ประเทศซูดาน
สาธารณรัฐซูดานของนิกก้าเซนต์[ฝรั่งดำ] | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
Republic of the Sudan (อังกฤษ)
جمهورية السودان (อาหรับ) |
||||||
|
||||||
คำขวัญ: النصر لنا (อาหรับ) "ชัยชนะเป็นของเรา" |
||||||
เพลงชาติ: نحن جيش الله والإخراج لأرضنا Nahnu Jund Allah Jund Al-watan ("เราคือกองทัพแห่งอัลลอหฺและแผ่นดินของเรา") |
||||||
เมืองหลวง | คาร์ทูม 15°00′N 30°00′E / 15.000°N 30.000°E |
|||||
เมืองใหญ่สุด | ออมเดอร์มาน | |||||
ภาษาราชการ | ภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ[1] | |||||
การปกครอง | สาธารณรัฐ | |||||
• | ประธานาธิบดี | อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร | ||||
ประกาศเอกราช | ||||||
• | จาก อียิปต์ และ สหราชอาณาจักร | 1 มกราคม พ.ศ. 2499 | ||||
พื้นที่ | ||||||
• | รวม | 1,861,484 ตร.กม. (15) 701,344 ตร.ไมล์ |
||||
• | แหล่งน้ำ (%) | 5% | ||||
ประชากร | ||||||
• | 2558 (ประเมิน) | 40,235,000[2] (35) | ||||
• | 2551 (สำมะโน) | 30,894,000 [3] | ||||
• | ความหนาแน่น | 16.4 คน/ตร.กม. 42.4 คน/ตร.ไมล์ |
||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) | |||||
• | รวม | $ 186.800 พันล้าน | ||||
• | ต่อหัว | $ 4,580 | ||||
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) | |||||
• | รวม | $ 118.979 พันล้าน | ||||
• | ต่อหัว | $ 2,917 | ||||
จีนี (2552) | 35.3 (ปานกลาง) | |||||
HDI (2559) | ![]() |
|||||
สกุลเงิน | ดีนาร์ซูดาน (SDG ) |
|||||
เขตเวลา | MSK (UTC+3) | |||||
• | ฤดูร้อน (DST) | ไม่มี (UTC+3) | ||||
ขับรถด้าน | ขวามือ | |||||
โดเมนบนสุด | .sd, سودان. | |||||
รหัสโทรศัพท์ | +249 |
ซูดาน (อังกฤษ: Sudan; อาหรับ: السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (อังกฤษ: Republic of the Sudan; อาหรับ: جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเคนยาและยูกันดา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับคองโกและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ[4] ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร์
เนื้อหา
ประวัติศาสตร์[แก้]
ซูดานหรือนิวเบียสมัยโบราณ มีชาวอียิปต์เข้ามาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยเก่าแก่ ในศตวรรษที่ 6 ชาวพื้นเมืองในซูดานหันมานับถือศาสนาคริสต์นิกายคอปติกอาหรับเข้ามาพิชิตแล้วนำเอาศาสนาอิสลามมาให้ ในทศวรรษของปี ค.ศ.1820 อียิปต์เอาซูดานไปครอบครองโดยรบชนะอาณาจักรในยุคแรกๆ ได้รวมทั้งอาณาจักรของฟุง ในช่วงทศวรรษของปี ค.ศ.1880 โมฮัมหมัด อาห์หมัด ซึ่งเรียกตัวเองว่ามาห์ธี (ผู้นำแห่งความสัตย์) กับสาวกของเขาก่อการปฏิวัติ ในปี ค.ศ.1898 กองกำลังผสมระหว่างอังกฤษและอียิปต์ บุกทำลายกองทัพผูสืบตำแหน่งต่อจากมาห์ธีร์จนพังพินาศ ในปีค.ศ.1951 รัฐสภาอียิปต์ประกาศยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษฉบับปี ค.ศ.1899 และ 1936 แล้วแก้ไขรัฐธรรมนูญอียิปต์ให้ซูดานมีรัฐธรรมนูญแยกไปจากอียิปต์ ซูดานได้รับอิสรภาพโดยสมบูรณ์มีการปกครองระบบรัฐสภาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1956 ในปี ค.