จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา
|
ยินดีต้อนรับสู่สถานีย่อยพระพุทธศาสนาแห่งวิกิพีเดียภาษาไทย สถานีย่อยนี้เปิดเมื่อ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๕๕๑
|
ถ้าคุณต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างสารานุกรมวิกิพีเดียในส่วนหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ขอเชิญแวะได้ที่โครงการวิกิพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มุ่งการพ้นทุกข์หรือพ้นจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากโลภ โกรธ หลง และ อวิชชา (การไม่รู้ความจริงของธรรมชาติ) เน้นการปฏิบัติด้วยปัญญา การทำความเข้าใจ และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง จนมองเห็นเหตุและผล และความเป็นไปตามธรรมชาติที่หมุนเวียนเป็นวัฏจักร จนสามารถนำตัวเองออกจากวัฏจักรที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือวัฏสงสาร
สรณะหรือที่พึ่งอันประเสริฐของพระพุทธศาสนาเรียกว่า พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ โดย "พระพุทธเจ้า" ทรง ตรัสรู้"พระธรรม" แล้วทรงสอนให้พระภิกษุได้รู้ธรรมจนหลุดพ้นตามในที่สุด ทรงจัดตั้งชุมชนของ พระภิกษุให้อยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาและฝึกฝนตนเองให้หลุดพ้น เรียกว่า " พระสงฆ์" (สงฆ์แปลว่าหมู่,ชุมนุม) แล้วทรงมอบหมายให้พระสงฆ์ทั้งหลายเผยแผ่พระธรรมเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก ( อ่านต่อ...)
|
สถานีนี้เริ่มสร้างเมื่อ วันวิสาขบูชา พุทธศักราช ๒๕๕๑
|
พระไตรปิฎก ( ภาษา: Tripiṭaka, สิงหล: ත්රිපිටකය, เทวนาครี: त्रिपिटक) เป็น คัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของ พระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม คำว่าพระไตรปิฎกมาจาก ภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด ( ติ หมายถึง สาม ปิฏก
หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) สันนิษฐานว่าที่มาของคำว่าพระไตรปิฎกน่าจะมาจากการที่พระภิกษุจดจารึกคัมภีร์ใส่ลงในใบตระกูลปาล์มและใส่ลงในตระกร้า ถ้าอาศัยหลักฐานทางวิชาการ เชื่อว่าไตรปิฎกเป็นชื่อที่ใช้กันมาก่อนจะสังคายนาครั้งที่ 3 เพราะมีการใช้คำพูดว่า "ไตรปิฎก" ในประวัติศาสตร์ยุคพระเจ้าอโศกก่อนการสังคายนาครั้งที่ 3 จึงเชื่อได้ว่าหลังสังคายนาครั้งที่ 2 พระสงฆ์มีการแยกพระอภิธรรมออกจากพระสูตรแล้วเมื่อสังคายนาครั้งที่ 3 จึงแยกอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจริง อ่านต่อ...
- วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา
- อวิวาทญฺจ เขมโต
- สมคฺคา สขิลา โหถ
- เอสา พุทธานุสาสนีติ
- "ท่านทั้งหลาย
- จงเห็นความวิวาท
- โดยความเป็นภัย
- และความไม่วิวาท
- โดยความปลอดภัยแล้ว
- เป็นผู้พร้อมเพรียง
- ประนีประนอมกันเถิด
- นี่เป็นพระพุทธานุศาสนี..."
— พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน พุทธาปทานที่ ๑
วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ: พระไตรปิฎก (เถรวาท)
"เรื่องราวเต็มโลก เต็มบ้าน เต็มเมือง เราก็วางเสีย ละเสีย
ละอยู่ที่กาย ที่ใจตนนี่แหละ อย่าไปละที่อื่น การหอบอดีต
และอนาคตมาหมักสุมไว้ในใจ ก็เป็นทุกข์ ตัดออกให้หมด"
หมวดหมู่:วรรณกรรมศาสนาพุทธ
|
สุชีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 ที่จังหวัดนครปฐม — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ภิกขุ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะประการแรก ท่านเชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ ประการที่สอง ท่านรอบรู้วิชาการสมัยใหม่อย่างเยี่ยม ประการที่สาม ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทย แม้ว่าท่านจะมีภาระงานมากมาย แต่ท่านก็เป็นนักเขียน ที่ผลิตงานเขียน ทั้งในรูปหนังสือและตำราเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา รวมทั้งนวนิยายอิงธรรมะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเป็นผู้บุกเบิกทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาอีกด้วย อ่านต่อ...
หมวดหมู่:บุคคลในศาสนาพุทธ
- บุคคลในสมัยพุทธกาลที่ถูกธรณีสูบได้แก่พระเทวทัต พระเจ้าสุปปะพุทธะ นันทยักษ์ นางจิญจมาณวิกาและนันทมาณพ
- การอุปสมบทต้องมีพระสงฆ์ 5 รูปขึ้นไปถึงจะบวชได้ แต่การบรรพชาสามเณรมีแค่พระอุปัชฌาย์รูปเดียวก็สามารถกระทำได้
- พระอานนท์(ในภาพ)เป็นพระอรหันต์องค์เดียวที่บรรลุอรหันตผลแปลกกว่าพระอรหันต์รูปอื่น โดยท่านบรรลุในขณะที่ศีรษะท่านยังไม่ถึงหมอนและเท้าทั้งสองยังไม่พ้นจากพื้น
- ปรมาณูในความหมายของพระพุทธศาสนาคือหน่วยที่เล็กที่สุด อธิบายด้วยการแยกเมล็ดข้าวเปลือกให้เล็กลงจนถึงปรมาณู
- สังฆาฏิคือผ้าคลุมสำหรับห่มกันหนาว ในประเทศไทยใช้เป็นผ้าพาดบ่าเนื่องจากไม่ได้อยู่ในเขตหนาว
- ในยุคภัทรกัปป์พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าองค์เดียวที่มาจากตระกูลกษัตริย์ ที่เหลือนั้นมาจากตระกูลพราหมณ์
- พระไตรปิฎกมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.460 โดยจารึกเป็นภาษาสิงหล
- โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหารเป็นโลหะปราสาทแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นโลหะปราสาทองค์สุดท้ายในโลกที่ยังเหลืออยู่
|
....พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะพิเศษประเสริฐ ในประการที่อาศัยเหตุที่แท้ตามความเป็นจริงเป็นพื้นฐาน แสดงคำสั่งสอนที่บุคคลสามารถใช้ปัญญาไตร่ตรองตามและหยิบยกขึ้นปฏิบัติ เพื่อความสุขความเจริญและความบริสุทธิ์ได้ตามวิสัยตน "...
|
| หากหน้านี้ได้รับการแก้ไขเมื่อเร็ว ๆ นี้ อาจไม่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงล่าสุด กรุณาล้างแคชหน้านี้เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงล่าสุด |
สถานีย่อยอื่น ๆ
สถานีย่อยคืออะไร?
|