ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางรถไฟสายแม่กลอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DaJim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงเคยเสด็จพระราชดำเนินประทับรถไฟพระที่นั่ง ผ่านทางรถไฟสายนี้เมื่อวันที่ [[18 มีนาคม]] [[ร.ศ. 124]] (พ.ศ. 2448) เพื่อทรงทำพิธีเปิด[[ถนนถวาย]] [[ตำบลท่าฉลอม]] [[อำเภอเมืองสมุทรสาคร]]
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงเคยเสด็จพระราชดำเนินประทับรถไฟพระที่นั่ง ผ่านทางรถไฟสายนี้เมื่อวันที่ [[18 มีนาคม]] [[ร.ศ. 124]] (พ.ศ. 2448) เพื่อทรงทำพิธีเปิด[[ถนนถวาย]] [[ตำบลท่าฉลอม]] [[อำเภอเมืองสมุทรสาคร]]


ในอดีตทางรถไฟสายแม่กลอง จะสิ้นสุดที่[[สถานีรถไฟคลองสาน]]ริม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] (ปัจจุบันกลายเป็นตลาดท่าน้ำรถไฟคลองสาน) แต่ได้ถูกยกเลิกทางรถไฟช่วงนี้ไปในสมัย [[จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เป็นนายกรัฐมนตรีจึงทำให้ทางรถไฟสายนี้สิ้นสุดที่สถานีวงเวียนใหญ่ดังเช่นปัจจุบัน ส่วนทางที่ยกเลิกไปได้ถมเป็นถนนและตั้งชื่อว่า[[ถนนเจริญรัถ]] โดยเป็นถนน 3 ช่องทาง ซึ่งช่องทางกลางในอดีตคือรางรถไฟ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/040/739.PDF การเปิดรถไฟสายท่าจีน] เล่มที่ ๒๑ ตอนที่ ๔๐ ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ หน้าที่ ๗๓๙ </ref><ref>{{อ้างหนังสือ
ในอดีตทางรถไฟสายแม่กลอง จะสิ้นสุดที่[[สถานีรถไฟปากคลองสาน]]ริม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] (ปัจจุบันกลายเป็นตลาดท่าน้ำรถไฟคลองสาน) แต่ได้ถูกยกเลิกทางรถไฟช่วงนี้ไปในสมัย [[จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เป็นนายกรัฐมนตรีจึงทำให้ทางรถไฟสายนี้สิ้นสุดที่สถานีวงเวียนใหญ่ดังเช่นปัจจุบัน ส่วนทางที่ยกเลิกไปได้ถมเป็นถนนและตั้งชื่อว่า[[ถนนเจริญรัถ]] โดยเป็นถนน 3 ช่องทาง ซึ่งช่องทางกลางในอดีตคือรางรถไฟ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/040/739.PDF การเปิดรถไฟสายท่าจีน] เล่มที่ ๒๑ ตอนที่ ๔๐ ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ หน้าที่ ๗๓๙ </ref><ref>{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=โรม บุนนาค
|ผู้แต่ง=โรม บุนนาค
|ชื่อหนังสือ=ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เรื่องเก่าเล่าสนุก ๒
|ชื่อหนังสือ=ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เรื่องเก่าเล่าสนุก ๒

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:05, 7 พฤศจิกายน 2556

ทางรถไฟสายแม่กลอง
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของสำนักงานรถไฟสายแม่กลอง (อดีต)
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน)
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร
จังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสงคราม
ปลายทาง
จำนวนสถานี18 (วงเวียนใหญ่-มหาชัย)
15 (บ้านแหลม-แม่กลอง)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟระหว่างเมือง
ระบบรถไฟทางไกล
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
เส้นทาง2
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
ศูนย์ซ่อมบำรุงโรงรถดีเซลรางสมุทรสาคร (มหาชัย)
ประวัติ
เปิดเมื่อ29 ธันวาคม พ.ศ. 2447 (วงเวียนใหญ่-มหาชัย)
10 มิถุนายน พ.ศ. 2448 (บ้านแหลม-แม่กลอง)
ปิดเมื่อ1 มกราคม พ.ศ. 2504 (ปากคลองสาน-วงเวียนใหญ่)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง33.1 กม. (20.57 ไมล์) (วงเวียนใหญ่-มหาชัย)
33.8 กม. (21 ไมล์) (บ้านแหลม-แม่กลอง)
รางกว้างราง 1 เมตร ทางเดี่ยว