ศ.1969 สภาปฏิวัติเข้ายึดอำนาจแต่งตั้งรัฐบาลพลเรือนบริหารประเทศ รัฐบาลประกาศจะสร้างซูดานเป็นรัฐสังคมนิยม 12 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับนับถือศาสนาอิสลามและเคยมีอำนาจในรัฐบาลกลางมาช้านาน ใน 3 จังหวัดทางภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นคนดำนับถือศาสนาเดิมของแอฟริกา ในปี ค.ศ.1972 รัฐบาลยอมให้จังหวัดทางใต้ปกครองตนเอง แล้วทั้งสองซีกของประเทศก็เริ่มทำสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ.1988 ในทศวรรษของปี ค.ศ.1980 ซูดานมีปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและเลวร้ายลงไปอีก เมื่อมีผู้ลี้ภัยจากประเทศใกล้เคียงหลั่งไหลเข้ามา ภายหลังอยู่ในอำนาจมา 16 ปี ประธานาธิบดีไนไมรีก็ถูกโค่นอำนาจ จากการทำรัฐประหารเมื่อปี ค.ศ.1985 ในปีค.ศ.1986 ซูดานมีการเลือกตั้งระบอบประชาธิปไตยครั้งแรกในรอบ 18 ปี แต่แล้วรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ถูกโค่นล้มอีก จากการรัฐประหารแบบไม่เสียเลือดเนื้อของฝ่ายทหารในปี ค.ศ.1989 ในปี ค.ศ.1991 ซูดานยอมให้สหประชาชาติช่วยบรรเทาทุกข์ครั้งใหญ่ เพราะมีประชากรประมาณ 7 ล้านคนที่กำลังขาดแคลนอาหาร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ซูดานมีรัฐทั้งหมด 17 รัฐ ได้แก่
พื้นที่ที่เกิดความขัดแย้ง[แก้]
นอกจากการบริหารโดยรัฐบาลกลาง ยังมีการบริหารภายนอกที่เกิดจากการทำสนธิสัญญาสันติภาพกับกลุ่มกบฏได้แก่
ส่วนการบริหารเฉพาะพื้นที่[แก้]
- เขตการปกครองตนเองดาร์ฟูร์ จัดตั้งตามข้อตกลงสันติภาพดาร์ฟูร์
- สภาศูนย์กลางรัฐซูดานตะวันออก จัดตั้งตามข้อตกลงสันติภาพซูดานตะวันออก ระหว่างรัฐบาลซูดานและกลุ่มกบฏ แนวร่วมตะวันออกเพื่อเป็นศูนย์กลางบริหารรัฐทางตะวันออกสามรัฐ
- อับเยอีตั้งอยู่ตามแนวชายแดนระหว่างซูดานกับซูดานใต้ เป็นเขตบริหารพิเศษ บริหารโดย องค์กรบริหารบริเวณอับเยอี ซึ่งเป็นไปตามประชามติใน พ.ศ. 2554 ว่าอับเยอีจะเข้าร่วมกับซูดานใต้หรืออยู่กับซูดานต่อไป
พื้นที่พิพาทหรือเกิดความขัดแย้ง[แก้]
- รัฐกูร์ดูฟันใต้ และ รัฐบลูไนล์ ซึ่งจะต้องมีการตัดสินอนาคตต่อไป
- สามเหลี่ยมฮาลาอิบ เป็นพื้นที่พิพาทระหว่างซูดานกับอียิปต์ ขณะนี้อียิปต์เป็นผู้บริหารดินแดนนี้
- บริเวณอับเยอี เป็นพื้นที่พิพาทระหว่างซูดานกับซูดานใต้ ปัจจุบันยังอยู่ในเขตของซูดาน
- บิร์ ตาวิลเป็นพื้นที่ว่างตามแนวชายแดนระหว่างอียิปต์กับซูดาน ไม่มีรัฐใดกล่าวอ้างว่าเป็นของตน
- กาเฟีย กิงงี และ สวนสาธารณะแห่งชาติราดอม เป็นส่วนหนึ่งของบัรห์เอลฆาซัล ใน พ.ศ. 2499[5] ซูดานยอมรับแนวเขตแดนของซูดานใต้ตามแนวชายแดนที่เคยกำหนดไว้เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2499[6]
- ในกลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 กองทัพซูดานใต้เข้ายึดครอง บ่อน้ำมันเฮกลิก จากซูดาน
ภูมิศาสตร์[แก้]
ซูดานตั้งอยู่ในทวีฟแอฟริกาตอนเหนือ มีทางออกทะเลที่ทะเลแดง และมีความยาวของชายฝั่งประมาณ 853 กิโลเมตร[7] ซูดานมีพื้นที่ทั้งหมด 2,505,810 ตารางกิโลเมตร และเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นอันดับสิบของโลก ซูดานมีอาณาเขตติดกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศชาด ลิเบีย อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา ยูกันดา และมีความสำคัญทางภูมิศาสตร์เพราะมีจุดที่แม่น้ำบลูไนล์และไวท์ไนล์รวมกันเป็นแม่น้ำไนล์ซึ่งอยู่ในเขตคาร์ทูม
