ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครสงขลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SomsakTan (คุย | ส่วนร่วม)
OktaRama2010 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| ชื่อไทย = สงขลา
| ชื่อไทย = สงขลา
| image = City of Songkhla.jpg
| image = City of Songkhla.jpg
| seal = นครสงขลา.jpg
| seal = {{#property:p158}}
| ชื่ออังกฤษ = Songkhla
| ชื่ออังกฤษ = Songkhla
|ขนาดเทศบาล = นคร
|ขนาดเทศบาล = นคร

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:23, 7 เมษายน 2561

เทศบาลนครสงขลา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Nakhon Songkhla
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครสงขลา
ตรา
คำขวัญ: 
นครสงขลา 2560 นครแห่งความสุขและอนาคตที่ยั่งยืน
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอเมืองสงขลา
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายสมศักดิ์ ตันติเศรณี
พื้นที่
 • ทั้งหมด9.27 ตร.กม. (3.58 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด69,523 คน
 • ความหนาแน่น7,499.78 คน/ตร.กม. (19,424.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครสงขลา
ถนนราชดำเนิน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
โทรศัพท์0 7431 1015
เว็บไซต์http://songkhlacity.go.th/ http://songkhlacity.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครสงขลา หรือ นครสงขลา ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เทศบาลนครสงขลาเป็นเมืองเอกของจังหวัดสงขลาเพราะตั้งอยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทย จึงทำให้มีการค้าขายทางพานิชย์นาวีป็นจำนวนมาก เทศบาลนครสงขลาเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่ง เช่น ที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลา โรงเรียนมหาวชิราวุธ โรงเรียนวรนารีเฉลิม กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา เป็นต้น

ประวัติ

สมัยโบราณสงขลาเป็นชุมชนประมงบนคาบสมุทรสทิงพระ ต่อมาพ่อค้าชาวตะวันตกใช้เป็นท่าเรือขนส่งสินค้า ชุมชนจึงขยายตัวเป็นเมืองท่าสำคัญที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ว่า "Singora(ซิงกอรา)" โดยชื่อนี้สามารถสันนิษฐานได้หลายแบบ โดยข้อสันนิษฐานที่เด่นชัดที่สุด คือ เมืองสงขลาในสมัยก่อนมีชื่อว่า สิงขร เมื่อพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาจึงได้มีการเรียกตามสำเนียงฝรั่ง และเพื้ยนมาเป็นสงขลาในปัจจุบัน

สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งกองทัพมาทำลายเมืองอย่างราบคาบ จึงได้มีการย้ายตัวเมืองไปยังฝั่งแหลมสน (ปัจจุบันอยู่ที่บ้านบ่อเตย อำเภอสิงหนคร) ส่วนเจ้าเมืองก็จะเป็นชาวพื้นเมืองบ้าง ชาวจีนบ้าง ตามยุคสมัยนั้นๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองสงขลามีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรสยาม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเมืองใหญ่ขึ้นใหม่ที่ฝั่งบ่อยาง (ที่ตั้งปัจจุบัน) ใช้เวลาสร้างเมืองนานถึง 10 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาพำนักอยู่ถึง 2 ครั้ง

ในปี พ.ศ. 2439 สงขลาเป็นที่ตั้งของที่ว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2463 สถาปนาเป็นสุขาภิบาลเมืองสงขลา ปี พ.ศ. 2478 ยกฐานะขึ้นเมืองเทศบาลเมืองสงขลา และในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองสงขลาเป็นเทศบาลนครสงขลา (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 110 ก. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2542) และก่อตั้งเป็นเทศบาลนครสงขลา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2542

การฆาตกรรมนายกเทศมนตรี เทศบาลนครสงขลา

เมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา รับแจ้งเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนสงครามยิงถล่มนายพีระ ตันติเศรณี อายุ 53 ปี นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา เสียชีวิต เหตุเกิดบริเวณหน้าร้านสงขลาฟอรั่ม เลขที่ 97 ถนนนครใน เขตเทศบาลนครสงขลา ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา ซึ่งเปิดเป็นศูนย์ประสานงานโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา จากการตรวจสอบพบว่า นายพีระถูกยิงเสียชีวิตอยู่หน้าร้านดังกล่าว มีบาดแผลถูกยิงด้วยอาวุธปืนสงครามเอ็ม 16 และคาร์บิน เข้าลำตัวและศีรษะจนพรุน

