รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ตรา | สภาผู้แทนราษฎร |
ผู้ลงนาม | ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร อลงกฏ ธานีนิวัต พระยามานวราชเสวี อดุลเดชจรัส) |
วันลงนาม | 9 พฤศจิกายน 2490 |
ผู้ลงนามรับรอง | ศรีธรรมาธิเบศ (ประธานวุฒิสภา) |
วันลงนามรับรอง | 25 ธันวาคม 2491 |
วันประกาศ | 23 มีนาคม 2492 (ราชกิจจานุเบกษา ฉะบับพิเศษ เล่ม ๖๖/ตอนที่ ๑๗/หน้า ๑-๘๐ มีนาคม ๒๔๙๒) |
วันเริ่มใช้ | 23 มีนาคม 2492 |
ท้องที่ใช้ | ราชอาณาจักรไทย |
การร่าง | |
ชื่อร่าง | ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย |
ผู้ยกร่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
การยกเลิก | |
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ของไทย มีการบัญญัติเป็นครั้งแรกว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎร และประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารตนเอง รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี เศษ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ อำนาจนิติบัญญัติ ให้มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนวุฒิสภาโดยกำหนดให้มีสมาชิกในสภานี้ทั้งสิ้น 100 คน[1]
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทั้งหมด 188 มาตรา โดยแยกเป็น 11 หมวด ดังนี้[2] หมวดที่ 1 บททั่วไป หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์ หมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หมวดที่ 4 หน้าที่ของชนชาวไทย หมวดที่ 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ หมวดที่ 6 อำนาจนิติบัญญัติ หมวดที่ 7 อำนาจบริหาร หมวดที่ 8 อำนาจตุลาการ หมวดที่ 9 ตุลาการรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 10 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และหมวดที่ 11 บทสุดท้าย และบทเฉพาะกาล
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีสาระสำคัญแตกต่างจากฉบับอื่นอย่างไร
[แก้]ส่วนที่หนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีไม่มากกว่า 8 คนเป็นคณะองคมนตรี องคมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำหรือข้าราชการพลเรือนและต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ
ส่วนที่สอง ได้มีการกำหนดสิทธิเสรีภาพ ตลอดจนหน้าที่ของชนชาวไทย วุฒิสภา
ส่วนที่สาม ให้พระมหากษัตริย์ มีอำนาจเลือกและแต่งตั้งวุฒิสมาชิก
ส่วนที่สี่ อำนาจนิติบัญญัติ โดยให้มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนวุฒิสภา วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งมีสมาชิกจำนวน 100 คน โดยให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ส่วนสภาผู้แทน มีสมาชิกมาจากการที่ราษฎรเลือกตั้ง ให้ถือเกณฑ์ราษฎร 150,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร 1 คน ถ้าราษฎรถึง 75,000 คนหรือกว่านั้น ให้นับเป็น 150,000 คน และมีสมาชิกสภาผู้แทนได้ 1 คน หลักเกณฑ์ในการกำหนดผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง การลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจต่อคณะรัฐมนตรี ให้สภาผู้แทนเป็นผู้กระทำภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อวุฒิสภาแล้ว
ส่วนที่ห้า อำนาจในการบริหาร ห้ามรัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำ ห้ามรัฐมนตรีเป็นกรรมการที่ปรึกษาตัวแทนหรือลูกจ้างของบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนหรือองค์การใด ๆ ซึ่งดำเนินธุรกิจเพื่อการค้ากำไร เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนและการทุจริต
การยกเลิก
[แก้]หลังจากจอมพล แปลก พิบูลสงคราม รัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 เพื่อเป็นการลดอำนาจพระมหากษัตริย์ พระองค์เจ้าธานีนิวัตทรงบันทึกปฏิกิริยาของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลว่า "ท่านกริ้วมาก ทรงตำหนิหลวงพิบูลอย่างแรงหลายคำ ท่านว่าฉันไม่พอใจมากที่คุณหลวงทำเช่นนี้"[3]: 48–9
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2492[ลิงก์เสีย]
- ↑ รัฐธรรมนูญ (Constitution) ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
- ↑ ใจจริง, ณัฐพล (2556). ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) (1 ed.). ฟ้าเดียวกัน. ISBN 9786167667188.