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ซึ่งถูกแบ่งออกจากกันด้วยเทือกเขาหลายแห่ง ได้แก่เทือกเขาเจเบล มาร์ราทางตะวันตก ภูเขาคินเยติ อิมาตองบริเวณใกล้ชายแดนยูกันดา ซึ่งเป็นภูขาที่สูงที่สุด และในเขตตะวันออกมีเนินเขาทะเลแดง[8]
ทางตอนเหนือมีทะเลทรายนิวเบีย ตั้งแต่อดีตในทางตอนใต้มีปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าจึงมีพื้นที่ที่มีบึงและป่าดิบชื้น ฤดูฝนของซูดานมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือน (กรกฎาคมถึงกันยายน) ในตอนเหนือ และนานถึง 6 เดือน (มิถุนายนถึงพฤศจิกายน) ในตอนใต้ ในเขตแห้งแล้งมักเกิดพายุทรายที่เรียกว่าฮาบูบซึ่งสามารถบดบังแสงอาทิตย์ได้โดยสิ้นเชิง ในตอนเหนือและตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งทะเลทราย ผู้คนทำการเกษตรง่าย ๆ โดยพึ่งพาฝนที่ไม่ค่อยพอเพียง และมีชนเผ่าเร่ร่อนจำนวนมากที่เดินทางไปพร้อมกับฝูงแกะและอูฐ ในบริเวณใกล้แม่น้ำไนล์ มีการทำไร่ที่มีการชลประทานที่ดีกว่า ส่วนใหญ่ปลูกพืชที่ปลูกเพื่อการค้า[9]
ประเทศซูดานมีแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุหลายอย่าง เช่น ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ทอง เงิน โครไมท์ แร่ใยหิน แมงกานีส ยิปซัม ไมกา สังกะสี เหล็ก ตะกั่ว ยูเรเนียม ทองแดง เกาลิไนท์ โคบอลต์ หินแกรนิต นิกเกิล และดีบุก[10]
การแปรสภาพเป็นทะเลทรายเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของซูดาน[11] เกษตรกรมักทำการเกษตรโดยไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเช่น การทำลายป่าไม้ ปัญหาดินจืด และปัญหาระดับน้ำบาดาลลดลง[12]
ประชากร[แก้]
จากการสำรวจของซูดานในปี พ.ศ. 2536 จำนวนประชากรถูกบันทึกไว้ที่ 25 ล้านคน แต่เนื่องจากสงครามกลางเมืองที่ดำเนินต่อเนื่อง หลังจากนั้นก็ไม่มีการสำรวจที่ทั่วถึงอีก ในปี พ.ศ. 2549 สหประชาชาติประมาณว่ามีจำนวนประชากรประมาณ 36.9 ล้านคน[13] ประชากรในเขตเมืองคาร์ทูม (คาร์ทูม โอมเดอร์มาน และคาร์ทูมเหนือ) เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวนประมาณ 5-7 ล้านคน ซึ่งรวมทั้งประชากรประมาณ 2 ล้านคนที่ต้องย้ายถิ่นฐานจากเขตสงครามทางใต้และทางตะวันตก และพื้นที่แห้งแล้งทางตะวันออก
แม้ว่าซูดานจะเป็นต้นกำเนิดของผู้อพยพมากมาย แต่กลับมีชาวต่างชาติไม่น้อยอพยพเข้ามาในซูดาน ตามรายงาน World Refugee Survey 2008 ของคณะกรรมการเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพของสหรัฐอเมริกา (U.S. Committee for Refugees and Immigrants: USCRI) พบว่ามีผู้อพยพและลี้ภัยอาศัยอยู่ในซูดาน 310,500 คนในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเอริเทรีย (240,400 คน) ชาด (45,000 คน) เอธิโอเปีย (19,300 คน) และสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (2,500 คน)[14] มีการรายงานว่ารัฐบาลซูดานไม่ให้ความร่วมมือต่อข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในปี 2007 และยังส่งตัวผู้อพยพและผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 1,500 คนกลับประเทศในปีเดียวกัน[14]