ในที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนปืนทั้งสองชนิดตกอยู่เกือบ 50 ปลอก สอบสวนเบื้องต้นทราบว่า ก่อนเกิดเหตุนายพีระได้เข้าไปร่วมประชุมกับกลุ่มเอ็นจีโอเรื่องปัญหาสารกัมมันตรังสี หลังได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดินที่ลงพื้นที่ติดตามปัญหาในวันดังกล่าว หลังประชุมเสร็จได้เดินออกมาขึ้นรถตู้ประจำตำแหน่ง ยี่ห้อโตโยต้าสีบรอนซ์เงิน ทะเบียน นข 3336 สงขลา ที่จอดเยื้องออกไปหน้าร้าน ได้มีกลุ่มคนร้าย 3 คนขับรถกระบะวีโก้ สีบรอนซ์ ไม่ทราบหมายเลขทะเบียนขับมาจอดด้านหน้าร้านดังกล่าว ก่อนใช้อาวุธสงครามกราดยิงจนเสียชีวิตคาที่ ทั้งยังกราดยิงรถตู้ของนายพีระจนพรุนทั้งด้านหน้าและหลัง ก่อนหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว หลังเกิดเหตุนายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เดินทางมาร่วมตรวจสอบร่วมกับตำรวจ พร้อมสั่งการให้สกัดจับรถยนต์ของคนร้ายตามเส้นทางขาออกตัวเมืองสงขลาทุกเส้นทาง รวมทั้งวิทยุประสานตำรวจทุกสถานีที่คาดว่าจะเป็นเส้นทางที่คนร้ายจะหลบหนีแต่ยังไร้วี่แวว

สำหรับสาเหตุของการสังหารนายพีระที่เพิ่งเข้าดำรงตำแหน่งนี้ในสมัยแรกนั้น ตำรวจมุ่งประเด็นไปที่เรื่องการเมืองท้องถิ่น โดยเฉพาะการบริหารงานภายในของเทศบาลนครสงขลา ซึ่งก่อนหน้านี้รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา ได้ขอลาออกยกชุด 4 คน เนื่องจากไม่พอใจการทำงานของนายพีระ ต่อมานายพีระได้สั่งพักราชการข้าราชการประจำของเทศบาลนครสงขลาอีก 8 คน และได้มีการยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ส่วนประเด็นการเคลื่อนไหวให้มีการขนย้ายสารกัมมันตรังสีของบริษัทหนึ่งนั้น ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ แต่ก็ยังไม่ตัดประเด็นส่วนตัวทิ้งเช่นกัน ขณะที่นายไกรเลิศ เรืองสงฆ์ ประธานสภาเทศบาลนครสงขลา เปิดเผยว่า เป็นเหตุที่อุกอาจมาก เนื่องจากจุดที่เกิดเหตุอยู่กลางเมือง อีกทั้งอาวุธที่คนร้ายใช้เป็นอาวุธสงคราม สาเหตุเบื้องต้นเชื่อว่ามาจากเรื่องขัดแย้งทางการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่

มีรายงานว่า หลังเกิดเหตุก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางถึงประเด็นสังหาร ส่วนใหญ่ให้น้ำหนักเรื่องขัดแย้งการเมืองท้องถิ่น แม้ช่วงนี้จะมีเรื่องการตรวจสอบเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีก็ตาม แต่ไม่น่าเป็นประเด็นรุนแรงถึงขั้นลอบสังหาร

