สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา/รู้ไหมว่า/เก็บบทความ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นี่คือส่วนของบทความที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งจะถูกแสดงในสถานีย่อย:พระพุทธศาสนาในส่วนของคอลัมน์รู้ไหมว่า ถ้าต้องการเสนอข้อความให้ใส่ไว้ที่หน้า หน้าเสนอชื่อรู้ไหมว่า (สถานีย่อยพระพุทธศาสนา)

รู้ไหมว่า (พุทธศาสนา)[แก้]

  • บุคคลในสมัยพุทธกาลที่ถูกธรณีสูบได้แก่พระเทวทัต พระเจ้าสุปปะพุทธะ นันทยักษ์ นางจิญจมาณวิกาและนันทมาณพ
  • การอุปสมบทต้องมีพระสงฆ์ 5 รูปขึ้นไปถึงจะบวชได้ แต่การบรรพชาสามเณรมีแค่พระอุปัชฌาย์รูปเดียวก็สามารถกระทำได้
  • พระอานนท์(ในภาพ)เป็นพระอรหันต์องค์เดียวที่บรรลุอรหันตผลแปลกกว่าพระอรหันต์รูปอื่น โดยท่านบรรลุในขณะที่ศีรษะท่านยังไม่ถึงหมอนและเท้าทั้งสองยังไม่พ้นจากพื้น
  • ปรมาณูในความหมายของพระพุทธศาสนาคือหน่วยที่เล็กที่สุด อธิบายด้วยการแยกเมล็ดข้าวเปลือกให้เล็กลงจนถึงปรมาณู
  • สังฆาฏิคือผ้าคลุมสำหรับห่มกันหนาว ในประเทศไทยใช้เป็นผ้าพาดบ่าเนื่องจากไม่ได้อยู่ในเขตหนาว
  • ในยุคภัทรกัปป์พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าองค์เดียวที่มาจากตระกูลกษัตริย์ ที่เหลือนั้นมาจากตระกูลพราหมณ์
  • พระไตรปิฎกมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.460 โดยจารึกเป็นภาษาสิงหล
  • โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหารเป็นโลหะปราสาทแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นโลหะปราสาทองค์สุดท้ายในโลกที่ยังเหลืออยู่



