ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
SARANPHONG YIMKLAN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 128: บรรทัด 128:
|-
|-
|{{สรฟ|หนองม่วงไข่}}
|{{สรฟ|หนองม่วงไข่}}
|Nong Moung Kai
|Nong Muang Khai
|
|
|572.00 กม.
|572.00 กม.
บรรทัด 142: บรรทัด 142:
|-
|-
|{{สรฟ|หนองเสี้ยว}}
|{{สรฟ|หนองเสี้ยว}}
|Nong Saew
|Nong Siao
|
|
|584.10 กม.
|584.10 กม.
บรรทัด 151: บรรทัด 151:
|
|
|
|
|หัวเมื่อง
|หัวเมือง
| rowspan="2" |สอง
| rowspan="2" |สอง
|
|
บรรทัด 175: บรรทัด 175:
|-
|-
|{{สรฟ|แม่ตีบ}}
|{{สรฟ|แม่ตีบ}}
|Mae Teep
|Mae Tip
|
|
|618.00 กม.
|618.00 กม.
บรรทัด 236: บรรทัด 236:
|*เข้าเขต[[จังหวัดพะเยา]]
|*เข้าเขต[[จังหวัดพะเยา]]
|-
|-
|{{สรฟ|บ้านโทกกวาก}}
|{{สรฟ|บ้านโทกหวาก}}
|Ban Tok Kwak
|Ban Thok Wak
|
|
|677.55 กม.
|677.55 กม.
บรรทัด 250: บรรทัด 250:
|-
|-
|{{สรฟ|พะเยา}}
|{{สรฟ|พะเยา}}
|Phayao
|Payao
|
|
|683.40 กม.
|683.40 กม.
บรรทัด 264: บรรทัด 264:
|-
|-
|{{สรฟ|ดงเจน}}
|{{สรฟ|ดงเจน}}
|Dong Jan
|Dong Chen
|
|
|689.75 กม.
|689.75 กม.
บรรทัด 307: บรรทัด 307:
|-
|-
|{{สรฟ|ป่าแดด}}
|{{สรฟ|ป่าแดด}}
|Pa Dad
|Pa Daet
|
|
|724.55 กม.
|724.55 กม.
บรรทัด 337: บรรทัด 337:
|-
|-
|{{สรฟ|บ้านโป่งเกลือ}}
|{{สรฟ|บ้านโป่งเกลือ}}
|Ban Pong Klua
|Ban Pong Kluea
|
|
|743.20 กม.
|743.20 กม.
บรรทัด 381: บรรทัด 381:
|-
|-
|{{สรฟ|ทุ่งก่อ}}
|{{สรฟ|ทุ่งก่อ}}
|Thung Ko
|Tung Koe
|
|
|785.50 กม.
|785.50 กม.
บรรทัด 395: บรรทัด 395:
|-
|-
|{{สรฟ|เวียงเชียงรุ้ง}}
|{{สรฟ|เวียงเชียงรุ้ง}}
|Waing Chaing Roung
|Waing Chiang Rung
|
|
|796.45 กม.
|796.45 กม.
บรรทัด 442: บรรทัด 442:
|-
|-
|{{สรฟ|ศรีดอนชัย}}
|{{สรฟ|ศรีดอนชัย}}
|Sri Don Chai
|Si Don Chai
|
|
|839.19 กม.
|839.19 กม.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:45, 4 ตุลาคม 2563

ทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ
ไฟล์:สถานีรถไฟเด่นชัย.jpg
ข้อมูลทั่วไป
สถานะโครงการส่วนต่อขยาย
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ปลายทาง
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟระหว่างเมือง
ระบบรถไฟทางไกล
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
และบริษัทเอกชนในส่วน
ของสถานีขนถ่ายสินค้า
ประวัติ
เปิดเมื่อเริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2564[1][2]
หรือในพ.ศ. 2566[3]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง323.1 กม. (200.77 ไมล์)[4]
รางกว้างราง 1 เมตร ทางคู่

ทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นหนึ่งในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็น 1 ใน 2 ส่วนต่อขยายของทางรถไฟสายเหนือ มีวัตถุประสงค์รองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าภาคเหนือ รวมถึงรองรับศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของที่กำลังก่อสร้างจะเชื่อมการค้าระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้จากไทยไปลาว จีน เวียดนาม และเขตเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล เดิมมีกำหนดการสร้างในปี พ.ศ. 2560 แต่เลื่อนออกไปในปี พ.ศ. 2564 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ครม. มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ รวมระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี [5] กระทรวงคมนาคมเร่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มเวรคืนที่ดินและเปิดการประมูลภายในปี 2563 และเปิดบริการให้ได้ภายในปี 2568 จากแผนเดิมที่ต้องแล้วเสร็จภายในปี 2570[6]

ประวัติทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร  ในอดีตรัฐบาลไทยได้ทำการศึกษาเส้นทางนี้มาตั้งแต่ปี 2503 และสำรวจพื้นที่ปี 2512 โดยกำหนดให้ใช้เส้นทางเด่นชัย - แพร่ - สอง - เชียงม่วน - ดอกคำใต้ - พะเยา - ป่าแดด - เชียงราย ระยะทางรวม 273 กิโลเมตร 

ต่อมาปี 2537-2538 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการทบทวนผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่าเส้นทางเด่นชัย - แพร่ - สอง - งาว (ลำปาง) - พะเยา -เชียงราย ย่นระยะทางเหลือประมาณ 246 กิโลเมตร ทำให้ในปี 2539-2541 ใช้งบประมาณราว 2.2 ล้านบาท ทาง รฟท.จึงได้ว่าจ้างเอกชนให้สำรวจออกแบบและศึกษาผลกระทบ จนมีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินในปี 2544 กระทั่งปี 2547 รัฐบาลในขณะนั้นได้ให้ศึกษาความเหมาะสมอีกโดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้เชื่อมกับจีนตอนใต้ กระทั่งปี 2551 ยังให้ศึกษาเพื่อให้เชื่อมชายแดน จ.เชียงราย และระบบรางของจีนได้ 

จนถึงปี 2553-2554 จึงเริ่มศึกษารถไฟแบบทางคู่ เพื่อให้มีขนาดกว้างขึ้นเป็น 1.453 เมตร และกรณีเส้นทางใน จ.เชียงราย ให้แยกเส้นทางไปยังท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสนแห่งที่ 2 ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน และสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว ที่ อ.เชียงของ อีกด้วย 

ทั้งนี้ แนวเส้นทางล่าสุดที่ศึกษาจึงมีระยะทางรวมประมาณ 323.1 กิโลเมตร กำหนดให้มีทั้งหมด 26 สถานีผ่าน จ.แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย และมีการเจาะภูเขาเป็นอุโมงค์เพื่อเชื่อมเส้นทาง อ.เชียงของ

พ.ศ. 2561  ครม. มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ประกอบด้วย สถานี 26 สถานี ลานขนถ่ายสินค้า 4 แห่ง ลานกองเก็บตู้สินค้า 1 แห่ง ก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ 4 อุโมงค์ ก่อสร้างถนนยกข้ามทางรถไฟ 40 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ 102 แห่ง โครงการเริ่มเริ่มต้นจาก จ.แพร่, จ.ลำปาง, จ.พะเยา, จ.เชียงราย จนถึงเชียงของ แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. และสัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม.

เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะรองรับการเดินทาง การค้าชายแดน การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ภาคเหนือตอนบน รวมถึงรองรับศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของ เชื่อมการค้าระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้จากประเทศไทย ไปยังลาว พม่า และจีนตอนใต้ และจะช่วยผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงรายที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิดได้เร็วขึ้น[7]