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครสงขลา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 32.8
(91)
32.8
(91)
36.5
(97.7)
38.2
(100.8)
36.5
(97.7)
36.5
(97.7)
36.2
(97.2)
36.2
(97.2)
35.9
(96.6)
35.2
(95.4)
34.0
(93.2)
33.3
(91.9)
38.2
(100.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.6
(85.3)
30.4
(86.7)
31.4
(88.5)
32.6
(90.7)
32.9
(91.2)
32.8
(91)
32.6
(90.7)
32.6
(90.7)
32.2
(90)
31.1
(88)
29.6
(85.3)
29.1
(84.4)
31.41
(88.54)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 27.1
(80.8)
27.6
(81.7)
28.3
(82.9)
29.0
(84.2)
28.9
(84)
28.5
(83.3)
28.3
(82.9)
28.3
(82.9)
27.9
(82.2)
27.4
(81.3)
26.9
(80.4)
26.7
(80.1)
27.91
(82.24)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 24.0
(75.2)
24.1
(75.4)
24.2
(75.6)
24.6
(76.3)
24.6
(76.3)
24.3
(75.7)
23.9
(75)
24.0
(75.2)
23.8
(74.8)
23.8
(74.8)
23.9
(75)
24.0
(75.2)
24.1
(75.38)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 19.1
(66.4)
20.3
(68.5)
19.7
(67.5)
21.0
(69.8)
21.8
(71.2)
20.2
(68.4)
21.1
(70)
21.3
(70.3)
21.0
(69.8)
20.7
(69.3)
20.4
(68.7)
20.7
(69.3)
19.1
(66.4)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 59.9
(2.358)
35.3
(1.39)
47.2
(1.858)
79.6
(3.134)
119.5
(4.705)
93.0
(3.661)
91.5
(3.602)
109.0
(4.291)
130.5
(5.138)
247.7
(9.752)
553.8
(21.803)
418.1
(16.461)
1,985.1
(78.154)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 9.0 3.7 5.7 7.8 12.7 12.4 12.5 13.3 14.3 20.3 22.5 19.7 153.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 254.2 353.1 263.5 264.0 232.5 207.0 213.9 213.9 189.0 182.9 159.0 182.9 2,715.9
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization.[1]
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory (sun only, 1961-1990),[2] NOAA (extremes, 1961-1990)[3]

การคมนาคม

  1. ถนนนครนอก เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างถนนฉวาง-กำแพงเพชร
  2. ถนนกาญจนวนิช เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างเทศบาลนครสงขลาและตัวอำเภอหาดใหญ่ เริ่มต้นจาก แยกคลองหวะ ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผ่านแยกน้ำกระจาย ไปสิ้นสุดที่แยกสำโรง ในเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
  3. ถนนลพบุรีราเมศวร์ ถนนเส้นนี้สร้างเพื่อเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ โดยเริ่มต้นจาก แยกน้ำกระจาย แยกบิ๊กซี (แยกคลองแหเก่า) แยกสนามบิน สิ้นสุดที่ถนนเพชรเกษม
  4. ถนนนครศรีธรรมราช-นาทวี เป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลาโดยไม่ต้องผ่านจังหวัดพัทลุง เริ่มต้นจาก แยกหัวถนน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช วิ่งลงใต้ผ่านอำเภอสทิงพระ เกาะยอ (เป็นที่ตั้งสะพานติณสูลานนท์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย) ผ่านแยกน้ำกระจาย แยกอ่างทอง อำเภอจะนะ และสิ้นสุดที่แยกนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

โรงเรียน

ระดับมัธยมศึกษา

  1. โรงเรียนมหาวชิราวุธ
  2. โรงเรียนวรนารีเฉลิม
  3. โรงเรียนวชิรานุกูล
  4. โรงเรียนเทศบาล 4 (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)
  5. โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)
  6. โรงเรียนแจ้งวิทยา (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)
  7. โรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์ สงขลา

ระดับประถมศึกษา

  1. โรงเรียนอนุบาลสงขลา
  2. โรงเรียนวิเชียรชม
  3. โรงเรียนหวังดี
  4. โรงเรียนสงขลามูลนิธิ
  5. โรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนนครนอก)
  6. โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ)
  7. โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง)
  8. โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดแหลมทราย)
  9. โรงเรียนสุมิตรา
  10. โรงเรียนจุลสมัย

นายกเทศมนตรี

อ้างอิง

  1. "Climatological Information for Songkhla". World Meteorological Association. สืบค้นเมื่อ 27 March 2012.
  2. "Climatological Information for Songkhla, Thailand". Hong Kong Observatory. สืบค้นเมื่อ 27 March 2012.
  3. "Climate Normals for Songkhla". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 8 February 2013.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น