ทางรถไฟสายแม่กลอง เป็นทางรถไฟที่เดินรถจากฝั่งธนบุรี ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2444 และ พ.ศ. 2448 เป็นระยะทาง 66.9 กิโลเมตร อยู่ในการดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยเส้นทาง 2 ช่วงจาก สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ถึงสถานีรถไฟมหาชัย ระยะทาง 31.2 กิโลเมตร และจากสถานีรถไฟบ้านแหลม ถึงสถานีรถไฟแม่กลอง ระยะทาง 33.57 กิโลเมตร โดยระหว่างสถานีมหาชัยกับสถานีบ้านแหลม จะไม่มีเส้นทางเชื่อมถึงกัน ผู้โดยสารจะต้องลงจากขบวนรถ และเดินเท้าไปขึ้นเรือข้ามฟากข้ามแม่น้ำท่าจีน เพื่อไปต่อรถไฟอีกขบวนหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคยเสด็จพระราชดำเนินประทับรถไฟพระที่นั่ง ผ่านทางรถไฟสายนี้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) เพื่อทรงทำพิธีเปิดถนนถวาย ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ในอดีตทางรถไฟสายแม่กลอง จะสิ้นสุดที่สถานีรถไฟปากคลองสานริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ปัจจุบันกลายเป็นตลาดท่าน้ำรถไฟคลองสาน) แต่ได้ถูกยกเลิกทางรถไฟช่วงนี้ไปในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงทำให้ทางรถไฟสายนี้สิ้นสุดที่สถานีวงเวียนใหญ่ดังเช่นปัจจุบัน ส่วนทางที่ยกเลิกไปได้ถมเป็นถนนและตั้งชื่อว่าถนนเจริญรัถ โดยเป็นถนน 3 ช่องทาง ซึ่งช่องทางกลางในอดีตคือรางรถไฟ[1][2]

ประวัติ

เดิมรถไฟสายนี้เดินรถโดยบริษัทเอกชน คือ บริษัท รถไฟท่าจีน ทุนจำกัด (บริษัทท่าจีนเรวเวกัมปนีลิมิเต็ตทุนจำกัด) ได้รับสัมปทานเดินรถตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 จากสถานีรถไฟปากคลองสาน ถึงสถานีรถไฟมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร ระยะเวลา 40 ปี ถึง พ.ศ. 2484 ระยะทางทั้งสิ้น 33.1 กิโลเมตร[3]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดเส้นทางปากคลองสาน-มหาชัย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447) และเปิดให้ประชาชนใช้งานตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2448) [4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 บริษัท แม่กลอง ทุนจำกัด ได้รับสัมปทานเดินรถช่วงที่สอง[5] จากสถานีรถไฟบ้านแหลมที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับสถานีรถไฟมหาชัย ถึงสถานีรถไฟแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เริ่มเดินรถตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ระยะเวลา 40 ปี ถึง พ.ศ. 2488 ระยะทางทั้งสิ้น 33.8 กิโลเมตร

ทางรถไฟสายแม่กลองนี้ ไม่มีเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟสายอื่น ทำให้การขนส่งขบวนรถเพื่อซ่อมบำรุง ต้องบรรทุกขบวนรถจากสถานีซ่อมบำรุงทีสถานีรถไฟบางกอกน้อย หรือสถานีรถไฟมักกะสันขึ้นแพขนานยนต์

ต่อมาบริษัทรถไฟท่าจีน และบริษัทแม่กลอง ได้รับพระบรมราชานุญาตให้รวมเป็นบริษัทเดียวกัน ใช้ชื่อว่า บริษัทแม่กลอง ทุนจำกัด[6] และเดินรถจนกระทั่งหมดสัมปทานในปี พ.ศ. 2488 จึงได้ขายกิจการให้กับกรมรถไฟ ภายใต้องค์กรรถไฟสายแม่กลอง เปลี่ยนสถานะเป็น สำนักงานรถไฟสายแม่กลอง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 และรวมเข้ากับการรถไฟแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498

ปัจจุบันเส้นทางช่วงสถานีรถไฟปากคลองสาน ถึงสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ไม่มีการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504 สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยยังคงรางรถไฟไว้ แต่ราดยางมะตอยทับไว้

พิกัด กม.ของสถานีรายทาง

ช่วงวงเวียนใหญ่-มหาชัย

ช่วงแม่น้ำท่าจีน-แม่กลอง

รายชื่อสถานีรถไฟ

วงเวียนใหญ่ - มหาชัย

ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ ชื่อภาษาอังกฤษ เลขรหัส หลัก กม. ชั้นสถานี ตัวย่อ หมายเหตุ
วงเวียนใหญ่ - มหาชัย
ปากคลองสาน Pak Khlong San ยกเลิกใช้งานตั้งแต่ 1 ม.ค. 2504
วงเวียนใหญ่ Wongwian Yai 500 0.00 กม. 2 งญ.
ตลาดพลู Talat Phlu 5003 1.78 กม. 4 ลู.
คลองต้นไทร Khlong Ton Sai 5004 3.35 กม. ที่หยุดรถไฟ ไซ.
จอมทอง Chom Tong 5005 4.13 กม. ป้ายหยุดรถไฟ ทจ.
วัดไทร Wat Sai 5007 5.76 กม. ป้ายหยุดรถไฟ วซ.
วัดสิงห์ Wat Sing 5008 7.15 กม. 4 สิ.
บางบอน Bang Bon 5009 9.76 กม. ที่หยุดรถไฟ าา.
การเคหะธนบุรี Khan Keha 5010 10.23 กม. ที่หยุดรถไฟ เค.
รางสะแก Rang Sakae 5011 10.53 กม. ป้ายหยุดรถไฟ รแ.
รางโพธิ์ Rang Pho 5012 14.25 กม. 4 รโ.
สามแยก Sam Yaek 5013 15.83 กม. ป้ายหยุดรถไฟ แย.
พรมแดน Phrom Daen 5014 17.29 กม. ที่หยุดรถไฟ พแ.
ทุ่งสีทอง Thung Si Thong 5034 18.76 กม. ป้ายหยุดรถไฟ
บางน้ำจืด Bang Nam Jued 5015 19.97 กม. ที่หยุดรถไฟ นจ.
คอกควาย Khok Khwai 5016 22.99 กม. ที่หยุดรถไฟ วา.
บ้านขอม Ban Khom 5017 26.76 กม. ที่หยุดรถไฟ ขม.
คลองจาก Khlong Chak 5033 29.76 กม. ป้ายหยุดรถไฟ
มหาชัย Maha Chai 5018 31.22 กม. 1 ชั.

