แร่ใยหิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ก้อนแร่และเส้นใย

แร่ใยหิน (อังกฤษ: asbestos) เป็นกลุ่มของแร่ซิลิเกตที่เกิดตามธรรมชาติหกชนิดที่นิยมนำมาใช้ทางการค้าเพราะคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ดี[1] แร่ใยหินมีผลึกที่เป็นเส้นใยยาว (อัตราส่วนขนาดต่อความยาวราว 1:20) การหายใจเอาใยหินเข้าไปเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดโรคปอดได้ ซึ่งมักพบบ่อยในคนงานเหมืองใยหิน

การทำเหมืองแร่ใยหินเริ่มขึ้นกว่า 4,000 ปีมาแล้ว แต่มีขนาดจำกัดจนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การทำเหมืองแร่ใยหินมีปริมาณสูงสุดในราว ค.ศ. 1975 โดยมีการทำเหมืองในราว 25 ประเทศ เหมืองแร่ใยหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Jeffrey mine ในเมือง Asbestos รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา[2]

แร่ใยหินเป็นที่นิยมของผู้ผลิตสินค้าและผู้สร้างอาคารในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากสมบัติการดูดซับเสียง ความแข็งแรง ความทนไฟ ทนความร้อน ความต้านทานไฟฟ้า ความทนทานต่อสารเคมี และราคาที่ย่อมเยา แร่ใยหินใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าในเตาไฟฟ้าและฉนวนความร้อนในอาคาร กรณีที่ใช้ใยหินทำวัสุดทนไฟหรือทนความร้อนมักผสมกับซีเมนต์หรือทอถักทอเป็นแผ่น

สหภาพยุโรปได้ห้ามการใช้งานใยหิน[3] รวมถึงการขุดทำเหมือง การผลิต และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใยหิน[4] ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ตระหนักถึงอันตรายของใยหินและมีการออกกฎหมายควบคุมรวมถึงห้ามใช้ใยหินเป็นกรณีไป

แหล่งแร่[แก้]

ใน ค.ศ. 2009 มีการขุดแร่ใยหินราว 2 ล้านตันทั่วโลก โดยรัสเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด (50%) รองลงมาเป็นจีน (14%) บราซิล (12.5%) คาซัคสถาน (10.5%) และแคนาดา (9%).[5]

ประเภทของแร่ใยหิน[แก้]

แร่ใยหินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ แอมฟิโบล (Amphiboles) และเซอร์เพนไทน์ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้

  1. กลุ่มแอมฟิโบล (Amphiboles) แบ่งย่อยออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่ ครอซิโดไลท์ (Crocidolite) อะโมไซท์ (Amosite) ทรีโมไลท์ (Tremolite)แอนโธฟิลไลท์ (Anthophyllite) และแอคทิโนไลท์ (Actinolite)
  2. กลุ่มเซอร์เพนไทน์ (Serpentine) ได้แก่ ไครโซไทล์ (Chrysotile)

ความแตกต่างของกลุ่มแอมฟิโบล (Amphiboles)และกลุ่มเซอร์เพนไทน์ (Serpentine)[แก้]

ไครโซไทล์ (Chrysotile)ในกลุ่มเซอร์เพนไทน์ (Serpentine)และแอมฟิโบล (Amphiboles)มีส่วนประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้คุณสมบัติการสะสมและการสลายตัวในสิ่งมีชีวิตและผลกระทบต่อสุขภาพ แตกต่างกัน แร่ไครโซไทล์ (Chrysotile)นั้นมีอัตราการสะสมในสิ่งมีชีวิตต่ำและโอกาสในการก่อให้เกิดโรคน้อยกว่าแร่ใยหินแอมฟิโบล แร่ใยหิน 2 กลุ่มมีคุณสมบัติแตกต่างกันจากโครงสร้างของเส้นใย ดังนี้

  1. ใยหินกลุ่มแอมฟิโบล เส้นใยจะเป็นเส้นใยเดี่ยวรูปทรงกระบอก
  2. หินกลุ่มเซอร์เพนไทน์ เส้นใยจะมีลักษณะเป็นเกลียวพันกันคล้ายเชือก ประกอบด้วยเส้นใยย่อยจำนวนมาก

ความแตกต่างของผลกระทบทางสุขภาพจากเส้นใยชนิดต่างๆ[แก้]

ฝุ่นใยหินชนิดอะโมไซท์และโครซิโดไลท์เมื่อเข้าไปในปอดเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นใยไครโซไทล์ โอกาสเกิดโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจะมีมากกว่า 100 และ 500 เท่าตามลำดับ และโอกาสเกิดมะเร็งปอดมากกว่า 10 และ 50 เท่า ตามลำดับ การที่อันตรายมาก-น้อยต่างกันสาเหตุเนื่องมาจากโครงสร้างและความ สามารถในการละลายตัว (bio-durability) ของเส้นใยหินแต่ละชนิด

เส้นใยไครโซไทล์มีพิสัยความสามารถถูกละลายหรือสลายตัว (Solubility) สูงมากและคุณสมบัติความทนทานของเส้นใย (bio-persistent fiber) พิสัยจะอยู่ที่ค่าต่ำสุดจนถึงค่าความทนทานของเส้นใยแก้วและหินเส้นใยไครโซไทล์จะมีค่าความทนทาน bio-persistence ต่ำกว่าเส้นใยเซรามิกส์หรือเส้นใยแก้วชนิดพิเศษ (ข้อมูลจาก Hesterberg และคณะ – 1998) และต่ำกว่าของใยหินกลุ่มแอมฟิโบลค่อนข้างมาก เพื่อตรวจสอบทฤษฎีดังกล่าว EC ได้จัดตั้งคณะทำงานทำการศึกษาการได้รับฝุ่นใยหินในระบบหายใจเป็นระยะเวลา 5 วัน หลังจากนั้นการตรวจสอบสภาพของปอดเป็นระยะๆ เป็นเวลา 1 ปี (รายงานของ Bernstein & Riego – Sintes 1999) พบว่าสำหรับเส้นใยที่ความยาวมากกว่า 20 ไมครอน จะใช้ระยะเวลาการย่อยสลาย 50% 2-3 วันจน 100 วันโดยประมาณ

อ้างอิง[แก้]

  1. Alleman, James E., & Mossman, Brooke T (July 1997). "Asbestos Revisited" (PDF). Scientific American: 54–57. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-03. สืบค้นเมื่อ 26 November 2010.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Society for Mining, Metallurgy, and Exploration (U.S.) (2006-03-05). Industrial minerals & rocks: commodities, markets, and uses. p. 195. ISBN 978-0-87335-233-8.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. "Regulation (EC) No 1907/2006 of the European Parliament and of the Council of 18 December 2006 concerning the Registration, Evaluation, Authorisation and Restriction of Chemicals (REACH) and establishing a European Chemicals Agency". Publications Office of the European Union. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  4. "Directive 2003/18/EC of the European Parliament and of the Council of 27 March 2003 amending Council Directive 83/477/EEC on the protection of workers from the risks related to exposure to asbestos at work". Publications Office of the European Union. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  5. "ASBESTOS" (PDF).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Independent links
Regulatory and government links
Mineral and mining links
Health and the environment