก่งคอยเหมือนอดีตอีกต่อไป
ตัวอย่าง ถ้าขบวนรถน้ำมันดิบ หรือ ขบวนรถก๊าซ เช่น ขบวน 635 แหลมฉบัง - บึงพระ หรือ ขบวน 629 มาบตาพุต - บึงพระ หรือ ขบวน 651 บางละมุง - นครสวรรค์ ผ่านสถานีไผ่นาบุญในทิศทางเดียวกับในภาพนี้ ขบวนรถสามารถเลี้ยวซ้ายไปทางสถานีหนองบัว และมุ่งหน้าไปชุมทางบ้านภาชี และผ่าน chord line อีกจุด ขึ้นไปยังปลายทางได้โดยไม่เสียเวลาสับเปลี่ยนกลับทิศทาง[4]
หลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้นจึงได้ทำการเปิดใช้สถานีรถไฟแห่งใหม่ (สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ) นี้ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563[1]
ลักษณะ
[แก้]เป็นสถานีชุมทางรถไฟซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทางรถไฟสายชุมทางคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย รวมทั้งยังเป็น 1 ใน 18 สถานีชุมทางรถไฟในประเทศไทย สถานีรถไฟแห่งนี้มีความสำคัญต่อการเดินรถไฟในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก [5]
เป็นชุมทางรถไฟที่เป็นสามเหลี่ยมรถไฟ(chord line) โดยชุมทางรถไฟด้านซ้าย ไปยัง สถานีรถไฟชุมทางหนองบัว และชุมทางรถไฟด้านขวา ไปยัง สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอยได้ ทำให้การเดินทางขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงหรือปิโตรเลียมจาก มาบตาพุด บางละมุง และ ท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังเส้นทางสายเหนือ เช่น บึงพระ นครลำปาง ได้รวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องเปลี่ยนเส้นทางที่สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 การรถไฟฯเปิดใช้ "สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ" สถานีแห่งใหม่ ลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าจากภาคเหนือ-อีสานเชื่อมไปตะวันออกและท่าเรือแหลมฉบังโดยไม่ผ่านกทม. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563
- ↑ 2.0 2.1 ท่ามกลางธรรมชาติ! สถานีน้องใหม่ “บ้านไผ่นาบุญ” ชุมทางขนส่งสินค้าไปแหลมฉบัง สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563
- ↑ โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย พร้อมติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม เก็บถาวร 2019-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563
- ↑ " ที่นี่สถานีไผ่นาบุญ ที่นี่สถานีไผ่นาบุญ " สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563
- ↑ ยินดีต้อนรับสถานีชุมทางแห่งใหม่ครับสืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์