ไฟล์:ธรรมยุตินิกาย.gif

  • ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีพระผู้เป็นเจ้า แต่ไม่มีศาสดา ส่วนศาสนาพุทธ มีศาสดา แต่ไม่มีพระผู้เป็นเจ้า (God)
  • ปัจจุบัน พระครู เป็นคำเรียกพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ส่วนครูพระ เป็นคำเรียกพระสงฆ์ที่สอนหนังสือในโรงเรียนแทน
  • การเป็น พระอุปัชฌาย์ ในพระวินัยปิฎกเถรวาท กำหนดให้พระสงฆ์ที่มีพรรษา 10 ขึ้นไปที่ทรงคุณธรรมฯ สามารถเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ทันที แต่ในประเทศไทย พระสงฆ์ที่จะเป็นพระอุปัชฌาย์จะต้องผ่านการสอบอบรมและได้รับการแต่งตั้งจากมหาเถรสมาคมก่อนเสมอ
  • กะเทย (บัณเฑาะว์) แม้จะถูกห้ามไม่ให้บวชเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา แต่หากบวชเข้ามาแล้วโดยอุปัฌาชย์และคณะสงฆ์เข้าใจผิดยอมบวชให้ ก็ไม่ถือว่าขาดจากความเป็นพระ
  • แม้มหาเถรสมาคม จะออกคำสั่งเรื่อง "ห้ามภิกษุสามเณร เรียนวิชาชีพหรือสอบแข่งขันหรือสอบคัดเลือกอย่างคฤหัสถ์ พ.ศ. 2521" แต่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งก็ยังคงเปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพอย่างคฤหัสถ์ (วิชาชีพครู) โดยความสนับสนุนจากมหาเถรสมาคม
  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย) แม้จะก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2439 แต่พึ่งมาเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมได้ในปี พ.ศ. 2490 เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ) ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2436 และเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในปี พ.ศ. 2488
  • พระสงฆ์เถรวาทดื่มสุรา ผิดอาบัติข้อปาจิตตีย์ (สุราปานวรรค) เช่นเดียวกับการฉันอาหารในยามวิกาล (โภชนวรรค) ไม่ใช่ผิดอาบัติปาราชิก (ขาดจากความเป็นพระ) แม้ปัจจุบันคนทั่วไปจะถือว่าการดื่มสุราของพระสงฆ์เป็นโลกวัชชะอย่างหนัก แต่คณะสงฆ์จะบังคับให้สึกโดยอาศัยพระวินัยไม่ได้
  • อาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2439 เพื่ออุทิศถวายตั้งเป็นมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แต่หลังจากสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ไม่ได้ถูกใช้สำหรับงานมหาวิทยาลัยสงฆ์แต่อย่างใด โดยมหาวิทยาลัยสงฆ์พึ่งมาใช้อาคารหลังนี้สมพระราชเจตนารมย์เมื่อโรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษามาใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นอาคารเรียนในปี พ.ศ. 2515 (ในภาพ)
  • มหาซ่อม เป็นคำเรียกพระสงฆ์หรือสามเณรที่สอบผ่านบาลีได้ในสนามหลวงครั้งที่สองในรอบปีเดียวกัน (แม่กองบาลีพึ่งอนุญาตให้มีการสอบบาลีซ่อมได้จนถึงชั้นป.ธ.5 ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา)
  • การสอบธรรมศึกษาสนามหลวง ในปีที่ผ่านมามีฆราวาสเข้าร่วมสอบถึง 1,833,874 คน หรือกล่าวได้ว่าจากคนไทยทุกๆ 100 คน มีเกือบถึง 3 คน เข้าร่วมการสอบดังกล่าวเพียงปีเดียว ไม่นับรวมการสอบในปีอื่นๆ อีก

  • ...เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม เป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อชาวพุทธเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่ค้นพบและมีส่วนสำคัญในการบูรณะและฟื้นฟูพุทธสังเวชนียสถานในอินเดีย แต่ทว่าท่านไม่ใช่ชาวพุทธแค่อย่างใด (ในภาพ)
  • ... วันวิสาขบูชา นอกจากจะถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธแล้ว ประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด เช่น บังคลาเทศ, ประเทศอินโดนีเซีย (ประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก) ก็ยังกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการด้วย
  • ...สามเณรหน้าไฟ คือคำเรียกสามเณรที่บวชในวันเผาศพเพียงเพื่ออุทิศกุศลการบวชให้ผู้ตายเท่านั้น โดยส่วนใหญ่เมื่อเสร็จงานศพแล้วมักสึก จึงมีคำเรียกการบวชชนิดนี้ว่า "บวชหลอกคนตาย"
  • ...คว่ำบาตร คือการลงโทษบุคคลของพระสงฆ์โดยการไม่รับกิจนิมนต์ คบหาสมาคม หรือรับบิณฑบาตรจากคน ๆ นั้น คว่ำบาตรเป็นสำนวนคู่กับคำว่้า "หงายบาตร" (คือยกเลิกการลงโทษ)