รายชื่อสถานีรถไฟเส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ ชื่อภาษาอังกฤษ เลขรหัส ระยะทางจาก กท. ชั้นสถานี ตัวย่อ อาณัติสัญญาณ ระบบบังคับประแจ จำนวนรางในย่านสถานี จำนวนชานชาลา ที่ตี้ง จำนวนขบวนที่หยุดรับส่งผู้โดยสาร หมายเหตุ
ตำบล อำเภอ จังหวัด
เด่นชัย - เชียงของ
มาจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ
เด่นชัย Den Chai 1164 533.94 กม. 1 ดช. หางปลา ใช้สัญญาณเข้าเขตนอก ใช้ห่วงทางสะดวก สายลวด 11 3 เด่นชัย เด่นชัย แพร่ 16 *เป็นสถานีต้นทางของส่วนต่อขยาย เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายเหนือ
สูงเม่น Sung Men 547.80 กม. 2 พระหลวง สูงเม่น *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ
แพร่ Phrae 560.50 กม. 1 ทุ่งกวาว เมืองแพร่ *เป็นสถานีขนาดใหญ่
หนองม่วงไข่ Nong Muang Khai 572.00 กม. 3 หนองม่วงไข่
หนองเสี้ยว Nong Siao 584.10 กม. ป้ายหยุดรถ หัวเมือง สอง
สอง Song 591.00 กม. 2 บ้านหนุน *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ
- เข้าอุโมงค์ อ.สอง แห่งที่ 1 ยาว 1125.00 เมตร กม.ที่ 606.200-607.325
- เข้าอุโมงค์ อ.สอง แหงที่2 ยาว 6375.00 เมตร กม.ที่ 609.050-615.425
แม่ตีบ Mae Tip 618.00 กม. ป้ายหยุดรถ แม่ตีบ งาว ลำปาง *เข้าเขตจังหวัดลำปาง
งาว Ngao 637.00 กม. 2 หลวงเหนือ *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ
ปงเตา Pong Tao 642.25 กม. ป้ายหยุดรถ ปงเตา
- เข้าอุโมงค์ มหาวิทยาลัยพะเยา ยาว 2825.00 เมตร กม.ที่ 663.400-666.225
มหาวิทยาลัยพะเยา Phayao University 670.60 กม. 2 แม่กา เมืองพะเยา พะเยา *เข้าเขตจังหวัดพะเยา
บ้านโทกหวาก Ban Thok Wak 677.55 กม. ป้ายหยุดรถ
พะเยา Phayao 683.40 กม. 1 จำป่าหวาย *เป็นสถานีขนาดใหญ่
ดงเจน Dong Chen 689.75 กม. ป้ายหยุดรถ ท่าวังทอง *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ
บ้านร้อง Ban Rong 696.55 กม. ป้ายหยุดรถ ดงเจน ภูกามยาว
บ้านใหม่ (พะเยา) Ban Mai 709.90 กม. ป้ายหยุดรถ ห้วยแก้ว
ป่าแดด Pa Daet 724.55 กม. 2 โรงช้าง ป่าแดด เชียงราย *เข้าเขตจังหวัดเชียงราย *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ
ป่าแงะ Pa Ngae 732.20 กม. ป้ายหยุดรถ ป่าแงะ
บ้านโป่งเกลือ Ban Pong Kluea 743.20 กม. ป้ายหยุดรถ ดอยลาน เมืองเชียงราย
สันป่าเหียง San Pa Hiang 756.10 กม. ป้ายหยุดรถ ห้วยสัก
เชียงราย Chiang Rai 771.80 กม. 1 เวียงชัย เวียงชัย *จุดจอดขนถ่ายตู้สินค้า เป็นสถานีขนาดใหญ่
ทุ่งก่อ Thung Ko 785.50 กม. ป้ายหยุดรถ ทุ่งก่อ
เวียงเชียงรุ้ง Waing Chiang Rung 796.45 กม. 2 ทุ่งก่อ เวียงเชียงรุ้ง *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ
ชุมทางบ้านป่าซาง Pa Sang Junction 807.43 กม. 3 ป่าซาง *ส่วนต่อขยาย ช่วงชุมทางบ้านป่าซาง-เชียงแสน
- เข้าอุโมงค์ อ.ดอยหลวง ยาว 3600.00 เมตร กม.ที่ 816.600-820.200
บ้านเกี๋ยง Ban Kiang 829.25 กม. ป้ายหยุดรถ ห้วยซ้อ เชียงของ เชียงราย
ศรีดอนชัย Si Don Chai 839.19 กม. ป้ายหยุดรถ ศรีดอนชัย
เชียงของ Chiang Khong 853.79 กม. 2 สถาน *จุดเชื่อมต่อกับสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
  • จุดจอดขนถ่ายตู้สินค้า
  • เป็นสถานีปลายทาง
  • เป็นสถานีขนาดใหญ่
ชุมทางบ้านป่าซาง-เชียงแสน
ชุมทางบ้านป่าซาง Pa Sang Junction 807.43 กม. 3 ป่าซาง เวียงเชียงรุ้ง เชียงราย *เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงของ (เส้นทางหลัก)
โชคชัย Chok Chai 814.25 กม. 3 โชคชัย ดอยหลวง
เชียงแสน Chiang San 830.00 กม. 2 เวียง เชียงแสน *เป็นสถานีปลายทาง

จังหวัด อำเภอที่ผ่าน

จังหวัดเชียงราย

จังหวัดพะเยา

จังหวัดลำปาง

จังหวัดแพร่

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ฐานข้อมูลการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย