ตำบลในเมือง (อำเภอเวียงเก่า)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลในเมือง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Nai Mueang
ตำบลในเมืองตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น
ตำบลในเมือง
ตำบลในเมือง
ที่ตั้งในจังหวัดขอนแก่น
พิกัด: 16°40′39.3″N 102°17′29.1″E / 16.677583°N 102.291417°E / 16.677583; 102.291417
ประเทศไทย
จังหวัดขอนแก่น
อำเภอเวียงเก่า
พื้นที่
 • ทั้งหมด58 ตร.กม. (22 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด8,971 คน
 • ความหนาแน่น154.67 คน/ตร.กม. (400.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 40150
รหัสภูมิศาสตร์402901
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลในเมือง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลในเมือง
ตรา
ประเทศ ไทย
จังหวัดขอนแก่น
อำเภอเวียงเก่า
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนิพนธ์ ภาโนชิต
รหัส อปท.06402601
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 111 หมู่ที่ 1 ถนนหนองคา–อุทยานแห่งชาติภูเวียง ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น
โทรศัพท์0 4343 8037
โทรสาร0 4343 8252
เว็บไซต์www.naimueang.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ในเมือง เป็นตำบลในอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 58 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 36,250 ไร่ โดยมีพื้นที่สาธารณประโยชน์ตามหลักฐาน นสล. 19,003 ไร่ นอกนั้นเป็นพื้นที่อาศัยและทำการเกษตรประมาณ 17,247 ไร่

ประวัติ[แก้]

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งสภาตำบลในเมืองเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง อำเภอภูเวียง[1] จนกระทั่งได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเมื่อ พ.ศ. 2552

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลในเมืองมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลอื่น ๆ ดังนี้

ภูมิประเทศ[แก้]

ตำบลในเมืองเป็นที่ราบในหุบเขา มีเขาภูเวียงล้อมรอบ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต่าง ๆ มีลำห้วยขนาดเล็กหลายสายและพื้นที่บางส่วนเป็นเขตป่าสงวนภูเขาเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง มีหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ใจกลางเป็นที่กักเก็บน้ำ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น

  • อุทยานแห่งชาติภูเวียง มีเนื้อที่ประมาณ 200,000 ไร่ เป็นภูเขาโค้งเป็นวงล้อมรอบที่ภายในหุบเขาประกอบด้วย ป่าไม้นานาพรรณ สัตว์ป่านานาชนิด และน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง เป็นแหล่งค้นพบซากไดโนเสาร์ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอสีชมพู และอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง มีลักษณะเป็นวงแหวน 2 ชั้น ตรงกลางเป็นแอ่งขนาดใหญ่คล้ายแอ่งกระทะ เมื่อประมาณ

ปี พ.ศ. 2519 ได้มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ และสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 200 ล้านปี

  • ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแรกของไทยพบที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ในปี 2519 โดยนายสุธรรม แย้มนิยม อดีตนักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ขณะสำรวจแร่ยูเรเนียม ในหมวดหินเสาขัว ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง บริเวณห้วยประตูตีหมา กระดูกชิ้นนี้มีความกว้างยาวประมาณ 1 ฟุต จากการเปรียบเทียบพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ซอโรพอด ซึ่งมีขนาดใหญ่ยาวประมาณ 15 เมตร และจากการตรวจสอบพบว่าเป็นส่วนปลายล่างสุดของกระดูกต้นขาของไดโนเสาร์จำพวกกินพืช การสำรวจไดโนเสาร์ที่ภูเวียงได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในปี 2524 โดยนายเชิงชาย ไกรคง นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณี ได้พาคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย และฝรั่งเศสขึ้นไปสำรวจกระดูกไดโนเสาร์บริเวณยอดห้วยประตูตีหมา อำเภอภูเวียงคณะสำรวจพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินพืชขนาดใหญ่ รวมทั้งฟันจระเข้ กระดองเต่า ฟันและเกล็ดปลาโบราณ และจากการสำรวจในเวลาต่อมาได้พบกระดูกไดโนเสาร์อีกหลายชนิด ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงจัดตั้งขึ้น โดยความร่วมมือของกรมทรัพยากรธรณี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ สำหรับให้การศึกษาแก่เยาวชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น

การประกอบอาชีพ[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ประมาณร้อยละ 70 รองลงมา คือ อาชีพรับจ้างร้อยละ 20 อาชีพค้าขาย และรับราชการ ร้อยละ 10 รายได้เฉลี่ย 23,000 บาท/ปี

อ้างอิง[แก้]