ตำบลท่านางแนว
ตำบลท่านางแนว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Tha Nang Naeo |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ขอนแก่น |
อำเภอ | แวงน้อย |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 43.54 ตร.กม. (16.81 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2559) | |
• ทั้งหมด | 4,760 คน |
• ความหนาแน่น | 109.32 คน/ตร.กม. (283.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 40230 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 401403 |
![]() |
องค์การบริหารส่วนตำบลท่านางแนว | |
---|---|
คำขวัญ: ตำบลท่านางแนวน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม นำชุมชนเข้มแข็ง แหล่งวัฒนธรรมประเพณี สิ่งแวดล้อมดี มีความสามัคคี นำเศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่พัฒนา แบบพึ่งพาตนเอง | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | ขอนแก่น |
อำเภอ | แวงน้อย |
รหัส อปท. | 6401403 |
ที่อยู่ที่ทำการ | หมู่ที่ 8 ถนนเมืองพล–ชัยภูมิ ตำบลท่านางแนว อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น 40230 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
ท่านางแนว เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น
ประวัติ[แก้]
ชื่อ "ท่านางแนว" มาจากหญิงชราชื่อ "อีแนว" มาล้มตายบริเวณริมฝั่งแม่น้ำชีทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน คนจึงเรียกติดปากว่า "ท่าอีแนว" แต่เป็นคำไม่สุภาพ จึงเปลี่ยนเป็น "ท่านางแนว" แต่เดิมนั้นบ้านท่านางแนวตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออก มีชื่อว่า บ้านหาดทรายมูล แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ชาวบ้านจึงย้ายมาตั้งทางทิศตะวันตกในบริเวณปัจจุบัน[1] เดิมทีท้องที่บ้านท่านางแนวเป็นหมู่บ้านในเขตตำบลโนนทอง อำเภอพล มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า "เมื่อประมาณ พ.ศ. 2426 ปลายปี มีครอบรัวหนึ่งได้พาเมียและลูกมาจากบ้านยางหวาย (อำเภอคอนสวรรค์) มาตั้งบ้านเรือนอยู่โนนตาจั่น บริเวณตะวันออกกุดเป่ง หรือเป็นบริเวณคลองส่งน้ำในปัจจุบันนี้ เดิมบ้านนี้ชื่อว่า บ้านหาดทรายมูล แต่บางคนก็เรียกบ้านใหม่ (เพราะแยกออกมาตั้งใหม่) ผู้ที่นำครอบครัวมาตั้งใหม่ชื่อ นายตา ภรรยาชื่อ นางมา (ผู้เป็นต้นตระกูล บุญเพลิง) ในขณะนั้นมีลูกอยู่ด้วยกันเพียง 4 คน คือ นายสังกา นายย่อ นางแซว และนางสุข ระหว่างที่ปลูกบ้านอยู่โนนตาจั่น ประมาณ 4–5 ปี มีบุตรด้วยกัน 1 คน แต่บุตรคนนั้นตายขณะที่ยังเล็กอยู่ น้ำในลำแม่น้ำชีก็ไหลหลากมาท่วมบริเวณบ้านทำให้เกิดความหวาดกลัว จึงอยากพาครอบครัวกลับคืนบ้านเดิม แต่นึกละอายจึงขยับขยายมาหาทำเลปลูกบ้านใหม่ พอดีมาพบที่เนินทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่เดิม (โนนป่าจั่น) เห็นว่าเป็นที่เนินสูงน้ำท่วมไม่ถึง จึงได้ย้ายบ้านเรือนมาตั้งอยู่ที่บริเวณหมู่บ้านปัจจุบันนี้"
เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2513[2] ทางราชการได้แบ่งโอนหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้านของตำบลโนนทอง อำเภอพล ออกมาจัดตั้งเป็นตำบลใหม่ ชื่อว่า ตำบลท่านางแนว อำเภอพล และต่อมาได้มีการจัดตั้งอำเภอแวงน้อยขึ้น จึงมีผลทำให้ตำบลท่านางแนวย้ายมาขึ้นกับอำเภอแวงน้อย และในเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2517 ได้จัดตั้ง สภาตำบลท่านางแนว ในพื้นที่ตำบล[3]
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งสภาตำบลท่านางแนวเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลท่านางแนว อำเภอแวงน้อย[4] จนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตำบลท่านางแนวตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกสุดของอำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลโนนทอง (อำเภอแวงใหญ่)
- ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลก้านเหลือง, ตำบลแวงน้อย
- ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลละหานนา
- ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลยางหวาย (อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ)
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ตำบลท่านางแนวแบ่งออกเป็น 10 หมู่บ้าน ดังนี้[5]
- หมู่ที่ 1 บ้านโนนเขวา
- หมู่ที่ 2 บ้านท่านางแนว
- หมู่ที่ 3 บ้านหนองบัวเลิง
- หมู่ที่ 4 บ้านโพนงาม
- หมู่ที่ 5 บ้านหนองหญ้าขาว
- หมู่ที่ 6 บ้านหนองกุง
- หมู่ที่ 7 บ้านน้ำซับ
- หมู่ที่ 8 บ้านท่านางแนว 2
- หมู่ที่ 9 บ้านท่านางแนว 3
- หมู่ที่ 10 บ้านโนนเขวา 2
การศึกษา[แก้]
- โรงเรียนปฐมวัย
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลท่านางแนว
- โรงเรียนประถมศึกษา
- โรงเรียนบ้านโนนเขวาประชาศึกษา
- โรงเรียนบ้านท่านางแนว
- โรงเรียนป่าเป้ง สาขาหนองหญ้าขาว
- โรงเรียนมัธยมศึกษา
การสาธาณสุข[แก้]
องค์การบริหารส่วนตำบลท่านางแนว มีโรงพยาบาลรัฐ 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านางแนว หมู่ 1
อ้างอิง[แก้]
- ↑ องค์การบริหารส่วนตำบลท่านางแนว จังหวัดขอนแก่น. "ประวัติและความเป็นมา" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http://www.thanangnaew.go.th/history.php?content_id=4 เก็บถาวร 2016-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ม.ป.ป.). สืบค้น 22 ธันวาคม 2560.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพล.PDFราชกิจจานุเบกษา 87 (94):3009-3011. 13 ตุลาคม 2513.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ...2515.PDFราชกิจจานุเบกษา 91 (87):5. 22 พฤษภาคม 2517.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล.PDFราชกิจจานุเบกษา 113 (พิเศษ52 ง):29. 25 ธันวาคม 2539
- ↑ ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย "ตำบลท่านางแนว" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http://khonkaen.kapook.com/แวงน้อย/ท่านางแนว (ม.ป.ป.). สืบค้น 21 ธันวาคม 2560.