ซูดานมีชนเผ่า 597 เผ่าซึ่งพูดภาษาแตกต่างกันมากกว่า 400 สำเนียงภาษา[15] แต่มีสามารถแยกออกเป็นกลุ่มวัฒนธรรมหลัก 2 พวก คือชาวอาหรับเชื้อสายนิวเบีย และคนแอฟริกันผิวดำซึ่งไม่ใช่พวกอาหรับ ซึ่งสามารถแยกย่อยออกเป็นเผ่าและกลุ่มภาษาได้อีกนับร้อยกลุ่ม รัฐในเขตเหนือมีอาณาเขตครอบคลุมเกือบทั้งประเทศและรวมเอาเขตเมืองส่วนใหญ่ไว้ด้วย ชาวซูดานที่อาศัยอยู่ในเขตนี้เป็นชาวมุสลิมที่พูดภาษาอาหรับ เพราะได้รับการศึกษาเป็นภาษาอาหรับ แต่ส่วนใหญ่มักมีภาษาแม่เป็นภาษาที่ไม่ใช่อาหรับ (เช่นนิวเบีย เบจา เฟอร์ นูบัน ฯลฯ)
ดังเช่นชาวอียิปต์ ชาวปาเลสไตน์ และชาวอาหรับอื่น ๆ ชาวอาหรับในซูดานส่วนใหญ่เป็นอาหรับโดยวัฒนธรรมมากกว่าด้วยเชื้อสาย ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากพวกนิวเบีย ซึ่งอยู่ในกลุ่มเซมิติก และหน้าตาเหมือนกับชาวเอธิโอเปีย ชาวเอริเทรีย และชาวโซมาเลีย
|
|||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ที่ | เมือง | รัฐ | ประชากร (คน) | ||||||
![]() คาร์ทูม ![]() ออมเดอร์มาน |
1 | คาร์ทูม | คาร์ทูม | 5,185,000 | ![]() คาร์ทูมเหนือ ![]() พอร์ตซูดาน |
||||
2 | ออมเดอร์มาน | คาร์ทูม | 2,395,159 | ||||||
3 | คาร์ทูมเหนือ | คาร์ทูม | 1,725,570 | ||||||
4 | พอร์ตซูดาน | ทะเลแดง | 489,725 | ||||||
5 | คาสซาลา | คัสสาลา | 419,030 | ||||||
6 | เอลโอเบด | คูร์ดูฟันเหนือ | 418,280 | ||||||
7 | วาดเมดานี | อัล จาซิราห์ | 345,290 | ||||||
8 | อัลฟาเชอร์ | ดาร์ฟูร์เหนือ | 263,243 | ||||||
9 | Ad-Damazin | บลูไนล์ | 212,712 | ||||||
10 | เจเนนา | ดาร์ฟูร์ตะวันตก | 200,000 |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "2005 constitution in English". Archived from the original on 2007-06-09. สืบค้นเมื่อ 31 May 2013.
- ↑ "United Nations world population prospects"(PDF) 2015 revision
- ↑ "Discontent over Sudan census". News24 (Cape Town). Agence France-Presse. 21 May 2009. สืบค้นเมื่อ 8 July 2011.
- ↑ "Sudan". Online Etymology Dictionary.
- ↑ Page xii – Sudan administrative map (January, 1st, 1956). (PDF) . Retrieved on 28 November 2011.
- ↑ South Sudan ready to declare independence. Menasborders.com (1956-01-01). Retrieved on 28 November 2011.
- ↑ ISS Sudan geography
- ↑ Country Studies
- ↑ Oxfam
- ↑ Sudan embassy website
- ↑ "Developing a Desertification National Action Plan in Sudan". United Nations Environment Programme. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
- ↑ Dept of Forestry, University of Khartoum
- ↑ World Population Prospects: Sudan
- ↑ 14.0 14.1 World Refugee Survey: Sudan
- ↑ Peter K. Bechtold, `More Turbulence in Sudan` in Sudan: State and Society in Crisis, ed. John Voll (Boulder, Westview, 1991) p.1
- ↑ Wick, Marc. "Sudan - Largest Cities". GeoNames. GeoNames. สืบค้นเมื่อ 6 February 2017.
|
|
|