  • ...ตลกบาตร คือถุงใส่บาตรของพระสงฆ์ที่มีสายสำหรับคล้องบ่า บางทีก็เรียกว่า ถลกบาตร
  • ...นิตยภัต ความหมายในอดีตคือ "สำรับภัตตาหาร" ที่พระมหากษัตริย์จัดถวายแก่พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์หรือพระสงฆ์ที่ทรงเคารพนับถือเป็นประจำ ปัจจุบันใช้ในความหมายว่า "เงินค่าอาหาร"ที่ทางราชการถวายแก่พระสงฆ์เป็นประจำ"
  • ...ธงพระพุทธศาสนา ที่เป็นที่รู้จักทั่วไปคือ "ธงฉัพพรรณรังสี" ออกแบบโดยชาวศรีลังกา มีลักษณะแถบสี 6 สี (ในภาพ) บ่งบอกความหมายถึงพระฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันธงนี้เป็นธงพระพุทธศาสนาสากล ในประเทศไทยไม่ค่อยพบธงนี้ เพราะนิยมใช้ "ธงพระธรรมจักร" (สีเหลือง) แทน
  • ...สังฆทาน ในปัจจุบันมักเข้าใจผิดว่าการถวายถังสีเหลืองบรรจุสิ่งของแก่พระสงฆ์เท่านั้นคือสังฆทาน แต่ความจริงแล้วสังฆทานเป็นทานที่ถวายแก่หมู่พระสงฆ์เป็นการส่วนรวมโดยไม่เลือกผู้รับ (คล้ายกับสาธารณทาน) โดยไม่จำกัดวัตถุ และไม่จำเป็นว่าจะต้องมีบรรจุภัณฑ์สีเหลืองแต่อย่างใด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพัดยศเป็นเครื่องหมายประกอบสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ผู้ได้รับการพระราชทานสมณศักดิ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพัดยศเป็นเครื่องหมายประกอบสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ผู้ได้รับการพระราชทานสมณศักดิ์
  • ...นิกายพุทธตันตระ เป็นนิกายในพุทธศาสนาที่เน้นเวทมนตร์คาถามากกว่านิกายอื่นๆ ปัจจุบันแนวคิดพุทธตันตระแทรกซึมอยู่ในความเชื่อของพุทธศาสนิกชนทุกนิกาย เช่น การเชื่อโชคลาง การรดน้ำมนต์ หรือการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา เป็นต้น
  • ...พัดยศ เครื่องหมายแสดงสมณศักดิ์ของพระสงฆ์เถรวาท ในงานพระราชพิธี พระสงฆ์ที่ได้รับพัดยศในสมณศักดิ์ต่ำกว่า จะนั่งอันดับสูงกว่าพระสงฆ์ที่ได้รับพัดยศในสมณศักดิ์สูงกว่ามิได้ แม้จะมีพรรษากาลตามพระธรรมวินัยมากกว่าก็ตาม

หญ้ากุสะริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
หญ้ากุสะริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
  • ...จีวร ที่พระสงฆ์เถรวาททั่วโลกใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ออกแบบโดยพระอานนท์ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลวดลายลักษณะของผืนผ้าที่นำมาเย็บต่อกันมากว่า 2,500 ปี จะมีแตกต่างกันบ้างก็เป็นเพียงสีของจีวรเท่านั้น
  • ...การเวียนเทียน เวียนขวา 3 รอบ (ประทักษิณาวัตร) มาจากธรรมเนียมของคนอินเดียในสมัยพุทธกาล ที่ถือว่าการเวียนขวา 3 รอบนั้น เป็นการแสดงออกซึ่งการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างสูงสุด
  • ...บุคคลแรกที่ได้พบ พระพุทธเจ้า หลังจากตรัสรู้คือ หุหุกพราหมณ์ โดยได้พบพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้ 14 วัน
  • ...นอกจากชาวพุทธที่นับถือ หญ้ากุศะ(ในภาพ) ว่าเป็นต้นไม้สำคัญในพุทธศาสนาแล้ว ชาวฮินดูยังนับถือหญ้าชนิดนี้ว่าเป็นหญ้าศักดิ์สิทธิ์ด้วย โดยจะนำหญ้าชนิดนี้มาประกอบพิธีในวันกุโศตปาฎนีอมาวสยาเพื่อบูชาพระกฤษณะ (เทพเจ้าสำคัญองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู)
  • ...ธุดงค์ หมายถึงข้อถือวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส 13 ข้อ ของพุทธศาสนิกชน ซึ่งหาได้หมายถึงการถือกลดออกเดินจาริกแสวงบุญไปตามสถานที่ต่าง ๆ ของพระสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้นไม่

การตรวจข้อสอบสนามหลวงในปัจจุบัน
การตรวจข้อสอบสนามหลวงในปัจจุบัน