ข้ามไปเนื้อหา

พระอภิธรรมปิฎก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อภิธรรม)

คัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎกเถรวาท
๔๕ เล่ม

    พระวินัยปิฎก    
   
                                       
คัมภีร์
สุตตวิภังค์
คัมภีร์
ขันธกะ
คัมภีร์
ปริวาร
               
   
    พระสุตตันตปิฎก    
   
                                                      
คัมภีร์
ทีฆนิกาย
คัมภีร์
มัชฌิมนิกาย
คัมภีร์
สังยุตตนิกาย
                     
   
   
                                                                     
คัมภีร์
อังคุตตรนิกาย
คัมภีร์
ขุททกนิกาย
                           
   
    พระอภิธรรมปิฎก    
   
                                                           
สงฺ วิภงฺ ธา
ปุ.
กถา ยมก ปัฏฐานปกรณ์
                       
   
         

พระอภิธรรมปิฎก (บาลี: Abhidhammapiṭaka) เป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎกซึ่งประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ) คือ

  • ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ
  • วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
  • ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
  • ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้น
  • กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ 3
  • ยมก (ภาค 1, ภาค 2) ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
  • ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ (ภาค 1, ภาค 2, ภาค 3, ภาค 4, ภาค 5, ภาค 6) อธิบายปัจจัย 24 แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร[1]

ประวัติ

[แก้]

คำสอนของพระพุทธเจ้า เดิมเรียกว่า "ธรรมวินัย" ทั้งหมด ยังมิได้แยกเป็นปิฎกสามปิฎก ดังพระพุทธวจนะว่า "ธรรมและวินัยใดที่เราตถาคตแสดงไว้แล้วบัญญัติไว้แล้ว ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว"[2] ต่อมาในการสังคายนาครั้งที่สามในศาสนาพุทธ พระธรรมวินัยได้รับการแบ่งแยกออกเป็นปิฎกสามปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก[ต้องการอ้างอิง]

อรรถกาอัตถสาลินี อันเป็นอรรถกาที่อธิบายคัมภีร์สังคณีแห่งพระอภิธรรมปิฎก และอรรถกาธัมมปทัฏฐกา อันเป็นอรรถกถาที่อธิบายคัมภีร์ธรรมบทแห่งพระสุตตันตปิฎก ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปเทศน์พระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 หลังจากทรงตรัสรู้ และได้ทรงถ่ายทอดพระอภิธรรมนั้นแก่พระสารีบุตรในเวลาต่อมา[3]

มีผู้สันนิษฐานว่าพระอภิธรรมปิฎกนี้เป็นของแต่งขึ้นใหม่[4] โดยมีเหตุผล ได้แก่

  1. สำนวนในการเขียนพระอภิธรรมปิฎกเป็น ภาษาหนังสือ แตกต่างจากสำนวนภาษาในพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก
  2. หลักมหาปเทสให้สาวกเทียบเคียงความถูกต้องกับพระสูตรและพระวินัย ไม่ปรากฏว่าให้เทียบเคียงกับพระอภิธรรมปิฎกเลย
  3. ข้ออ้างเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดาที่ดาวดึงส์ ไม่ปรากฏในพระสูตรและพระวินัย
  4. คำว่า อภิธมฺเม ที่ปรากฏในพระสูตรบางแห่งหมายถึง โพธิปักขิยธรรม
  5. พระพุทธเจ้าตรัสกับสาวกว่า ธมฺโม จ วินโย จ หมายถึงพระธรรมกับพระวินัยเท่านั้น (ที่ให้เป็นศาสดาแทนต่อไป)
  6. ยญฺจ โข ภควตา ชานตา ปสฺสตา ซึ่งแปลว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่" และ วุตฺตญฺเจตํ ภควตา ซึ่งแปลว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ เป็นสำนวนของพระสังคีติกาจารย์
  7. นิกายสรวาสติวาทิน (นิกายอภิธรรม) ถือว่าพระอภิธรรมปิฎกเป็นสาวกภาษิต

เนื้อหา

[แก้]

พระอภิธรรมปิฎก 12 เล่ม

[แก้]
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 34 ธัมมสังคณี
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 35 วิภังค์
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 36 ธาตุกถา และปุคคลบัญญัติ
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 37 กถาวัตถุ
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 38 ยมก ภาค 1
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 39 ยมก ภาค 2
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 40 ปัฏฐาน ภาค 1
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 41 ปัฏฐาน ภาค 2 อนุโลมติกปัฏฐาน
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 42 ปัฏฐาน ภาค 3 อนุโลมทุกปัฏฐาน
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 43 ปัฏฐาน ภาค 4 อนุโลมทุกปัฏฐาน
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 44 ปัฏฐาน ภาค 5 อนุโลม
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 45 ปัฏฐาน ภาค 6 ปัจจนียปัฏฐาน

องค์ประกอบ

[แก้]

สำหรับพระอภิธรรมปิฎกนั้นแบ่งออกเป็นเจ็ดคัมภีร์ ซึ่งเรียกย่อว่า สํ. วิ. ธา. ปุ. ก. ย. และ ป. ตามลำดับ ประกอบไปด้วย

  1. ธัมมสังคณี (เรียกโดยย่อว่า "สํ.") - รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท
  2. วิภังค์ (เรียกโดยย่อว่า "วิ.") - ยกหมวดธรรมขึ้นตั้งเป็นหัวข้อเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
  3. ธาตุกถา (เรียกโดยย่อว่า "ธา.") - สังเคราะห์หรือจัดประเภทข้อธรรมต่าง ๆ เข้าเป็นหมวดเป็นหมู่ดังต่อไปนี้ คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ
  4. ปุคคลบัญญัติ (เรียกโดยย่อว่า "ปุ.") - บัญญัติความหมายบุคคลประเภทต่าง ๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่
  5. กถาวัตถุ (เรียกโดยย่อว่า "ก.") - แถลงและวินิจฉัยทัศนะที่ขัดแย้งกันของนิกายต่าง ๆ ในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 โดยเน้นความถูกต้องของฝ่ายเถรวาท คัมภีร์นี้เป็นบทนิพนธ์ของพระโมคคลีบุตรติสสเถระ
  6. ยมก (เรียกโดยย่อว่า "ย.") - ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ
  7. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ (เรียกโดยย่อว่า "ป.") - อธิบายปัจจัย 24 และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมทั้งหลายอย่างละเอียด

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ความหมายของ พระอภิธรรมปิฎก". 84000.org.
  2. พระไตรปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ฉบับภาษาไทย, เล่ม 10/ข้อ 141/หน้า 178.
  3. พระไตรปิฎก พระอภิธรรม ฉบับภาษาไทย, เล่ม 9/ข้อ 67.
  4. http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hPVE13TVRFMU1nPT0=[ลิงก์เสีย]