บรรพชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บรรพชา (อ่านว่า บันพะชา, บับพะชา) (บาลี: ปพฺพชฺช; สันสกฤต: ปฺรวฺรชฺย) แปลว่า การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชาอัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้คอบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)

เณรหน้าไฟ[แก้]

การบวชสามเณรหน้าไฟ คือการบรรพชาสามเณรที่นิยมบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย โดยปรกติการบวชหน้าไฟมักจะบวชกันในวันเผาศพ โดยเมื่อทำพิธีฌาปนกิจเสร็จก็มักจะสึก

เรียกตามภาษาชาวบ้านคือ "บวชเช้าสึกเย็น" ที่เรียกว่าหน้าไฟจึงน่าจะมีสาเหตุมาจากบวชเพียงเพื่อเป็นเณรอยู่หน้าไฟเท่านั้น บางท่านว่าเป็นการ บวชหลอกคนตาย คือพอประกอบพิธีฌาปนกิจเสร็จก็สึก

การบวชสามเณรหน้าไฟเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณีนิยม โดยผู้บวชและญาติพี่น้องเชื่อว่าการบวชเณรหน้าไฟ จะทำให้ผู้วายชมน์ได้บุญมาก ดังนั้นเราจึงมักเห็นการบวชลักษณะนี้ได้ทั่วไปในงานพิธีศพ

อีกประการหนึ่งการบวชเณรกระทำง่าย เพียงแค่โกนศีรษะและเตรียมจีวรเข้าไปหาอุปัชฌาย์ก็สามารถทำการบวชได้แล้ว ดังนั้นการบวชเณรจึงไม่ยุ่งยากเหมือนการบวชพระภิกษุซึ่งมีขั้นตอนในการรับรอง ในทางพระวินัยมากมาย คนทั่วไปจึงนิยมบวชเณรหน้าไฟมากกว่าบวชพระหน้าไฟ

อ้างอิง[แก้]

  • พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ , หน้า 173-174
  • เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ. เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์ : วัดคุ้งตะเภา, ๒๕๔๙..