ดองกิโฮเต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ดองกิโฮเต้ จำกัด
ประเภทPublic K.K. (TYO: 7532)
อุตสาหกรรมการค้าปลีก
ก่อตั้ง5 กันยายน พ.ศ. 2523 (โตเกียว, ญี่ปุ่น)
สำนักงานใหญ่เมงูโระ, ญี่ปุ่น
จำนวนที่ตั้ง
322 ร้านค้า (เมษายน พ.ศ. 2562)[1]
พื้นที่ให้บริการ
ญี่ปุ่น
สิงคโปร์
ฮาวาย
ไทย
ฮ่องกง
มาเก๊า
ไต้หวัน
มาเลเซีย
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า, อาหาร, อัญมณี, ของใช้ในบ้าน, เครื่องมือ, สินค้ากีฬาและอิเล็กทรอนิกส์
พนักงาน
4,391
บริษัทแม่แพน แปซิฟิค อินเตอร์เนชันแนล โฮลดิ้งส์[2]
เว็บไซต์donki.com (ญี่ปุ่น)

ดองกิโฮเต้ (ญี่ปุ่น: ドン・キホーテโรมาจิDon kihōte) เป็นร้านค้าขายของลดราคาจากประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งใน 5 กันยายน พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) มีสาขามากกว่า 160 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศอีก 10 สาขา สิงคโปร์, ไทยและฮ่องกง ใช้ชื่อร้านว่า ดอง ดอง ดองกิ (อังกฤษ: Don Don Donki) ส่วน ฮาวาย ใช้ชื่อร้านเดิม[3][4]

ประวัติ[แก้]

สาขาในประเทศญี่ปุ่น[แก้]

ดองกิโฮเต้ในประเทศไทย[แก้]

บริษัท แพน แปซิฟิค อินเตอร์เนชันแนล โฮลดิ้งส์ จำกัด ถือหุ้น 49% ร่วมทุนกับ บริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 40% และ บริษัท พี พี ไอ จำกัด ถือหุ้น 11% บริหารงานโดย บริษัท ดองกิ ทองหล่อ จำกัด สาขาแรกตั้งอยู่ในศูนย์การค้า ดองกิ มอลล์ ทองหล่อ ถนนทองหล่อ เขตวัฒนา ใช้ชื่อร้านว่า ดอง ดอง ดองกิ ชื่อเดียวกันจากประเทศสิงคโปร์ เป็นสาขาแรกในประเทศไทย และเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียนต่อจากประเทศสิงคโปร์ที่ได้เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2558 ปลายปี พ.ศ. 2562 บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เข้ามาถือหุ้นเปลี่ยนสัดส่วนแบ่งใหม่เป็น บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 22% บริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นลงมาอยู่ที่ 18% และ บริษัท พี พี ไอ จำกัด ที่เป็นบริษัทลูกของแพน แฟซิฟิคฯ ถือหุ้นในสัดส่วน 60%[5][6]

สาขาในประเทศไทย[แก้]

ดอง ดอง ดองกิ สาขาทองหล่อ
ชื่อสาขา วันที่เริ่มเปิดดำเนินการ เขต/อำเภอที่ตั้ง จังหวัดที่ตั้ง ตั้งอยู่ใน
ทองหล่อ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ดองกิ มอลล์ ทองหล่อ
ศรีนครินทร์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เขตประเวศ ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
ปทุมวัน 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564[7] เขตปทุมวัน เอ็มบีเคเซ็นเตอร์
บางแค 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565[8][9][10] เขตภาษีเจริญ ซีคอนบางแค
ศรีราชา 9 กันยายน พ.ศ. 2565 อำเภอศรีราชา ชลบุรี เจ-พาร์ค ศรีราชา นิฮอน มูระ
สีลม 23 มกราคม พ.ศ. 2566[11] เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ธนิยะ พลาซา

สาขาที่ปิดกิจการ[แก้]

ชื่อสาขา วันที่เริ่มเปิดดำเนินการ วันที่ปิดกิจการ เขต/อำเภอที่ตั้ง จังหวัดที่ตั้ง ตั้งอยู่ใน
ราชประสงค์ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 4 กันยายน พ.ศ. 2565[12][13] เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เดอะ มาร์เก็ต แบงค็อก

อ้างอิง[แก้]

  1. "月次売上高速報 (Monthly Sales Report Highlights)". ppi-hd.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Pan Pacific International Holdings Corporation. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
  2. Du, Lisa. "The Cult Japanese Retailer Making Billions Breaking All the Rules". Bloomberg.com. Bloomberg L.P. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  3. "Don Quijote founder and his ties to Singapore". AsiaOne. สืบค้นเมื่อ 2017-11-29.
  4. "(Donki) Corporate History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-03-19. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  5. "อีกก้าวของ "ดองกิ" ท่ามกลางสมรภูมิ 'รีเทล' ในไทย เตรียมเปิดสาขาสอง 31 มี.ค."
  6. "สหพัฒน์ผนึกทุนญี่ปุ่นสปีด "ดองกิ" 10 สาขารวด".
  7. ดองกิเปิดสาขามาบุญครองกับคอนเซป Japan town
  8. ดองกิ จับมือซีคอน บางแค เดินหน้าขยายสาขาใหม่ รับการเติบโตของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก เตรียมเปิดสาขาที่ 5 กลางปี 2565
  9. เจาะฝั่งธน! ดองกิ จับมือ ซีคอน บางแค เตรียมเปิด ‘ดอง ดอง ดองกิ’ สาขาที่ 5 ช่วงเดือนมิถุนายน 2565
  10. ดองกิ ปักหมุดซีคอน บางแค เตรียมเปิด มิ.ย.65
  11. matichon (2022-09-01). "ดองกิ เปิดสาขา 7 ธนิยะพลาซา ต้นปีหน้า เปิดบริการ 24 ชม. พร้อมโซนโมบายฟู้ด เอาใจคนทำงานย่านสีลม". มติชนออนไลน์.
  12. ดองกิ ปิดสาขา The Market Bangkok ย่านราชประสงค์
  13. ตัดใจ “ดองกิ” ปิดทิ้งสาขา The Market ราชประสงค์ พิษโควิดทำทัวร์จีนหาย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]