รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ลงนาม | ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร) |
วันลงนาม | 9 พฤศจิกายน 2490 |
ผู้ลงนามรับรอง | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย) |
วันลงนามรับรอง | 9 พฤศจิกายน 2490 |
วันประกาศ | 9 พฤศจิกายน 2490 |
วันเริ่มใช้ | 9 พฤศจิกายน 2490 |
ท้องที่ใช้ | ราชอาณาจักรไทย |
การร่าง | |
ชื่อร่าง | ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย |
ผู้ยกร่าง | คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ |
การแก้ไขเพิ่มเติม | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2490 | |
การยกเลิก | |
ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 4 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 หรือหนึ่งวันหลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย หรือ ผู้บัญชาการทหารบกในปัจจุบัน เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
โดยมีเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นผู้ตรวจร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวใช้บังคับในขณะนั้น[1]
ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้และได้มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2490 อันตรงกับวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อปี 2492 ภายหลังการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ประวัติความเป็นมา
[แก้]ก่อนทำการรัฐประหาร เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหารได้ทำการยกร่างรัฐธรรมนูญเตรียมไว้ คือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490” ซึ่งประกาศใช้ภายหลังเมื่อรัฐประหารสำเร็จ
หลังการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสร็จ หลวงกาจสงครามนำไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำ ด้วยเกรงว่าจะถูกค้นพบและถูกข้อหากบฏ ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เรียกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า “ฉบับใต้ตุ่ม” หรือ “ฉบับตุ่มแดง” คณะรัฐประหาร ได้ให้เหตุผลในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แทนรัฐธรรมนูญฉบับเดิมว่าจำต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เพราะ
รัฐธรรมนูญฉบับก่อน เหมาะสมกับประเทศไทยในสมัยก่อนเท่านั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะเป็นวิถีทางจรรโลงประเทศชาติให้วัฒนาถาวร จะเป็นทางบำบัดยุคเข็ญของประชาชนทั้งปวง
สาระสำคัญ
[แก้]รัฐสภา มีสองสภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทน
วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี แต่ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนด 3 ปี ให้มีการเปลี่ยนสมาชิกวุฒิสภาจำนวนกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก สภาผู้แทน ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของราษฎร มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ เชื้อชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างน้อย 15 คน อย่างมาก 25 คน ในการตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานคณะอภิรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ รัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ
การสิ้นสุด
[แก้]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 ถูกยกเลิกเนื่องจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 รับธรรมนูญฉบับนี้มีระยะเวลาในการใช้บังคับ 1 ปี 4 เดือน 13 วัน
เกร็ดเล็ก ๆ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490
[แก้]ได้นำ "วุฒิสภา" มาใช้เป็นครั้งแรก แทน "พฤฒสภา"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- ↑ นริศรา เพชรธนาภรณ์,ใหม่ มูลโสม;อินโฟกราฟิก เรื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ปีที่แต่ง 7 มิถุนายน 2564 https://library.parliament.go.th/th/infographic/2019-06-07 สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2567