บ้านแหลม - แม่กลอง

ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ ชื่อภาษาอังกฤษ เลขรหัส หลัก กม. ชั้นสถานี ตัวย่อ หมายเหตุ
วงเวียนใหญ่ - มหาชัย
บ้านแหลม Ban Laem 5019 0-180 4 แห.
ท่าฉลอม Tha Chalom 5020 1+240 ที่หยุดรถไฟ ฉอ.
บ้านชีผ้าขาว Ban Chi Phakhao 5021 3+890 ป้ายหยุดรถไฟ ผา.
คลองนกเล็ก Khlong Nok Lek 5035 5+950 ป้ายหยุดรถไฟ ลเ.
บางสีคต Bang Si Kot 5022 6+900 ที่หยุดรถไฟ บ ี.
บางกระเจ้า Bang Krachao 5023 8+860 ที่หยุดรถไฟ ะจ.
บ้านบ่อ Ban Bo 5024 10+900 ที่หยุดรถไฟ บ ่.
บางโทรัด Bang Thorat 5025 13+320 ที่หยุดรถไฟ งโ.
บ้านกาหลง Ban Ka Long 5026 15+780 ที่หยุดรถไฟ กห.
บ้านนาขวาง Ban Na Khwang 5027 17+940 ที่หยุดรถไฟ บ ้.
บ้านนาโคก Ban Na Khok 5028 19+970 ที่หยุดรถไฟ าโ.
เขตเมือง Ket Muang 5029 23+730 ป้ายหยุดรถไฟ ดเ. เข้าเขตจังหวัดสมุทรสงคราม
ลาดใหญ่ Lad Yai 5030 27+660 ที่หยุดรถไฟ ลญ.
บางกระบูน Bang Krabun 5031 30+160 ที่หยุดรถไฟ ก ู. ยกเลิกใช้งานแล้ว
แม่กลอง Mae Klong 5032 33+750 4 แอ.

แผนในอนาคต

ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะทำการย้ายสถานีต้นทางหลักของกรุงเทพ จากสถานีหัวลำโพง มาที่ ชุมทางบางซื่อ และเมื่อรวมเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง (สายกรุงเทพ-นครราชสีมา)และ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เข้าไว้ที่ชุมทางบางซื่อเป็นสถานีหลักแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร พร้อมจัดเส้นทางใหม่ จากบางซื่อไปนครปฐม เป็นสายตะวันตก จากบางซื่อ ไปหัวลำโพง วงเวียนใหญ่ มหาชัย จนถึงปากท่อ[8] ตลอดจนทุกสถานีหลังจากนี้ นับเป็นสายใต้(เส้นทางใหม่) จากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชี ยังเป็นสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดิม จากบางซื่อไปสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา เป็นสายตะวันออกตามเดิม และแยกเพิ่มอีก 2 เส้นทางคือ รถไฟด่วนพิเศษ (เส้นทางแรก กรุงเทพ-นครราชสีมา) และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SARL : Suvarnabhumi Airport Rails Link)

อ้างอิง

  1. การเปิดรถไฟสายท่าจีน เล่มที่ ๒๑ ตอนที่ ๔๐ ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ หน้าที่ ๗๓๙
  2. โรม บุนนาค. ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เรื่องเก่าเล่าสนุก ๒. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2552. 216 หน้า. ISBN 978-611-7180-00-2
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทท่าจีนเรลเวกำปนีทุน จำกัด เล่มที่ ๑๙ ตอนที่ ๔๓ ประกาศ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๕ หน้าที่ ๘๒๓
  4. ประวัติทางรถไฟสายแม่กลอง
  5. ประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทรถไฟแม่กลองทุนจำกัด เล่มที่ ๒๒ ตอนที่ ๑๙ ประกาศวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ หน้าที่ ๔๒๓
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทรถไฟแม่กลองทุนจำกัดเล่มที่ ๒๕ ตอนที่ ๒๘ ประกาศวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ หน้าที่ ๗๙๒
  7. รถไฟไทยดอตคอม
  8. http://61.19.96.11/tanarak/website_tanarak/Province/news_anounce_detail.php?docId=42&id=6408&provinceId=60&PHPSESSID=e07b391d23903dfb17b892ceb18d7f44 การประชุมกลุ่มย่อยโครงการศึกษาระบบรถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกลเชื่อมต่อระบบขนส่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สายใต้ มหาชัย-ปากท่อ

แหล่งข้อมูลอื่น